สถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ต่างกันยังไงอ่ะค่ะ

31 ม.ค. 55 00:44 น. / ดู 2,020 ครั้ง / 4 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
สถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ต่างกันยังไงอ่ะค่ะ
พอดีเราจะลงสอบ GAT PAT 2/55 นี้อ่ะค่ะ

ขอบคุณมากๆนะค่ะ 
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | KymBerLeY (ไม่เป็นสมาชิก) | 31 ม.ค. 55 09:30 น.

ไม่ต่างกันมากค่ะ แต่ก้ใช้ว่าจะเหมือนกันเสียทีเดียว (งง ไหม)
คือว่า...ศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชาหรือสาขาวิชาที่อยู่ภายในคณะจะแตกย่อยไปได้เยอะ
ไม่ว่าจะเป็น ด้าน ศิลปะประยุกต์ ออกแบบภายใน ออกแบบแฟชั่น หรือ นฤมิตศิลป์ แบบนี้เป็นต้นค่ะ
ืคือ ขึ้นอยู่กับมหาลัยนั้นๆ ด้วยว่า แบ่งสาขาภายในคณะยังไง

แต่ถ้าเป็นสถาปัตยกรรมศาสตร์...จะเน้นไปทางด้านสถาปัตยกรรมโดยตรงเีสียมากกว่า
ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตย์ของไทย หรือ ของต่างประเทศ เรียกได้ว่า เน้นทุกเรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมค่ะ

เอาให้เข้าใจง่ายๆ ประมาณว่า ศิลปกรรม เป็นศิลป์แบบหลากหลาย
ส่วนสถาปัตยกรรม เป็นศิลป์แบบวิทย์ (หรือแบบวิศวะ ก็ว่าได้...ประมาณนั้น)

ลองศึกษาเพิ่มเติมดูนะคะ เพราะหลายๆ มหาลัยก็มีทั้ง 2 คณะนี้อยู่เยอะ
ลองดูว่า ตัวเองอยากไปทางไหนมากกว่า และมีความถนัดสายไหนมากกว่ากันค่ะ

สู้ๆ นะคะ เอาใจช่วย~ 

ไอพี: ไม่แสดง

#2 | CozLOVE;3 | 1 ก.พ. 55 04:31 น.

ขอบคุณค่ะ มากๆ ค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | Marstiny | 1 ก.พ. 55 16:15 น.

ไม่เหมือนกันครับ  มาตอบทันใหมเนี่ย มันไม่เหมือนกันนะครับ
(ผมจบปวช.ศิลปกรรม ต่อป.ตรี สถาปัตยกรรม)

สถาปัตยกรรม นับเป็นงานประเภทประยุกต์ศิลป์ คือเน้นหลักการใช้งานมากกว่า
(ส่วนมากมหาวิทยาลัยจะรวมคณะสถาปัตย์ไว้กับออกแบบเป้น คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ)
ต้องคิดเรื่องการนำไปใช้มาก่อนความงามเสมอครับ
หรือก็คือเป็นArchitecture&ดีไซเนอร์(จริงๆดีไซเนอร์ครอบคลุมหมายถึงนักออกแบบทุกแขนงสาขา)

ในสาขางานด้านศิลปกรรมจะเน้นไปในเชิงการค้นหาความงามองค์ประกอบแสงสีการดึงดูดพลังของงานมากกว่าการนำไปใช้สอย
หรือก็คือArtistนั่นเองครับ

แก้ไขล่าสุด 1 ก.พ. 55 16:16 | ไอพี: ไม่แสดง

#4 | "วะ_โว๊ด_วู้วววว" | 2 ก.พ. 55 22:49 น.

สถาปัตย์ เน้นการใช้งาน

ศิลป์เน้นความจรรโลงใจ อะไรประมาณนี้

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google