ในทรรศนะของข้าพเจ้า 90 พุทธศาสมิใช่ศาสนา

18 พ.ค. 55 12:00 น. / ดู 423 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
พุทธศาสตร์ไม่ใช่ศาสนา แต่เป็นเพียงปรัชญาแห่งธรรมชาติ   ครับผมไม่ได้พูดผิด แต่คิดแล้วคิดอีกว่าใช่แน่นอน
พุทธศาสตร์มาจากคำ ๒ คำ คือ พุทธิ ที่แปลว่า ปัญญา  และ ศาสตร์ ที่แปลว่า ระบบความรู้  รวมแล้วหมายความว่า “ระบบความรู้ด้านปัญญา”

หรือแม้แต่คำว่า พุทธศาสนา ก็เช่นเดียวกัน พุทธิ แปลว่า ปัญญา  และ ศาสน์ แปลว่า คำสั่งสอน, ความเชื่อ  รวมแล้วหมายความว่า “คำสั่งสอนว่าด้วยปัญญา” หรือ “ความเชื่อเรื่องปัญญา”

หรือจะเปลี่ยนคำต้นจาก พุทธิ เป็น พุทธ (พุด-ทะ) ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ตรัสรู้ อันหมายถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความหมายก็ยังคงแปลว่า “คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า” ซึ่งแปลความหมายอีกทีได้ว่า “คำสั่งสอนเรื่องปัญญา” เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านทรงเน้นเรื่อง สติ และ ปัญญา


ที่กลายเป็นศาสนาเพราะคำนี้แปลว่า “ลัทธิความเชื่อ” แต่คนเรานำความหมายที่ว่า “ลัทธิ” แยกออกมาต่างหาก ทำให้ปัจจุบัน ศาสนา และ ลัทธิ เป็นคนละอันกัน ซึ่งความเป็นจริงแล้ว “คือสิ่งเดียวกัน”

ผมวิเคราะห์ง่ายๆ เรื่องศาสนา และลัทธิปรัชญา โดยยึด ๓ สิ่งที่ศาสนาต้องมี คือ พระเจ้า, คำสอน หรือความเชื่อ, และพิธีกรรม   ซึ่งศาสนาพุทธไม่มีพระเจ้า พระสมณะโคดมเป็นเพียงผู้ตรัสรู้ (บอกกล่าวความรู้) หรือใช้ภาษาชาวบ้านเรียกท่านเป็น “ครู” ได้เช่นเดียวกัน  กล่าวคือท่านก็เหมือนกับ ขงจื้อ, เม้งจื้อ, หรือนักปรัชญาหลายๆ คน ที่มีความรู้ และเผยแพร่ความรู้เหล่านั้นไปสู่คนทั่วๆ ไป

แต่เรายังคงยึดติดพุทธศาสตร์อยู่กับศาสนา อาจจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าเป็นดั่งสมมุติเทพ...


จะว่าไปแล้วในพุทธกาลนั้น มีพิธีกรรมหรือไม่?  ผมว่าไม่นะ แม้ในพุทธประวัติจะมีพิธีกรรมหลายอย่าง เช่นการเดินประทักษิณ ฯลฯ เป็นต้น แต่นั่นก็เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ เท่าที่ผมอ่านพบ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้กำหนดพิธีกรรมอันใด แม้แต่การอุปสมบท หรือบรรพชา เพราะท่านใช้วิธี “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” อันเป็นการบวชด้วยวาจาคล้ายการชักชวน โดยองค์พระพุทธเจ้าท่านทรงเปล่งวาจาว่า “จงมาเป็นภิกษุเถิด...” ไม่ได้มีพิธีกรรมอันใดมากมาย


ลองคิดเล่นๆ นะ ถ้าเดิมทีพระพุทธเจ้าท่านเป็นชาวยิวละ เมื่อท่านตรัสรู้ท่านคงจะกล่าวอ้อนวอนต่อพระเจ้าเช่นกัน หรือท่านอาจจะไม่มีพิธีกรรมอันใด เพราะฐานความเชื่อเดิมก็ไม่ได้มีพิธีกรรมอะไรมากมายนัก


ดังที่ผมว่ามาแล้วนั้น เป็นเพียงแค่ความคิดของผมนะ ถูกผิดเช่นไรผมไม่ทราบแน่ชัด เพราะต่างคนต่างความคิด
แต่แก่นแท้ของพุทธศาสตร์คือ “ละได้เสียอะหัง และมะนัง เราก็พบแล้วซึ่งนิพพาน”

ปัจฉิมลิขิต : อะหัง แปลว่า ตัวเรา, ของเรา  มะนัง แปลว่า ตัวเขา, ของเขา
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | SomE-Knight | 18 พ.ค. 55 12:46 น.


แต่เรายังคงยึดติดพุทธศาสตร์อยู่กับศาสนา < ก็ธรรมดา ก็เหมือนกับนร.สังกัดสถาบันศึกษา มีครูคือพระพุทธเจ้าเป็นคนที่คอบสอนประสบการณ์ที่ได้ค้นพบด้วยตนเองมาก่อนแล้ว  แต่ใครอยากเรียนกศน ก็ได้นะ  ศึกษาพระธรรมสัจธรรมของโลกเองก็ไม่ผิดถ้าไม่เดือดร้อนใคร

อาจจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าเป็นดั่งสมมุติเทพ...
อันนี้เราเห็นว่า ก็เป็นธรรมดาของคนทั่วไป ที่เห็นใครมีความรู้มากกว่าหรือ อย่างพระพุทธเจ้าสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ก็ต้องแบบว้าว "เทพว้า" <มาภาษาเดกแว้นเลย5+ เป็นธรรมดา

สรุปคือ จขกท เป้ะเว่อ จบค่ะ 5+

ไอพี: ไม่แสดง

#2 | \m/.E.T.\m/ | 19 พ.ค. 55 21:58 น.

ผมไม่เข้าใจว่า คุณข้อความแรกจะสื่อด้านไหน?
เพราะผมไม่รู้ว่า "เป้ะเว่อ" ที่คุณว่านะ แปลว่าอะไร (ผมแก่แล้ว ^.^)

แต่ที่ผมสื่อคือ "ละได้เสียก็เป็นสุข"
ด้วยผมเห็นคนไทยส่วนใหญ่ศึกษาธรรมะแค่ว่า "มีอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค ฯลฯ และมักจะลงท้ายด้วยการท่องบทสวดมนต์ที่คนทั่วไปมักจะท่องกันเป็นหุ่นยนต์ รู้ว่าอ่านยังไง แต่ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร"
ผมก็ไม่รู้หรอกว่าแปลว่าอะไร?

แต่ผมอยากให้ศึกษาคำสอนแล้วนำไปใช้ เพราะส่วนใหญ่สิ่งที่เรานำไปใช้มีแค่ อริยสัจ ๒ - ๔ เท่านั้นเอง
กล่าวคือ รู้ว่ากำลังทุกข์ และทุกข์ด้วยเรื่องอะไร ส่วนหนทางดับทุกข์นั้น หลายคนก็กลับไปสู่ข้อแรก คือรู้ว่ากำลังทุกข์ และทุกข์ด้วยเรื่องอะไร

แต่น้อยคนที่จะหลุดไปถึงข้อ ๔ คือเข้าใจว่า "เราจะจัดการกับทุกข์นั้นๆ อย่างไร"



ดังนั้นอย่ายึดติดกับพิธีกรรมทางศาสนาให้มาก ศึกษาให้ถึงแก่น และพยายามเข้าถึงนิพพาน
เพราะนิพพานไม่ใช่ความตาย และนิพพานมีได้ไม่รู้จบ
หนึ่งชีวิตเราพบนิพพานได้หลายครั้ง จากหลายเหตุการณ์

ผมไม่ได้ห้ามไม่ให้คุณบวชนะ อันนี้แล้วแต่ศรัทธา แต่ใช้ว่าเราไม่บวชแล้วศึกษาไม่ได้เสียหน่อย จริงไหม?

แก้ไขล่าสุด 19 พ.ค. 55 22:00 | ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google