เตือนภัย! กลโกงของมิจฉาชีพทางเน็ตและวิธีป้องกัน

13 ม.ค. 56 11:30 น. / ดู 1,874 ครั้ง / 1 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
กลโกงของมิจฉาชีพเดี๋ยวนี้ร้ายเหลือ ใครที่ชอบซื้อของทางอินเตอร์เน็ต รับส่งเงิน จ่ายเงิน ทำธุรกรรมทางการเงินบนอินเตอร์เน็ต ต้องระวังไว้ให้ดี ตัวอย่างกรณีที่เคยเกิดขึ้น เช่น
- ขโมย User และ Password เข้า i-Banking โดยการปล่อย Trojan (โปรแกรมจำพวก virus Computer อย่างนึง) แล้วโดนกดเงินไป 7 แสนบาท
- มิจฉาชีพจะส่งอีเมล์แอบอ้างว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ คนรู้จัก หรือเพื่อนสนิท เพื่อขอข้อมูลทางการเงิน หรือให้ทำการโอนเงินให้

กสทช.เตือนผู้ทำธุรกรรมทางการเงินต้องรอบคอบ โดยเฉพาะผ่าน Wi-fi สาธารณะ มีความเสี่ยงสูง ชี้อาชญากรมีการพัฒนารูปแบบในการล้วงข้อมูลสารพัด ทั้ง Wi-fi ปลอม เว็บไซต์ปลอม ไวรัสแฝงมาในแอปพลิเคชัน รูปภาพ ลิงก์ตามสังคมออนไลน์

วิธีป้องกัน
- เปลี่ยน password บ่อยๆ
- เก็บรักษาข้อมูลรหัสลับแรกเข้า หรือรหัสลับส่วนตัวของผู้ใช้ เป็นความลับ
- ใช้ระบบรหัสผ่าน 2 ชั้น
- ใช้ OTP เวลาทำธุรกรรม
- ใช้ on-screen keyboard
- แยกบัญชีในการทำธุรกรรมกับบัญชีหลักออกจากกัน
- ควรตรวจสอบข้อมูลสำคัญๆ ในอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งอยู่เสมอ เช่น บัญชีธนาคารของตนเอง และบุคคลที่ 3 ว่ามีบัญชีใดที่แปลกปลอมหรือไม่ รวมทั้งการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว สังเกตอีเมลและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ที่จะต้องรับ OTP หรือข้อมูลการทำรายการจากธนาคารว่ามีการแก้ไขเป็นอย่างอื่นหรือไม่
- ใช้โปรแกรมดักจับไวรัสดีๆ
- อย่าหลงเชื่อ link ต่างๆ ที่มากับทางอีเมล์
- ตรวจสอบ link ว่าเป็นเว็บที่ถูกต้องก่อนทำธุรกรรม
- กำหนดวงเงินในการทำธุรกรรม
- อย่าไปใช้เครื่องคอมสาธารณะหรือ wifi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน
- หมั่น logoff บัญชี email เวลาใช้โน้ตบุ๊กหรือมือถือในที่สาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตกับร้านค้าที่มีไม่น่าไว้ใจ หรือไม่มีความน่าเชื่อถือ
- ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ตโฟน กรณีถ้าเป็นไอโฟน และไอแพด ที่ผ่านการเจลเบรก ในการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่นเดียวกับสมาร์ตโฟนที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชันต่ำกว่า 4.0 ถือว่ามีความเสี่ยง ไม่ปลอดภัยที่จะทำธุรกรรมทางการเงิน
แก้ไขล่าสุด 13 ม.ค. 56 14:55 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | nuer | 13 ม.ค. 56 11:33 น.

สำหรับกรณีที่เราเจอมากับตัวคือการรับส่งเงินผ่านบริษัทที่ให้บริการด้านการโอนเงิน ซึ่งเวลารับเงินจะต้องใช้หมายเลขกำกับการโอนเงินและบัตรประชาชนไปรับเงินที่ธนาคาร ดูเหมือนจะปลอดภัยดี จนกระทั่งมีคนมารับเงินของเราไป!

ถามว่าเขาไปรับเงินได้อย่างไร? คำตอบ คือ ไม่รู้ ตอนนี้ได้แต่คาดเดา เดาว่าเขาได้หมายเลขกำกับการโอนเงิน โดยลักลอบเข้ามาดูใน email ของเรา ส่วนเรื่องของบัตรประชาชนนั้น เขาทำปลอมขึ้นมาเพื่อรับเงิน โดยพยายามสะกดชื่อให้เหมือนกับชื่อเรา ส่วนข้อมูลอื่นๆ บนบัตรเป็นข้อมูลปลอมทั้งหมด น่าจะมีแต่รูปที่เป็นรูปของเขาจริงๆ

ตามที่เราหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เจอกรณีที่เคยคล้ายๆ กับเรา โดยส่วนใหญ่ที่พูดตรงกัน คือ
- มิจฉาชีพพวกนี้จะไว เหมือนคอยเฝ้าดูบัญชี email เอาไว้ พอมีหมายเลขกำกับการโอนเงินมา ก็จะรีบไปขึ้นเงินอย่างรวดเร็ว
- เป็นคนต่างชาติ ผิวสี ข้อสังเกตคือมารับเงินในชื่อคนไทย แต่หน้าตาเป็นคนต่างชาติ ถ้าธนาคารเจอกรณีแบบนี้ น่าจะตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนมากขึ้นก่อนจ่ายเงิน ตรวจดูว่าเอกสารการรับเงิน เช่น บัตรประชาชน หรือพาสปอร์ตเป็นของปลอมหรือเปล่า สำหรับกรณีของเรา เป็นคนที่หน้าเหมือนคนไทยมารับเงิน โดยมีคนต่างชาติมาด้วย

ตอนนี้เรายังอยู่ในระหว่างขั้นตอน ยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ยังไม่รู้ว่าจะได้เงินคืนหรือเปล่า ก็เลยอยากมาแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ให้ใครมาตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอีก

แก้ไขล่าสุด 13 ม.ค. 56 11:37 | ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google