เขียนใจให้เป็นเพลงกับครูพยัติใน บ้านจรัล มิวเซียม

11 ก.พ. 57 16:09 น. / ดู 314 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
กว่าเพลงหนึ่งเพลงจะกลายเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมได้ นอกจากจะมีภาษาที่สวยงาม เนื้อหากินใจ ทำนองที่ประทับใจแล้ว เชื่อได้ว่านักแต่งเพลงหลายๆ คนจะต้องใช้ใจเพื่อที่จะสร้างสรรค์เพลงเหล่านั้นออกมาแน่ๆ เช่นเดียวกับ "พยัต ภูวิชัย" หรือที่คนในวงการเพลงรู้จักกันดีในนาม ครูพยัต ครูเพลงที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของเพลงดังหลายเพลง อาทิ เพลง "ยังยิ้มได้" "กอดหน่อยได้ไหม" ของ "พลพล พลกองเส็ง" เพลง "ความคิดถึงกำลังเดินทาง" ของ "โกไข่ - จุมพล ทองตัน" กับนาย "สน -  สนธยา ชิตมณี" เพลง "มีคนเหงาอยู่เบอร์นี้" "อยากเป็นคนรักไม่อยากเป็นชู้" ของ "ตั๊กแตน - ชลดา ทองจุลกลาง" เพลง "กรุณาฟังให้จบ" ของ "แช่ม แช่มรัมย์" หรือ "วิวัฒน์ แช่มรัมย์" เพลง "เป็นเพื่อนไม่ได้หัวใจอยากเป็นแฟน" "โยนใจถามทาง" "คนแรกที่ทำให้รัก" ของ "ไผ่ - พงศธร ศรีจันทร์"

เมื่อแต่งเพลงให้กับศิลปินมาก็มากแล้ว อีกหนึ่งกิจกรรมที่ พยัต ภูวิชัย ให้ความสำคัญคือ กิจกรรมเพื่อสังคมอย่างในโครงการ จรัล มิวเซียม เฟส 2 พยัต ภูวิชัย ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจแรงสมอง มาสอนน้องเยาวชนศิลปินน้อยสร้างแรงบันดาลใจเพื่อแต่งเพลง ตามรอย "จรัล มโนเพ็ชร" ซึ่งเทคนิควิธีการสอน พยัต ภูวิชัย บอกว่า "จะไม่ได้เป็นทฤษฎีที่ตายตัวแต่จะใช้วิธีการพูดคุยกับ ศิลปินน้อย ที่ต้องการเขียนเพลงก่อนเพื่อค้นหาสิ่งที่ชอบ เพราะการเขียนเพลงให้ออกมาแล้วโดนใจนั้นต้องออกมาจากใจ ด้วยการเขียนใจให้เป็นเพลงซึ่งการเขียนเพลงให้ออกมาจากใจนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ใจของเรารู้สึกอย่างไรก็ให้สื่อออกมาอย่างนั้น ประกอบกับถ้าเมื่อเพลงแต่งเสร็จถ้าผู้ร้องรู้สึกได้ตามอย่างที่ผู้เขียนเพลงต้องการสื่อแล้วด้วย เชื่อได้ว่าเมื่อคนฟังได้ฟังคนฟังจะรู้สึกได้เหมือนอย่างที่ผู้เขียนอยากสื่อออกไปได้อย่างแน่นอน"

ด้าน "ใหม่ - ดรุณี จันทราภิรมย์" นักร้องโครงการจรัล มิวเซียม เฟส 2 บอกเกี่ยวกับการเรียนรู้การแต่งเพลงให้ออกมาจากความรู้สึกว่า ทำได้ไม่ยากเพียงแต่ใจเรารู้สึกอะไร ต้องเอาคำที่รู้สึกนั้นมาร้อยเรียงให้เกิดสัมผัสและความไพเราะ "วันนี้หนูรักการแต่งเพลง รักในเสียงเพลง เพราะหนูมีครู ครูเพลงที่เสียสละเวลามาให้ความรู้และเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้มีโอกาสในการก้าวมาสู่การเป็นผู้ส่งต่อความรู้สึกในแง่มุมต่างๆ ผ่านเสียงเพลงที่แต่งขึ้นมาด้วยตัวเอง ถ้าไม่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ไม่ได้รู้จักครูเพลงที่เก่งๆ แบบนี้ ไม่แน่วันนี้เด็กๆ อย่างหนูอาจจะฟังเพลงเพียงแค่ให้ผ่านหูไปวันๆ แต่วันนี้หนูรู้แล้วว่าเพลงที่ดีต้องเขียนออกมาจากใจ ถึงจะกินใจและรู้สึกคล้อยตามอินตามได้"
แม้วันนี้ครูจรัล มโนเพชร จะจากไปแล้วแต่ทั้งลมหายใจ และชีวิตความเป็นจรัล มโนเพชร ก็ยังคงอยู่ไม่เคยสูญหายไปจากใจของทุกคนที่รักในความเป็นศิลปินที่กลายเป็น จรัลในดวงใจ ของทุกๆ คน และหากใครได้มีโอกาสได้ผ่านไปที่ จรัล มิวเซียม ที่ตั้งอยู่ ณ บ้านหม้อคำตวง รามอินทรา 109 มีนบุรี กรุงเทพฯ ที่นั่นนอกจากจะมีน้องๆ ศิลปินน้อยผลผลิตจากโครงการจรัล มิวเซียม เฟส 2 แวะเวียนกันมาแล้วยังมี "เตี่ย - มานิด อัชวงศ์" ประจำอยู่ที่นั่นด้วย ผู้ที่สนใจวัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ จรัล มิวเซียม จะเปิดบ้านให้เข้าชมแต่ต้องโทรศัพท์แจ้งล่วงหน้า เพราะจะรับเพียงแค่วันละ 2 คณะเท่านั้น
แก้ไขล่าสุด 11 ก.พ. 57 17:24 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google