Plant Kingdom

30 ต.ค. 50 20:37 น. / ดู 44,024 ครั้ง / 37 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
เรื่องอาณาจักรพืช

ช่วยกันดูก่อนว่าตรงไหนซ้ำไม่ซ้ำนะ
หัวข้อไฟลัม (ความหลากหลายของพืช Division)

1.ไฟลัมเฮปาโทไฟตา Hepatophyta (liver worts)
2.ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา Anthocerophyta (horn worts)
3.ไฟลัมไบรโอไฟตา Bryophyta (moss)
4.ไฟลัมไลโคไฟตา Lycophyta (lycopodium,isoetes,selaginella)
5.ไฟลัมเทอโรไฟตา Pterophyta (ferns)
6.ไฟลัมไซแคโดไฟตา Cycadophyta (ปรง)
7.กิงโกไฟตา Ginkgophyta (Ginkgo biloba แปะก๊วย)
8.โคนิเฟอโรไฟตา Coniferophyta (สน)
9.นีโทไฟตา Gnetophyta (gnetum, welwitschia, ephedra)
10.แอนโทไฟตา Anthophyta (พืชมีดอกทั่วๆไป)

อ้างอิงจากตำราแกนกลางและนุ้ย

ถ้ามีตรงไหนผิดพลาดช่วยบอกกันด้วยนะครับ

ถ้า copy เนื้อหามาจากเว็บไหนช่วยลง url เป็นเครดิตให้ด้วยนะครับ



Ps
อยากรู้มานาน
URL [ABBR] คำย่อของ Uniform Resource Locator

RIP [ABBR] ขอให้ไปสู่สุคติ (คำย่อของ rest in peace), See also: ขอให้ไปที่สงบ, Syn. R.I.P

แก้ไขล่าสุด 12 พ.ย. 50 20:13 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Teera | 30 ต.ค. 50 20:38 น.

1สรวิศ

กลุ่มพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง (non vascular plant)

1. ดิวิชั่นเฮปาโทไฟตา (Division Hepatophyta)
        พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ liverworts ในสมัยโบราณเชื่อว่า สามารถนำมารักษาโรคตับได้ ทั้งยังมีรูปร่างคล้ายตับของมนุษย์ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า liverworts (liver = human liver, wort = herb) มีประมาณ 8,500 ชนิด
     
        ลักษณะของ liverworts มีตั้งแต่ขนาดเล็กซึ่งพบในกลุ่ม leafy liverwort มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 mm มีวงชีวิตแบบสลับ โดยมีระยะ gametophyte เด่น
      ดังนั้นต้นที่พบทั่วไปจะเป็นต้นแกมมีโตไฟต์ บางครั้งจะพบชั้น cuticle และสปอร์ที่ มีผนังหนาซึ่งเป็นลักษณะการปรับตัวของ liverworts เพื่อที่จะสามารถอาศัยอยู่บนบกได้
แกมมีโตไฟต์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1. Leafy liverworts เป็น liverworts ที่เป็นเส้นสาย มีลักษณะคล้ายมอส มีใบ 3 แถว มี สมมาตรแบบ bilateral symmetry Leafy ลิเวอร์เวิร์ทประมาณ 80 % จะเป็น leafy liverworts อาศัยในบริเวณที่มีปริมาณน้ำมาก

2. Thallus liverworts เป็น liverworts ที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนคล้ายริบบิ้น (ribbonlike) เช่น Marchantia เป็นพืช perennial plant แผ่นทัลลัสสามารถแตกเป็นคู่ซึ่งเรียกการ แตกแขนงแบบนี้ว่า dichotomous branching การเจริญของแกมมีโตไฟต์จะ เจริญจากเนื้อเยื่อเจริญบริเวณร่องที่อยู่ปลายสุด (apical notch) ลักษณะพิเศษอีกอย่างของ thallus liverworts คือ มีเซลล์เรียงต่อกันเป็นช่อง (chamber) รูปร่างคล้ายเพชร (diamond-shaped plates) ซึ่งภายในจะประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียว
คล้ายต้นกระบองเพชรมีหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง Gametophytes ทั้ง leafy และ thallus มักจะมีลักษณะเป็น lobe และ bilateral symmetry ไม่มี midrib บริเวณด้านบนของ thallus ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง ส่วนด้านล่างใช้ในการสะสมอาหาร Rhizoids มักมีเซลล์เดียว

แก้ไขล่าสุด 30 ต.ค. 50 20:53 | ไอพี: ไม่แสดง

#2 | Teera | 30 ต.ค. 50 20:59 น.

1สรวิศ

สปอร์โรไฟต์
        สปอร์โรไฟต์ไม่มีปากใบ รูปร่างค่อนข้างกลม ไม่มีก้าน ยึดติดกับแกมมีโตไฟต์จนกว่า
จะแพร่กระจายสปอร์ (shed spores) สร้าง capsule บริเวณปลาย ซึ่งจะมี calyptra ช่วยป้องกันอันตราย ภายใน capsule มีเนื้อเยื่อที่สร้างสปอร์ เรียก sporogeneous tissue เกิดการแบ่งตัวแบบไมโอซิสสร้างสปอร์ ซึ่งมีบางเซลล์ที่ฝ่อไปเปลี่ยนเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า elaters มีลักษณะคล้ายขดลวด พบแทรกอยู่ทั่วไป ใน capsule มีคุณสมบัติไวต่อความชื้น (hygroscopic) เมื่ออากาศแห้งสปริงจะกางออกทำให้เกิดการดีดสปอร์ออกไปได้ไกลๆ เมื่อมีความชื้น elaters ขดตัวเหมือนเดิม
การสืบพันธุ์
        แกมมีโตไฟต์ของลิเวอร์เวิร์ทหลายชนิด จัดเป็น uni**aul เช่น Marchantia สร้าง archegoniophores รูปร่างคล้ายร่ม บริเวณด้านล่างของ archegoniophores จะมี archegonium ยื่นออกมา ส่วน antheridium สร้างบริเวณด้านบนของ antheridiophores ส่วนลิเวอร์เวิร์ทชนิดอื่นมีโครงสร้างง่ายกว่า Marchantia เช่นใน Pellia จะไม่มีโครงสร้าง ของ chambers หรือ pores และ ใน Riccia สร้าง antheridium และ archegonium ในทัลลัสเดียวกัน
A**ual reproduction
      Liverworts สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการสร้าง gemma cup ภายในมี gemma หรือ gemmae มีรูปร่างคล้ายไข่ หรือรูปดาว หรือคล้ายเลนส์ (ดังภาพ) ซึ่งจะหลุดจาก gemma cup เมื่อได้รับน้ำฝน เมื่อ Gemmae หลุดไป สามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้หรืออาจเกิดจากการขาดของต้นเดิมเนื้อเยื่อ ที่หลุดจากต้นสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้เช่นกัน

2. ดิวิชั่นแอนโทซีโรไฟตา (Division Anthocerophyta)
        พืชในกลุ่มนี้ เรียกรวมว่า hornworts เป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดในไบรโอไฟต์ มีประมาณ 6 สกุล 100 ชนิด ชนิดที่มักเป็นตัวอย่างในการศึกษา คือ Anthoceros
        ลักษณะของ hornworts ที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ มีดังนี้
1. สปอร์โรไฟต์รูปร่างเรียวยาวคล้ายเขาสัตว์สีเขียว
2. เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสงมีคลอโรพลาสต์ 1 เม็ด และมีอาหารสะสมเป็น pyrenoid เหมือนกับสาหร่ายสีเขียวและ Isoetes (vascular plant)
3. สปอร์โรไฟต์มี intercalary meristem ซึ่งทำให้สปอร์โรไฟต์สามารถเจริญได้อย่าง ไม่จำกัด
4. Archegonium ฝังตัวอยู่ในแกมมีโตไฟต์ มีโครงสร้างที่คล้ายกับปากใบ (stomatalike structure) ซึ่งจะไม่พบในกลุ่มอื่น
แกมมีโตไฟต์
        แกมมีโตไฟต์รูปร่างกลมหรือค่อนข้างรี แบน สีเขียว เป็นโครงสร้างที่ง่ายๆ เมื่อเทียบกับแกมมีโตไฟต์ในกลุ่ม bryophyte ด้วยกัน Hornworts ส่วนใหญ่เป็น uni**ual สร้างอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณด้านบนของทัลลัส การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเกิดขึ้นโดยการขาดเป็นท่อน (fragmentation)

สปอร์โรไฟต์
        สปอร์โรไฟต์ของฮอร์นเวิร์ทมีความแตกต่างจากสปอร์โรไฟต์ของชนิดอื่นมาก มีลักษณะเฉพาะคือรูปร่างคล้ายกับเขาสัตว์ สีเขียว ยาวประมาณ 1-4 cm ภายมีเนื้อเยื่อที่แบ่งตัวให้ spores
3. ดิวิชั่นไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
        พืชในกลุ่มนี้ได้แก่มอสมีสมาชิกมากที่สุดในกลุ่มพืชไม่มีท่อลำเลียง สามารถเจริญได้ทั่วไป เช่น ตามเปลือกไม้ พื้นดิน ก้อนหิน

Gametophyte
        มอสมีวงชีวิตแบบสลับ โดยมีระยะแกมมีโตไฟต์เด่นกว่าสปอร์โรไฟต์ ดังนั้นต้นที่พบทั่วไป
จึงเป็นต้นแกมมีโตไฟต์ซึ่งมีสีเขียว อัดตัวกันแน่นคล้ายพรหม ไม่มีใบ ลำต้นและรากที่แท้จริง แต่มีส่วนที่คล้ายลำต้นและใบมาก มี Rhizoid ทำหน้าที่ยึดกับพื้นดินหรือวัตถุที่เจริญ
มอสที่พบตามธรรมชาติ
        Gametophyte และ sporophyte ของมอสบางชนิด
ลักษณะของ Gametophyte ภาพตัดตามขวางของส่วนที่คล้ายลำต้นของมอส ซึ่งไม่พบท่อลำเลียง
Sporophyte
        สปอร์โรไฟต์อาศัยอยู่บนแกมมีโตไฟต์ตลอดชีวิต ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ foot ใช้ยึดกับแกมมีโตไฟต์ stalk เป็นก้านชู ยาวและcapsule ส่วน capsule เป็นส่วนที่มีความสำคัญ ที่สุด มีฝาเปิดหรือoperculum อยู่ด้านบน และจะเปิดออกเมื่อแคปซูลแก่ operculum จะถูกห่อหุ้มด้วย calyptra เป็นเยื่อบางๆ ช่วยป้องกันอันตรายให้กับ capsule แต่มักจะหลุดไปเมื่ออายุมากขึ้น ถัดจาก operculum จะเป็นเนื้อเยื่อที่มีการสร้าง spore เซลล์ในชั้นนี้แบ่งตัวแบบไมโอซิสได้สปอร์ เมื่อสปอร์โรไฟต์แก่ operculum จะเปิดให้เห็น peristome teeth ลักษณะคล้ายซี่ฟัน มีคุณสมบัติไวต่อความชื้น (hygroscopic) เมื่ออากาศแห้ง ความชื้นในอากาศน้อย peristme teeth จะกางออก
ทำให้ดีดสปอร์ออกมาด้วย และจะม้วนตัวเข้าไปภายใน capsule เมื่อความชื้นในอากาศมาก เมื่อสปอร์ตกไปในที่ๆมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะงอกได้ทันที ซึ่งจะงอกเป็นเส้นสาย สีเขียวที่เรียกว่า protonema ลักษณะคล้ายสาหร่ายสีเขียวมาก

Mos

พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) มีโคน (cone) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ แยกเป็นโคนเพศผู้และโคนเพศเมีย แยกเป็น 4 ดิวิชั่น
1.Division Cycadophyta กระจายพันธุ์ในที่แล้งได้ดี เช่น ปรง เป็นต้น ได้รับขนานนามว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตมีลำต้นค่อนข้างเตี้ย ใบมีขนาดใหญ่
2.Division Ginkophyta ปัจจุบันมีเพียงสปีชีส์เดียว คือ Ginkgo biloba มีชื่อทั่วไว่า แป๊ะก๊วย เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต
3. Division Coniferophyta มีความหลากหลายมากที่สุดในกลุ่มนี้ทั้งในด้านลักษณะของต้นและโครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น สนสองใบ สนสามใบ สนสามพันปี พญาไม้
4. Division Netoophyta เป็นพืชที่มีลักษณะต่างจากพวกอื่นคือพบเวสเซลในท่อลำเลียงน้ำ และมีลักษณะคล้ายพืชดอกมาก คือมีกลีบดอก มีใบเลี้ยง 2 ใบแต่เมล็ดยังไม่มีเปลือกหุ้ม เช่น มะเมื่อย
กลุ่มพืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง แต่ไม่มีเมล็ด แบ่งเป็น 2 ดิวิชั่น
1.ดิวิชั่นไลโคไฟตา (Division Lycophyta) มีลำต้นและใบที่แท้จริง มีเส้นใบ 1 เส้นไม่แตกแขนง ปลายกิ่งจะมีกลุ่มของใบทำหน้าที่สร้างอัปสปอร์ พืชกลุ่มนี้ได้แก่ ไลโคโพเดียม (Lyopodium) เช่นสามร้อยยอด หางสิงห์ ซีแลกจิเนลลา (selagenella) เช่น **ตุ๊กแก และกระเทียมน้ำ
2.ดิวิชั่นเทอโรไฟตา (Division Pterophyta) ได้แก่ หวายทะนอย (Psilotum sp) เดิมเชื่อว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต เพราะไม่มีราก ไม่มีใบ ถ้ามีใบจะมีขนาดเล็กมาก มีการแตกกิ่งเป็นคู่ ปัจจุบันพบว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพืชในกลุ่มหญ้าถอดปล้อง หญ้าถอดปล้อง (Equisetum spp.) ลำต้นมีข้อปล้องชัดเจน มีทั้งลำต้นบนดินและใต้ดิน เรียกว่า ไรโซม (rhizome) มีอับสปอร์เกิดเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เรียกว่า สโตรบิลัส (Strobilus)
เฟิน (fern) มีรากใบ ลำต้นที่แท้จริง ใบอ่อนม้วนจากปลายใบสู่โคนใบ ใบมีหลายขนาด เฟินจะสร้างอับสปอร์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า ซอรัส (sorus)อยู่ด้านล่างของแผ่นใบ เฟินส่วนใหญ่สร้างสปอร์ที่มีขนาดเดียว ยกเว้นเฟินน้ำตัวอย่างเฟินชนิดต่า ๆ เช่น เฟินใบมะขาม เฟินก้านดำ ข้างหลวงหลังลาย ชายผ้าสีดา ย่านลิเภา แหนแดง จอกหูหนู ผักแว่น กูดเกี้ยะ เป็นต้น
ประโยชน์ของพืชกลุ่มนี้เป็นอาหาร เช่น ผักแว่น กูดเกี้ยะ (ใบแห้งของกู๊ดเกี๊ยะยังนำมามุงหลังคา และใช้ทำฟืน) เป็นสมุนไพร เช่น ว่านลูกไก่ทองใช้ดูดซับห้ามเลือด กูดแดงใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ใช้ทำเครื่องจักสาน เช่น ย่านลิเภา เกษตรกรนิยมเลี้ยงแหนแดงในนาข้าวเพื่อเพิ่มปริมาณปุ๋ยไนโตรเจน เฟินที่ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น เฟินใบมะขาม เฟินนาคราช ข้างหลวงหลังลาย และชายผ้าสีดา

แก้ไขล่าสุด 30 ต.ค. 50 21:00 | ไอพี: ไม่แสดง

#4 | duckfarmer (ไม่เป็นสมาชิก) | 30 ต.ค. 50 21:30 น.

pim


ไม่รุ้ได้ป่าวน้า

....


พืชพวกไบรโอไฟต้าได้เเก่
- ลิเวอร์เวิร์ด มีลักษณะเป็นเเผ่นบาง ( เรีนกว่า ทัลลัส ) มีสีเขียว
เเละรูปร่างคล้าย ตับ ( liver )
- มอส มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าลิเวอร์เวิร์ท มีลักษณะคล้ายลำต้น
รากเเละใบของ พืชชั้นสูง
วัฏจักรชีวิตเเบบสลับของไบรโอไฟต้า ( alternation of generation )
ต่างจากพืชอื่นๆคือมีต้นสปอร์โรไฟต์ขนาดเล็ก เเละอาศัยอยู่บนต้น
เเกมีโทไฟต์ขนาดใหญ่ ต้นมอสเเละลิเวอร์ทสีเขียวที่เราพบเห็นทั่งไป
เป็นต้นเเกมีโตไฟต์ 



ต้นเเกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์ มีลักษณะดังนี้
- ขนาดเล็ก ( สูงไม่เกิน 15 cm. )
- ยังไม่มีราก ใบ เเละลำต้นที่เเท้จริง ( ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงภายใน )
- มีเเต่โครงสร้างคล้ายรากคือ ไรซอย์ ( rhizoid ) เป็นเพียงเซลล์เดี่ยวๆเเละโครง สร้างคล้ายใบเล็กๆทำหน้าที่สังเคราะห์เเสง
- ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ( n ) โดยการเเบ่งเซลล์เเบบไมโอซิส ต้นเเกมีโท ไฟต์เพศผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์ที่ปลายยอด เรียกว่า เเอนเทอรอเดียม ( antheridium ) ทำหน้าที่สร้างเสปิร์ม ต้นเเกมีโทไฟต์เพศเมียมีอวัยวะสืบพันธุ์เรียกว่า อาร์โก เนียม ( archegonium ) ทำหน้าที่สร้างรังไข่
- การปฏิสนธิ สเปิร์มว่ายไป ปฏิสนธิกับไข่เกิดไซโกต ( 2n ) เจริญเติบโตเป็นต้น สปอร์โรไฟต์




ต้นสปอร์โรไฟต์
อาศัยอยู่บนต้นเเกมีโทไฟต์เพศเมีย
สร้างอาหารเองไม่ได้ ( ไม่มีสีเขียว )
ทำหน้าที่สร้างสปอร์ ( n ) โดยการเเบ่งเซลล์เเบบไมโอซิส สปอร์ปลิวตกไปงอก เป็นเเกมีโตไฟต์ต้นใหม่ต่อไป
ไบรโอไฟตืเป็นพืชที่ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง การลำเลียงน้ำเเละสารอาหารภายในต้นพืชเกิดขึ้นโดย การเเพร่ ( diffusion ) ดังนั้นลำเลียงได้ช้าๆเเละเป็นข้อจำกัดทำให้พืชขนาดเล็ก เเละต้องขึ้นรวมกลุ่มหนาเเน่นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง เช่น ตามผิวดิน ก้อนหินเปียกชื้น กระถางต้นไม้ใกล้เเอ่งน้ำ บนภูเขาที่มีความชุ่มชื้น 


น่ารุ้.........
วัฏจักรของมอส ต้นเเกมีโตไฟต์สีเขียว ( n ) ที่มองเห็นทั่วไป มีอวัยวะสืบพันธุ์คือ
อาร์คีโกเนี่ยม ( archegonium ) ทำหน้าที่สร้างไข่ เเละเเอนเทอริเดียม ( antheridium ) ทำหน้าที่สร้างเสปิร์ม
สเปิร์มอาศัยน้ำ ว่ายไปปฏิสนธิกับไข่ เกิดไซโกต เจริญเติบโตเป็นต้นสปอโรไฟต์ ( 2n ) ที่อาศัยอยู่บนต้นเเกมีโตไฟต์
มีก้านชูอับสปอร์ ทำหน้าที่สร้างสปอร์โดยเเบ่งเซลล์เเบบไมโอซิส สปอร์ ( n ) จากอับสปอร์ งอกขึ้นไปเป็นโพรโทนีมา
( protonema ) ลักษณะเป็นสายคล้ายสาหร่ายเเละเจริญเติบโตเป็นต้นเเกมีโตไฟต์มอสเป็นพืช
ในกลุ่มเเรกๆที่ขึ้นอยู่ในสิ่งเเวดล้อมใหม่ๆ เช่น บนหิน ( ที่มีความชุ่มชื้นสูง ) เมื่อพืชพวกนี้ตายทับถม
ลงมาบนหิน ก็จะทำให้เกิดเนื้อดินที่อุดมสมบูรณ์พอให้พืชอื่นมาอาศัยอยู่ต่อไป มอสบางชนิดจึงมีประโยชน์
ในเเง่ของปุ๋ย

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | boat~ (ไม่เป็นสมาชิก) | 30 ต.ค. 50 21:57 น.

http://www.geocities.com/sumpan2000.........omy/taxo17.html

กดเข้าไปนะ

ไอพี: ไม่แสดง

#6 | บอล[ง่วง] (ไม่เป็นสมาชิก) | 31 ต.ค. 50 20:35 น.

ของมิ้นๆๆๆ

อาณาจักรพืช
(Kingdom Plantae)
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง (Autotroph) นักพฤกษศาสตร์เชื่อว่าพืชมีต้นกำเนิดจากสาหร่ายสีเขียว ต่อมาจึงมีวิวัฒนาการ
จนขึ้นมาอยู่บนบกและแพร่กระจายอยู่ทั่วไปจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่มีชีวิตอยู่ในอาณาจักรนี้ต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
F มีคลอโรฟิลล์อยู่ในคลอโรพลาสต์ จึงสร้างอาหารได้เอง
F หลังจากปฏิสนธิจะมีระยะต้นอ่อนก่อนเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่
F มีวงชีวิตแบบสลับ (alternation of generation)
F เป็น eukaryotic cell ที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง นักพฤกษอนุกรมวิธาน จัดจำแนกพืชออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
I. พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง (Nonvascular plant) เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีเพียงดิวิชันเดียว
คือ ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
ลักษณะสำคัญ
F ไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง
F มีไรซอยด์ (rhizoid) ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุ
F ไม่มีท่อลำเลียงน้ำ (xylem)และท่อลำเลียงอาหาร (phloem)
F ช่วงที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ เรียกว่า แกมีโตไฟต์ (gametophyte) เด่นกว่าช่วงที่สร้างสปอร์ ซึ่งเรียกว่า สปอร์โรไฟต์ (sporophyte)
โดยพบว่า สปอร์โรไฟต์ เจริญอยู่บนแกมีโตไฟต์
F แบ่งเป็น 3 คลาส คือ
1. Class Bryopsida : - มอส (moss)
- พบทั่วไปบริเวณที่ชุ่มชื้นดูคล้ายพรมสีเขียวสด มีประมาณ 9,500 ชนิด
- Leafy gametophyte ประกอบด้วยส่วนที่คล้ายราก เรียกว่า rhizoid ส่วนที่คล้ายลำต้น เรียกว่า caulidium
และส่วนที่คล้ายใบเรียกว่า phyllidium
- Sporophyte ประกอบด้วยส่วนที่ยึดติดกับแกมีโตไฟต์ เรียกว่า foot ก้านชูอับสปอร์ (seta) และอับสปอร์ (capsule)
- มีวงชีวิตแบบสลับ (alternation generation) สรุปได้ดังนี้


2. Class Hepaticopsida : ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort)
- มีลักษณะที่ชื้นแฉะ มีลักษณะเป็นแทลัส (thallus) แบนบางสีเขียว ส่วนปลายแยกออกเป็น 2 แฉก (dichotomous branching)
มีประมาณ 6,000 ชนิด
- มีชีวิตแบบสลับคล้ายมอส
3. Class Anthoceropsida :- ฮอร์นเวิร์ต (hornwort)
- มีลักษณะเป็นแผ่นมีรอยหยักตรงขอบ มีประมาณ 100 ชนิด
- มีวงชีวิตแบบสลับเช่นกัน แต่ antheridium และ archegonium ฝังอยู่ในแทลลัสไม่มีก้านชูเหมือนลิเวอร์เวิร์ต

II. พืชมีท่อลำเลียง (Vascular plant)
พืชกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีราก ลำต้นและใบเจริญเติบโต มีสปอร์โรไฟต์เด่นชัด ส่วนแกมีโตไฟต์มี
ขนาดเล็ก มีหลายดิวิชัน คือ
1. ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta)
ลักษณะสำคัญ
F ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีสีเขียว แตกกิ่งเป็นคู่ ๆ ไม่มีใบที่แท้จริง แต่มีใบเกล็ดทำหน้าที่แทน
F ลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) มี (rhizoid) ทำหน้าที่แทนราก
F อับสปอร์อยู่ติดกับลำต้น เมื่อสปอร์ตกสู่พื้นดินจะงอกและเจริญเป็นแกมีโตไฟต์ซึ่งจะสร้าง antheridium และ archegonium
เพื่อการสืบพันธุ์ต่อไป
F ตัวอย่างเช่น หวายทะนอย (Psilotum nudum) ซึ่งถือว่าเป็นพืชที่มีท่อลำเลียงที่มีวิวัฒนาการต่ำที่สุด
2. ดิวิชันไลโคไฟตา (Division Lycophyta)
ลักษณะสำคัญ
F มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
F รากและลำต้นแตกแขนงเป็น 2 แฉกเสมอ
F ใบเป็นแบบ microphyll เรียงตัวเป็นเกลียวรอบกิ่งหรือลำต้น ส่วนปลายสุดของกิ่งจะสร้างอับสปอร์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า
สตรอบิลัส (strobilus)
F สปอร์มี 2 แบบ คือ megaspore มีขนาดใหญ่เจริญเป็นแกมีโตไฟต์เพศเมีย ส่วน microspore มีขนาดเล็กเจริญเป็นแกมีโตไฟต์เพศผู้
F พบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด ได้แก่
- ไลโคโปเดียม (Lycopodium) : - ช้องนางคลี่ สร้อยสุกรม หางกระรอก สามร้อยยอด หญ้ารังไก่ สร้อยสีดา
- ซีแลกจิเนลลา (Selaginella) : - **ตุ๊กแก หญ้าร้องไห้ เฟือยนก พ่อค้าตีเมีย
3. ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta)
ลักษณะสำคัญ
F ลำต้นสีเขียวสังเคราะห์แสงแทนใบ ผิวเป็นร่องและเป็นสันยาว ภายในแต่ละปล้องกลวง ข้อปล้องเด่นชัดถอดแยกออกจากกันได้
F ใบเป็นแบบ microphyll ปลายกิ่งมีอับสปอร์ เรียกว่า strobilus บางชนิดแตกกิ่งออกรอบข้อดูคล้ายหางม้า
F แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็ก สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียได้ในต้นเดียวกัน
F สปอโรไฟต์มีขนาดใหญ่เด่นชัด มีทั้งอยู่เหนือดินและใต้ดิน
F ตัวอย่าง เช่น หญ้าถอดปล้อง สนหางม้า หญ้าเงือก หญ้าหูหนวก
4. ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta)
ลักษณะสำคัญ
F มีราก และลำต้นใบเจริญดี โดยใบเป็นแบบ megaphyll ซึ่งเป็นแผ่นกว้างและมีเส้นใบแตกจากเส้นกลางใบ
F มีลำต้นใต้ดินแบบ rhizome ใบอ่อนม้วนงอคล้ายลานนาฬิกา เรียกว่า circinare vernation
F ใบที่โตเต็มที่ เรียกว่า frond สร้างสปอร์อยู่ภายในกลุ่มอับสปอร์ เรียกว่า sorus อยู่ด้านล่างใบ
F สปอร์งอกหลายเป็นแกมีโตไฟต์ขนาดเล็กสีเขียวรูปร่างคล้ายหัวใจ เรียกว่า prothallus มีโรซอยด์และเจริญเป็นอิสระในดินที่ชุ่มชื้น
F antheridium และ archegonium อาจอยู่บน prothallus เดียวกันหรือไม่ก็ได้และเจริญไม่พร้อมกัน
F มีวงชีวิตแบบสลับเด่นชัด
F พบแล้วประมาณ 1,200 ชนิด มีแหล่งที่อยู่ต่างกันหลายแบบ เช่น
- อยู่ในน้ำ ได้แก่ ผักแว่น ผักกูดน้ำ แหนแดง
- อยู่บนบกที่ชุ่มชื้น ได้แก่ ย่านลิเภา ปรงทะเล ข้าหลวงหลังลาย เฟิน
- เกาะบนต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ชายผ้าสีดา
สำหรับพืชมีท่อลำเลียงและมีเมล็ดนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

พวกจิมโนสเปิร์ม (Gymnosperm)
F เป็นพืชที่มีเมล็ดซึ่งไม่มีเครื่องห่อหุ้ม
F ถ่ายละอองเรณูโดยอาศัยลม ซึ่งนับเป็นพืชกลุ่มแรกที่สืบพันธุ์โดยไม่อาศัยน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสำคัญของพืชบก
ซึ่งมีหลายดิวิชัน คือ
1. ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta)
ลักษณะสำคัญ
F เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ รูปทรงลำต้นคล้ายพีระมิด
F ใบมีขนาดเล็กคล้ายเข็มรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ
F สืบพันธุ์โดยเมล็ดซึ่งไม่มีผนังรังไข่ห่อหุ้มติดอยู่กับ cone ซึ่งเป็นแผ่นแข็งสีน้ำตาลเรียงซ้อนเป็นชั้น ๆ
F โคนมี 2 แบบคือ female cone สร้าง megaspore ซึ่งเจริญเป็น egg กับ male cone สร้าง microspore ซึ่งเจริญเป็น pollen grain
F พบแล้วประมาณ 550 ชนิด เช่น สนสองใบ สนสามใบ สนหางสิงห์ สนฉัตร เป็นต้น


2. ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta)
ลักษณะสำคัญ
F ลำต้นมีขนาดใหญ่และเตี้ย มีใบประกอบขนาดใหญ่อยู่เป็นกระจุกบนยอดลำต้น และไม่แตกกิ่งก้าน
F ปัจจุบันพบค่อนข้างน้อยประมาณ 100 ชนิด เช่น ปรงป่า มะพร้าวเต่า ปรงญี่ปุ่น
3. ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkgophyta)
ลักษณะสำคัญ
F ใบมีขนาดเล็กรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมคล้ายพัด
F เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลมีกลิ่นเหม็น แต่เมล็ดมีรสมันอร่อย
F ปัจจุบันพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ แป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) จัดเป็นพืชโบราณที่มีวิวัฒนาการน้อยมาก
4. ดิวิชันนีโทไฟตา (Division Gnetophyta)
ลักษณะสำคัญ
F เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่มหรือไม้เถาขนาดใหญ่ที่มีเนื้อไม้
F ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กถึงปานกลาง
F เกือบสูญพันธุ์แล้ว เหลือเพียง 3 สกุล ทั่วโลกพบเพียง 66 ชนิด เท่านั้น เช่น มะเมื่อย (Gnetum) มั่วอึ้ง (Ephedra)
เวลวิชเชีย (Welwitchia)

พวกแองจิโอสเปิร์ม (Angiosperm)
F เป็นพืชที่มีดอกและเมล็ดมีเครื่องหุ้มห่อ วึ่งถือว่ามีวิวัฒนาการสูงสุด
F มีจำนวนมากที่สุดประมาณ 235,000 ชนิด มีเพียงดิวิชันเดียว คือ ดิวิชันแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)
ลักษณะสำคัญ
F มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์และมีเมล็ดที่มีผนังรังไข่ห่อหุ้ม
F มีการปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)
F สปอโรไฟต์มีขนาดใหญ่เด่นชัด ประกอบด้วยราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ส่วนแกมีโตไฟต์มีขนาดเล็ก เจริญอยู่บนสปอโรไฟต์
F มีรากทำหน้าทีหลายแบบ เช่น
- รากสะสมอาหาร : - หัวผักกาด หัวมันเทศ มันสำปะหลัง ฯลฯ
- รากค้ำจุน : - ลำเจียก ข้าวโพด ฯลฯ
- รากเกาะ : - พลูด่าง พริกไทย ฯลฯ
- รากหายใจ : - แสม ลำพู ผักกระเฉด ฯลฯ
F มีลำต้นทำหน้าที่หลายแบบ เช่น
- ลำต้นปีนป่าย : - เถาวัลย์ บอระเพ็ด องุ่น ฯลฯ
- ลำต้นสะสมอาหาร : -
ไรโซม (rhizome) เช่น ขิง ข่า ขมิ้น พุทธรักษา
ทิวเบอร์ (tuber) เช่น หอม กระเทียม
คอร์ม (corms) เช่น เปือก แห้วจีน ซ่อนกลิ่นฝรั่ง
F มีใบทำหน้าที่ต่างกันหลายแบบ เช่น
- ใบสะสมอาหาร : - ว่านหางจระเข้ กะหล่ำปลี
- ใบดอก : - อุตพิต เฟื่องฟ้า คริสต์มาส
- ใบมือเกาะ : - ตำลึง มะระ
- ใบกับดักแมลง : - หม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแครง
F พืชดอกแบ่งออกเป็น 2 คลาส คือ
1. Class Monocotyledones ได้แก่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พบแล้วประมาณ 65,000 ชนิด เช่น มะพร้าว ข้าว อ้อย หญ้า ฯลฯ
2. Class Dicotyledones ได้แก่ พืชใบเลี้ยงคู่ พบแล้วประมาณ 170,000 ชนิด เช่น มะเขือ ชบา กุหลาบ มะม่วง ฯลฯ

ของมิกกี้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อาณาจักรพืช หรือสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์  สร้างอาหารได้เอง มีรงควัตถุเคลื่อนไหวได้  แต่ไมเคลื่อนที่  เช่น  มอส    สนปรง  พืชดอกทุกชนิด  ฯลฯ


---------

Division  Bryophyta

        พืชไม่มีระบบท่อลำเลียง  ไม่มีราก  ลำต้น  และใบที่แท้จริง  ดังนั้นจึงต้องขึ้นอยูในที่มีความชื้นสูง 
เช่น  มอส  ลิเวอร์เวิร์ต  ฮอร์นเวิร์ต


        มอสส์




---------

Division  Psilophyta

        พืชมีลำต้นเป็นเหลี่ยมแตกกิ่งเป็นคู่ๆ  มีอับสปอร์  ไม่มีใบแท้  ใบเป็นเกร็ดเล็กๆ อยู่ตามข้อ  ไม่มีรากมีแต่  Rhizoid    เช่น  Psilotum  (หวายทะนอย)






---------

Division  Lycophyta

        พืชมีราก  ลำต้น  ใบที่แท้จริงขนาดเล็ก  ที่ยอดมี  Strobilus  สร้างสปอร์  เช่น

        - พวก  Lycopodiumm  ได้แก่  ช้องนางคลี่  สร้อยสุกรม  หางกระรอก 

        - พวก  Selaginellla  ได้แก่  **ตุ๊กแก

 


---------

Division  Sphenophyta

        พืชมีลำต้นเล็กต่อกันเป็นข้อๆ  ใบเป็นเกร็ดเล็กๆ  แตกรอบข้อ  มีราก  ปลายยอดมี  Strobilus  เช่น
พวก  Equisetum  ได้แก่  ฆญ้าถอดปล้อง  หญ้าเงือก  สนหางม้า






---------

Division  Pterophyta

        พืชมีราก  ลำต้น  ใบเจริญดี  เป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ  ซึ่งใบอ่อนจะม้วนจากปลายใบมายังโคนใบเป้นวงสืบพันธ์โดยการสร้างสปอร์  เช่น  เฟิร์นก้างปลา  ชายผ้าสีดา  และพกเฟิร์นน้ำ  ได้แก่  ผักแว่น  แหนแดง  จอกหูหนู  รวมทั้งหญ้าลิเภา




---------

Division  Coniferophyta

        พืชต้นขนาดใหญ่  ใบเดี่ยวรูปเข้ม  ลักษณะเด่นคือ มีเมล็ดซึ่งไม่มีผนังรังไข่หุ้ม    เรียกว่า  Cone เช่น
สนสองใบ  สนสามใบ  แป๊ะก๊วย




---------

Division  Cycadophyta

        พืชต้นเตี้ย  ใบประกอบขนาดเล็ก  แข็งกระจุกอยู่ที่ยอดของลำต้น เช่นปรง




---------

Division  Anthophyta

        เป็นพวกที่สืบพันธ์โดยอาศัยดอก  หรือ  เรียกว่าพืชดอก  เมล็ดมีรังไข่หุ้ม  หรือเรียกว่า  Angiosperm    แบ่งออกเป็นพืชใบเลี้ยงคู่  และใบเลี้ยงเดี่ยว  เช่น  กุหลาบ  กล้วยไม้

แก้ไขล่าสุด 31 ต.ค. 50 20:55 | ไอพี: ไม่แสดง

#7 | บอล[ง่วง] (ไม่เป็นสมาชิก) | 31 ต.ค. 50 20:40 น.

ของกานๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ดิวิชัน ไซแคโดไฟตา(Division Cyacdophyta ) ได้แก่ ปรงป่า มะพร้าวเต่า ปรงญี่ปุ่น

ต่อๆๆ

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในดิวิชันนี้ คือ

เมล็ดไม่มีรังไข่หุ้ม
มีวิวัฒนาการมาจากเฟิร์นที่มีเมล็ด
ใบเป็นใบประกอบคล้ายขนนก มีขนาดใหญ่ ใบย่อยมีขนาดเล็กแข็ง
ภายในลำต้นมีท่อกลวงมาก มีเนื้อไม้น้อย ลำต้นมีขนาดใหญ่ เตี้ย มีขนาดเล็กกว่าพวกสน ไม่แตกกิ่งก้านเหมือนสน
ใบเป็นกระจุกอยู่ที่ยอดของลำต้น

ไอพี: ไม่แสดง

#8 | porphyra (ไม่เป็นสมาชิก) | 9 พ.ย. 50 22:39 น.

สวัสดี  อันนี้เป็นของนุ้ย นะครับ

หัวข้อไฟลัมครับ (ความหลากหลายของพืช Division)

1.ไฟลัมเฮปาโทไฟตา Hepatophyta (liver worts)
2.ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา Anthocerophyta (horn worts)
3.ไฟลัมไบรโอไฟตา Bryophyta (moss)
4.ไฟลัมไลโคไฟตา Lycophyta (lycopodium,isoetes,selaginella)
5.ไฟลัมเทอโรไฟตา Pterophyta (ferns)
6.ไฟลัมไซแคโดไฟตา Cycadophyta (ปรง)
7.กิงโกไฟตา Ginkgophyta (Ginkgo biloba แปะก๊วย)
8.โคนิเฟอโรไฟตา Coniferophyta (สน)
9.นีโทไฟตา Gnetophyta (gnetum, welwitschia, ephedra)
10.แอนโทไฟตา Anthophyta (พืชมีดอกทั่วๆไป)

ไอพี: ไม่แสดง

#9 | MeiSunG (ไม่เป็นสมาชิก) | 9 พ.ย. 50 22:48 น.

ของเมย์จ๊า 29 คริๆๆ

12.ดิวิชั่นแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)

        พืชในดิวิชั่นนี้คือพืชดอก (Flower plant) เรียกกันทั่วไปว่า แองจิโอสเปิร์ม (Angiosperm)
พืชดอกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
พืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon) ได้แก่พืชที่มีใบเลี้ยง 2 ใบ มีอยู่จำนวนมากที่สุด
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) ได้แก่พืชดอกที่มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว
ลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน ของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ใบเลี้ยง (Cotyledon) พืชใบเลี้ยงคู่มี 2 ชนิดและใบเลี้ยงมักมีอาหารสะสมอยู่ โดยทำหน้าที่ให้อาหาร แก่ต้นอ่อนในระยะเริ่มแรก ส่วนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยงนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ในการสะสมอาหาร แต่เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) จะทำหน้าที่สะสมแทน โดยใบเลี้ยงจะทำหน้าที่ย่อยอาหารที่สะสมไว้
ใบ (Leaf) ใบพืชมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ตัวใบ(Blade) และก้านใบ(Petiole) ที่ต่อไปจะมีการจัดเรียงของเส้นใบ เส้นใบขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า เส้นกลางใบ (Mid rib) ส่วนเส้นแขนงที่แยกออกมาเรียกว่า เส้นใบ (Vein)
ลำต้น (Stem) ลำต้นเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสร้างอาหาร และชูใบ ลำต้นมีทั้งชนิดที่อยู่บนดิน และลำต้นที่อยู่ใต้ดิน เช่น ขิง มันฝรั่ง เผือก
- ลำต้นของพืชในเลี้ยงคู่มักมองเห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน แต่พืชใบเลี้ยงเดี่ยงมองเห็นได้ ชัดเจน เช่นข้าวโพด อ้อย ไผ่
- ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่เมื่อตัดตามขวางจะพบว่า การจัดเรียงตัวของท่อน้ำ (Xylem) และท่ออาหาร (Phloem) มีระเบียบ โดยมีลักษณะเป็นวงโดยมีท่อน้ำอยู่ด้านใน และท่ออาหารอยู่ด้านนอก ส่วนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวพบว่าไม่มีการจัดระเบียบของท่อลำเลียง
- ลำต้นพืชในใบเลี้ยงคู่มักมีเนื้อเจริญด้านข้าง (Cabium) ส่วนพืชในใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มี Cambium
ราก(Root) พืชใบเลี้ยงคู่มีรากแก้ว ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มีรากแก้วแต่มีรากฝอย
ดอก(Flower) กลีบดอกของพืชใบเลี้ยงคู่มักมีกลีบเลี้ยง 4 ถึง 5 หรือทวีคูณ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีจำนวนกลีบดอก เป็น 3หรือทวีคูณของ 3









Credit:http://www.magicit.net/biology/site/plantae/anthophyta.html

แก้ไขล่าสุด 11 พ.ย. 50 17:18 | ไอพี: ไม่แสดง

#10 | porphyra (ไม่เป็นสมาชิก) | 9 พ.ย. 50 23:30 น.

เริ่มจากการ เกริ่นนำ ชื่อdivision และ พืชในกลุ่ม แล้ว    ต่อมาก็จะเจาะลึกแต่ละdivision วิวัฒนาการของพืช เชื่อว่ามาจาก multicellulaar algae กลุ่ม Charophyta
พืชอยู่ใน domain eukarya และอยู่ใน kingdom plantae
เราจัดแบ่งพืชได้หลายกลุ่มคร่าวๆดังนี้

พืชไม่มีท่อลำเลียง (hepatophyta,anthocerophyta,bryophytaX
พืชมีท่อลำเลียง  ซึ่งแบ่งต่อได้อักดังนี้

      ไม่มีเมล็ด (lycophyta,Pterophyta)
        มีเมล็ด อาจแบ่งได้อีก ดังนี้

        มีเมล็ดแต่ไม่มีดอก(Cycadophyta,Ginkgophyta,Coniferophyta,
        Gnetophyta)
        มีเมล็ดและมีดอก  (anthophyta)

ภาคเจาะลึก เริ่มจาก division Hepatophyta 
อาศัยอยู่ในที่ชื้น เย็น  มักมีรูปร่าง2แบบ
แบบที่1 (thalloid liverworts) รูปร่างแบน มีสีเขียว ทอดราบไปตามพื้นดิน ปลายแผ่นแตกออกเป็น2แฉก  ใต้แผ่นมี rhizoid พบมากได้แก่ สกุล marchantia riccia
แบบที่2 (leafy liverworts) มีส่วนคล้ายๆใบชูขึ้นเหนือดินเล็กน้อย มีใบเรียงตัวรอบส่วนแกนที่คล้ายลำต้น พบมากด้แก่ สกุล porella และ cedhaloziella

คำอธิบาย ลักษณะของ hepatophyte ทั่วๆไป ในที่นี้ ใช้พืชในสกุล marchantia ในการอธิบาย
gamethophyte เป็นแผ่นราบปลายแตกเป็น2แฉก  เรียก ต้น gamethophyte แบบนี้ว่า thallus ซึ่งกลางthallusนี้จะมีส่วนคล้ายเส้นกลางใบ แต่ไม่ใช่เส้นกลางใบ(เพราะไม่ได้ประกอบด้วยท่อลำเลียง)
  การสืบพันธุ์มีทั้งแบบ อาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
แบบไม่อาศัยเพศ เกิดโดยthallusขาดออกจากกัน แล้วงอกใหม่
  หรือ บางชนิดมีการสร้าง gemma cup สร้างขึ้นที่ผิวด้านบนบริเวณปลาย thallus กายในถ้วย จะมีโครงสร้างแผ่นสีเขียวเล็กๆ เรียก gemma เมื่อ gemma หลุดออกจะสามารถงอกใหม่ได้

ขี้เกียจพิมพ์แล้วจ้า เมื่อยมือ**ๆ เนื้อหาเรื่องการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของliverworts ดูเอาจากของ สรวิศละกัน ละเอียดดี
เครดิตจาก สมุดจดlecture วิชา plant kingdom โดย ศ.อักษร ศรีเปล่ง
บันทึก และเรียบเรียงใหม่โดย วีรภัทร คิ้ววงศ์งาม (นุ้ย)

ไอพี: ไม่แสดง

#11 | thny_np's (ไม่เป็นสมาชิก) | 10 พ.ย. 50 15:10 น.

10.ดิวิชั่นนีโทไฟตา (Division Gnetophyta)

        จัดเป็น Gymnosperm ที่มีวิวัฒนาการสูงสุด มีลักษณะบางอย่าง ใกล้เคียงกับพืชมีดอก ส่วนใหญ่พบในเขตแห้งแล้งหรือทะเลทราย เป็นพวกซีโรไฟต์ บางชนิดพบในป่าเขตร้อน มีเพียง 3 สกุล ได้แก่สกุล Gnetum, Welwitchia และ Ephedra รวมประมาณ 30 ชนิด
ในประเทศไทยพบสกุลเดียวคือ Gnetum พบประมาณ 8 ชนิด
Ephedra เป็นกลุ่มของพืชที่มีทั้งต้นแยกเพศ (dioecious) และสมบูรณ์เพศ
(monoecious) ลักษณะของลำต้นที่ดูเหมือนไม่มีใบ คล้ายกับลำต้นที่ต่อกันเป็นข้อ ๆ ของหญ้าถอดปล้อง แต่ความจริงแล้ว Ephedra นั้นมีใบเป็นเกล็ดขนาดเล็กที่ ไม่สังเคราะห์แสง แต่ใช้ลำต้นทำหน้าที่แทน Welwitschia mirabilis เป็นพืชเพียงชนิดเดียวในสกุลนี้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ มีการเจริญเติบโตที่ช้ามาก ลำต้นของมันมีเนื้อไม้ที่โค้งงอ และมีเปลือกหุ้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นโตได้ถึง 1.5 เมตร W. mirabilis เป็นพืชที่แยกเพศ โดยที่มันจะสร้าง male และ female strobilus แยกต้นกัน การปฏิสนธิใน W. mirabilis แปลกกว่าพืชอื่น ๆ คือ มันจะสร้างท่อเจริญออกมาจากไข่ ขึ้นไปเชื่อมกับ pollen tube
ที่สร้างขึ้นจาก pollen โดยการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายในท่อที่เชื่อมรวมกันนี้
Gnetum เป็นพันธุ์พืชในเขตร้อนชื้น ที่มีต้นแยกเพศ ีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ และมีใบเจริญดี แผ่แบนและมีเส้นใบเป็นร่างแหเหมือนกับใบของพืชใบเลี้ยงคู่

ไอพี: ไม่แสดง

#13 | เอ้ (ไม่เป็นสมาชิก) | 10 พ.ย. 50 16:07 น.

***เน็ต 42***

ดิวิชั่นไลโคไฟตา
พบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น มีร่มเงา ในประเทศไทย พบมีอยู่ 2 จีนัส ได้เเก่
- ซีเเลกจิเนลลา ( Selaginella )
หรือพวก**ตุ๊กเเก หญ้าร้องไห้ พ่อค้าตีเมีย
- ไลโคโปเดียม ( Lycopodium )
หรือพวกช้องนางคลี่ สร้อยสุกรม
หางกระรอก หญ้ารังไก่ สร้อยสีดา สนหางสิงห์ สามร้อยยอด 
ลักษณะต้นสปอโรไฟต์ ของพืชดิวิชั่นไลโคไฟตา
- ลำต้นมีทั้งส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน เเละลำต้นที่อยู่ใต้พื้นดินที่เรียกว่า
ไรโซม ( rhizome )
- ลำต้นเหนือพื้นดินอาจตั้งตรง หรือเลื้อยทอดไปตามผิวดิน หรือเกาะต้นไม้อื่นก็ได้
- มีรากเเละใบที่เเท้จริง
- ใบเป็นเเบบไมโครฟิลล์ ( ขนาดเล็ก มีเเต่เส้นกลางใบ ) ใบเรียงตัวเป็นเกลียวรอบลำต้น
- สร้างสปอร์ ( n ) โดยการเเบ่งเซลล์เเบบไมโอซิสเเบบภายใน สโตรบิลัส ( strobilus ) หรือโคน ( cone ) เป็นอับสปอร์ที่เกิดจากในที่ยอดเรียงซ้อนกันเเน่น ( สปอร์โรฟิลล์ )
ต้นเเกมีโทไฟต์
- งอกจากสปอร์ที่ปลิวตกลงสู่พื้นดิน มีลักษณะเป็นเเผ่น เจริญอยู่ใต้ดิน เเละมีบางส่วนโผล่พ้นผิวดิน
- ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ( n )
- การปฏิสนธิ สเปิร์มว่ายน้ำไปผสมกับไข่ เกิดไซโกต ( 2n ) งอกเป็นต้นสปอโรไฟต์ที่ตายไป 
เกร็ดความรู้
วัฏจักรของ**ตุ๊กเเก กรือซีเเลกจิเนลลา ( ดิวิชันไลโคไฟตา ) ต้นสปอร์โรไฟต์ ( 2n )
สร้างสปอร์ ( n ) 2 ชนิด เป็นเเกมีโทไฟต์เพศผู้เเละเเกมีโทไฟต์เพศเมียทำหน้าที่สร้างสเปิร์มเเละไข่ สเปิร์มว่ายน้ำเข้าไป
ปฏิสนธิกับไข่ในอาร์คีโกเนียม เกิดเอ็าบริโอ ( 2n ) ที่จะงอกเป็นต้นสปอร์โรไฟต์



http://dit.dru.ac.th/biology/lycophyta.html

***เอ้43***

ดิวิชันเทอโรไฟตา
ได้เเก่ พวกเฟินต่างๆ เช่น เฟินก้างปลา เฟินเกล็ดหอย เเหนเเดง จอกหนู ( เฟินลอยน้ำ ) ผักเเว่น ผักกูดน้ำ กูดเกี๊ยะ ปรงทะเล ย่านลิเภา ชายผ้าสีดา ฯลฯ 
ลักษณะต้นสปอร์โรไฟต์ของเฟิน
- มีลำต้น รากใบเจริญดี
- ใบมีขนาดใหญ่ ( เเบบเมกะฟีลล์ ) ทีมีชื่อเสียงเฉพาะว่า ฟรอนด์ ( frond ) เฉพาะใบเท่านั้นที่อยู่เหนือพื้นดิน ที้งใบเเละรากงอกมาจากลำต้นใต้ดิน (ไรโซม)
- ใบอ่อนมีลักษณะม้วนขดเป็นวงกลม ( circinate leaves )
- สปอร์ที่สร้างอยู่ในอับสปอร์เรียกว่า ซอรัส ( sorus ) ซึ่งอยู่ใต้ใบ 
ต้นเเกมีโทไฟต์
-งอกจากสปอร์ที่ปลิวตกลงสู่พื้นดินมีลักษณะเป็นเเผ่น
เเบนเล็กสีเขียวรูปร่างคล้ายหัวใจเรียกว่าโพรทัลเลียม
(prothallium) - ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ( n )
- สเปริ์มจะว่ายน้ำไปผสมพันธุ์กับไข่ เกิดเป็นไซโกต ที่จะ
เจริญขึ้นเป็นต้นสปอร์โรไฟต์บนต้นเเกมีโทไฟต์ซึ่งจะตายไป

เกร็ดความรู้

วัฏจักรชีวิตของเฟิน ต้นเฟินที่เราเห็นคือ ต้นสปอโรไฟต์ มีกลุ่มของอับสปอร์เรียกว่า ซอรัส อยู่ใต้ใบ สปอร์ ( n ) ซึ่งเกิดจากการเเบ่งเซลล์เเบบไมโอซิส จะงอกเป็นต้นเเกมีโทไฟต์ซึ่งมีลักษณะเป็นเเผ่นคล้ายหัวใจ
เรียกว่า โพรทัลเลียม ทำหน้าที่สร้างไข่เเละสเปิร์ม ปฏิสนธิกันเกิดไซโกตเจริญเติบโตเป็นต้นสปอร์โรไฟต

http://dit.dru.ac.th/biology/pterophyta.html

แก้ไขล่าสุด 10 พ.ย. 50 16:28 | ไอพี: ไม่แสดง

#14 | porphyra (ไม่เป็นสมาชิก) | 10 พ.ย. 50 20:37 น.

สวัสดี ข้าพเจ้าคือ นุ้ย
มาต่อกับ division anthocerophyta เราขี้เกียจพิมพ์ เอาเป็นว่า ดูข้อมูลจากของสรวิศเอาละกัน
ส่วนของ Division Bryophyta ก็ดูเอาจาก สรวิศอีกเช่นกัน แต่เราจะขอ เรียงเนื้อหาใหม่ดังนี้
Division Bryophyta
ได้แก่พืช พวกมอส
Gametophyte
        มอสมีวงชีวิตแบบสลับ โดยมีระยะแกมมีโตไฟต์เด่นกว่าสปอร์โรไฟต์ ดังนั้นต้นที่พบทั่วไปจึงเป็นต้นแกมมีโตไฟต์ซึ่งมีสีเขียว อัดตัวกันแน่นคล้ายพรหม ไม่มีใบ ลำต้นและรากที่แท้จริง แต่มีส่วนที่คล้ายลำต้นและใบมาก มี Rhizoid ทำหน้าที่ยึดกับพื้นดินหรือวัตถุที่เจริญ
มอสที่พบตามธรรมชาติ
Sporophyte
สปอร์โรไฟต์อาศัยอยู่บนแกมมีโตไฟต์ตลอดชีวิต ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ foot ใช้ยึดกับแกมมีโตไฟต์ stalk เป็นก้านชู ยาวและcapsule ส่วน capsule เป็นส่วนที่มีความสำคัญ ที่สุด มีฝาเปิดหรือoperculum อยู่ด้านบน และจะเปิดออกเมื่อแคปซูลแก่ operculum จะถูกห่อหุ้มด้วย calyptra เป็นเยื่อบางๆ ช่วยป้องกันอันตรายให้กับ capsule แต่มักจะหลุดไปเมื่ออายุมากขึ้น ถัดจาก operculum จะเป็นเนื้อเยื่อที่มีการสร้าง spore เซลล์ในชั้นนี้แบ่งตัวแบบไมโอซิสได้สปอร์ เมื่อสปอร์โรไฟต์แก่ operculum จะเปิดให้เห็น peristome teeth ลักษณะคล้ายซี่ฟัน มีคุณสมบัติไวต่อความชื้น (hygroscopic) เมื่ออากาศแห้ง ความชื้นในอากาศน้อย peristme teeth จะกางออก ทำให้ดีดสปอร์ออกมาด้วย และจะม้วนตัวเข้าไปภายใน capsule เมื่อความชื้นในอากาศมาก เมื่อสปอร์ตกไปในที่ๆมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะงอกได้ทันที ซึ่งจะงอกเป็นเส้นสาย สีเขียวที่เรียกว่า protonema ลักษณะคล้ายสาหร่ายสีเขียวมาก

ไอพี: ไม่แสดง

#15 | patza | 10 พ.ย. 50 21:02 น.

Pat 44
ดิวิชั่นกิงโกไฟตา (Division Ginkgophyta)
        พืชในดิวิชันนี้ คือ แป๊ะก๊วย (Ginkgobiloba) มีลำต้นขนาดใหญ่คล้ายพืชดอก
แผ่นใบกว้างมีลักษณะคล้ายรูปพัด เป็นพืชที่มีเมล็ดเปลือยและเมล็ดมีขนาดใหญ่รับประทานได้
ชอบขึ้นในเขตหวานเช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น
****พืชพวกสน ปรง แป๊ะก๊วย เรียกรวมกันว่า พวกจิมโนสเปิร์ม (gymnosperm)
จัดเป็นพืชกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญในเขตอบอุ่นมีไม้พวกสนจำนวนมาก
จึงนำมาใช้ประโยชน์ในแง่เศรษฐกิจ ทำเครื่องเรือนเครื่องใช้ต่างๆ กระดาษ
ไม้อัด เชื้อเพลิง น้ำมันสนซึ่งนำมาใช้ผสมสีทำน้ำมันชักเงา สนเป็นไม้ที่โตเร็ว
เพราะมี ราไมคอไรซา (mycorrhiza)เจริญอยู่ที่ราก
ราพวกนี้สามารถเปลี่ยนฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้
ขณะเดียวกันราจะได้รับอาหารจากพืชด้วยจึงนิยมใช้สนในการปลูกป่า
ส่วนปรงซึ่งเป็นพืชที่มีขนาดเล็กกว่าสน มีรูปทรงสวยงามจึงมักปลูกเป็นไม้ประดับ
แป๊ะก๊วยเรานิยมนำเมล็ดมารับประทาน






ลักษณะโดยทั่วไป
        เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 30-40 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นสีน้ำตาล เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดการเจริญขั้นที่สอง ใบคล้ายพัดจีน ใบเรียงตัวแบบสลับ (alternate) ใบมีลักษณะเฉพาะ คือเป็นร่องลึกบริเวณกลางใบทำให้เห็นเป็นสองพูอย่างชัดเจน จึงได้ชื่อว่า Ginkgo biloba (two lobes) นั่นเอง ใบมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีทอง ในฤดูใบไม้ร่วง สวยงามมาก แป๊ะก๊วยมีอายุยืนนานหลายปี อาจถึงพันปี ซึ่งเคยพบอายุถึง 3,500 ปี
การสืบพันธุ์
      ต้นแป๊ะก๊วยที่พบทั่วไปเป็นต้นสปอร์โรไฟต์ที่แยกเพศ (dioecious) เหมือนกับ Gymnosperm ชนิดอื่นๆ ต้นตัวผู้สร้าง microsporangia อยู่บนกิ่งสั้นๆ (spur shoots) เรียกโครงสร้างนี้ว่า male cone ต้นตัวเมียสร้างสร้าง megasporangia ภายในมี ovules ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นเมล็ด การถ่ายละอองเรณูเกิดเมื่อมีลมพัด pollen grain ตกลงบน megasporangia และ ไข่ได้รับการผสมเมื่อเจริญเต็มที่ ส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอกสุดจะนุ่มเละและสลายไปและมีกลิ่นเหม็นหืนเนื่องจากมีจำพวกกรดบิวตาลิก แป๊ะก๊วยมีประโยชน์ ส่วนเมล็ดนำมาสกัดหรือรับประทานป้องกันโรคความจำเสื่อม (Alzheimer) นอกจากนี้ยังนำมารักษาโรคอื่นๆ โรคหืด โรคภูมิแพ้ และบรรเทาอาการไอ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยช่วยรักษาความสมบูรณ์ของ ผนังเส้นเลือดฝอย นำไปใช้ในผู้ป่วยที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ในประเทศจีนถือว่าแป๊ะก๊วยเป็นไม้มงคลด้วย

ไอพี: ไม่แสดง

#16 | porphyra (ไม่เป็นสมาชิก) | 10 พ.ย. 50 21:36 น.

นุ้ย(ภาคต่อกับDivision Lycophyta)
พวกนี้ เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงในทุกส่วน ทั้งใน ต้น ราก ใบ
แบ่งได้เป็น3family ดังนี้
Lycopodiaceae
Sporophyte มีลำต้นใต้ดิน(rhizome) ลำต้นบนดิน แตกแขนงแบบdichotomus ใบมีขนาดเล็ก มีเส้นใบ1เส้นไม่มีการแตกแขนงของเส้นใบ
(เรียกใบแบบนี้ว่าmicrophyll) ซึ่งเรียงตัวเป็นเกลียว รอบลำต้น รากเป็นadventitious root สร้างอวัยวะสืบพันธุ์ที่ปลายกิ่ง เรียก strobilus ประกอบด้วย ใบเล็กๆที่มีอับสปอร์(sporangium)อยู่ที่โคนใบ เรียกใบแบบนี้ว่า sporophyll เรียงตัวอัดกันแน่น
พืชพวกนี้จะสร้างสปอร์แบบเดียว จึงเรียกว่า homosporous plant
Isoeteaceae
มักขึ้นตามบึง รากมีช่องอากาศ พวกนี้สร้างสปอร์2ขนาด เรียกว่า heterosporous plant



Selaginellaceae
ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งแบบdichotomus ลำตันมีรยางค์แตกออกมาเรียกว่า rhizophore ที่ปลาย rhizophore จะมีราก adventitious root อยู่
ใบเรียงรอบลำต้นเป็นใบแบบmicrophyll แต่ใบบิดตัวทำให้เห็นใบเรียงตัว ซ้าย-ขวา มีใบ2ขนาด เรียกใบที่มีลักษณะต่างกันนี้ว่า
heterophyllous leaves
สร้างstrobilus ที่ปลายกิ่ง ประกอบด้วยsporophyll มาอัดกันแน่น พวกนี้สร้างสปอร์2ขนาดจึงเรียกว่าเป็น heterosporous plant
สปอร์ขนาดเล็กเรียก microspore สร้างอยู่ใน microsporangium ซึ่งอยู่บนmicrosporophyllอีกที
ส่วนสปอร์ขนาดใหญ่เรียกmegaspore สร้างอยู่ใน magasporangiumซึ่งอยู่บนmegasporophyllอีกที
เมื่อ สปอร์เจริญต่อไป จะไปเป็น gametophyte
->megasporeจะไปเป็น megagametophyte  อยู่ภายในmagasporangium ทำหน้าที่สร้างarchegoniumซึ่งมีหน้าที่เก็บeggไว้และจะยื่นส่วน
neck cell ออกมานอกผนังของmegasporeที่แตกออก ใช้เป็นช่องทางให้spermเข้าผสม
->microspore จะไปเป็น microsporangium อยู่ภายใน microsporangium ทำหน้าที่สร้าง sperm เมื่อผนังของ microsporeแตกออก sperm จะว่ายน้ำไปยังarchegonium เข้าผสมกับ egg
*เรียกการที่spore ไม่มีการกระจายออกจาก sporangium ทำให้ gametophyte อยู่ภายใน sporangium ว่าเป็น endospory

ไอพี: ไม่แสดง

#17 | biew1 (ไม่เป็นสมาชิก) | 10 พ.ย. 50 22:29 น.

จาก บิว 40  (ม่ายรู้ถูกป่าวน่ะ)

พืชพวกไบรโอไฟต้าได้เเก่
- ลิเวอร์เวิร์ด มีลักษณะเป็นเเผ่นบาง ( เรีนกว่า ทัลลัส ) มีสีเขียว
เเละรูปร่างคล้าย ตับ ( liver )
- มอส มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าลิเวอร์เวิร์ท มีลักษณะคล้ายลำต้น
รากเเละใบของ พืชชั้นสูง
วัฏจักรชีวิตเเบบสลับของไบรโอไฟต้า ( alternation of generation )
ต่างจากพืชอื่นๆคือมีต้นสปอร์โรไฟต์ขนาดเล็ก เเละอาศัยอยู่บนต้น
เเกมีโทไฟต์ขนาดใหญ่ ต้นมอสเเละลิเวอร์ทสีเขียวที่เราพบเห็นทั่งไป
เป็นต้นเเกมีโตไฟต์ 
ต้นเเกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์ มีลักษณะดังนี้
- ขนาดเล็ก ( สูงไม่เกิน 15 cm. )
- ยังไม่มีราก ใบ เเละลำต้นที่เเท้จริง ( ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงภายใน )
- มีเเต่โครงสร้างคล้ายรากคือ ไรซอย์ ( rhizoid ) เป็นเพียงเซลล์เดี่ยวๆเเละโครง สร้างคล้ายใบเล็กๆทำหน้าที่สังเคราะห์เเสง
- ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ( n ) โดยการเเบ่งเซลล์เเบบไมโอซิส ต้นเเกมีโท ไฟต์เพศผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์ที่ปลายยอด เรียกว่า เเอนเทอรอเดียม ( antheridium ) ทำหน้าที่สร้างเสปิร์ม ต้นเเกมีโทไฟต์เพศเมียมีอวัยวะสืบพันธุ์เรียกว่า อาร์โก เนียม ( archegonium ) ทำหน้าที่สร้างรังไข่
- การปฏิสนธิ สเปิร์มว่ายไป ปฏิสนธิกับไข่เกิดไซโกต ( 2n ) เจริญเติบโตเป็นต้น สปอร์โรไฟต์
ต้นสปอร์โรไฟต์
อาศัยอยู่บนต้นเเกมีโทไฟต์เพศเมีย
สร้างอาหารเองไม่ได้ ( ไม่มีสีเขียว )
ทำหน้าที่สร้างสปอร์ ( n ) โดยการเเบ่งเซลล์เเบบไมโอซิส สปอร์ปลิวตกไปงอก เป็นเเกมีโตไฟต์ต้นใหม่ต่อไป
ไบรโอไฟตืเป็นพืชที่ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง การลำเลียงน้ำเเละสารอาหารภายในต้นพืชเกิดขึ้นโดย การเเพร่ ( diffusion ) ดังนั้นลำเลียงได้ช้าๆเเละเป็นข้อจำกัดทำให้พืชขนาดเล็ก เเละต้องขึ้นรวมกลุ่มหนาเเน่นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง เช่น ตามผิวดิน ก้อนหินเปียกชื้น กระถางต้นไม้ใกล้เเอ่งน้ำ บนภูเขาที่มีความชุ่มชื้น

บิว 40 ต่อ
ดิวิชั่นไลโคไฟตา
พบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น มีร่มเงา ในประเทศไทย พบมีอยู่ 2 จีนัส ได้เเก่
- ซีเเลกจิเนลลา ( Selaginella )
หรือพวก**ตุ๊กเเก หญ้าร้องไห้ พ่อค้าตีเมีย
- ไลโคโปเดียม ( Lycopodium )
หรือพวกช้องนางคลี่ สร้อยสุกรม
หางกระรอก หญ้ารังไก่ สร้อยสีดา สนหางสิงห์ สามร้อยยอด 
ลักษณะต้นสปอโรไฟต์ ของพืชดิวิชั่นไลโคไฟตา
- ลำต้นมีทั้งส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน เเละลำต้นที่อยู่ใต้พื้นดินที่เรียกว่า
ไรโซม ( rhizome )
- ลำต้นเหนือพื้นดินอาจตั้งตรง หรือเลื้อยทอดไปตามผิวดิน หรือเกาะต้นไม้อื่นก็ได้
- มีรากเเละใบที่เเท้จริง
- ใบเป็นเเบบไมโครฟิลล์ ( ขนาดเล็ก มีเเต่เส้นกลางใบ ) ใบเรียงตัวเป็นเกลียวรอบลำต้น
- สร้างสปอร์ ( n ) โดยการเเบ่งเซลล์เเบบไมโอซิสเเบบภายใน สโตรบิลัส ( strobilus ) หรือโคน ( cone ) เป็นอับสปอร์ที่เกิดจากในที่ยอดเรียงซ้อนกันเเน่น ( สปอร์โรฟิลล์ )
ต้นเเกมีโทไฟต์
- งอกจากสปอร์ที่ปลิวตกลงสู่พื้นดิน มีลักษณะเป็นเเผ่น เจริญอยู่ใต้ดิน เเละมีบางส่วนโผล่พ้นผิวดิน
- ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ( n )
- การปฏิสนธิ สเปิร์มว่ายน้ำไปผสมกับไข่ เกิดไซโกต ( 2n ) งอกเป็นต้นสปอโรไฟต์ที่ตายไป

ดิวิชันเทอโรไฟตา
ได้เเก่ พวกเฟินต่างๆ เช่น เฟินก้างปลา เฟินเกล็ดหอย เเหนเเดง จอกหนู ( เฟินลอยน้ำ ) ผักเเว่น ผักกูดน้ำ กูดเกี๊ยะ ปรงทะเล ย่านลิเภา ชายผ้าสีดา ฯลฯ 
ลักษณะต้นสปอร์โรไฟต์ของเฟิน
- มีลำต้น รากใบเจริญดี
- ใบมีขนาดใหญ่ ( เเบบเมกะฟีลล์ ) ทีมีชื่อเสียงเฉพาะว่า ฟรอนด์ ( frond ) เฉพาะใบเท่านั้นที่อยู่เหนือพื้นดิน ที้งใบเเละรากงอกมาจากลำต้นใต้ดิน (ไรโซม)
- ใบอ่อนมีลักษณะม้วนขดเป็นวงกลม ( circinate leaves )
- สปอร์ที่สร้างอยู่ในอับสปอร์เรียกว่า ซอรัส ( sorus ) ซึ่งอยู่ใต้ใบ 
ต้นเเกมีโทไฟต์
-งอกจากสปอร์ที่ปลิวตกลงสู่พื้นดินมีลักษณะเป็นเเผ่น
เเบนเล็กสีเขียวรูปร่างคล้ายหัวใจเรียกว่าโพรทัลเลียม
(prothallium) - ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ( n )
- สเปริ์มจะว่ายน้ำไปผสมพันธุ์กับไข่ เกิดเป็นไซโกต ที่จะ
เจริญขึ้นเป็นต้นสปอร์โรไฟต์บนต้นเเกมีโทไฟต์ซึ่งจะตายไป

ดิวิชั่นโคนิเฟอโรไฟตา
ได้เเก่ พืชพวกสน เช่น สนสองใบ สนสามใบ มักพบในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ดอยอินทนนท์ ขุนตาล ภูกระดึง
ลักษณะต้นสปอโรไฟต์ของพวกสน
- เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ต้นสูงชะลูด
- ใบมีลักษณะคล้ายรูเข็ม มีคิวติเคิลหนาปกคลุม เเละใบมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
- มีอวัยวะสืบพันธุ์เรียกว่า โคน ( cone ) หรือ สโตรบิลัส ( strobilus ) ลักษณะเป็นเกล็ดหรือ เเผ่นเเข็งที่เรียงซ้อนกันเเน่น เปลี่ยนเเปลงมาจากใบที่เรียงซ้อนกัน
( สปอโรฟีลล์ )
- โคนมี 2 ชนิด คือ โคนตัวผู้ ทำหน้าที่สร้างไมโครสปอร์ที่จะเปลี่ยนเเปลงต่อไปเป็นละอองเรณูหรือเเกมีโทไฟต์เพศผู้ เเละโคนตัวเมีย ทำหน้าที่สร้างเมกะสปอร์ที่เปลี่ยนเเปลงไปเป็น
เเกมีโทไฟต์เพศเมียที่สร้างไข่ภายในโอวูล
- เม็ดไม่มีผนังรังไข่หรือผลห่อหุ้ม เรียกว่า เมล็ดเปลือย ( naked seed ) เกิดขึ้นติดอยู่กับเเต่ละเกล็ดของโคนตัวเมีย
การสืบพันธุ์
- มีการถ่ายละอองเกสรโดยลม เมื่อละอองเรณูตกลงบนโคนตัวเมีย
จะเจริญขึ้นเเละสร้างสเปิร์มกับหลอดละอองเรณูที่จะนำสเปิร์ม
ไปปฏิสนธิกับไข่เกิดไซโกตขึ้นภายในโอวูล
- หลังปฏิสนธิ โอวูลเปลี่ยนเเปลงไปเป็นเมล็ด ไซโกตจะเจริญขึ้น
กลายเป็นเอมบริโอ ที่จะเจริญต่อไปเป็น ต้นอ่อนของสปอโรไฟต์
( young sporphyte ) ภายในเมล็ด
- เมล็ดที่เเก่จัด ปลิวไปตกในที่เหมาะสม งอกเป็นสปอโรไฟต์ต้นใหม่

ต้นเเกมีโทไฟต์ของสน มีขนาดเล็กมากเหลือเพียงไม่กี่เซลล
์ เเละอาศัยอยู่บนต้นสปอโรไฟต์ ได้เเก่
- เเกมีโทไฟต์เพศผู้ คือ ละอองเรณูที่จะสร้างสเปิร์มเมื่อตกลงบน
โคนตัวเมีย
- เเกมีโทไฟต์เพศเมีย อยู่ภายในโอวูลทำหน้าที่สร้างรังไข่
พืชพวกสนเจริญเติบโตเร็ว เพราะมีราไมคอไรซาอยู่ร่วมกับเซลล์ราก
เเบบภาวะที่ต้องพึ่งพาราเปลี่ยนเเปลงฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ใน
รูปของสารที่รากสนดูดไปใช้ได้

ดิวิชันไซเเคโดไฟตา
ได้เเก่ พืชพวกปรง ส่วนใหญ่พบในเขตร้อน ปัจจุบันเหลือเพียง 100 กว่าสปีชีส์
( เป็นพืชที่พบมากในยุคจูเเรสสิก ) ใช้ประโยชน์ในการทำไม้ประดับ เเละบอนไซ
ลักษณะต้นสปอร์โรไฟต์ ของปรง
- มีต้นใหญ่เตี้ยเป็นเเท่ง ไม่เเตกกิ่งก้าน
- มีใบขนาดใหญ่เป็นใบประกอบคล้ายใบเฟิน อยู่รวมเป็นกระจุกที่ยอด 
การสืบพันธุ์
- มีต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียเเยกออกจากกัน
- มีอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า โคน ( cone ) หรือ สโตรบิลัส
( strobilus ) อยู่ปลายยอดของลำต้น
- เมล็ดเปลือยที่ไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม เช่นเดียวกับพืชพวกสน
ต้นเเกมีโทไฟต์ มีขนาดเล็กมากเหลือเพียงไม่กี่เซลล์ เเละอาศัยอยู่บนต้นสปอร์โรไฟต์

ดิวิชั่นเเอนโทไฟตา
ได้เเก่ พืชมีดอกทั่วไป มีทั้งไม้พุ่ม ไม้เนื้ออ่อน ไม้ยืนต้น รวมทั้งพืชลักษณะเเปลกๆ เช่น กระบองเพชร พืชที่มีปรสิต พืชน้ำ เช่น จอก เเหน สนทะเล สาหร่ายหางกระรอก ซึ่งมีดอก ขนาดเล็กหรือไม่ค่อยจะออกดอกด้วย
พืชมีดอก พบอยู่ในบริเวณนิเวศธรรมชาติเเทบทุกเเห่ง มีชนิดเเละจำนวนมากที่สุดในยุคปัจจุบัน ถึงประมาณ 230,000 สปีชีส์ มีประโยชน์ต่อมนุษย์เเละสัตว์ เป็นทั้งเเหล่งอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เเละเเหล่งวัตถุดิบจากธรรมชาติ
พืชดอกเชื่อว่าวิวัฒนาการจาก จิมโนสเปิร์มกลุ่มหนึ่งที่มีโคนตัวผู้เเละโคนตัวเมียรวมเป็นโคนเดียวกัน เเละมีสัตว์ช่วยในการถ่ายละอองเรณู ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปเเล้ว เเละมีการพัฒนาให้โอวูลถูกห่อหุ้มอยุ่ภายในรังไข่เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ถูกกิน เเละรักษาความชุ่มชื้นไว้โดยโอวูลมีขนาดเล็กลงเเละพัฒนาส่วนอื่นๆ ของดอกไม้เช่น กลีบดอก เพื่อดึงดูดเเมลง เเละสัตว์อื่นช่วยผสมเกสร เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์ ดังนั้นพืชมีดอกมีวิวัฒาการอาศัยอยู่บนบกดีกว่าพืชในดิวิชันอื่นๆ 


การสืบพันธุ์
- ดอกไม้ ประกอบด้วย เกสรตัวผู้เเละเกสรตัวเมีย ที่อาจอยู่ในดอกเดียวกันหรือต่างดอกกันก็ได้
- เกสรตัวเมีย ( pistil ) ประกอบด้วยคอยาว ปลายยอดมีสารเหนียว ตรงฐานพองเป็น
กระเปาะ เรียกว่า รังไข่ ( ovary ) ภายในมีโอวูล ( ovule ) หรือเมกะสปอร์เเรงเจีย ที่
ทำหน้าที่สร้างเมกะสปอร์ ที่จะเปลี่ยนเเปลงเป็น เเกมีโทไฟต์เพศเมีย
( female gametophyte ) ซึ่งมีขนาดเพียง 8 นิวเครียส
ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ ไข่ ( egg )
- เกสรตัวผู้ ( stamen ) ประกอบด้วย อับละอองเรณู ( anther ) เเละก้านชู ภาย
ในอับละอองเรณูหรือ เเกมีโทไฟต์เพศผู้ ( male gametophyte ) ซึ่งยัง
เติบโตไม่เต็มที่เเละมีขนาดเพียงสามนิวเครียสเท่านั้น
- การถ่ายละอองเกสร เกิดขึ้นโดย ลม เเมลง เเละสัตว์อื่นๆ
- ละอองเรณูที่ตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย เจริญเติบโตขึ้น สร้างสเปิร์มที่มีสอง
นิวเครียส เเละสร้างหลอดละอองเรณูที่มีสองนิวเครียส เเละสร้างหลอด
ละอองเรณูที่มี 1 นิวเครียส งอกนำเสปิร์มเข้าไปหา โอวูล       

การปฏิสนธิซ้อน ( double fertilization )
คือ การปฏิสนธิของสเปิร์มนิวเครียสหนึ่งกับไข่ เกิดไซโกต ( 2n ) เจริญเติบโตขึ้นเป็นเอมบริโอ เเเละการปฏิสนธิของสเปิร์มอีกหนึ่งนิวเครียส
หนึ่งกับโพลาร์นิวคลีไอ 2 นิวเครียสเกิดเอนโดสเปิร์ม ( 3n ) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเนื้อเยื่อสะสมอาหาร
- หลังการปฏิสนธิโอวูลจะเจริญไปเป็นเมล็ด รังไข่จะเจริญไปเป็นผล
พืชดอกเเบ่งได้เป็น 2 กลุ่มย่อยคือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว ( monocot ) เเละพืชใบเลี้ยงคู่ ( dicot ) ซึ่งมีลักษณะเเตกต่างกันหลายประการ ดังตาราง

แก้ไขล่าสุด 10 พ.ย. 50 22:33 | ไอพี: ไม่แสดง

#18 | porphyra (ไม่เป็นสมาชิก) | 10 พ.ย. 50 22:47 น.

ต่อกันอีกกับ Division Pterophyta ซึ่งเป็น Divisionใหญ่ และการจัดจำแนกอาจไม่ค่อยตรงกันบ้างในแต่ละตำรา  ในที่นี้จะขอยึด ตำรา Biology ของCampbell และ Reece 7th edision เป็นหลัก
Division pterophyta [ferns, หวายทะนอย(บางตำราจัดไว้ใน division Psilophyta),หญ้าถอดปล้อง(บางตำราจัดไว้ใน division Sphenophyta)]

หวายทะนอย
เป็น พืชมีท่อลำเลียงที่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของบรรพบุรุษมากที่สุด
Sporophyte มีท่อลำเลียงเฉพาะที่ลำต้นเท่านั้น จึงไม่มีราก แต่มีrhizoid ทำหน้าที่แทน  ลำต้นแตกกิ่งแบบ dichotomus มีใบเกล็ดซึ่งไม่มีท่อลำเลียง เชื่อว่าเป็นวิวัฒนาการที่ลดรูปลงของใบจากที่มีท่อลำเลียง
มีการสร้าง sporangium อยู่บนโคนของใบเกล็ด ซึ่ง sporangiumมีลักษณะเป็น3พู จึงเรียกว่าเป็น synangia มาจาการ เชื่อมรวมกันของsporangium3อัน
พวกนี้สร้างสปอร์ขนาดเดียว
ลำต้น gametophyte มีขนาดเล็กเจริญอยู่ใต้ดิน

หญ้าถอดปล้อง
Sporophyte  มีท่อลำเลียงทุกส่วน ลำต้นเป็นข้อปล้อง มีร่องมีสัน มีความสากมือ เพราะมีการสะสมของSilica ใบมีขนาดเล็ก เป็นใบเกล็ดและก็เป็น microphyllด้วย ใบเรียงตัวเป็นแบบwhole
พวกนี้สร้างสปอร์ขนาดเดียว

ไอพี: ไม่แสดง

#19 | Phoenix@Dark (ไม่เป็นสมาชิก) | 11 พ.ย. 50 20:48 น.

ปิคนิค เลขที่8
8.ดิวิชั่นโคนิเฟอโรไฟตา
ได้เเก่ พืชพวกสน เช่น สนสองใบ สนสามใบ มักพบในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ดอยอินทนนท์ ขุนตาล ภูกระดึง
ลักษณะต้นสปอโรไฟต์ของพวกสน
- เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ต้นสูงชะลูด
- ใบมีลักษณะคล้ายรูเข็ม มีคิวติเคิลหนาปกคลุม เเละใบมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
- มีอวัยวะสืบพันธุ์เรียกว่า โคน ( cone ) หรือ สโตรบิลัส ( strobilus ) ลักษณะเป็นเกล็ดหรือ เเผ่นเเข็งที่เรียงซ้อนกันเเน่น เปลี่ยนเเปลงมาจากใบที่เรียงซ้อนกัน
( สปอโรฟีลล์ )
- โคนมี 2 ชนิด คือ โคนตัวผู้ ทำหน้าที่สร้างไมโครสปอร์ที่จะเปลี่ยนเเปลงต่อไปเป็นละอองเรณูหรือเเกมีโทไฟต์เพศผู้ เเละโคนตัวเมีย ทำหน้าที่สร้างเมกะสปอร์ที่เปลี่ยนเเปลงไปเป็น
เเกมีโทไฟต์เพศเมียที่สร้างไข่ภายในโอวูล
- เม็ดไม่มีผนังรังไข่หรือผลห่อหุ้ม เรียกว่า เมล็ดเปลือย ( naked seed ) เกิดขึ้นติดอยู่กับเเต่ละเกล็ดของโคนตัวเมีย
การสืบพันธุ์
- มีการถ่ายละอองเกสรโดยลม เมื่อละอองเรณูตกลงบนโคนตัวเมีย
จะเจริญขึ้นเเละสร้างสเปิร์มกับหลอดละอองเรณูที่จะนำสเปิร์ม
ไปปฏิสนธิกับไข่เกิดไซโกตขึ้นภายในโอวูล
- หลังปฏิสนธิ โอวูลเปลี่ยนเเปลงไปเป็นเมล็ด ไซโกตจะเจริญขึ้น
กลายเป็นเอมบริโอ ที่จะเจริญต่อไปเป็น ต้นอ่อนของสปอโรไฟต์
( young sporphyte ) ภายในเมล็ด
- เมล็ดที่เเก่จัด ปลิวไปตกในที่เหมาะสม งอกเป็นสปอโรไฟต์ต้นใหม่

ต้นเเกมีโทไฟต์ของสน มีขนาดเล็กมากเหลือเพียงไม่กี่เซลล
์ เเละอาศัยอยู่บนต้นสปอโรไฟต์ ได้เเก่
- เเกมีโทไฟต์เพศผู้ คือ ละอองเรณูที่จะสร้างสเปิร์มเมื่อตกลงบน
โคนตัวเมีย
- เเกมีโทไฟต์เพศเมีย อยู่ภายในโอวูลทำหน้าที่สร้างรังไข่
พืชพวกสนเจริญเติบโตเร็ว เพราะมีราไมคอไรซาอยู่ร่วมกับเซลล์ราก
เเบบภาวะที่ต้องพึ่งพาราเปลี่ยนเเปลงฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ใน
รูปของสารที่รากสนดูดไปใช้ได้

ไอพี: ไม่แสดง

#20 | Teera | 11 พ.ย. 50 22:05 น.

กราฟครับ 12
ดิวิชั่นแอนโทซีโรไฟตา (Division Anthocerophyta)

        พืชในกลุ่มนี้ เรียกรวมว่า hornworts เป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดในไบรโอไฟต์ มีประมาณ 6 สกุล 100 ชนิด ชนิดที่มักเป็นตัวอย่างในการศึกษา คือ Anthoceros
        ลักษณะของ hornworts ที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ มีดังนี้

1. สปอร์โรไฟต์รูปร่างเรียวยาวคล้ายเขาสัตว์สีเขียว
2. เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสงมีคลอโรพลาสต์ 1 เม็ด และมีอาหารสะสมเป็น pyrenoid เหมือนกับสาหร่ายสีเขียวและ Isoetes (vascular plant)
3. สปอร์โรไฟต์มี intercalary meristem ซึ่งทำให้สปอร์โรไฟต์สามารถเจริญได้อย่าง ไม่จำกัด
4. Archegonium ฝังตัวอยู่ในแกมมีโตไฟต์ มีโครงสร้างที่คล้ายกับปากใบ (stomatalike structure) ซึ่งจะไม่พบในกลุ่มอื่น

แกมมีโตไฟต์
        แกมมีโตไฟต์รูปร่างกลมหรือค่อนข้างรี แบน สีเขียว เป็นโครงสร้างที่ง่ายๆ เมื่อเทียบกับแกมมีโตไฟต์ในกลุ่ม bryophyte ด้วยกัน Hornworts ส่วนใหญ่เป็น uni**ual สร้างอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณด้านบนของทัลลัส การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเกิดขึ้นโดยการขาดเป็นท่อน (fragmentation)

สปอร์โรไฟต์
        สปอร์โรไฟต์ของฮอร์นเวิร์ทมีความแตกต่างจากสปอร์โรไฟต์ของชนิดอื่นมาก มีลักษณะเฉพาะคือรูปร่างคล้ายกับเขาสัตว์ สีเขียว ยาวประมาณ 1-4 cm ภายมีเนื้อเยื่อที่แบ่งตัวให้ spores

        Gametophyte        Sporophyte


Hornworts

ไอพี: ไม่แสดง

#21 | Zcpapang | 11 พ.ย. 50 23:33 น.

Panisara No#23 ka

Division Ginkgophyta
พืชในกลุ่มนี้เหลือเพียงชนิดเดียวคือ แป๊ะก๊วย หรือ Ginkgo biloba เป็นพืชพวก
Gymnosperm มีถิ่นกำเนิดมาจากจีนและญี่ปุ่น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Maiden hair
ลักษณะโดยทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 30-40 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นสีน้ำตาล
เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดการเจริญขั้นที่สอง ใบคล้ายพัดจีน ใบเรียงตัวแบบสลับ (alternate)
ใบมีลักษณะเฉพาะคือเป็นร่องลึกบริเวณกลางใบทำให้เห็นเป็นสองพูอย่างชัดเจน จึงได้ชื่อว่า
Ginkgo biloba (two lobes) นั่นเอง ใบมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีทองในฤดูใบไม้ร่วง
สวยงามมาก แป๊ะก๊วยมีอายุยืนนานหลายปี อาจถึงพันปี ซึ่งเคยพบอายุถึง 3,500 ปี

การสืบพันธุ์
ต้นแป๊ะก๊วยที่พบทั่วไปเป็นต้นสปอร์โรไฟต์ที่แยกเพศ (dioecious) เหมือนกับ
Gymnospermชนิดอื่นๆ ต้นตัวผู้สร้าง microsporangia อยู่บนกิ่งสั้นๆ (spur shoots)
เรียกโครงสร้างนี้ว่า male cone ต้นตัวเมียสร้างสร้าง megasporangia ภายในมี ovules
ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นเมล็ด
การถ่ายละอองเรณูเกิดเมื่อมีลมพัด pollen grain ตกลงบน megasporangia และ
ไข่ได้รับการผสมเมื่อเจริญเต็มที่ ส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดชั้นนอกสุดจะนุ่มเละและสลายไป
และมีกลิ่นเหม็นหืนเนื่องจากมีจำพวกกรดบิวตาลิก
แป๊ะก๊วยมีประโยชน์ ส่วนเมล็ดนำมาสกัดหรือรับประทานป้องกันโรคความจำเสื่อม
(Alzheimer) นอกจากนี้ยังนำมารักษาโรคอื่นๆ โรคหืด โรคภูมิแพ้ และบรรเทาอาการไอ
ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยช่วยรักษาความสมบูรณ์ของ
ผนังเส้นเลือดฝอย นำไปใช้ในผู้ป่วยที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ในประเทศจีนถือว่า
แป๊ะก๊วยเป็นไม้มงคลด้วย

Panisara No#23 ka

ดิวิชันเทอโรไฟตา(Division Pterophyta)

        พืชในดิวิชันนี้ เป็นกลุ่มพืชที่มีจำนวนชนิดหรือสปีชีส์มากกว่าดิวิชันอื่นๆ ทั้งหมดที่ผ่านมา ตัวอย่างพืชในดิวิชันนี้ เช่น      เฟิร์น มีราก ลำต้น และใบ เห็นได้ชัดเจน และมีความสับซ้อนมากขึ้นกว่าพืชกลุ่มที่ผ่านมา
        เฟิร์น มีลักษณะสำคัญ คือ มีลำต้น ราก และใบเจริญดี เป็นชนิดเมกะฟีลล์ (Megaphyll) มีท่อลำเลียงเจริญดีในราก
      ลำต้น และใบ ส่วนใหญ่มีลำต้นสั้นๆบนดิน หรือทอดนอนไปตามผิวดิน เรียก ไรโชม (Rhizome)  ใบของเฟิร์นมีขนาด ใหญ่  อาจเป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงใบไม้ทั่วๆ ไปใบอ่อนจะม่วนจากปลายใบมาโคนใบเป็นวง      เฟิร์น  สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ เพียงชนิดเดียวอยู่ภายในอับสปอร์จำนวนมากที่บริเวณใต้ใบเห็นเป็นกลุ่มๆ  เรียกซอรัส  (sorus) 
        เฟิร์นที่พบทั่วไปอยู่ในช่วงสปอร์โรไฟต์เมื่อสปอร์แก่และตกลงไปในที่ชุ่มชื้นจะเจริญเป็นแกมีโทไฟต์ชึ่งมีลักษณะ
    เป็นแผ่นสีเขียวเจริญอยู่บนผิวดินด้านล่างมีไรซอยด์ยึดเกาะกับดินแกมีโทไฟต์มีขนาดมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่าเมื่อเจริญเต็มที่จะสร้างอวัยวะสร้างเชลล์สืบพันธ์ทั้งสองเพศ แต่สร้างไม่พร้อมกัน การผสมพันธุ์เกิดข้ามต้นกันเมื่อเชลล์สืบพันธุ์ผสมกันแล้ว จะเจริญเป็นสปอร์โรไฟต์อยู่บนแกมีโทไฟต์ระยะหนึ่งต่อมาแกมีโทไฟต์จะตายไปสปอร์โรไฟต์ก็เจริญงอกงามต่อไปได้ตามปกติ
        เฟิร์นมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่  ส่วนใหญ่ชอบขึ้นในที่ชุ่มชื้นและมีร่มเงา เช่น เฟิร์นก้างปลา  เฟิร์นเกล็ดหอย บางชนิดเป็นพืชลอยนํ้า เช่น แหนแดง จอกหูหนู บางชนิดอยู่ในร่มหรือที่ชื้นแฉะ เช่น ผักแว่น ผักกูด บางชนิดแกาะอยู่ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้ เช่น ชายผ้าสีดา เฟิร์นเขากวาง
        เฟิร์นเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ได้แก่ ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น ข้าหลวงหลังลาย ใช้เป็นอาหาร      เช่น ผักแว่นผักกูด ใช้เป็นสมุนไพร เช่น นาคราช ด้านเศรษฐกิจมีการนำเฟิร์นมาทำกระเป๋าและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น
      ย่านลิเภา ได้จากลำต้นหรือเถาของเฟิร์น ด้านกสิกรรมใช้ทำปุ๋ยพืชสดในนาข้าวเช่น แหนแดงที่ภายในมีแบคทีเรียที่ สังเคราะห์ด้วยแสงได้ บางชนิดที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ เช่น แบคทีเรียที่ชื่อ นอสตอก แอนาบีนา เป็นต้น

Division Pterophyta เฟิน
พืชในกลุ่มนี้ได้เฟิน มีสมาชิกประมาณ 12,000 ชนิด จัดเป็นดิวิชั่นที่ใหญ่ที่สุดในพืชกลุ่ม
ไม่มีเมล็ด มีความหลากหลายมาก บางชนิดพบอยู่ในเขตร้อน บางชนิดอยู่ในเขตอบอุ่นหรือ
แม้กระทั่งทะเลทราย จำนวนชนิดของเฟินเริ่มลดลงเนื่องจากความชื้นที่ลดลง และเนื่องจาก
เฟินเป็นพืชที่มีความหลากหลายมาก บางสกุลมีใบขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช
เช่น Marattia เป็นสกุลหนึ่งของเฟินต้น มีใบยาวถึง 9 เมตร กว้างประมาณ 4.5 เมตร
นอกจากนี้ยังมี เฟินสกุลอื่นที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น Salvinia (จอกหูหนู) และ Azolla (แหนแดง)
มีใบขนาดเล็กมาก ส่วนเฟินที่นิยมนำมาเป็นตัวอย่างในการศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของ
เฟินมักอยู่ในออเดอร์ Filicales มีสมาชิกประมาณ 10,000 เช่น Pteridium aquilinum

ลักษณะทั่วไปของเฟิน ใบเรียกว่าฟรอน (frond) ใบเจริญจากลำต้นใต้ดินหรือเหง้า
ใบอ่อนมีลักษณะเฉพาะม้วนคล้ายลานนาฬิกาเรียกว่า circinate vernation เกิดจากการ
เจริญไม่เท่ากันของผิวทั้งสองด้าน ผิวด้านล่างเจริญเร็วกว่าด้านบน ใบเฟินบางชนิดทำหน้า
ที่ขยายพันธุ์เช่น บริเวณปลายสุดของใบเกิดเป็นเนื้อเยื่อเจริญและแบ่งตัวให้พืชต้นใหม่เรียก
เฟินแบบนี้ว่า walking fern (Asplenium rhizophllum)
นอกจากนี้ใบเฟินยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างคือไม่สร้างสตรอบิลัสแต่บริเวณด้านท้องใบ
สร้างสปอร์ สปอร์อยู่ภายใน sporangia ซึ่ง sporangia อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า
sorus (พหูพจน์ : sori) บางชนิดจะมีเยื่อบางหุ้มซอรัสไว้ เรียกเยื่อนี้ว่า indusium
สปอร์เฟินมีรูปร่างคล้ายกันเรียก homospores
แต่ละsporangia ล้อมรอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า annulus ซึ่งมีผนังหนาไม่เท่ากัน
ผนังด้านนอกบางมาก และแตกออกเมื่ออากาศแห้งทำให้สปอร์กระจายไปได้
เฟินส่วนใหญ่เป็น homosporous สปอร์งอกเป็น protonema เจริญเป็นแกมมีโตไฟต
์รูปร่างคล้ายรูปหัวใจ (heart-shaped) ยึดกับดินโดยใช้ rhizoid แกมมีโตไฟต์สร้างอวัยวะ
สืบพันธุ์ทั้ง 2เพศ จึงจัดเป็น monoecious โดย archegonium เกิดบริเวณรอยเว้า
ตรงกลางของหัวใจ (apical notch) ฝังลงในแกมมีโตไฟต์ ส่วน antheridium
เกิดบริเวณด้านบน สเปิร์มว่ายมาผสมกับไข่ที่ archegonium เกิดเป็นสปอร์โรไฟต์
หลังจากนั้นแกมมีโตไฟต์จะสลายไป
เฟินที่สร้าง heterospores เช่น Azolla (แหนแดง) มีใบขนาดเล็กมาก อีกสกุลได้แก่
Marsilea (ผักแว่น) จัดเป็นเฟินน้ำ ส่วนของรากฝังอยู่ในโคลนมีเพียงใบเท่านั้นที่ยื่นขึ้นมา
เหนือน้ำ สปอร์จะถูกสร้างในโครงสร้างที่เรียกว่า sporocarps

ไอพี: ไม่แสดง

#22 | fahia (ไม่เป็นสมาชิก) | 12 พ.ย. 50 17:20 น.

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)

        สิ่งมีชีวิตที่จัอยู่ในอาณาจักรนี้ ได้แก่ พืชสีเขียวทั้งหมดซึ่งมีประมาณ  240,000สปีชีส์  กระจ่ายอยู่ทั่ว
        ไปทั้งบนบก  ในน้ำจืด  และน้ำเค็ม พืชเหล่านี้มีหลายเชลล์ที่มีการจัดเรียงตัวเป็นเนื้อเยื่อ ผนังเชลล์ส่วนใหญ่
        เป็นเชลล์ลูโลส  เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง (Autotrophicorganisms)  วัฎจักรชีวิตของพืช
        ประด้วยระยะที่สร้างเชลล์สืบพันธุ์  (zex cell ) หรือ( gamete) ในอวัยวะที่สร้างเชลล์สืบพันธุ์ (gameangium)
        โดยต้นพืชระยะ  ที่เรียกว่าแกมีโทไฟต์(gametophyte) เชลล์สืบพันธุ์ทั้งสองผสมกันได้ไซโกต  (zygote)
        ซึ่งเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอ (embryo) แล้วเอ็มบริโอเจริญต่อไปเ็ป็น ต้นพืชระยะที่สร้างสปอร์  (spores)
        ในอวัยวะสร้างสปอร์  (sporangium) เรียก ต้นพืชระยะนี้ว่า  สปอร์โรไฟต์  (sporophyte) สปอร์เหล่านี้จะเจริญ
        เป็นต้นพืช ระยะที่สร้างเชลล์สืบพันธุ์ต่อไปอีกสลับกันเช่นนี้จึงจัดว่าพืชมีวัฎจักรชีวิตที่มีการ สลับ มีวัฎจักรชีวิตที่มี
ี        การสลับกันระหว่างแกมีโทไฟต์และระยะ สปอโรไฟต์ หรือ  เรียกว่า มีวัฎจักรชีวิตแบบสลับ (Altematio of        generation)

ดิวิชันไบรโอไฟตา  (Division Bryophyta)

        พืชดิวิชันนี้มีประมาณ 20,000 สปีชีต ์เป็นพืชที่ไม่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร (vascular ndle) มีขนาดเล็ก
      ไม่มีราก  ลำต้น  และใบที่แท้จริง  ต้นพืชระยะที่เห็น เด่นชัด้้และดำรงชีวิตอยู่ยืนนานถึงระยะที่เป็นแกมีโทไฟต์ชอบขึ้น
      ในที่ชื่้แฉะ  เช่น  มอส (moss)  ลิเวอร์ต  (liverwort)  เป็นต้น

        มอส (Moss)
        มอสเป็นพืชขนาดเล็กขึ้นเรียงกันแน่นคล้ายพรมสีเขียวสดพบทั่วไปตามพื้นดิน  อิฐเปลือกไม้กระถางต้นไหรือ
      ตามที่มีความชุ่มชื้นอยูเสมอ มอสมีส่วนที่ตั้งคล้ายกับลำต้น ส่วนที่คล้ายใบขนาดเล็กและส่วนที่คล้ายราก  เรียกว่า
      ไรซอยด์  (rhizoid)  ทำหน้าที่ยึดดินและดูดน้ำ
        มอสที่พบทั่วๆ ไปที่เห็นเป็นสีเขียวเป็นมอสที่อญู่ในช่วงที่สร้างเชลลสืบพันธุ์เรียกช่วงนี้ว่าแกมีโทไฟต์
      (gametophyte) ซึ่งจะสร้างเชลล์สืบพันธุ์ภายใอวัยวะ ที่อยู่ปลายยอดเมื่อเชลล์สืบพันธุ์ผสมกันแล้วก็จะเจริญเป็น สปอ-
      โรไฟต ์(sporop hyte) ทำหน้าที่สปอร์อยู่บนปลายยอดของแกมีโทไฟต์เดิมเริ่มแรสปอโรไฟต์ มีสีเขียวแต่เมื่อสปอ
      แก่จัดจะมีสีน้ำตาลและสีนํ้าตาล ดำในทีสุดหลังจากอับสปอร์แตกออก หากสปอร์ตกลงไปในบริเวณที่มีความช่มุชื้นก็
      จะงอกเป็นเป็นแกมีโทไฟต์ต่อไป  ความสำคัญของมอสต่อระบบนิเวศน์มีมากมายเ้ช่นเก็บความชื้นปกคลุม ผิวดิน
      ป้องกันการพัง ทลายของหน้าดินทำให้หินผุแตกกลายเป็นดิน  นอกจากนี้ ซากของมอสที่ทับถมกันนานๆ นำมาใช้
      บำรุงดินได้ดี  เนื่อง      จากมอสสามารถอุ้ม  น้ำไว้ได้ถึง 20  เท่า ของน้ำหนักแห้งจึงเก็บความชื้นได้มากและช่วย
      เพิ่มภาวะความเป็นกรดให้ กับดินชึ่งจะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย และเชื่อราที่ทำให้เกิด  โรคเน่าของต้นไม้  เช่น      ข้าวตอกฤาษี หรือสแฟกนัมมอส (Sphagnum moss)

        ลิเวอร์เวิร์ต (Liverwort)
       
        ลิเวอร์เวิร์ตเป็นพืชในดิวิชันไบรโอไฟตาเช่นเดียวกับมอแกมีโทไฟต์เป็นแผ่น  สีเขียวขนาดเล็กเกาะติดกับพื้นดิน
      หรือหินที่เปียกชื้น  มีไรซอยด์ทำหน้าที่ยึดเกาะและดูดน้ำ  สร้างอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งสองเพศชูขึ้นมาเหนือแผ่นแกมีโทไฟต์
์      เอ็มบริโอ  เจริญอยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียซึ่งต่อไปเจริญให้สปอร์โรไฟต์ขนาดเล็กมากจนไม่ เห็นด้วยตาเปล่าติดอยู่
ู่      บนแกมีโทไฟต์

ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta)

        พืชในวิดิชันนี้เป็นพืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงลำต้นมีขนาดเล็ก เป็นเหลี่ยม ลำต้นส่วนใหญ่อยู่ในดินเรียกว่าลำต้น
      ใต้ดิน (rhizome) มีสีน้ำตาล  ส่วนอยู่ เหนือดินเหนือดินมีสีเขียวแตกกิ่งเป็นคู่ๆ ไม่มีใบ แต่มีเกล็ดเล็กๆ ติดอยู่ที่ผิว
ู่      ของลำต้น ไม่มีราก แต่มีไรซอยด์ทำหน้าที่ดูดน้ำและเกลือแร่ ต้นที่เห็นเด่นชัดนี้ คือสปอโรไฟต์เมื่อสปอโรไฟต์เจริญ
      เต็มที่จะสร้าง อับสปอรติดที่กิ่ง เมื่ออับสปอแก่เต็มที่ สปอร์จะร่วงลงสู่พื้นดิน ถ้าสิ่งแวดล้อมเหมาะสมสปอร์จะงอก
      เป็นแกมิโทไฟต์ ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อนเล็กๆ  สีน้ำตาลอยู่ใต้ผิวดิน ไม่มี คลอโรฟีลล์  เมื่อเจริญเต็มที่จะสร้างอวัยวะ
      สืบพันธุ์ทั้งสองเพศ  เชลล์ สืบพันธุ์ผสมกันได้ไซโกต ที่เจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอเป็นเอ็มบริโอ ซึ่งงอกเป็นสปอโรไฟต์
์      ต่อไป  ตัวอย่างเช่น  หวายทะนอย หรือไซโลตัม  (Psilotum) 

ดิวิชันไลโคไฟตา(Divison Lycopyta)

        พืชในดิวิชันนี้บ้างชนิดเจริญเป็นอิสระ บางชนิดเจริญบนต้นไม้ชนิดอื่น เรียกว่า อีพิไฟต์ (Epiphyte) มีรากจำนวน
    มากต้นแต่มีอายุสั้นลำต้นสร้างใบที่แท้จริงแล้วเป็นใบชนิดไมโครฟีลลื (microphyll) ซึ่งมีขนาดเล็กและไม่มีเส้นใบ
    หรืออาจมี เส้นใบไมแต่ไม่่แตกแขนง  เมื่อสปอโรไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างสปอร์ภายในอัปสปอร์บนใบคล้าย ไมโครฟีลล์
    เรียกว่า  สปอโรฟีลล์  (sprophyll) ซึ่งจะเรียงตัวกันแน่นเห็น เป็นแท่ง เรียกว่าสตอบิลัส (strobilus)  อยู่ตรงบริเวณ
    ปลายสุดของกิ่งของหรือลำต้นสปอร์เจริิญเป็นแกมีโทไฟต์ที่บางส่วนอยู่บนดิน บางส่วนอยูาใต้ดิน
        พืชในดิวิชันนี้ มี  2 กลุ่มคือกลุ่มที่ 1 สร้างสปอร์ชนิดเดียวจึง มีแกมีโทไฟต์ชนิดเดียว  สร้างอวัยวะที่มีเชลล์สืบพันธุ์
    ทั้งสองเพศในต้นเดียวกัน  คือ พวกไลโคโปเดียม (Lycopodiu) เรียกว่าสตอบิลัส  (strobilus) สามร้อยยอดหรือหาง
    กระรอก กลุ่มที่ 2  สร้างสปอร์ 2 ชนิด จึงมีแกมีโทไฟต์ 2 ชนิดสร้างอวัยวะที่สร้างเชลล์สืบพันธุ์แยกเพศกัน คือ
    พวกชีแลกจิเนลลา  (Selaginella) ซึ่งได้แก่ ต้น**ตุ๊กแก

ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta)

        ในดิวิชันนี้สปอร์โรไฟต์มีลำต้นที่มีข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจน เมื่อเจริญเต็มที่ภายในกลวง ประกอบด้วยลำต้นที่อยู่
ู่      เหนือพื้นดินมีสีเขียว ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วย แสงแทนใบเพราะใบชนิดไมโครฟีลล์ มีขนาดเล็กมาก ลักษณะเป็นเกล็ด
      จำนวนหลายใบเจริญรอบๆ ข้อ ลำต้น ที่อยู่ใต้ดิน สีน้ำตาล มีรากจำนวนมากเจริญจากข้อมีสรอบิลัสที่บริเวณปลายกิ่ง
      ใช้สร้างอับสปอร์ชึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ  มีสตรอบิลัสประกอบด้วยกิ่งสั้นๆจำนวนมากเบียดกันหนาแน่นจึงเห็นสตอบิลัส
      เป็นแท่งรูปโคน กิ่งสั้นๆนี้เป็นที่สร้างที่สร้างอับสปอร์หลายๆ  อันต่อกิ่งภายในสร้างสปอร์ต่อกิ่งสร้าง สปอร์ชนิดเดียวกัน
      เมื่ออับสปอร์แก่สปอร์กระจายออกไปได้ไกล เพราะผนังสปอร์    ชั้นนอกมีลกษณะคล้ายลิ้มบิ้น  4 เส้นทำหน้าที่ในการ
ี      กระจายสปอร์พืชพวกนี้มักขึ้น  เป็นก่อใหญ่ๆ ริมนํ้า ในหนองนํ้า หรือที่ลุ่มมีนํ้าขัง
        แกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก บางส่วนเจริญใต้ดิน บางส่วนเจริญเหนือดินและมีสีเขียว มีไรชอยด์ มีอวัยวะสร้างสเปิร์ม
    และไข่อยู่บนต้นเดียวกัน  สเปิร์ม มีลักษณะเป็นเกลียวขนาดใหญ่ และมีแฟลเจลลัมจำนวนมาก การผสมพันธุ์ อาศัยนํ้า
    ตัวอย่างพืชดิวิชันนี้ เช่น หญ้าถอดปล้อง หรือหญ้าเงือก หรือ หญ้าหูหนอก (Equisetum)

บิว 34 (อันข้างบนด้วยนะ)
ดิวิชันเทอโรไฟตา(Division Pterophyta)


        พืชในดิวิชันนี้ เป็นกลุ่มพืชที่มีจำนวนชนิดหรือสปีชีส์มากกว่าดิวิชันอื่นๆ ทั้งหมดที่ผ่านมา ตัวอย่างพืชในดิวิชันนี้ เช่น      เฟิร์น มีราก ลำต้น และใบ เห็นได้ชัดเจน และมีความสับซ้อนมากขึ้นกว่าพืชกลุ่มที่ผ่านมา
       
       

        เฟิร์น มีลักษณะสำคัญ คือ มีลำต้น ราก และใบเจริญดี เป็นชนิดเมกะีฟีลล์ (Megaphyll) มีท่อลำเลียงเจริญดีในราก
      ลำต้น และใบ ส่วนใหญ่มีลำต้นสั้นๆบนดิน หรือทอดนอนไปตามผิวดิน เีรียก ไรโชม (Rhizome)  ใบของเฟิร์นมีขนาด
ี    ใหญ่  อาจเป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงใบไม้ทั่วๆ ไปใบอ่อนจะม่วนจากปลายใบมาโคนใบเป็นวง      เฟิร์น  สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ เพียงชนิดเดียวอยู่ภายในอับสปอร์จำนวนมากที่บริเวณใต้ใบเห็นเป็นกลุ่มๆ
    เรียกซอรัส  (sorus) 
        เฟิร์นที่พบทั่วไปอยู่ในช่วงสปอร์โรไฟต์เมื่อสปอร์แก่และตกลงไปในที่ชุ่มชื้นจะเจริญเป็นแกมีโทไฟต์ชึ่งมีลักษณะ
    เป็นแผ่นสีเขียวเจริญอยู่บนผิวดินด้านล่างมีไรซอยด์ยึดเกาะกับดินแกมีโทไฟต์มีขนาดมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่าเมื่อ
    เจริญเต็มที่จะสร้างอวัยวะสร้างเชลล์สืบพันธุ่์ทั้งสองเพศ แต่สร้างไม่พร้อมกัน การผสมพันธุ์เกิดข้ามต้นกันเมื่อเชลล์
์    สืบพันธุ์ผสมกันแล้ว จะเจริญเป็นสปอร์โรไฟต์อยู่บนแกมีโทไฟต์ระยะหนึ่งต่อมาแกมีโทไฟต์จะตายไปสปอร์โรไฟต์ก็
    เจริญงอกงามต่อไปได้ตามปกติ
        เฟิร์นมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหส่วนใหญ่ชอบขึ้นในที่ชุ่มชื้นและมีร่มเงา เช่น เฟิร์นก้างปลา
    เฟิร์นเกล็ดหอย บางชนิดเป็นพืชลอยนํ้า เช่น แหนแดง จอกหูหนู บางชนิดอยู่ในร่มหรือที่ชื้นแฉะ เช่น ผักแว่น ผักกูด
    บางชนิดแกาะอยู่ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้ เช่น ชายผ้าสีดา เฟิร์นเขากวาง

    เฟิร์นเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ได้แก่ ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น ข้าหลวงหลังลาย ใช้เป็นอาหาร      เช่น ผักแว่นผักกูด ใช้เป็นสมุนไพร เช่น นาคราช ด้านเศรษฐกิจมีการนำเฟิร์นมาทำกระเป๋าและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น
      ย่านลิเภา ได้จากลำต้นหรือเถาของเฟิร์น ด้านกสิกรรมใช้ทำปุ๋ยพืชสดในนาข้าวเช่น แหนแดงที่ภายในมีแบคทีเรียที่
      สังเคราะห์ด้วยแสงได้ บางชนิดที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ เช่น แบคทีเรียที่ชื่อ นอสตอก แอนาบีนา เป็นต้น

ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา( Division  Coniferophyta)


        ดิวิพืชในดิวิชันนี้เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดสูงใหญ่ แตกกิ่งก้านมาก ใบเป็นใบเดี่ยวแต่มักมีขนาดเล็ก คล้ายรูปเข็ม      มีเมล็ดสำหรับสืบพันธุ์ ใบเป็นใบเดี่ยว    แต่มักมีขนาดเล็ก คล้ายรูปเข็ม มีเมล็ดสำหรับสืบพันธุ์ เมล็ดไม่มีผนังรังไข่ห่อ
      หุ้มเมล็ดติดอยู่กับส่วนที่มีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง สีนํ้าตาลที่เรียกช้อนกันแน่น เป็น  เป็นอวัยวะที่เรียกว่า  สตรอบิลัส      รูปโคนพืชพวกนี้ชอบขึ้นตามที่มีอากาศเย็น  เช่นในเขตหนาว ถ้าเป็นเขตร้อนจะอยู่ตามผู้เขาสูงระดับ 800 เมตรขึ้นไป
      เพราะ มีอากาศเย็น เช่น ดอยอินทนนท์ ภูกระดึง  ดอยขุนตาล ตัวอย่างพืช  เช่นสนสองใบ  (Pinus merkusii)
      สนสามใบ  (Pinus khasya)
        สนมีความสำคํญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศในเขตอบอุ่นโดย นํามาทํา  เครืองเรือน ทำไม้อัด  กระดาษและ
      ใช้เป็นเชื่อเพลิงนํ้ามันสนใช้ผสมทำสีทำนํ้ามัน ขัดเงา นอกจากนี้สนเป็นไม้โตเร็ว เนื่องจากมีราพวกไมคอร์ไรซา        (mycorrhiza)  ในดินเจริญได้ที่รากไมคอร์ไรซาช่วย ทำให้ฟอสฟอรัสในดินอยู่ในรูปพืชนำมาใช้ได้ในขณะเดียวกันเรา
      ก็ได้รับสารที่ช่วยในการเจริญเติบโตจากพืชด้วย

ดิวิชันไชแคโดไฟตา (Division Cycadophyta)

        พืชในดิวิชันนี้มีลำต้นใหญ่ ลำต้นส่วนใหญู่่ใต้ดิน  มีลักษณะเป็นหัวเก็บอาหารจำพวกแป้ง  อีกส่วนหนึ่งอยู่เหนือดิน
      สร้างใบเป็นกระจุกอยู่ที่ยอดของลำต้น  ซึ่งไม่ค่อยแตกแขนง ใบเป็นใบประกอบขนาดใหญ่ ใบย่อยมีจำนวนมาก ขนาด
      เล็กและแข็ง พืชในกลุ่มนี้ คือ ปรง  (cycads) ปรงมีประโยชน์ คือ นำมาใช้ในการประดับ ตกแต่งในสถานที่ บางท้องถิ่น
    ใช้ลำต้นเป็นแหล่งอาหารแป้ง เช่น ในแอฟริกา

ดิวิชันกิงโกไฟตา(Division Ginkgophyta)

        พืชในอาณาจักรนี้ปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียว คือ แป๊ะก๊วย (ginkgobilloba)เป็นไม้ยื่นต้นเหมือนสน เจริญได้ดี
        ในเขตหนาวเช่น จีน ญี่ปุ่น  แป๊ะก๊วยเป็นพืชแยกเพศ คือ ต้นตัวผู้สร้างสตรอบิลัสตัวผู้  (malestrobilus)
        เป็นช่อ ประกอบ ด้วยสตรอบิลัสหลายอัน ต้นตัวเมียจะสร้างเมล็ดที่ไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม เป็นช่อ  ช่อละ 2 เมล็ด
        เมื่อยังอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลือง เมล็ดแพร่พันธุ์โดยเอ็มบริโอที่จะงอกเป็นต้น กล้าและเจริญเติบโตต่อไป
        เช่น  ต้นแป๊ะก๊วย

ดิวิชันแอนโทไฟตา(Division Anthophyta)
        พืชในดิวิชันนี้เป็นพืชที่สร้างอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า ดอก เป็นกลุ่มพืชที่มวิวัฒนาการมากที่สุดในบรรดาพืชที่มี
ี    เนื้อเยื่อ ลำเลียงทั้งหมด ดอกที่เป็นอวัยวะ สืบพันธุ์สร้างเมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม บางชนิดมีดอกขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน        เช่น กุหลาบ ชบา บางชนิดดอกอาจมีขนาดเล็ก เช่น จอก แหน สนทะเล บางชนิดไม่ค่อยเห็นดอก เช่น ตะไคร้ สาหร่าย-
    หางกระรอกพลูุด่างพืชมีดอกเหล่านี้ บางชนิดอยู่ในนํ้า เช่น บัว ผักตบ บางชนิดเกาะต้นไม้อื่น เช่นกล้วยไม้บางชนิดเลื้อย
    พันกับต้นไม้อื่น เช่น เถาวัลย์ เป็นต้น บางชนิดเป็นปรสิต เช่น  กาฝาก ฝอยทอง
        ดิวิชันนี้แบ่งเป็น 2กลุ่มย่อย คือ พืชใบเลี้ยงคู่ และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวโดยใช้โครงสร้างสำคัญของเอ็มบริโอ  ราก
      ลำต้น ใบ  และดอกเป็นเกณฑ์
        พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) เป็นพืชที่เอ็มบริโอมีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว เส้นใบเลียงแบบขนาน
    รากเป็นระบบรากฝอย ลำต้นมีข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน กลุ่มเนื้อเยื่อลำเลี้ยงในลำต้น กระจัดกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบ
    ส่วนใหญ่ไม่มีแคมเบียม (cambium) จึงไม่มีการเจริญด้านข้าง นอกจากนี้ ส่วนประกอบของดอกมีจำนวนเป็น  3 หรือ
    ทวีคูณของ 3  ตัวอย่างพืชใบเลียงเดี่ยว เช่น หอม อ้อย มะพร้าว ปาล์ม กล้วย ข้าว ลิลลี่ บัวจีน พลับพลึง
        พืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon) เป็นพืชที่เอ็มบริโอมีใบเลี้ยงสองใบ เส้นใบเป็นร่างแห รากเป็นระบบรากแก้ว
      ลำต้นมีข้อปล้องแต่เห็นไม่ชัด กลุ่มเนื้อเยื่อลำเลียงในลำต้นเรียงเป็นระเบียบเป็นวงรอบต้นมีแคมเบียม และมีการ
      เจริญทาง  ด้านข้าง นอกจากนี้มีส่วนประกอบของดอกมีจำนวนเป็น 4-5 หรือทวีคูณของ4-5 ตัวอย่างพืชใบเลียงคู่ เช่น      กุหลาบ มะเขือ      มะม่วง ชบา ถั่ว สัก

ไอพี: ไม่แสดง

#23 | palmpokemon (ไม่เป็นสมาชิก) | 12 พ.ย. 50 19:08 น.

One of the fundamental problems facing life scientists is the extraordinary variety and complexity of life on Earth—there is just too much to comprehend. Most biologists solve this problem by specializing, spending a whole career studying just one or a few areas. Occasionally someone will attempt a grand synthesis or overview to try to encompass the whole. Such a one is Professor Lynn Margulis, of the University of Massachusetts, senior author of the book Five Kingdoms, now in its third edition.1  Margulis has spent most of her illustrious 40-year career researching the supposed evolution of the ‘higher’ forms of life from the ‘lower’ forms.

Until relatively recently, all living things were classified into just two great kingdoms—the Animal Kingdom and the Plant Kingdom. But in the last decade or so, as a result of studying gene sequences, a revolution has taken place in our understanding of the diversity of life. As a botanist, I was particularly interested in Margulis’s view of plant classification. In her book, algae, fungi and bacteria have all been removed from the ‘old’ Plant Kingdom, with the ‘new’ Plant Kingdom consisting of just 12 phyla (a ‘phylum’ is a large grouping with certain features in common) of multicellular, green, mostly land-dwelling plants.

The ‘old’ Plant Kingdom was structured to reflect supposed evolutionary relationships between plant groupings. However, the alleged sequence of evolution of various plants contradicted their actual order of burial in the fossil record!2 (Not to mention the complete absence of any fossilized transitional forms.)

So, as I read Margulis’ revised descriptions, I was asking myself, ‘Does this revision improve the case for the evolutionary origin of plants?’ Well, the answer is ‘Not at all’. In fact it strengthens the case for special creation!

The plants are now divided into just two main groups, the Bryata (non-vascular plants—those which do not have specialized ‘plumbing’ for water transport) and the Tracheata (vascular plants—those which do have specialized ‘plumbing’ for water transport). My first observation was that the Bryata are the simplest and, if evolution were true, they should be the ancestors of the Tracheata. Thus, according to evolutionary/long-age interpretations,3 they should be found ‘first’ in the fossil record, i.e. buried below the Tracheata. But no, the opposite is true; the Tracheata appear first!

The Bryata consist of three groups, the mosses, liverworts and hornworts. There is nothing that could logically be their ancestor among the multicellular algae or fungi. Their nearest supposed relatives are among the Chlorophyta, which are free-swimming, green, single-celled microbes (see inset, Figure 1).


Figure 1. The twelve phyla in the ‘new’ Plant Kingdom. It now excludes the Chlorophytes (red box), the nearest living ‘ancestor’ candidates.

Click to see an enlarged version (410 K)
Despite mosses being well represented in the fossil record,4 there is no joy for evolutionists. Margulis has to admit: ‘they do not seem to be the ancestors of the vascular plants [Tracheata] or of the hornworts or liverworts’.5 ‘Like hornworts and mosses, liverworts gave rise to no other plant lineages’.6 The hornworts appear before the mosses in the fossil record, but ‘the origin of hornworts cannot be deduced by examining the fossil record … . Hornworts, mosses and liverworts probably evolved independently of one another’.7

So here, supposedly at the base of the evolutionary tree, there is no evidence whatever of evolution. This is not merely a ‘missing link’, but a yawning chasm (between plants and the chlorophytes), and none of the simplest plants (Bryata) are ancestral either to one another or to any of the ‘higher’ plants (Tracheata)!

Climbing further up the supposed evolutionary tree, Margulis next deals with the Psilophyta, or whisk ferns. Once again, ‘no intermediate fossils have been found … . Chloroplast DNA comparisons suggest that psilophytes’ closest relatives are non-lycophyte vascular plants such as ferns … [but the] chemical evidence … fails to support a strong evolutionary relation between the psilophytes and the ferns … . Ancestral groups for psilophytes … are unknown at present’.8  So, more evidence that the Tracheata did not evolve from the Bryata!

Supposedly next to appear (in the alleged ‘Carboniferous coal forests’) were the tree-like 40 m (130 ft) lycopods. But lycopods ‘are related neither to pines and cedar … nor to mosses’.9 Although they have an excellent fossil record, it gives absolutely no clue as to where they came from.

Margulis next deals with the horsetails, surviving today only as the single herbaceous genus, Equisetum. Once again there is an excellent fossil record. Abundant fossil specimens of tree-like 15 m (50 ft) horsetails are buried in layers labelled ‘Devonian’ and ‘Carboniferous’. But ‘Ancestral groups for … horsetails … are unknown at present’.10

And what about the ferns? ‘Fossilized ferns abound in the fossil record from the Carboniferous through the present’, with some tree-ferns up to 25 m (82 ft) tall.11 But again, not a single clue here to their origin.

Climbing the evolutionary ladder further, we come to the gymnosperms, or naked seed plants. They include four living phyla: the cycads, gingko, conifers (pines) and gnetophytes.

The cycads are well known as garden plants and the group includes the sago palm. Cycads were once considered to be the closest living relatives of flowering plants, related through their common ancestor, the extinct seed ferns. ‘However, seed ferns and living cycads are no longer believed to be direct ancestors of flowering plants’.12 And there is no hint as to their supposed evolutionary origin!

The gingko tree is represented by a single living species, Gingko biloba, in a single genus, in a single family, in a single class, in a single phylum. Its fossil history extends down to ‘Permian’ rocks, and it appears there were once many more species. But here again they appear suddenly and fully formed, leaving evolutionists with no clue as to their origin.13

The conifers or pine trees range from ground-creeping shrubs to the Sequoia redwoods of California—probably the largest living things on the planet, reaching up to 115 m (380 ft) in height and 8 m (26 ft) in diameter. ‘Conifers likely descended from the progymnosperms’.14 And what are the ‘progymnosperms’? Imaginary evolutionary ancestors—there is no evidence that they ever existed! And are the conifers the ancestors of anything? ‘Conifers gave rise to no other plant phyla’.14

Last of the gymnosperms is the curious group, the gnetophytes, consisting of three ‘vastly different’ genera, Ephedra, Gnetum and Welwitschia. They share some characteristics with other gymnosperms and some characteristics with flowering plants. Unfortunately for evolutionists, they appear fully formed in the fossil record, just as ‘vastly different’ as they are today. So there is no fossil evidence of their evolutionary lineage before they appeared, nor after, for ‘Gnetophytes are believed not to have given rise to any other plant lineage’.15

Finally, supposedly at the top of the plant evolutionary tree, we come to the flowering plants, the Anthophyta (or angiosperms), with their unique flowers and fruits. They are ‘the superstars of diversity and abundance’, with possibly as many as a million species, occurring all over the globe. They have an abundant fossil record but, once again, they appear fully formed, with no sign of any evolutionary lineage. The only suggestion from Margulis and her co-author is the gnetophytes. But since ‘Gnetophytes are believed not to have given rise to any other plant lineage’15 they have to imagine what an ancestor of flowering plants might have looked like. In a blind leap of (evolutionary) faith, they surmise that the incredibly intricate flower structures we see today, complete with ovary (female) and pollen (male), exist because evolution has modified leaves into ‘a shoot specialized for reproduction.’16 Yet there is not even a fragment of fossil evidence for this.

Well, there we have it. The plant fossil record is now more clearly defined than ever before, and it testifies more clearly than ever before that not one of the phyla is either the ancestor or the descendant of any other!

Once more the evidence of the real world is seen to be consistent with the truth of Genesis; plants reproduce ‘according to their kind’. That is, gingkos have consistently produced gingkos, pines have consistently produced pines, and magnolias have consistently produced magnolias ever since the Creator spoke them into existence to reproduce ‘after their kind’.17

PLANT  KINGDOM  (Metaphyta)

<-------อาณาจักพืช------->PLANT KINGDOM-------<--

        อาณาจักรพืช หรือสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์  สร้างอาหารได้เอง มีรงควัตถุเคลื่อนไหวได้  แต่ไมเคลื่อนที่  เช่น  มอส    สนปรง  พืชดอกทุกชนิด  ฯลฯ


---------

Division  Bryophyta

        พืชไม่มีระบบท่อลำเลียง  ไม่มีราก  ลำต้น  และใบที่แท้จริง  ดังนั้นจึงต้องขึ้นอยูในที่มีความชื้นสูง 
เช่น  มอส  ลิเวอร์เวิร์ต  ฮอร์นเวิร์ต


        มอสส์




---------

Division  Psilophyta

        พืชมีลำต้นเป็นเหลี่ยมแตกกิ่งเป็นคู่ๆ  มีอับสปอร์  ไม่มีใบแท้  ใบเป็นเกร็ดเล็กๆ อยู่ตามข้อ  ไม่มีรากมีแต่  Rhizoid    เช่น  Psilotum  (หวายทะนอย)






---------

Division  Lycophyta

        พืชมีราก  ลำต้น  ใบที่แท้จริงขนาดเล็ก  ที่ยอดมี  Strobilus  สร้างสปอร์  เช่น

        - พวก  Lycopodiumm  ได้แก่  ช้องนางคลี่  สร้อยสุกรม  หางกระรอก 

        - พวก  Selaginellla  ได้แก่  **ตุ๊กแก

 


---------

Division  Sphenophyta

        พืชมีลำต้นเล็กต่อกันเป็นข้อๆ  ใบเป็นเกร็ดเล็กๆ  แตกรอบข้อ  มีราก  ปลายยอดมี  Strobilus  เช่น
พวก  Equisetum  ได้แก่  ฆญ้าถอดปล้อง  หญ้าเงือก  สนหางม้า






---------

Division  Pterophyta

        พืชมีราก  ลำต้น  ใบเจริญดี  เป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ  ซึ่งใบอ่อนจะม้วนจากปลายใบมายังโคนใบเป้นวงสืบพันธ์โดยการสร้างสปอร์  เช่น  เฟิร์นก้างปลา  ชายผ้าสีดา  และพกเฟิร์นน้ำ  ได้แก่  ผักแว่น  แหนแดง  จอกหูหนู  รวมทั้งหญ้าลิเภา




---------

Division  Coniferophyta

        พืชต้นขนาดใหญ่  ใบเดี่ยวรูปเข้ม  ลักษณะเด่นคือ มีเมล็ดซึ่งไม่มีผนังรังไข่หุ้ม    เรียกว่า  Cone เช่น
สนสองใบ  สนสามใบ  แป๊ะก๊วย




---------

Division  Cycadophyta

        พืชต้นเตี้ย  ใบประกอบขนาดเล็ก  แข็งกระจุกอยู่ที่ยอดของลำต้น เช่นปรง




---------

Division  Anthophyta

        เป็นพวกที่สืบพันธ์โดยอาศัยดอก  หรือ  เรียกว่าพืชดอก  เมล็ดมีรังไข่หุ้ม  หรือเรียกว่า  Angiosperm    แบ่งออกเป็นพืชใบเลี้ยงคู่  และใบเลี้ยงเดี่ยว  เช่น  กุหลาบ  กล้วยไม้

Introduction to the Plant Kingdom

Photograph of algae smeared on a human hand. Copyright (c) Dr. C.M. Sean Carrington. Used with permission.
Dr. C.M. Sean Carrington, Department of Biological and Chemical Sciences, University of the West Indies, created the web site Introduction to the Plant Kingdom for his first year biology students at the University, but the web site is well worth a visit from anyone who would like to increase their knowledge of plant biology.

Dr. Carrington provided the following background information about his web site:

"The Caribbean is an archipelago and we had students doing our first year courses at community colleges on other islands. In order to ensure they had equal exposure to the course material being taught face-to-face on this campus, I developed the web site. In preparation, I attended a two-day workshop, which gave me the inspiration and basic skills for developing the web-based course. I am a firm believer that in the not too distant future it will only be the children of the very rich who will be taught by someone in front of a chalk board -- the vast majority of the world will be educated through computer-based materials. My design skills improved as I went along so that the earliest modules now need further polishing to bring them up to the standard of the later ones. One thing that came through loud and clear is the level of goodwill and cooperation out there. Without exception everyone I approached to seek permission to use their images was more than willing to grant it once they looked at the site, and they also appreciated that the site was non-commercial. A major, ongoing challenge is maintaining all the hyperlinks and, moreover, adding new hyperlinks to the site as they become available online. In the end, the site seems to be used as much by my own students here in the Caribbean as others all over the globe."

The Website is organized as 15 "chapters" the first of which presents an overview that answers the question, "What is a plant?" Subsequent chapters introduce the plant kingdom from an evolutionary perspective beginning with algae and continuing through seed plants. Lectures and labs are enriched with a generous number of illustrations, photographs (most of which were taken by Dr. Carrington), figures, tables, and internal and external links to additional resources.

1. ดิวิชั่นเฮปาโทไฟตา (Division Hepatophyta)

        พืชในกลุ่มนี้ได้แก่ liverworts ในสมัยโบราณเชื่อว่า สามารถนำมารักษาโรคตับได้ ทั้งยังมีรูปร่างคล้ายตับของมนุษย์ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า liverworts (liver = human liver, wort = herb) มีประมาณ 8,500 ชนิด
     
        ลักษณะของ liverworts มีตั้งแต่ขนาดเล็กซึ่งพบในกลุ่ม leafy liverwort มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 mm มีวงชีวิตแบบสลับ โดยมีระยะ gametophyte เด่น
      ดังนั้นต้นที่พบทั่วไปจะเป็นต้นแกมมีโตไฟต์ บางครั้งจะพบชั้น cuticle และสปอร์ที่ มีผนังหนาซึ่งเป็นลักษณะการปรับตัวของ liverworts เพื่อที่จะสามารถอาศัยอยู่บนบกได้
แกมมีโตไฟต์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1. Leafy liverworts เป็น liverworts ที่เป็นเส้นสาย มีลักษณะคล้ายมอส มีใบ 3 แถว มี สมมาตรแบบ bilateral symmetry Leafy ลิเวอร์เวิร์ทประมาณ 80 % จะเป็น leafy liverworts อาศัยในบริเวณที่มีปริมาณน้ำมาก

2. Thallus liverworts เป็น liverworts ที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนคล้ายริบบิ้น (ribbonlike) เช่น Marchantia เป็นพืช perennial plant แผ่นทัลลัสสามารถแตกเป็นคู่ซึ่งเรียกการ แตกแขนงแบบนี้ว่า dichotomous branching การเจริญของแกมมีโตไฟต์จะ เจริญจากเนื้อเยื่อเจริญบริเวณร่องที่อยู่ปลายสุด (apical notch) ลักษณะพิเศษอีกอย่างของ thallus liverworts คือ มีเซลล์เรียงต่อกันเป็นช่อง (chamber) รูปร่างคล้ายเพชร (diamond-shaped plates) ซึ่งภายในจะประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียว
คล้ายต้นกระบองเพชรมีหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง Gametophytes ทั้ง leafy และ thallus มักจะมีลักษณะเป็น lobe และ bilateral symmetry ไม่มี midrib บริเวณด้านบนของ thallus ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง ส่วนด้านล่างใช้ในการสะสมอาหาร Rhizoids มักมีเซลล์เดียว


       

สปอร์โรไฟต์
        สปอร์โรไฟต์ไม่มีปากใบ รูปร่างค่อนข้างกลม ไม่มีก้าน ยึดติดกับแกมมีโตไฟต์จนกว่า
จะแพร่กระจายสปอร์ (shed spores) สร้าง capsule บริเวณปลาย ซึ่งจะมี calyptra ช่วยป้องกันอันตราย ภายใน capsule มีเนื้อเยื่อที่สร้างสปอร์ เรียก sporogeneous tissue เกิดการแบ่งตัวแบบไมโอซิสสร้างสปอร์ ซึ่งมีบางเซลล์ที่ฝ่อไปเปลี่ยนเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า elaters มีลักษณะคล้ายขดลวด พบแทรกอยู่ทั่วไป ใน capsule มีคุณสมบัติไวต่อความชื้น (hygroscopic) เมื่ออากาศแห้งสปริงจะกางออกทำให้เกิดการดีดสปอร์ออกไปได้ไกลๆ เมื่อมีความชื้น elaters ขดตัวเหมือนเดิม

การสืบพันธุ์
        แกมมีโตไฟต์ของลิเวอร์เวิร์ทหลายชนิด จัดเป็น uni**aul เช่น Marchantia สร้าง archegoniophores รูปร่างคล้ายร่ม บริเวณด้านล่างของ archegoniophores จะมี archegonium ยื่นออกมา ส่วน antheridium สร้างบริเวณด้านบนของ antheridiophores ส่วนลิเวอร์เวิร์ทชนิดอื่นมีโครงสร้างง่ายกว่า Marchantia เช่นใน Pellia จะไม่มีโครงสร้าง ของ chambers หรือ pores และ ใน Riccia สร้าง antheridium และ archegonium ในทัลลัสเดียวกัน

A**ual reproduction
      Liverworts สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการสร้าง gemma cup ภายในมี gemma หรือ gemmae มีรูปร่างคล้ายไข่ หรือรูปดาว หรือคล้ายเลนส์ (ดังภาพ) ซึ่งจะหลุดจาก gemma cup เมื่อได้รับน้ำฝน เมื่อ Gemmae หลุดไป สามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้หรืออาจเกิดจากการขาดของต้นเดิมเนื้อเยื่อ ที่หลุดจากต้นสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้เช่นกัน

2. ดิวิชั่นแอนโทซีโรไฟตา (Division Anthocerophyta)

        พืชในกลุ่มนี้ เรียกรวมว่า hornworts เป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดในไบรโอไฟต์ มีประมาณ 6 สกุล 100 ชนิด ชนิดที่มักเป็นตัวอย่างในการศึกษา คือ Anthoceros
        ลักษณะของ hornworts ที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ มีดังนี้

1. สปอร์โรไฟต์รูปร่างเรียวยาวคล้ายเขาสัตว์สีเขียว
2. เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสงมีคลอโรพลาสต์ 1 เม็ด และมีอาหารสะสมเป็น pyrenoid เหมือนกับสาหร่ายสีเขียวและ Isoetes (vascular plant)
3. สปอร์โรไฟต์มี intercalary meristem ซึ่งทำให้สปอร์โรไฟต์สามารถเจริญได้อย่าง ไม่จำกัด
4. Archegonium ฝังตัวอยู่ในแกมมีโตไฟต์ มีโครงสร้างที่คล้ายกับปากใบ (stomatalike structure) ซึ่งจะไม่พบในกลุ่มอื่น

แกมมีโตไฟต์
        แกมมีโตไฟต์รูปร่างกลมหรือค่อนข้างรี แบน สีเขียว เป็นโครงสร้างที่ง่ายๆ เมื่อเทียบกับแกมมีโตไฟต์ในกลุ่ม bryophyte ด้วยกัน Hornworts ส่วนใหญ่เป็น uni**ual สร้างอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณด้านบนของทัลลัส การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเกิดขึ้นโดยการขาดเป็นท่อน (fragmentation)

สปอร์โรไฟต์
        สปอร์โรไฟต์ของฮอร์นเวิร์ทมีความแตกต่างจากสปอร์โรไฟต์ของชนิดอื่นมาก มีลักษณะเฉพาะคือรูปร่างคล้ายกับเขาสัตว์ สีเขียว ยาวประมาณ 1-4 cm ภายมีเนื้อเยื่อที่แบ่งตัวให้ spores

Plant Kingdom
(or Plantae)
Virtually all other living creatures depend on plants to survive. Through photosynthesis, plants convert energy from sunlight into food stored as carbohydrates. Because animals cannot get energy directly from the sun, they must eat plants (or other animals that have had a vegetarian meal) to survive. Plants also provide the oxygen humans and animals breathe, because plants use carbon dioxide for photosynthesis and release oxygen into the atmosphere.

Plants are found on land, in oceans, and in fresh water. They have been on Earth for millions of years. Plants were on Earth before animals and currently number about 260,000 species. Three features distinguish plants from animals:

Plants have chlorophyll, a green pigment necessary for photosynthesis;
Their cell walls are made sturdy by a material called cellulose; and
They are fixed in one place (they don’t move).
Plant Classification
In order to study the billions of different organisms living on earth, biologists have sorted and classified them based on their similarities and differences. This system of classification is also called a taxonomy and usually features both English and Latin names for the different divisions.

All plants are included in one so-called kingdom (Kingdom Plantae), which is then broken down into smaller and smaller divisions based on several characteristics, including:

Whether they can circulate fluids (like rainwater) through their bodies or need to absorb them from the moisture that surrounds them;
How they reproduce (e.g., by spores or different kinds of seeds); and
Their size or stature.
The majority of the 260,000 plant species are flowering herbs. To describe all plant species, the following divisions (or phyla) are most commonly used to sort them. The first grouping is made up of plants that are non-vascular; they cannot circulate rainwater through their stems and leaves but must absorb it from the environment that surrounds them. The remaining plant species are all vascular (they have a system for circulating fluids). This larger group is then split into two groups: one that reproduces from spores rather than seeds, and the other that reproduces from seeds.




Non-Vascular Plants
Mosses and “allies,” or related species (Bryophyta and allies)

Mosses or bryophyta are non-vascular. They are an important foundation plant for the forest ecosystem and they help prevent erosion by carpeting the forest floor. All bryophyte species reproduce by spores not seeds, never have flowers, and are found growing on the ground, on rocks, and on other plants.

Originally grouped as a single division or phylum, the 24,000 bryophyte species are now grouped in three divisions: Mosses (Bryophyta), Liverworts (Hepatophyta), and Hornworts (Anthocerotophyta). Also included among the non-vascular plants is Chlorophyta, a kind of fresh-water algae.

Vascular Plants with Spores
Ferns and allies (Pteridophyta and allies)

Unlike mosses, ferns and related species have a vascular system, but like mosses, they reproduce from spores rather than seeds. The ferns are the most plentiful plant division in this group, with 12,000 species. Other divisions (the fern allies) include Club mosses or Lycopods (Lycopodiophyta) with 1,000 species, Horsetails (Equisetophyta) with 40 species, and Whisk ferns (Psilophyta) with 3 species.

Vascular Plants with Seeds
Conifers and allies (Coniferophyta and allies)

Conifers and allies (Coniferophyta and allies) Conifers reproduce from seeds, but unlike plants like blueberry bushes or flowers where the fruit or flower surrounds the seed, conifer seeds (usually cones) are “naked.” In addition to having cones, conifers are trees or shrubs that never have flowers and that have needle-like leaves. Included among conifers are about 600 species including pines, firs, spruces, cedars, junipers, and yew. The conifer allies include three small divisions with fewer than 200 species all together: Ginko (Ginkophyta) made up of a single species, the maidenhair tree; the palm-like Cycads (Cycadophyta), and herb-like plants that bear cones (Gnetophyta) such as Mormon tea.

Flowering Plants (Magnoliophyta)

The vast majority of plants (around 230,000) belong to this category, including most trees, shrubs, vines, flowers, fruits, vegetables, and legumes. Plants in this category are also called angiosperms. They differ from conifers because they grow their seeds inside an ovary, which is embedded in a flower or fruit.

สิ่งมีชีวิต ที่จัดอยู่ในอาณาจักรพืชในปัจจุบันมี = 240,000 สปีชีส์

ลักษณะที่สำคัญ
1. มีรงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า Chlorophyll อยู่ใน Chloroplast
2. ไม่เคลื่อนที่
3. เป็นสิ่งมีชีวิต ปกด. เซลล์ประเถท Eukaryotic Cell คือ เซลล์มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
4. โครงสร้าง ปกด. Cell หลาย Cell
- Cell เหล่านี้ ป.ป. รูปร่างไปทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
- Cell จะทำหน้าที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) เช่น ผิวใบ ท่อลำเลียง ราก
5. เซลล์สืบพันธุ์ผสมกันได้ไซโกต แล้วจะต้องเจริญผ่านระบบเอมบริโอ (ต้นอ่อน) ก่อนแล้วจึงเจริญเป็นต้นใหม่ (ต้นสปอร์โรไฟต์)
6. มีวงชีวิตแบบสลับ มีระบบของต้น gametophyte สร้างเซลล์สืบพันธุ์ ผสมแบบอาศัยเพศ สลับกับระยะของต้นสปอร์โรไฟต์ Sporophyte สร้างสปอร์เป็นการสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ
7. มี Cell Wall (ผนังเซลล์) เป็นสาร Cellulose , Pectin

- จะแบ่งออกเป็น 8 Division

1. Division Bryophyta
- ยังไม่มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริง จึงเรียกส่วนต่างๆ รวมว่า Thallus
- โครงสร้างคล้ายราก Rhizoid
- โครงสร้างคล้ายลำต้น
- โครงสร้างคล้ายใบ
- Sporophyll เป็นช่วงที่มี Chromosome แบบ 2n Diploid
- Gametophyll เป็นช่วงที่มี Chromosome แบบ n haploid
- วงเวียนชีวิตแบบสลับ Alternation of generation

ลักษณะที่ สำคัญ
1. ไม่มีท่อลำเลียง


ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ (Xylem)

ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (Phloem)

การลำเลียงน้ำ Osmosis

การลำเลียงอาหาร diffusion
พืชพวกนี้มีขนาดเล็ก
2. ไม่มีราก ลำต้น และ ใบแท้จริง
3. ช่วงชีวิตที่สร้างสปอร์ เรียก Sporophyte มีขนาดเล็ก อายุสั้น และ ต้องเจริญเติบโตอยู่ช่วงชีวิตที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ gametophyte จะมีขนาดใหญ่
4. มีช่วงชีวิตระยะ gametophyte เด่นกว่า Sporophyte.
5. เป็นพืชบกพวกแรกของโลก - ปรับตัวเพื่อการอาศัยอยู่บนบกยังไม่ดีพอ
6. การสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศต้องอาศัยน้ำ ความชื้นเป็นกลาง ให้ Sperm ว่ายไปปฏิสนธิกับไข่
7. พืชในดิวิชันนี้แบ่ง 3 คลาส
Class 1. Bryopsida.
- ได้แก่ มอส
- มีลักษณะ ดังนี้
1. gametophyte มี 2 ระยะ
- ระยะที่ 1
– เจริญโดยตรงมาจากการงอกสปอร์
- ลักษณะ เป็นเส้นสายยาวแตกแขนงคล้ายสาหร่ายสีเขียว เรียก แกมีโตไฟต์ระยะแรก ( First gametophyte or young gametophyte) นี้ว่า Protonema
- เมื่อเจริญเต็มที่จะสร้างหน่อเล็กๆ เมื่อหน่อเหล่านี้เจริญจะกลายเป็นระยะที่ 2
- ระยะที่ 2
– Second gametophyte.
- ปกด 3 ส่วน คล้ายราก (Rhizoid) คล้ายลำต้น (Caulidium) คล้ายใบ (Phyllidium)

* หมายเหตุ* Protonema ที่งอกมาจากสปอร์เพียงเมล็ดเดียวสามารถแตกหน่อ เพื่อเจริญเป็น gametophyte ได้หลายต้น

- leafy gametophyte ของมอสมี 2 เพศ อยู่บนต้นเดียว
- ต้นที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ Antheridium
- + ต้นที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ Archegonium.

2. ระยะสปอร์โรฟ์ของมอส ปกด.
- เท้า เป็นหลุดที่ยึดอยู่บนแกมีโตไฟต์ ก้านชูสปอร์ อับสปอร์ อาณาจักรพืช ไม่มีระบบท่อลำเลียง ( Bryophyta ) มีระบบท่อลำเลียง ( Iracheophyta) )

ไม่มีระบบท่อลำเลียง ( Bryophyta )

1. Division Bryophyta
1.1 Class Bryopsida มอส
1.2 Class Hepaticapsida ลิเวอร์เวิร์ต
1.3 Class Anthoceropsida ฮอร์นเวิร์ต

มีระบบท่อลำเลียง ( Iracheophyta )

1. Division Psilophyta.

2. Division Lycophyta.

3. Division Sphenophyta.

4. Division Pterophyta.

5. Division Coniferophyta.

6. Division Cycadophyta.

7. Division Anthophyta.


ความสำคัญของมอส
1. Sphagnum หรือข้าวตอกฤาษี
- ตายจะทับถมกันนำมาใช้บำรุงดิน เพิ่มปุ๋ยให้แก่พืช อุ้มความชื้นให้แก่ดิน ใช้ทำเชื้อเพลิง อัดทำถ่านพีท
2. มอสขึ้นปกคลุมดิน อนุรักษ์ดิน ป้องกันน้ำกัดเซาะ
3. เป็นอาหารสัตว์
4. ช่วยทำให้หินเปลี่ยนแปลงเป็นดินได้
- มอสเป็นพืชสำคัณในขบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ตามธรรมชาติ (Succession)
- พืชชนิดแรกสุดที่เจริญขึ้นได้บนที่แห้งแล้ง
5. ซากของมอสที่ทับถมนาน ๆ นำมาใช้บำรุงดิน
6. ซากของมอสมีภาวะเป็นกรดจะยับยั้งการเจริญเติบโตของ bact. และเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเน่าของต้นไม้ได้

Class 2 Hepaticopsida
- ลิเวอร์เวิร์ต
- มีลักษณคล้ายมอส
- เป็นแผ่นบาง ๆ สีเขียวขนาดเล็กเกาะติดอยู่กับพื้นดินหรือหินที่เปียกชื้น
- ด้านล่างของแผ่นบางๆ มี Rhizoid ทำหน้าที่เกาะยึดและ ดูดน้ำ

Class 3 Anthoceropsida
- พวกฮอร์นเวิร์ต (Hornwort)

Natural Perspective

The Plant Kingdom: Mosses and Allies
(Last modified: 29 Sep 1997)

   


Mosses and their allies are small green plants that are simlutaneously overlooked and deeply appreciated by the typical nature lover. On the one hand, very few people pay attention to individual moss plants and species. On the other hand, it is the mosses that imbues our forests with that wonderful lush "Rainforest" quality which soothes the soul and softens the contours of the earth.

These wonderfully soft carpets of green are, in fact, Nature's second line of attack in its war against rocks. After lichens have created a foothold in rocks the mosses move in, ultimately becoming a layer of topsoil for higher plants to take root. The mosses also hold loose dirt in place, thus preventing landslides.

Ecologically and structurally, mosses are closer to lichens than they are to other members of the plant kingdom. Both mosses and lichens depend upon external moisture to transport nutrients. Because of this they prefer damp places and have evolved special methods of dealing with long dry periods. Higher plants, on the other hand, have specialized organs for transporting fluid, allowing them to adapt to a wider variety of habitats.


Bryophytes used to be classified as three classes of a single phylum, Bryophyta. Modern texts, however, now assign each class to its own phylum: Mosses (Bryophyta), Liverworts (Hepatophyta), and Hornworts (Anthoceraphyta). This reflects the current taxonomic wisdom that the Liverworts and Hornworts are more primitive and only distantly related to Mosses and other plants.

Mosses (Phylum: Bryophyta)
All plants reproduce through alternating generations. Nowhere is this more apparent than in the mosses. The first generation, the gametophyte, forms the green leafy structure we ordinarily associate with moss. It produces a sperm and an egg (the gametes) which unite, when conditions are right, to grow into the next generation: the sporophyte or spore-bearing structure.
The moss sporophyte is typically a capsule growing on the end of a stalk called the seta. The sporophyte contains no clorophyl of its own: it grows parasitically on its gametophyte mother. As the sporophyte dries out, the capsule release spores which will grow into a new generation of gametophytes, if they germinate.

Mosses, the most common, diverse and advanced brypophytes, are categorized into three classes: Peat Mosses (Sphagnopsida), Granite Mosses (Andreaopsida), and "True" Mosses (Bryopsida or Musci).

Shown: Class: Bryopsida; Order: Hypnales; Family: Brachythecia; Homolathecium nutalli (probably)

Leafy Liverworts (Phylum: Hepatophyta, Class: Jungermanniidae)
While people typically know what a moss is, few have even heard of liverworts and hornworts.
These primitive plants function much like mosses and grow in the same places, often intertwined with each other. The liverworts take on one of two general forms, comprising the two classes of liverworts: Jungermanniidea are leafy, like moss; Marchantiopsida are leaf-like (thalloid) similar to foliose lichens.

The leafy liverworts look very much like mosses and, in fact, are difficult to tell apart when only gametophytes are present. The "leaves," however, are simpler than moss and dont have a midrib (costa). The stalk of the sporophyte is translucent to white; its capsule is typically black and egg-shaped. When it matures, the capsule splits open into four equal quarters, releasing the spores to the air.

The liverwort sporophyte shrivels up and disappears shortly after releasing its spores. Because of this one hardly ever sees liverwort sporophytes out of season. Moss sporophtyes, on the other hand, may persist much longer.

Shown: Class: Jungermanniidea; Order: Jungermanniales; Family: Scapaniaceae; Scapania spp. (probably)


Leaf-like Liverworts (Phylum: Hepatophyta; Class: Marchantiopsida)
The leaf-like (thalloid) liverworts are, on the whole, more substantial and easier to find than their leafy counterparts. The gametophyte is flat, green and more-or-less strap-shaped. The body may, however, branch out several times to round out the form.
When the gametophyte has become fertilized and is ready to produce its sporophyte generation it may grow a tall green umbrella-shaped structure called the carpocephalum. The sporophyte grows on the underside of this structure, often completely hidden from view.

During the dry season, leaf-like liverworts may shrivel up and completely disappear from view until the rains arrive again.

Thalloid liverworts are much easier to identify than their leafy counterparts due to the wider variety of gametophyte shapes.

Shown: Class: Marchnatiopsida; Order: Marchantiales; Family: Aytoniaceae; Asterella californica


Hornworts (Phylum: Anthoceraphyta)
Hornworts are very similar to liverworts but differ in the shape of the sporophyte generation. Instead of generating spores in a capsule atop a stalk, the hornwort generates spores inside a green horn-like stalk. When the spores mature the stalk splits, releasing the spores.
Under the microscope, hornwort cells look quite distinct as well: they have a single, large chloroplast in each cell. Other plants typically have many small chloroplasts per cell. This structure imparts a particular quality of color and translucency to the body (thallus) of the plant.

Hornworts are all grouped into a single class, Anthocerotae, containing a single order, Anthocerotales.

Shown: Class: Anthocerotae; Order: Anthocerotales; Family: Anthocertaceae; Phaeoceros spp.

---------
---------
---------

---------

---------

Similarities & Differences of Plant Divisions
November 19, 2001
Wardah Asaba

There are another kind of kingdom that I learned about, which is the plant kingdom. It includes Liverworts, Horsetails, conifer, and angiosperm. Those are some of the different types of plant in the plant kingdom. Some of the plants might leaves, some might have flowers growing around them, one might have fruits and vegetables growing on it etc. Also I find out that whether they are sporophyte or gametophyte. Like to see if the plant is leafless or not .

Liverworts is the type of plant that is a gametophyte some of them have leaves their outline is shaped almost like a liver. Horsetails have segmented stems and have a needle-like leaves. The Conifers are mostly evergreen trees and have shrubs with leaves like needles. And last but not least the Angiosperms the plant that has seeds and has produce fruits. This is just some description about the types of plants.

The differences between Liverworts and Horsetails are that Liverworts have a leafy body, dominant gametophyte, vascular tissue, stems anti leaves that are flat Horsetails don't have any of these characteristics. The similar things between the both of them are that they both have roots and stems. The next comparison is between Conifers and. angiosperm, the different things I see between then are that Conifers have cones and the leaves are needle-like or looked like scale. The similarity that I see between the both of them has seeds or fruit.

Between all of there some of the plants has leaves or fruits. I think almost all of them has the same characteristics except for Liverworts its probably the only one without a dominant sporophyte. One of the interesting thing that I found out was that the Horsetails plant can survive and even flourish in soils severely contaminated by chemical pollutants. This was new information that I found from an enclopedia. And the plants that are vascular is the hogi and Conifers. And the Liverworts are nonvascular.

David Bituin

During the past couple of weeks we have been studying the different plant forms. We have been studying the different parts of the plant and how it works. We have been studying flowers and looking at them all under microscopes. We have learned many new things about plants and we have learned that they all have differences and similarities. The Plant Kingdom turns out to be made up of many different plants. Each plant has different qualities while each has many of the same ones as obvious as them all being plants. There are four different plants that have things in common as well as things uncommon.

Liverworts are simple plants that are small and have a dominant gametophyte with a leafy body similar to some of the other three plants. It has around 6000 different species. It is a nonvascular plant, lacks vascular tissue, meaning that it doesn't have the tissue that transports water. It is one of the three that is a nonvascular plant. It lacks stems and roots unlike the other vascular plants which have stems and roots.

The Horsetails is a seedless small plant like the Liverworts. It has a dominant sporophyte unlike the Liverwort. There are around 15 different species of the Horsetails. It has roots and ribbed stems with soft needle leaves at joints. It has a dominant sporophyte like the Conifer and the Angiosperms. The sporophyte means the diploid plant from with each cell having two complete sets of chromosomes. The Horsetails and the Liverworts both are seedless plants.

The Conifers or Coniferophyta are Gymnosperms which is seed plants that have a large sporophyte and have ovules that are not closed by an ovary. The conifer has around 550 different species. The conifer has an advanced way of protecting its seed which could also be known as the pine cone. It is mostly evergreen trees and shrubs with leaves that are formed like needles. It also is a seed plant like the Angiosperms.

The Angiosperms or the Anthophyta are seed plants that have a dominant sporophyte like the Horsetails and the Conifers. There are around 250,000 different species making it the plant phylum which has the most amount of species. It has ovules that are closed by an ovary. It is the only plant between the other three that has an ovule that is closed by an ovary which makes it the only plant out of all that produces flowers and fruits. It is a very different group of plants that has trees, shrubs, vines, and herbs. It shares common things with the conifer like them both being a seed plant and both having dominant sporophytes.

Throughout the plant kingdom the different plants have different things in common and they all have their fair share of differences between them as well. This makes them all unique in their own special way. The Angiosperms is the only plant that can produce flowers and fruit making it very advanced compared to the rest of the different plants. The plants all share at least one common similarity between each other. This shows that they are all part of the plant kingdom and that the different phylum is similar in one way or another.

Johnson Chen

In the last few we had learn about the different types of plants and it is so fun, during that time, also we did some lab about the different types of plants. I feel that could be the new until for me. Because in those week, I learn a lot new knowledge and those knowledge makes me remind something, when I was in China I had learn the same types of things too. In those weeks we learn about new groups of plants, like Horsetails, Liverworts, Conifers and Angiosperms.

The Horsetails looks like a whip, and all the leaf are green. The leaves grow at the two side of the trunk, and it had roots, stems, and leaves three main parts in it. And the Horsetails is a dominant saprophyte types plants, the leaves are modified as needles or scales. Horsetails are not only types of plants, it is a kind of plant also.

The Liverworts of this group bear leaf-like structures, on a branched or entrenched stem, which most often lies horizontally with respect to the surface upon which the plant is growing. The leaves are generally only a single cell thick, and have no vascular system and no protective surface layer as is the case with higher plants. Often the leaves are divided into two or more lobes, and sometimes the lobes are folded to form various shapes. The leaves are most often arranged in two rows, but in many species there is a third row of very much smaller leaves, which are often only visible with a hand-lens or microscope. The arrangement of the two main rows of leaf is often a clue to identification.

The Conifers have 500 or more species. There is also other plant like the pines, cypress and redwoods. The Conifers have a dominant gametophyte stage, it have leaves, seeds or fruit. The leaves are modified as needles or scales and the ovule includes by an ovary.

The Angiosperms, are the dominant group of plants on land, with around 230,000 described species. It is the dominant gametophytes, and it have flowers and seeds or fruit, also the ovules in closed by an ovary too. In a year we had seen a lot of tree or flower, and half of them are the Angiosperms. So the Angiosperms are around of us, you can see it anywhere that has flower. The flower in the plant is the reproductive. Because the flower's aspect are colorful and it charm the bee or insect to bring the pollen from one flower to another flower.

At the end I learn the Conifers and the Angiosperms are different kind of Gymnosperms. They grow by flower and fruits or seeds. And the Liverworts are dominant gametophytes. The Horsetails are the dominant sporophyte.

Jeffrey Cheng

We have studied about plants, this essay will compare and contrast the differences between each plant. First we are going to compare the Carnation and the Astromera, these two plants may look very different from each other, but there actually they are the same type which is the Hypogynous. The difference between the Carnation and the Astromera is their ovary structure and the length of it's pistils. The next thing this essay will cover is the Gymnosperm. which was cover weeks ago in our lab, we observed Plants like the Cypress which is in the Gymnosperm division. Another plant that is in the Gymnosperm division is the pine it's an all wood structure from a pine tree. Another different division would be the Angiosperms which is a totally different division it's different because unlike the Pine and Cypress the Angiosperms has petals, and grows like a regular plant. So what does Angiosperms feature? Well the Angiosperms features Flowers, Fruit. The difference between the Gymnosperm is that this division contains: Cone, Stronger wood Structure. which means the Angiosperms is not as tough as the Gymnosperm because it's Stronger wood structure.

Liverworts is the simplest roots and stems, the Liverworts is in most plants, because not plant can grow and survive without roots. Mosses is a little more complex and small leaf. which is a plant with little leaves, Horsetails is just stems, trunks, roots. which is most common to be seen, because it's in trees, a tree contains a trunk, roots, and many stems, so the similarities between the Mosses and the Horsetails is that both the Mosses and Horsetails has roots and stems, but in two different sizes. The Mosses which is found in small plants, and The Horsetails which is found in trees.

Another comparison would be with the Vascular / Non Vascular plants. A Vascular plant is where it has many stems and also like the (Non Vascular) has (xylem + Phloem) So that was the Similarities and Differences. Sporophyte is when Chloroplasts turns into photosynthesis, gametophyte does the same thing except the gametophyte goes in a cycle from a 2n to a 1n, so the differences between the two is that the Sporophyte turns from one thing to another and does not return to Chloroplast, and the gametophyte is a cycle which goes over and over.

ไอพี: ไม่แสดง

#24 | Teera | 12 พ.ย. 50 20:05 น.

ภาษาอังกฤษช่วยแปลด้วยก็ดีนะ

ไอพี: ไม่แสดง

#25 | patza | 12 พ.ย. 50 20:06 น.

โจ๊ะ 33
ดิวิชั่นแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)

        พืชในดิวิชั่นนี้คือพืชดอก (Flower plant) เรียกกันทั่วไปว่า แองจิโอสเปิร์ม (Angiosperm)
พืชดอกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
พืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon) ได้แก่พืชที่มีใบเลี้ยง 2 ใบ มีอยู่จำนวนมากที่สุด
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) ได้แก่พืชดอกที่มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว
ลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน ของพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ใบเลี้ยง (Cotyledon) พืชใบเลี้ยงคู่มี 2 ชนิดและใบเลี้ยงมักมีอาหารสะสมอยู่ โดยทำหน้าที่ให้อาหาร แก่ต้นอ่อนในระยะเริ่มแรก ส่วนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยงนั้นไม่ได้ทำหน้าที่ในการสะสมอาหาร แต่เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) จะทำหน้าที่สะสมแทน โดยใบเลี้ยงจะทำหน้าที่ย่อยอาหารที่สะสมไว้
ใบ (Leaf) ใบพืชมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ตัวใบ(Blade) และก้านใบ(Petiole) ที่ต่อไปจะมีการจัดเรียงของเส้นใบ เส้นใบขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า เส้นกลางใบ (Mid rib) ส่วนเส้นแขนงที่แยกออกมาเรียกว่า เส้นใบ (Vein)
ลำต้น (Stem) ลำต้นเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสร้างอาหาร และชูใบ ลำต้นมีทั้งชนิดที่อยู่บนดิน และลำต้นที่อยู่ใต้ดิน เช่น ขิง มันฝรั่ง เผือก
- ลำต้นของพืชในเลี้ยงคู่มักมองเห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน แต่พืชใบเลี้ยงเดี่ยงมองเห็นได้ ชัดเจน เช่นข้าวโพด อ้อย ไผ่
- ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่เมื่อตัดตามขวางจะพบว่า การจัดเรียงตัวของท่อน้ำ (Xylem) และท่ออาหาร (Phloem) มีระเบียบ โดยมีลักษณะเป็นวงโดยมีท่อน้ำอยู่ด้านใน และท่ออาหารอยู่ด้านนอก ส่วนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวพบว่าไม่มีการจัดระเบียบของท่อลำเลียง
- ลำต้นพืชในใบเลี้ยงคู่มักมีเนื้อเจริญด้านข้าง (Cabium) ส่วนพืชในใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มี Cambium
ราก(Root) พืชใบเลี้ยงคู่มีรากแก้ว ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มีรากแก้วแต่มีรากฝอย
ดอก(Flower) กลีบดอกของพืชใบเลี้ยงคู่มักมีกลีบเลี้ยง 4 ถึง 5 หรือทวีคูณ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีจำนวนกลีบดอก เป็น 3หรือทวีคูณของ 3

ไอพี: ไม่แสดง

#26 | palmpokemon (ไม่เป็นสมาชิก) | 12 พ.ย. 50 20:15 น.

ตอบไม่ได้
.
.
.
.

Lori Cheng

The plant kingdom, like the animal kingdom, consists of many different groups. There are twice as many phyla than what the animal kingdom has, which comes to a total of 12 different phyla within the plant kingdom. I will only be talking about four of these phyla, though. They are Hepatophyta (Liverworts), Sphenophyta (Horsetails), Coniferophyta (Conifers), and last Anthophyta (flowering plants). As you read along, you will learn more about these four groups, their similarities and differences.

ไอพี: ไม่แสดง

#27 | ลูกชิ้นจัง~ (ไม่เป็นสมาชิก) | 12 พ.ย. 50 20:58 น.

อ่ะ เราช่วยหาภาพละกันนะ หาข้อมูลไปก็ซ้ำกับคนอื่นอ่ะ - -*

1.ไฟลัมเฮปาโทไฟตา Hepatophyta (liver worts)




2.ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา Anthocerophyta (horn worts)





3.ไฟลัมไบรโอไฟตา Bryophyta (moss)

รูปนี้น่ากลัวอ่ะ 55+



4.ไฟลัมไลโคไฟตา Lycophyta (lycopodium,isoetes,selaginella)




กระถางต้องคำสาปรึป่าวเนี่ยย!!~

5.ไฟลัมเทอโรไฟตา Pterophyta (ferns)




6.ไฟลัมไซแคโดไฟตา Cycadophyta (ปรง)





7.กิงโกไฟตา Ginkgophyta (Ginkgo biloba แปะก๊วย)






8.โคนิเฟอโรไฟตา Coniferophyta (สน)




9.นีโทไฟตา Gnetophyta (gnetum, welwitschia, ephedra)



แก้ไขล่าสุด 12 พ.ย. 50 21:35 | ไอพี: ไม่แสดง

#28 | palmpokemon (ไม่เป็นสมาชิก) | 12 พ.ย. 50 21:32 น.

ไม่เหนรุปอะ เฟรน

ไอพี: ไม่แสดง

#29 | Teera | 12 พ.ย. 50 21:35 น.

นั่นสิ เมื่อกี้เห็นแว้บๆ ..

ไอพี: ไม่แสดง

#30 | ลูกชิ้นจัง~ (ไม่เป็นสมาชิก) | 12 พ.ย. 50 21:36 น.

กร๊ากกก เมื่อกี้ไปย้ายไฟล์เล็กน้อย แก้ให้แหล่ว~

ไอพี: ไม่แสดง

#31 | Pang_แป้ง (ไม่เป็นสมาชิก) | 12 พ.ย. 50 21:46 น.

ดิวิชันไซเเคโดไฟตา
ได้เเก่ พืชพวกปรง ส่วนใหญ่พบในเขตร้อน ปัจจุบันเหลือเพียง 100 กว่าสปีชีส์
( เป็นพืชที่พบมากในยุคจูเเรสสิก ) ใช้ประโยชน์ในการทำไม้ประดับ เเละบอนไซ
ลักษณะต้นสปอร์โรไฟต์ ของปรง
- มีต้นใหญ่เตี้ยเป็นเเท่ง ไม่เเตกกิ่งก้าน
- มีใบขนาดใหญ่เป็นใบประกอบคล้ายใบเฟิน อยู่รวมเป็นกระจุกที่ยอด

การสืบพันธุ์
- มีต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียเเยกออกจากกัน
- มีอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า โคน ( cone ) หรือ สโตรบิลัส
( strobilus ) อยู่ปลายยอดของลำต้น
- เมล็ดเปลือยที่ไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม เช่นเดียวกับพืชพวกสน
ต้นเเกมีโทไฟต์ มีขนาดเล็กมากเหลือเพียงไม่กี่เซลล์ เเละอาศัยอยู่บนต้นสปอร์โรไฟต์

       

ดิวิชั่นโคนิเฟอโรไฟตา
ได้เเก่ พืชพวกสน เช่น สนสองใบ สนสามใบ มักพบในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ดอยอินทนนท์ ขุนตาล ภูกระดึง
ลักษณะต้นสปอโรไฟต์ของพวกสน
- เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ต้นสูงชะลูด
- ใบมีลักษณะคล้ายรูเข็ม มีคิวติเคิลหนาปกคลุม เเละใบมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
- มีอวัยวะสืบพันธุ์เรียกว่า โคน ( cone ) หรือ สโตรบิลัส ( strobilus ) ลักษณะเป็นเกล็ดหรือ เเผ่นเเข็งที่เรียงซ้อนกันเเน่น เปลี่ยนเเปลงมาจากใบที่เรียงซ้อนกัน
( สปอโรฟีลล์ )
- โคนมี 2 ชนิด คือ โคนตัวผู้ ทำหน้าที่สร้างไมโครสปอร์ที่จะเปลี่ยนเเปลงต่อไปเป็นละอองเรณูหรือเเกมีโทไฟต์เพศผู้ เเละโคนตัวเมีย ทำหน้าที่สร้างเมกะสปอร์ที่เปลี่ยนเเปลงไปเป็น
เเกมีโทไฟต์เพศเมียที่สร้างไข่ภายในโอวูล
- เม็ดไม่มีผนังรังไข่หรือผลห่อหุ้ม เรียกว่า เมล็ดเปลือย ( naked seed ) เกิดขึ้นติดอยู่กับเเต่ละเกล็ดของโคนตัวเมีย

การสืบพันธุ์
- มีการถ่ายละอองเกสรโดยลม เมื่อละอองเรณูตกลงบนโคนตัวเมีย
จะเจริญขึ้นเเละสร้างสเปิร์มกับหลอดละอองเรณูที่จะนำสเปิร์ม
ไปปฏิสนธิกับไข่เกิดไซโกตขึ้นภายในโอวูล
- หลังปฏิสนธิ โอวูลเปลี่ยนเเปลงไปเป็นเมล็ด ไซโกตจะเจริญขึ้น
กลายเป็นเอมบริโอ ที่จะเจริญต่อไปเป็น ต้นอ่อนของสปอโรไฟต์
( young sporphyte ) ภายในเมล็ด
- เมล็ดที่เเก่จัด ปลิวไปตกในที่เหมาะสม งอกเป็นสปอโรไฟต์ต้นใหม่

ต้นเเกมีโทไฟต์ของสน มีขนาดเล็กมากเหลือเพียงไม่กี่เซลล
์ เเละอาศัยอยู่บนต้นสปอโรไฟต์ ได้เเก่
- เเกมีโทไฟต์เพศผู้ คือ ละอองเรณูที่จะสร้างสเปิร์มเมื่อตกลงบน
โคนตัวเมีย
- เเกมีโทไฟต์เพศเมีย อยู่ภายในโอวูลทำหน้าที่สร้างรังไข่
พืชพวกสนเจริญเติบโตเร็ว เพราะมีราไมคอไรซาอยู่ร่วมกับเซลล์ราก
เเบบภาวะที่ต้องพึ่งพาราเปลี่ยนเเปลงฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ใน
รูปของสารที่รากสนดูดไปใช้ได้

       

    ปล. ง่วงจัง ไปนอนดีฝ่า บายจ้า จุ๊บๆ

ไอพี: ไม่แสดง

#33 | jobjab (ไม่เป็นสมาชิก) | 13 พ.ย. 50 18:59 น.

จ๊อบแจ๊บ (35)
ดิวิชันแอนโทไฟตา(Division Anthophyta)

*****พืชกลุ่มนี้ คือ พืชดอก เรียกว่า พวกแองจิโอสเปิร์ม(angiosperm)
ลักษณะสำคัญคือมีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดเจริญอยู่ในรังไข่ ซึ่งจะเจริญเป็นผลต่อไป
เมล็ดของพืชดอกจึงมีส่วนของผลห่อหุ้ม
*****พืชดอกมีความหลากหลายแตกต่างกันมากมาย
ซึ่งเป็นผลของการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่
จึงทำให้พืชดอกมีแพร่กระจ่ายอยู่ทั่วโลก ทั้งบนบก
ในน้ำหรือแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้ง มีขนาดแตกต่างกัน ตั้งแต่ขนาดเล็กๆ
เช่น แหน ไข่น้ำหรือ ผำ ไปจนถึงขนาดใหญ่ เช่น ต้นสัก เป็นต้น
*****พืชดอกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยๆ คือพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocotyledon)
กับพืชใบเลี้ยงคู่ (dicotyledon) เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งก็คือจจำนวนใบเลี้ยง
โครงสร้างของใบและดอก นอกจากนี้ยังพิจารณาจากโครงสร้างภายใน
ก็คือ การจัดเรียงตัวของกลุ่มท่อลำเลียงซึ่งแตกต่างกัน
http://school.obec.go.th/saneh/riw2/bb9.html

แก้ไขล่าสุด 13 พ.ย. 50 19:36 | ไอพี: ไม่แสดง

#34 | ArT_ChIDa (ไม่เป็นสมาชิก) | 13 พ.ย. 50 19:29 น.

ของอาร์ตนะ มันเหมือนของวิดอ่าไอเนื้อหาอ่ะ แต่ของเรามีรูปเพิ่ม 555+

2. ดิวิชั่นแอนโทซีโรไฟตา (Division Anthocerophyta)

        พืชในกลุ่มนี้ เรียกรวมว่า hornworts เป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดในไบรโอไฟต์ มีประมาณ 6 สกุล 100 ชนิด ชนิดที่มักเป็นตัวอย่างในการศึกษา คือ Anthoceros
        ลักษณะของ hornworts ที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ มีดังนี้

1. สปอร์โรไฟต์รูปร่างเรียวยาวคล้ายเขาสัตว์สีเขียว
2. เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสงมีคลอโรพลาสต์ 1 เม็ด และมีอาหารสะสมเป็น pyrenoid เหมือนกับสาหร่ายสีเขียวและ Isoetes (vascular plant)
3. สปอร์โรไฟต์มี intercalary meristem ซึ่งทำให้สปอร์โรไฟต์สามารถเจริญได้อย่าง ไม่จำกัด
4. Archegonium ฝังตัวอยู่ในแกมมีโตไฟต์ มีโครงสร้างที่คล้ายกับปากใบ (stomatalike structure) ซึ่งจะไม่พบในกลุ่มอื่น

แกมมีโตไฟต์
        แกมมีโตไฟต์รูปร่างกลมหรือค่อนข้างรี แบน สีเขียว เป็นโครงสร้างที่ง่ายๆ เมื่อเทียบกับแกมมีโตไฟต์ในกลุ่ม bryophyte ด้วยกัน Hornworts ส่วนใหญ่เป็น uni**ual สร้างอวัยวะสืบพันธุ์บริเวณด้านบนของทัลลัส การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเกิดขึ้นโดยการขาดเป็นท่อน (fragmentation)

สปอร์โรไฟต์
        สปอร์โรไฟต์ของฮอร์นเวิร์ทมีความแตกต่างจากสปอร์โรไฟต์ของชนิดอื่นมาก มีลักษณะเฉพาะคือรูปร่างคล้ายกับเขาสัตว์ สีเขียว ยาวประมาณ 1-4 cm ภายมีเนื้อเยื่อที่แบ่งตัวให้ spores

        Gametophyte        Sporophyte


Hornworts


ส้ม เลขที่ 39

( Kingdom Platae or Metaphyta )
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช มีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบกันเป็นเนื้อเยื่อสามารถสร้างอาหารเองได้ ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ แบ่งได้หลายดิวิชัน ได้แก่ไบรโอไฟตาไซโลไฟตา
ไลโคไฟตา สฟีโนไฟตา เทอโรไฟตา เทอโรไฟตา โคนิเฟอโรไฟตา ไซแคโดไฟตา กิงโกไฟตา และแอนโทไฟตา
มีลักษณะ ร่วมที่สำคัญหลายประการทำให้นักชีววิทยาสามารถจัดให้อยู่ในพวกเดียวกันได้

ลักษณะร่วมที่สำคัญ
1. เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์เเสงสร้างอาหารได้
( multicellura photosynthesis organism )เรียกว่า ออโตโทรป ( autotrope )
2. โครงสร้างของพืชประกอบด้วย cell ส่วนใหญ่ที่มีรวค์วัตถุดูดซับเเสง คือ คลอโรฟิลด์ ซึ่งบรรจุอยู่ในคลอโรพลาสต์
3. มีการรวมกลุ่มของเซลล์เป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
4. วัฏจักรชีวิตมีการสืบพันธุ์เเบบสลับ ( alternation of generation ) มีทั้งช่วงชีวิตที่เป็นระยะสปอโรไฟต์ ( 2n )
เเละช่วงชีวิตที่เป็น ระยะเเกมีโทไฟต์ ( n ) ที่สืบพันธุ์ได้ทั้งสองระยะ
5. มีการเจริญเติบโตของเอมบริโอ ( young sporophyte ) ภายในต้นเเม่ซึ่งเเตกต่างจากสาหร่าย ที่เอ็มบริโอจะเจริญเติบโตอย่างอิสระ
6. เซลล์พืชมีผนัง เซลล์( cell wall ) เป็นสารเซลล์ลูโลสที่เเข็งเเรงห่อหุ้มอยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์

วิวัฒนาการของพืช
พืชเกือบทุกชนิดอาศัยอยู่บนบก เเละนักวิชาการเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียวหลายเซลล์
เพราะมีวัฏจักรชีวิตที่มีการสืบพันธุ์เเบบสลับ
( alternation of generation )เหมือนกัน
- พืชมีการปรับตัวหลายอย่างเพื่อขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก คือ
- มีคิวติเคิล ( สารคล้ายขี้ผึ้งที่เคลือบผิวใบเเละลำต้น ) เพื่อลดการสูญเสียน้ำ
- มีปากใบ ( stomata ) เพื่อเเลกเปลี่ยนก๊าซ
- มีเนื้อเยื่อลำเลียง เพื่อลำเลียงน้ำเเละเเร่ธาตุ ขึ้นไปสู่ยอด
- มีเซลล์สืบพันธุ์ถูกห่อหุ้มเอาไว้หลายชั้น พืชบางชนิดยังเก็บไซโกตเอาไว้ใน อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียเพื่อให้ไซโกต
เจริญเป็นเอ็มบริโอก่อนจะหลุดร่วงไป งอกเป็นต้นใหม่


การจัดจำพวกพืช
อาณาจักรพืช เเบ่งออกเป็น 8 ดิวิชั่น ( เทียบเท่าไฟลัม ) ซึ่งมีสองพวกได้เเก่
1. พืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง( non vascular plant ) มีดิวิชั่นเดียวคือดิวิชั่นไบรโอไฟต้า มีลักษณะสำคัญ
คือ
- ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง
- ไม่มีราก ลำต้นเเละใบที่เเท้จริง
- วัฏจักรชีวิตเเบบสลับ มีต้นเเกมีโตไฟต์ใหญ่กว่าต้นสปอโรไฟต์
2. พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง ( vascula plant ) ได้เเก่ 7 ดิวิชั่น
ที่เหลือ มีลักษณะสำคัญรวมกันคือ
- มีเนื้อเยื่อลำเลียง คือ ทีอลำเลียงน้ำเเละทีอลำเลียงอาหาร
- มีราก ลำต้น เเละใบที่เเท้จริง คือ ภายในมีเนื้อเยื่อลำเลียงติดต่อถึงกันโดยตลอด
- วัฏจักรชีวิตเเบบสลับมีต้นสปอโรไฟต์ใหญ่กว่าต้นเเกมีโทไฟต์ พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นจะมีต้นสปอโรไฟต์ใหญ่ขี้นเเต่ต้นเเกมีโตไฟต์เล็กลงตามลำดับ จนกระทั่งในพืชพวกสนเเละพืชมีดอกต้นเเกมีโตไฟต์เหลือเพียงกลุ่มเซลล์ไม่กี่เซลล์ที่อาศัยอยู่ในต้นสปอโรไฟต์เท่านั้น
การจัดจำพวกพืชเป็น 9 ดิวิชัน
พืชที่ไมมีเนื้อเยื่อลำเลียง ( non vascular plant ) มี 1 ดิวิชัน คือ
ไบรโอไฟตา ( ฺBryophyta ) มี 2 คลาส คือ
- เอปาติคอปซอดา ( hepaticopsida )ลิเวอร์เวิร์ท ( liverwords )
- ไบรออปซิดา ( Bryopsida ) มอส ( moss ) เช่น ข้าวตอกฤาษี ( สเเฟกนัมมอส )

ไอพี: ไม่แสดง

#37 | หลิง32 (ไม่เป็นสมาชิก) | 13 พ.ย. 50 20:22 น.

ดิวิชั่นไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta)
    เป็นพืชที่มีเมล็ดที่โบราณ (Primitive) ในประเทศไทยพบเพียงจีนัสเดียวคือ จีนัสไซแคส (Cycas) เรียกกันทั่วไปว่า ไซแคด(Cycad) หรือปรง ลำต้นส่วนใหญ่อยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นหัว มีส่วนที่อยู่เหนือดิน มีลักษณะเป็นลำต้นเตี้ยๆ ใบมักเป็นใบประกอบ ออกเป็นกระจุกที่ยอดของลำต้น รากเป็นระบบรากแก้ว และมีรากแขนงขนาดเล็กแตกออกจากรากแก้ว นอกจากนี้รากยังสะสมอาหารด้วย อวัยวะสืบพันธุ์ของปรงเป็นโคน (Cone) ปรงต้นตัวผู้จะสร้างโคนตัวผู้ (staminate cone) ส่วนต้นปรงตัวเมียจะสร้างโคนตัวเมีย (Ovulate cone) การปฏิสนธิเป็นการผสมครั้งเดียว โอวุลเจริญเป็นเมล็ด ซึ่งเมล็ดไม่มีอะไรห่อหุ้ม (Naked seed) และจะงอกได้ทันทีโดยไม่มีระยะพักตัว

ต่อๆนะต่อจากเมือ่กี้เลย
        ปรงมีประโยชน์ คือ ใช้ในการจัดสวน ตกแต่งสถานที่ ใช้ใบแก่พ่นสีนำไปตกเเต่งในงานศพเมล็ดปรงสามารถนำไปป่นผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาแผลช่วยสมานเเผลใหหายเร็วขึ้น เมล็ดของปรงทะเล(Cycas circinalis)มีเเป้งมากนำมาประกอบอาหารทานได้
        พือใชดิวิชันนี้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมากเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีไม้สนเป็นจำนวนมาก เช่น แคนาดา รัสเซีย จีน ไม้สนใช้ในการทำกระดาษ ไม้อัด เชื้อเพลิง น้ำมันสนใช้ผสมสี ทำน้ำมในที่ทำให้เกิดความเงางาม ปรงใช้ในการตกแต่งสถานที่
        นอกจากนี้ไม้สนเป็นไม้ที่เหมาะเป็นอย่างมากในการใช้ปลูกป่า เพราะไม้สนเจริญเติบโตได้เร็วเป็นพิเศษเหตุที่เป้นเช่นนี้ก็เนื่องจากรากของสนมีรา ไมคอร์ไรซา(mycorrhiza) เจริญอยู่ด้วย ราชนิดนี้จะสร้างสารย่อยสลายพวกหินฟอสเฟตให้เป็นฟอสเฟตซึ่งสนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จึงทำให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันราก็จะได้สารบางอย่างที่ขับออกมาจากรากต้นสนซื่งราก็นำไปใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google