... ประวัติของช็อคโกแล็ต

25 พ.ค. 55 00:19 น. / ดู 1,814 ครั้ง / 16 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
ประวัติของช็อคโกแล็ต





ชาวมายาซึ่งอาศัยอยู่ใน ทวีปอเมริกากลาง เมื่อราว 1,400 ปีก่อน เคยดื่มน้ำชนิดหนึ่งซึ่ง หอมกรุ่นและให้ รสชาติซาบซ่าน เรียกว่า “ช็อกโกแลทัล” ฟังคุ้นๆ ไหม? ใช่แล้ว ชนโบราณเผ่านี้ ดื่มน้ำช็อกโกแลต!
เราเป็นหนี้บุญคุณชาวมายา เพราะพวกเขาเป็น ผู้เสกต้นโกโก้ให้กลายเป็นช็อกโกแลต นับเป็นการค้นพบที่สำคัญยิ่งต่อปากของมนุษยชาติ ต้นโกโก้ปลูกกันทั่วทวีปอเมริกากลางเมื่อ สองพันปีก่อน เติบโตได้ดีในอากาศร้อนและในผลโกโก้ นี่แหละที่ซ่อนเมล็ดเล็กๆ สีม่วงไว้มาก มาย เมื่อนำเมล็ดอัศจรรย์เหล่านี้ไปตากแห้งและผ่านกระบวนการต่างๆ มันก็จะกลายสภาพเป็นช็อกโกแลตที่เราโปรด ปรานนั่นเอง

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นชาวยุโรป คนแรกที่ได้เห็นและสัมผัสเมล็ดโกโก้ ก่อนหน้านี้ไม่มีใครในแถบยุโรปรู้จักช็อกโกแลตที่แสนอร่อยเลยจนกระทั่ง ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นปีที่โคลัมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา

ลูกชายของโคลัมบัสซึ่งติดตามไปอเมริกาด้วย ได้พบเรือบดบรรทุกสินค้าลำใหญ่ของ ชาวพื้นเมือง เขาบันทึกเหตุการณ์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1502 ไว้ว่า “พวกชนพื้นเมือง อเมริกันถือว่าเมล็ดถั่ว (หมายถึงเมล็ดโกโก้) มีค่ามาก พอเมล็ดถั่วตก พวกเขาทุกคน จะหยุดแล้วเก็บมัน ขึ้นมาราวกับทำลูกตา ตกหล่นอย่างนั้นแหละ”



โคลัมบัสกับลูกเรือไม่รู้ว่า เมล็ดโกโก้ เป็นสิ่งที่ใช้แทนเงิน (ถ้ารู้คงไม่เขียนนินทา ชาวพื้นเมืองอย่างนั้นแน่) เมื่อกลับยุโรป ในบรรดาสิ่งของน่าตื่นตาตื่นใจมากมาย ที่โคลัมบัสนำมาถวายกษัตริย์และราชินีของสเปนนั้น มีเมล็ดดำๆ เล็กๆ คล้ายถั่วปะปนอยู่ ดูแล้วไม่รู้จะเก็บ มาให้หนักทำไม ไม่มีใครรู้ว่าเมล็ดโกโก้ เหล่านี้แหละจะกลายเป็นช็อกโกแลต ที่ทำให้มนุษย์ ทั่วโลกหลงใหลในเวลาต่อมา

กษัตริย์เฟอร์ดินันด์มองไม่เห็นคุณค่าของเมล็ดโกโก้ กว่าเมล็ดโกโก้จะกลายเป็น “สมบัติล้ำค่า” ขึ้นมาก็อีก 20 ปีให้หลังโน่น เมื่อเฮอร์นันโด คอร์เทส เดินทางไปพิชิตจักรวรรดิแอสเท็ค

ในช่วงที่คอร์เทส รุกรานแดนเม็กซิโก เขาเห็นชาวแอสเท็คใช้เมล็ดโกโก้ในการเตรียมเครื่องดื่มถวายกษัตริย์ นินทากันว่าจักรพรรดิ มอนเทซูมา ดื่มน้ำช็อกโกแลต ถึงวันละ 50 ถ้วย เมื่อคอร์เทส และกองทัพสเปนมาถึง พระองค์ (ซึ่งคิดว่าคอร์เทสเป็น เทพเจ้า) ทรงให้การต้อนรับด้วย น้ำช็อกโกแลตที่ใส่ในภาชนะทองคำ อย่างสุดหรูราวกับมันเป็นอาหารจากแดนสวรรค์

คอร์เทสเขียนบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ มอนเทซูมา ดื่มซอคาแลทัล “...ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่เพิ่มพลังและขับไล่ ความเหนื่อยอ่อน ดื่มแก้วเดียวก็มีเรี่ยวแรงเดินได้ทั้งวัน โดยไม่ต้องกินอาหาร” แต่ซอคาแลทัลของท่านจักรพรรดิทำเอา คอร์เทสแทบสำลักเพราะ มีรสขมมาก ทหารบางคนบอกว่า “น่าจะโยนให้หมูกินดีกว่าเอามาให้พวกเรา”

ชนชั้นสูงดื่มกินน้ำช็อกโกแลต คนที่จะถูกสังเวยชีวิต ในพิธีบูชายัญมนุษย์ จะได้ดื่มน้ำช็อกโกแลตเพื่อ กระตุ้นจิตใจให้มีชีวิตชีวา (เป็นครั้งสุดท้ายก่อนตาย) มีการถวายน้ำช็อกโกแลตให้เทพเจ้าเค็ทซัลคอทัลด้วย

ตามตำนานเล่าว่า เทพเค็ทซัลคอทัลหายลับไปจากโลกเพราะถูกสวรรค์ลงโทษที่นำช็อกโกแลต ซึ่งถือเป็นเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์จาก แดนสวรรค์มาให้มนุษย์ลิ้มลอง แต่สิ่งที่ท่านทิ้งไว้เป็นที่ระลึกก็คือ ต้นโกโก้ที่งอกงามไปทั่วพื้นดิน ท่านจึงได้ครองอีกตำแหน่งหนึ่งคือ เทพแห่งต้นโกโก้


ในปี 1529 เมื่อคอร์เทสปราบพวกแอสเท็คได้สำเร็จ เขาก็นำเมล็ดโกโก้ กลับสเปนด้วย จากนั้นรสชาติของ น้ำช็อกโกแลต ก็ได้รับอิทธิพลของสเปนคือ มีการเพิ่มน้ำตาลทราย วานิลลา กลิ่นอบเชยลงไป เครื่องดื่มนี้ชนะใจคนทุกคน โดยเฉพาะพวกผู้ดีในสเปน สเปนจึงสร้างไร่ โกโก้ในทวีปอเมริกากลางจนกลายเป็นธุรกิจใหญ่โต แต่เก็บศิลปะการทำน้ำช็อกโกแลตไว้เป็นความลับ จากพวกชนชาติยุโรปที่เหลือนานเกือบร้อยปี



พระชาวสเปนได้เก็บการทำน้ำช็อกโกแลตไว้เป็นความลับ แต่ในที่สุดก็รั่วไหลออกมา ภายในเวลาอันรวดเร็วผู้คนทั่วยุโรป ก็ติดอกติดใจน้ำช็อกโกแลตซึ่งถือเป็นอาหาร อร่อยที่เสริมสุขภาพ มีการดื่มกันที่ราชสำนักในฝรั่งเศส น้ำช็อกโกแลตกระจายข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังอังกฤษ และในปี ค.ศ. 1675 ร้านน้ำช็อกโกแลตแห่งแรกของอังกฤษก็เปิดขึ้น

การดื่มน้ำช็อกโกแลตในยุคนั้น ถือเป็นเรื่องทันสมัย แสดงถึงรสนิยมสูง บรรดาผู้ดีมีสกุลเท่านั้นจึงมีสิทธิลิ้มรส เมื่อเรือกลไฟถูกประดิษฐ์ขึ้น ก็สามารถขนส่งเมล็ดโกโก้ ได้คราวละเป็นจำนวนมาก พอถึงปี 1730 น้ำช็อกโกแลตจึงมีราคาถูกลง จนคนธรรมดาทั่วไปมีโอกาส ลืมตาอ้าปากกินกะเขามั่ง การประดิษฐ์เครื่องบดเมล็ดโกโก้ ในปี 1828 ยิ่งทำให้น้ำช็อกโกแลตราคาถูกลงไปอีก ทั้งยังช่วยกรองไขมันของเมล็ดโกโก้ ออกไปให้รสชาติที่น่าหลงใหลขึ้น จากนั้นมาการดื่ม น้ำช็อกโกแลตก็แพร่หลายมาจนทุกวันนี้



ในศตวรรษที่ 19 ช็อกโกแลตมีการเปลี่ยนรูป เปลี่ยนร่างอยู่สองอย่างคือ ในปี 1847 บริษัทในอังกฤษได้ผลิต “ช็อกโกแลตแท่ง” ที่กินได้ และอย่างที่สองคือ แดเนียล พีเทอร์ ได้หาทางผสมนมลงไปใน ช็อกโกแลต กลายเป็นช็อกโกแลตนมที่เราแทะกินกันอย่างเมามันมาจนทุกวันนี้


ในอเมริกา มีการผลิตช็อกโกแลตกันอย่างไม่ลืมหูลืมตากว่าที่ไหนๆในโลก และในปี 1765 โรงงานช็อกโกแลตแห่งแรกก็เกิดขึ้น สมัยนั้นใครๆ ต่างหลงใหลช็อกโกแลตเสียจน หากขาดตลาด ชาวประชาคงหมดกำลังใจที่จะอยู่ดูโลกต่อไปแน่



ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลสหรัฐฯตระหนักดีถึงบทบาทสำคัญของช็อกโกแลต ในการบำรุงขวัญกำลังใจและสุขภาพของทหาร จึงได้ส่งเมล็ดโกโก้ ไปให้กองทัพทหาร เป็นจำนวนมาก ทุกวันนี้ ทหารสหรัฐฯ ยังได้รับช็อกโกแลตเป็นเสบียงติดตัว แม้แต่นักบินอวกาศของสหรัฐฯ ยังนำช็อกโกแลตออกไปกินนอกโลกด้วย ให้มนุษย์ต่างดาวน้ำลายไหล

ซ้ำหรือเคยอ่านขออภัยครับ

ดิท ลบรูปที่มันแหก

CR. Postjung


.... กระทู้นี้ย้ายมาจากห้องเบ็ดเตล็ด ...
แก้ไขล่าสุด 25 พ.ค. 55 00:26 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | austinismind8? (ไม่เป็นสมาชิก) | 25 พ.ค. 55 00:22 น.

กินน้ำช็อกแลต? ไม่เป็นเบาหวานตายหรือนั่น? 555555555

ไอพี: ไม่แสดง

น่ากินอะ

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | .bbluezircon | 25 พ.ค. 55 00:58 น.

เห็นแล้วอยากกิน

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | `.กูเลวมั้ย-_-? | 25 พ.ค. 55 01:06 น.

หิว 

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | ..JeANssiNca.. | 25 พ.ค. 55 13:28 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#6 | ``ฮุน+ฮาน;~ | 25 พ.ค. 55 17:18 น.

ไอพี: ไม่แสดง

#7 | `Nadia::[ดาวกระจาย] | 25 พ.ค. 55 17:26 น.

น้ำช็อกโกแล็ต 
เรากำลังกินเงินของชาวมายาในสมัยก่อน 

ไอพี: ไม่แสดง

#8 | ./little | 25 พ.ค. 55 17:27 น.

ความรู้ 

ไอพี: ไม่แสดง

#9 | bittersweet | 25 พ.ค. 55 18:02 น.

*อ่านเสร็จเดินไปซื้อช็อกโกแลต*

ไอพี: ไม่แสดง

#10 | aํbxQ2ฯ. | 25 พ.ค. 55 21:18 น.

อ่านแล้วอยากกินช็อกโกแลต

ไอพี: ไม่แสดง

#11 | KOPoom_13 | 25 พ.ค. 55 22:07 น.

ไม่สนใจประวัติแต่สนใจรูป 

ไอพี: ไม่แสดง

#12 | Cantharidine>< | 26 พ.ค. 55 05:30 น.

cm.1  ช็อกโกแลตแท้ๆ มีปริมาณน้ำตาลน้อยมากนะ แบบ Dark Chocolate ไงล่ะ 

ไอพี: ไม่แสดง

#14 | `_->Puc-chan<-_' | 26 พ.ค. 55 17:07 น.

เห็นแล้วอยากกิน 

ไอพี: ไม่แสดง

#15 | `da\top? | 26 พ.ค. 55 21:57 น.

อยากปลูกไว้ที่บ้าน 

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google