การนำเสนอข้อมูล

mi15
ไม่เป็นสมาชิก
25 ธ.ค. 50 01:12 น. / ดู 36,919 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
การนำเสนอข้อมูล

        โดยปกติการเก็บรวบรวมข้อมูล มักจะได้ข้อมูลตามรูปแบบของการเก็บข้อมูลนั้น ๆ เช่นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ การเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกการทดลอง เป็นต้น ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่เป็นระเบียบ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ หรือศึกษา ลักษณะ ในรายละเอียดเบื้องต้นได้ยาก ไม่ชัดเจน ทำให้มองไม่เห็นถึงลักษณะสำคัญของข้อมูลกลุ่มนั้นได้ วิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือการนำข้อมูลนั้น ๆ มาจัดให ้เป็นระเบียบ เพื่อให้มองเห็นลักษณะสำคัญของข้อมูลชัดเจนขึ้น เห็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็วในการทำความเข้าใจ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การนำเสนอข้อมูล
        การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดให้เป็น ระเบียบ เพื่อมุ่งที่ให้ผู้ใช้ข้อมูลมองเห็นลักษณะสำคัญ ของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอ่านรายละเอียด หรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อ จะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาเสนอหรือเผยแพร่ให้ผู้สนใจข้อมูลนั้น ๆ ทราบ หรือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้

      การนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนหนึ่งของสถิติ เพื่อเป็นการเตรียมข้อมูลให้พvo6,ร้อมสำหรับ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย สรุปผลข้อมูล เพื่อนำข้อสนเทศนั้นไปใช้ใน การตัดสินใจสำหรับการทำงานต่อไป รวมถึงการเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากรูปแบบและลักษณะสำคัญของข้อมุลนั้นๆ ได้ถูกต้องอีกด้วย โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูล สถิติอาจทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

    การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูล ในรูปบทความกึ่งตาราง
      การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความ (Text Presentation) คือ การนำข้อมูลมาเสนอเป็นส่วนหนึ่งของข้อความ เป็นการนำข้อมูลมาบรรยาย เป็นความเรียงที่มีความสัมพันธ์กันและต่อเนื่องกันระหว่างข้อมูล และข้อความที่บรรยาย เพื่อให้ข้อความนั้นมีความหมาย เชื่อมั่นได้มากขึ้น โดยทั่วไปจะพบมาก ในบทสรุป หรือบทความสั้น ๆ ที่ใช้เวลาในการรายงานไม่มากนัก เช่น ในปีงบประมาณ 2548 โรงเรียนทุ่งสง ได้อนุมัติให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 480 คน คิดเป็นร้อยละ 92 อนุมัติให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจบการศึกษา จำนวน 372 คน คิดเป็นร้อยละ 95
     

    การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความส่วนมากจะนำข้อมูลสถิติอย่างง่าย  เช่น จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มาประกอบในรายงานซึ่งมีไม่มากจนเกินไป เป็นผลดีแก่ผู้สนใจที่ได้อ่านบทความแล้วได้ ข้อสรุปรวมถึงข้อมูลที่สามารถอ้างอิงตัวเลขได้ในเวลาอันรวดเร็ว เข้าใจและเห็นภาพรวมได้ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจได้ แต่เนื่องจากข้อมูลมีจำนวนน้อย อาจทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงที่มาของข้อมูลและข้อจำกัดในการวิเคราะห์ได้
   
    การนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความกึ่งตาราง (Semi – tabular arrangement) คือ การนำเสนอข้อมูล โดยแยกตัวเลขออกจากข้อความ เพื่อต้องการให้เห็นตัวเลขที่ชัดเจนและเปรียบเทียบความแตกต่างได้สะดวกยิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น

      บริษัทคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่งมีจำนวนยอดขายประจำเดือนกันยายน ของลูกค้า จำแนกตามภาคต่าง ๆ ดังนี้

        ภาค        จำนวนยอดขาย ( พันเครื่อง )
        เหนือ        210
        กลาง        398
        ตะวันออก        135
        ตะวันออกเฉียงเหนือ        102
        ใต้        170
 

        การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (formal presentation) หมายถึง การนำเสนอ ข้อมูลที่มีกฏเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่ ี่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภาพ และแผนภูมิ หรือการนำเสนอข้อมูลในรูปภาพ

        การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง (Tabular Presentation) เป็นการจัดรูปในการนำเสนอข้อมูลในลักษณะแถว (row) และสดมภ์ (column) แถว หมายถึง การเรียงตามแนวนอน สดมภ์ หมายถึง การเรียงตามแนวตั้ง เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบหรือการจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปที่อ่านความหมาย ได้ทั้งแถวตั้งและแถวนอน สัมพันธ์กัน ลักษณะของตารางไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้จัดทำ ถ้าต้องการที่จะให้ตารางเป็นที่เก็บข้อความทางสถิติอย่างละเอียด ตารางนั้น จะต้องมีขนาดและขอบเขตกว้างขว้างมาก
        การนำเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ( Computer Software Presentation) เป็นการนำเสนอที่ผสมผสานข้อมูลตัวอักษร ภาพและเสียง ตลอดทั้งภาพเคลื่อน ไหว เป็นการนำเสนอที่ได้รับความนิยมเพราะผู้ที่ชมการนำเสนอจะสามารถรับข้อมูลได้ทั้งการฟังบรรยายจากผู้รายงาน การติดตามจาก Slide แต่ทั้งนี้ยังต้อง ยึดรูปแบบของการนำเสนอจากหัวข้อที่ผ่านมา เพราะSoftware เป็นเพียงเครื่องมือในการนำเสนอไม่ใช่รูปแบบการนำเสนอ


1.การนำเสนอข้อมูลในรูปของบทความ 

        โดยทั่วไปใช้ก็ต่อเมื่อข้อมูลที่นำมาเสนอมีไม่มากนัก
เช่น  น้ำตาลที่จำหน่ายเพื่อบริโภคภายในประเทศไทยในเดือน มกราคม 2548 รวม 96,079 กระสบโดยแบ่งเป็น
น้ำตาลทรายขาวธรรมดา  625,772  กระสอบ
น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์  340,307  กระสอบ
สำหรับราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายในเขตกรุงเทพฯ แยกตามประเภทน้ำตาลได้ดังนี้
น้ำตาลทรายขาวธรรมดาเฉลี่ยกระสอบละ  1,099.05  บาท
น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เฉลี่ยกระสอบละ  1,160.59  บาท

2. การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง  ตารางทั่ว ๆ ไปจะมีส่วนประกอบดังนี้
        1. หมายเลขหรือลำดับที่ของตาราง
        2. ชื่อตาราง
        3. หัวเรื่อง
        4. หมายเหตุ
        5. ตัวเรื่อง

        โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง  จะจำแนกตามลักษณะต่าง ๆ ที่แบ่งตามหัวเรื่อง โดยแบ่งเป็น 5 ชนิด คือ

      2.1 ตารางแบบทางเดียว (One-way Table)
        ตารางที่ 1 : ปริมาณการนำเข้าหางนมผงและไขมันเนย

        ปี         ปริมาณ (ตัน)
        2541        11,620
        2542 14,504
        2543 21,199
        2544 23,937
        2545* 17,441
        รวม 88,701
       
        * : ตัวเลขเดือนมกราคม – ตุลาคม 2545

        2.2 ตารางแบบสองทาง (Two-Way Table)
    ตารางที่ 2 : ต้นทุนการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์จำแนกตามวัตถุดิบที่ใช้

        ค่าใช้จ่าย (ร้อยละ) นมสดพาสเจอร์ไรซ์ (ขนาด 225 ซีซี)
        น้ำนมดิบ หางนมผง
        วัตถุดิบ         80         68
        ภาชนะบรรจุ         9         13
        อื่น ๆ         11         19
        รวม         100         100

ที่มา : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

        2.3 ตารางแบบหลายทาง (Multi-Way Table)

ตารางที่ 3: ต้นทุน (ร้อยละ) ของวัตถุดิบในการผลิตนมพาสเจอไรซ์และนมสอยูเอชที

ค่าใช้จ่าย (ร้อยละ)      นมสดพาสเจอร์ไรซ์ (ขนาด 225 ซีซี) นมสดยูเอชที       
        น้ำนมดิบ หางนมผง         น้ำนมดิบ หางนมผง
วัตถุดิบ         80     68         53     40
ภาชนะที่บรรจ        9     13         93     48
อื่น ๆ         11     19         8         12
รวม         100     100         100   100

ที่มา : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม


3. การนำเสนอข้อมูลแบบตารางแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution Table)

3.1 การแจกแจงความถี่แบบตาราง
  - ตารางแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution )
  - ตารางแจกแจงความถี่สะสม (Cumulative Frequency Distribution)
  - ตารางแจกแจงความถี่สัมพัทธ์ (Relative Frequency Distribution)
  - ตารางแจกแจงความถี่สะสมสัมพัทธ์ (Relative Cumulative Frequency 
    Distribution)

3.2 การแจกแจงความถี่แบบใช้แผนภูมิหรือกราฟ
  - ฮีสโทแกรม (Histogram)
  - รูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ (Frequency Polygon)
  - โค้งความถี่ (Frequency Curves)
  - โค้งความถี่สะสม (Cumulative Frequency  or  Ogive Curve)
  - แผนภาพต้น – ใบ (Stem-and-Leaf Plot  or  Stem Plot)

4. การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟ
        4.1 แผนภูมิแท่ง (Bar Chart)
       

        4.2 แผนภูมิวงกลม (Pie Chart)



        4.3 แผนภูมิเชิงเส้น (Line Chart)

       
แก้ไขล่าสุด 25 ธ.ค. 50 01:15 | เลขไอพี : 125.26.163.14

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | SuperROCKZ\m/ | 13 ก.พ. 53 17:44 น.

ขอบคุณครับ

หาอยู่เลย

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google