ก้าวใหม่ของการศึกษาไทย (หนึ่งในซีรี่ ผมจะทำวิจัย)

9 พ.ค. 56 11:56 น. / ดู 476 ครั้ง / 11 ความเห็น / 5 ชอบจัง / แชร์
เมื่อ 2 วันก่อนผมนั่งดูข่าว มีสิ่งหนึ่งที่พิเศษมากๆ
วันนั้นมีข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นข่าวที่ทำให้ผมรู้สึกว่า "การศึกษาไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลกอีกครั้ง" (ถ้าปกติจะเจอแต่ข่าวทุจริตครูผู้ช่วย  และ่ก่อนหน้านั้นก็ไม่มีข่าวอะไรนอกจากพื้นที่ทับซ้อน, งบประมาณ 200ล้านๆ, และอะไรจิปาถะที่ถูกขุดให้เป็นวาระแห่งชาติ)
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ได้มอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ในงานการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อวันที่ 8 ที่ผ่านมา (อันนี้ผมไปหามาเพิ่มนะ)


การปฏิรูปหลักสูตร ที่เน้นย้ำว่า "ให้เด็กไทยคิดวิเคราะห์ได้" นั่นคือย้ำให้ครูเน้นสอนสิ่งที่นำไปใช้ได้ และไม่สอนในสิ่งที่ไม่จำเป็น, ไม่ต้องจำในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ปัญหาที่ผมพบข้อใหญ่คือ ความยากสาหัสในการสอน เพราะครูแต่ละท่านจะมีมาตรฐานการสอนที่ไม่ตรงกัน และแน่นอนว่าสถานศึกษาแต่ละแห่งย่อมจะมีมาตรฐานไม่ตรงกัน และนักเีรียนแต่ละคนก็มีศักยภาพต่างกัน

ครูหลายท่านมักจะสอนโดยใช้ทฤษฎี "เน้นหลักสูตรเป็นสำคัญ" เพราะคิดว่าหลักสูตรที่กลั่นกรองมาจากกระทรวงได้รับการออกแบบให้ "เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ" มันใช้ได้นะถ้าเด็กทุกคนในประเทศไทยเก่งเท่ากันหมด  เช่่นนั้นแล้วโลกนี้ก็มีแต่สันติ และเต็มไปด้วยคนดี

แต่ความจริงมันไม่ใช่ หลักสูตรไม่มีทางใช้ได้จริง... นอกจากใช้เป็นแนวทางเพื่อออกแบบการเรียนการสอน

อย่างที่ผมใช้เมื่อผมฝึกสอน (ผมสอนดนตรี) คือเอาเรื่องที่จะสอนมากาง เรื่องไหนไม่มีประโยชน์ก็ตัดทิ้ง, เรื่องไหนที่มีพอจะมีประโยชน์อยู่บ้างก็จับรวมๆ แล้วสอนในคราวเดียวกัน, แต่เรื่องไหนที่สำคัญก็เน้นหนักๆ  พอได้หัวเรื่องแล้วก็มาคิดเรื่องเนื้อหาที่จะสอน ผมจะพยายามย่อเนื้อหาให้เด็กจดไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ โดยเน้นเพียงสาระสำคัญที่เข้าใจง่าย ตัวอย่างตัดทิ้งหมด (ผมยกตัวอย่างประกอบการสอน ส่วนใครจะจดก็แล้วแต่)
อย่างเช่นสอนเด็ก ป.1 เรื่องโ้น้ตจะสอนทำไม ในเมื่อเรื่องนี้ยากเกินจะสอนเด็ก ป.1, สอนเด็ก ม.3 เรื่องประเภทของเครื่องดนตรีไทยจะสอนทำไม ในเมื่อเค้าเรียนกันมาแทบทุกชั้น, สอนเด็ก ป.4 เรื่องอารมณ์เพลงจะสอนทำไมในเมื่อเด็กวัยนี้ยังวิเคราะห์อารมณ์ลึกซึ้งไม่เป็น ฯลฯ

ปัญหาเรื่องหลักสูตรนี้หยุมหยิมนะ และผมเชื่อว่าครูทุกท่านมีศักยภาพ และประสบการณ์มากพอที่จะบูรณาการหลักสูตรของนักเรียนแต่ละคนได้


ปัญหาอีกข้อที่ผมพบคือ การสอบแอดมิชชั่นจะใช้ไม่ได้ การออกข้อสอบทำได้ยากมาก เพราะมาตรฐานความรู้ รวมถึงหลักสูตรที่นำมาสอนเด็กนั้นไม่ตรงกัน

และปัญหานั้นผมก็คิดว่า**จะหยุมหยิม ไร้สาระ... เพราะ ณ ตอนนี้ผมก็ได้ยินเสียงโอดโอยบ่อยครั้งว่าแอดมิดชั่นไม่ได้มาตรฐาน...



การเชื่อมโยงการจัดการศึกษา หมายถึงการเรียนการสอนที่ต่อเนื่องจากระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยเน้นให้เด็กได้รู้จักตัวเอง และสามารถตัดสินใจเลือกทางเิดินอาชีพได้เร็วกว่าปกติ

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เด็กส่วนใหญ่เลือกเรียนในสายสามัญฯ (สถิติว่าไว้ และเท่าที่ผมเห็นก็จริงอย่างว่า) ด้วยความคิดว่า "เรียนๆ ไปเถอะ" เพราะก่อนหน้าที่จะจบระดับมัธยม3 เค้ายังไ่ม่ค้นพบความชอบของตัวเอง กว่าจะรู้ว่าตัวเองชอบอะไร และอยากประกอบอาชีพอะไร ก็เลยเข้าไปมัธยม 5 แล้ว ซึ่งถือว่าเกือบสาย

ถ้าเด็กสามารถรู้ตัวเองได้ตั้งแต่มัธยม1 ก็สามารถเลือกเน้นศึกษาในสิ่งนั้นๆ เพื่อที่จะเลือกทางเดินได้ง่ายขึ้น อนาคตก็ไม่ลำบากเพราะเลือกเดินสายผิด


การศึกษาไทยนะถ้าจะปฏิรูปคงต้องทำเรื่อยๆ หยุดไม่ได้หรอก แต่รูปแบบตายตัวแท้จริงนั้นเราจะต้องบูรณาการสอนควบคู่กับครอบครัว ต้องเริ่มตั้งแต่เล็กๆ
มันพ่วงกับเรื่องปัญหาครอบครัวอย่างเลี่ยงไม่ได้


ในโลกนี้ ถ้าจะแก้ไขปัญหาอะไรที่ต้นเหตุแท้จริง ต้องเริ่มที่แก้ปัญหาในครัวเรือนให้ได้เสียก่อน หลังจากนั้นทุกปัญหามันจะคลายปมไปเอง


.... กระทู้นี้ย้ายมาจากห้องเบ็ดเตล็ด ...
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | ?-ม:เขือเผา! | 9 พ.ค. 56 15:10 น.

อ่านแล้ว มีความเห็นที่ตรงกันหลายอย่างมากๆ เป็นกำลังใจให้ครับ :"D

ไอพี: ไม่แสดง

#2 | สยามเมืองยิ้ม:)) | 9 พ.ค. 56 16:59 น.

เห็นด้วยในหลายๆอย่างค่ะ และเป็นกำลังใจให้
บางทีเราอาจยัดแน่นหลักสูตรบางอย่างมากเกินไปด้วย
บางทีเรียน สอบเสร็จก็ลืม เพราะมันต้องเจอเรื่องอะไรใหม่ๆอีก

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | สตาร์บัคส์ | 10 พ.ค. 56 05:21 น.

เราว่าปัญหาของการศึกษาไทยมีหลายอย่างนะ เรื่องความไม่เท่าเทียมกัน คือ เด็กเก่งอาจารย์จะสนใจมากกว่า แต่เด็กที่ไม่ค่อยเก่งอ่ะ อาจารย์ส่วนใหญ่จะไม่สนใจ พวกเค้าก็เลยต้องเรียกร้องด้วยกันทำตัวเถื่อนๆบางที

สอง เราว่าการยกมือถามอ่ะเป็นเรื่องที่ดี แต่ด้วยสังคมไทย อาจารย์บางคน egoสูงเกินไป แบบคิดว่าตัวเองเป็นพระเจ้าเด็กต้องฟังแล้วเคารพ พอเด็กยกมือถามเพราะไม่เข้าใจจริงๆ ก็มาหาว่าเด็กมันไม่ฟังที่สอน ผิดกับต่างประเทศที่เด็กยกมือตอนครูพูดเลย แบบพูดไม่ถึงประโยคยกอีกแล้ว แล้วอาจารย์ก็เต็มใจสอนไม่มีแบบ สอนในคาบไม่เข้าใจพอมาถามข้างนอกต้องจ่ายตังไม่มี

สาม เราว่ากฎบางอย่างมันก็ไม่ค่อยมีเหตุผลที่ไทยอ่ะ เช่นเรื่องระเบียบ ทรงผม เด็กต่างชาติไม่มีใครแคร์เรื่องทรงผมเลย คุณจะย้อมเขียว ย้อมม่วงไม่มีใครว่า แต่งหน้ามารร. แต่งตัวอะไรก็ได้แต่ขอให้เหมาะสม ไม่เห็นบรา ไม่สั้นเกินเข่าเป็นพอ รร.ที่เราเรียนอยู่ที่อเมริกามีกฎว่าห้ามใช้เครื่องมือสื่อสาร electronic divices ทุกชนิด แรกๆเด็กก็บ่นนะแต่หลังๆก็ปฎอบัติตามกัน สังคมเรามันต่างจากเค้าอ่ะ สังคมเรามีอะไรก็จะพยายามแหกกฎ ผู้ใหญ่ก็บอกอยู่ทุกวันเพราะกฎโตขึ้นเราจะได้เป็นคนมีวินัย แล้วมองสังคมเมืองไทยมันเละเทะมาก เพราะคนไทยขาดจิตสำนึกไง

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | KNPBYR | 10 พ.ค. 56 13:33 น.

เช่นสอนเด็ก ป.1 เรื่องโ้น้ตจะสอนทำไม ในเมื่อเรื่องนี้ยากเกินจะสอนเด็ก ป.1, สอนเด็ก ม.3 เรื่องประเภทของเครื่องดนตรีไทยจะสอนทำไม ในเมื่อเค้าเรียนกันมาแทบทุกชั้น, สอนเด็ก ป.4 เรื่องอารมณ์เพลงจะสอนทำไมในเมื่อเด็กวัยนี้ยังวิเคราะห์อารมณ์ลึกซึ้งไม่เป็น ฯลฯ  ชอบๆ

> ชอบความเห็น 3มากกกกกกกก โอ้ยโดน

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | อู๋ไม่ใส'มิ้งเฟร่อ | 10 พ.ค. 56 20:07 น.

โอ้ย อ่านแล้วตรงเผงงงง

แต่สิ่งที่เราอยากจะบอกอีกอย่างนึกก็คือจารีตกับค่านิยม
มันมีผลกระทบต่อเด็กไทยอย่างมากเลยนะ เราก็ไม่รู้จะบอกยังไงอ่ะ
แต่เราเจอกับตัวเอง ประมาณว่าเราเป็นเด็กที่โตมาในสมัยนี้จะมีความคิดเห็นไม่ตรงกับพ่อแม่ซะส่วนใหญ่ พ่อแม่บางคนบอกรับราชการอ่ะดี บางคนบอกเป็นหมออ่ะรวย บางคนบอกเป็นอะำไรก็ได้แต่ต้องโรงเรียนนี้ มหาลัยนี้ คือเราอยากจะบอกว่าถ้าไม่แก้ค่านิยมความคิดของคนในครอบครัวก่อน เด็กที่โตมาก็จะมีปัญหา อย่างที่บอกอ่ะ เด็กไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นอะไร แต่กลับคิดในกรอบ มีตัวเลือกแค่สิ่งที่พ่อแม่บอกว่าดี แล้วพอโตมาเรียนสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็รู้ว่ามันไม่ใช่ตัวเอง แต่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร เพราะตอนเด็กๆ ไม่เคยมีโอกาสได้เรียนรู้ได้ลองสิ่งใหม่ๆ มีแต่ได้รับรู้ในสิ่งที่ผู้ใหญ่บอกว่าดี พอมาตอนนี้ค่านิยมเทไปที่หมอ ที่วิศวะ เพราะเป็นอาชีพที่ดูดี มีเงิน จนสุดท้ายนะ อาชีพสำคัญๆอย่างครูกลับหายไป กลายเป็นทางเลือกสุดท้ายของเด็กที่ไม่มีที่เรียนต่อ

ความจริงแล้วครูต้องเก่งกว่าหมอ และเก่งกว่าวิศวะ
ไม่อย่างงั้นเด็กที่เรียนไป จะโตมาเป็นหมอเป็นวิศวะที่ดีได้ไง
ฝากให้คิด ไม่อยากให้ครูเป็นอาชีพที่ถูกลืม

#ปัญหาเด็กเรียนแล้วไม่ได้อะไรเลยนอกจากกการบ้าน ส่วนนึกเพราะครูไม่มีประสิทธิภาพเหมือนกัน

ป.ล. อย่างงกับเม้นนี้ คนพิมพ์ พิมพ์ตามที่คิดล้วนๆ 5555+

ไอพี: ไม่แสดง

#6 | เจ้าชายเป็ดนิทรา | 10 พ.ค. 56 23:23 น.

เรื่องความไม่เท่าเทียมนี่ผมเจอมากับตัวครับ คล้ายระบายแล้วกันนะข้างนี่

ผมเป็นเด็กที่...อืมไม่ได้เกรเรแ่ก็ไม่ได้ขยัน
เรียนพิเศษแล้วเข้าใจ และเรียนรอด(รอดในที่นี้คือพอเข้าใจถูก)มาตลอด
แต่ช่วงหลังผมรู้สึกเหนื่อยเพราะพวกงานวิทยานิพันธ์ งานกลุ่มอะไร
ผมมักจะต้องทำคนเดียว เลยเลิกเรียนพิเศษ ตั้งใจฟังในห้อง จดบันทึกตาม และทำการบ้าน
ผมก็เลยได้ตระหนักว่า ที่แท้ผมก็**นี่เอง พอไม่เรียนพิเศษ ผมเรียนวิทย์-คณิตไม่รุ้เรื่องเลย

คาบวิทย์พอไถแบบดิ้นรนมากๆ(มากจริงๆครับผม**)อาศัยเพื่อนช่วยสอนได้
แต่คาบคณิตมันยาก ครูโหดสุดในระดับวิชาคณิตด้วย ผมยอมรับเลย ผม**วิชานี้โคตรๆ
แต่ผมก็พยายาม ทำการบ้านด้วยตัวเอง แม้คนอื่นที่เก่งเขาจะทำแปปเดียว
แต่ข้อนึงผมใช้เวลา3ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ(ดูสิ**มั้ย และหลายข้อด้วย แต่ถึงผิดเพื่อนก็ลอก)

ความไม่เท่าเทียมที่เห็นก็คือ
เด็กที่เรียนเก่ง เขาฉลาด มีความสามารถขยันตั้งใจเรียนพิเศษ ตั้งแต่เด็กๆโดยเฉพาะคณิต
ครูก็ปลื้มใจพูดกับพวกเด็กหน้าห้้องว่า เข้าใจใช่ไหม ข้อนี้รุ็แล้วสินะ งั้นเอาโจทย์ไปทำ
เด็กก็ตอบทำได้ค่ะ ทำได้ครับ นั่งทำกันแปปเดียวส่ง
และเด็กที่ไม่เก่งทั้งหลายก็จะลอกกันไปส่ง มีไม่กี่คนที่ดิ้นรนทำเองและมักเสร็จไม่ทัน
ไม่ได้ลายเซนต์ไม่ได้คะแนนเหมือนพวกที่เก่งกับพวกลอกพวกเก่ง

ผมเป็นหนึ่งในเด็กที่ทำไม่ทันเสมอ คะแนนผมตกต่ำลงเรื่อยๆ ครูก็ไม่สนใจ
ครูตั้งแง่กับพวกผมที่นั่งหลังห้องเพราะมาแย่งที่ไม่ทัน ผมไม่เข้าใจ ผมก็ตั้งใจเรียนนะ
พยายามทำความเข้าใจครุที่สอนเร็วเพราะ เด็กหน้าห้องเข้าใจ พอบอกไม่ทัน
ทั้งห้องเงียบกดดัน ครูก็พูดแรงๆไม่เชิงด่า ผมอับอายที่จะพูดขอให้รอ ครูพูดเชิงผม**
เชิงผมไม่ตั้งใจเรียน ผมเลยแต่นั่งดิ้นรนเรียนไปเรื่อยๆเงียบๆ

นั่งร้องไห้เพราะทำการบ้านไม่ได้ ไม่ทัน ไม่มีส่งบ้าง(แต่น้อย ผมส่งทุกครั้ง ผิดทุกครั้ง)
เวลาสอบเก็บคะแนน ผมทำแทบไม่ได้ ส่งกระดาษเปล่าก็มี ผมรู้เพราะผม**
จากที่เคยสนุกกับมันเพราะครูน่ารักเรียนเข้าใจพอเลื่อนชั้น เรียนไม่เข้าใจ ครูไม่สนใจ
มันทำให้ผมเกลียด วิชาคณิตมาก เห็น ได้ยินหรือใกล้เรียน ผมรู้สึกพะอืดพะอมจนแทบอ้วก

เวลาประกาศผลสอบ ผมแทบอยากจะหายไปซะให้คนเขามองว่าได้เกือบศูนย์
ผมรุ็สึกว่าตัวเองกลายเป็นคนน่าสมเพชมากๆ ผมยิ่งเกลียดวิชานี้
แต่ผมก็ยังตั้งใจเรียน ในที่สุด...คาบนึงผมทำในชั่วโมงทัน ผมดีใจจนแทบจะตัวลอย
ผมรีบวิ่งเอาไปส่งเพราะทุกคนส่งกันหมดแล้ว จะเรียนต่อกันแล้ว
ผมเอาไปวางแหมะหน้าคุณครู แล้วนั่งลงเพระาไม่อยากยืนคร่อมหัวผู้ใหญ่

แต่สิ่งที่ครูเขาพูดคือ... ___(ชื่อผม)เธอน่ะลอกใครมารึเปล่า... แน่ใจนะว่าทำเอง
ผมอึ้ง...เพื่อนๆั้ทั้งห้องหัวเราะ เหมือนมันเป็นเรื่องสนุกและมุกตลกร้ายของครู
แต่ผม ไม่สนุกด้วยเลยไม่เลย ผมมีแต่ความอับอาย ผมอายและสมเพชตัวเอง
ผมได้แต่ยิ้มแห้งและรีบบอก ผมทำเองครับ แฮะๆ ก่อนจะย้ำมันอีกหลายรอบ
กว่าครูจะยอมเซนต์... เสียเวลาเรียนเพื่อนคนอื่นมาก ผมกลัวจะถ่วงจริงๆ

ครูเซ็นต์เสร็จเพื่อนๆก็ยังเราะกับอยุ่ ชี้ผมกันแบบไม่ค่อยจะเกรงใจเลยนะ มองมาทางผม
ผมนั่งอยู่หลังห้องต้องเดินทนสายตาสมเพชและขบขันของเพื่อนๆที่มองมาที่ผม
ผมเกลียด เกลียดวิชานี้ ผมเลยไม่ตั้งใจเรียนอะไรอีก ผมปล่อยให้มันเป็นไปตามกรรม
ส่งการบ้านทุกครั้ง สอบทุกครั้งก็ไม่อ่านหนังสือ อีกไปสอบแก้เอา
สอบแก้...ผมทำไม่ได้จนต้องลอกเพื่อนในที่สุด
เพราะผมทำข้อสอบจนห้าโมงเย็นกว่าๆก็ทำไม่ได้ต้องลอกเพื่อนเอา

ด้วยความไม่เท่าเทียม
ไม่รุ็ว่าไม่เท่าเทียมที่ใคร
ประสิทธิภาพของนักเรียน หรือครู
ไม่ใช่ว่า ผมน่ะมันไม่ขยันเรียนพิเศษมาตั้งแต่เด็กอย่างคุมองตั้งแต่ต้นแบบเพื่อนๆในห้องหรอ กลับบ้านไปทำการบ้านเสร็จ(จนตี3-4)
ทำการบ้านเสร้จแล้วผมไม่ได้อ่านหนังสือทบทวน เพราะง่วงนอนมาก
แต่ผมคงจะคิดไปเอง ผมขี้เกียจใช่ไหม มันเป็นเพราะผมไม่พยายามเองใช่ไหม
ในที่สุดเกรด3.5ขึ้นไปของผมก็ดิ่งลงมาเหลือ2กว่าๆ ผมยังโดนบังคับให้เลือกสายวิทย์อีก
อยากจะบ้าตายผมอยากเรียนสายศิลป์แต่พอบอกพ่อแม่
พวกเขาก็ด่าก็คาดหวัง และหาว่าผม** (สายศิลป์โรงเรียนผมเพิ่งเปิด)
ผมยิ่งกดดัน ญาติๆก็บอกว่าผมขยัน+เรียนเก่ง  ผมกดดันมากขึ้น สุดท้ายก็เลือกวิทยคณิต

ตอนนี้ผมอยากจะเอาปังตอสับข้อมือให้ขาดแล้วนอนรอความตายไปเลยจะได้ไม่ต้องเปิดเทอม

ไอพี: ไม่แสดง

#7 | อู๋ไม่ใส'มิ้งเฟร่อ | 11 พ.ค. 56 12:31 น.

คห. บน เราก็เข้าใจค่ะ
เราเป็นหนึ่งในคนที่ลอกการบ้านเพื่อนส่งทุกวัน
และก็ไม่มีเวลามานั่งทบทวนบทเรียนด้วย
(เลิกเรียนเราทำงานพิเศษน่ะค่ะ ตั้งแต่ม.ต้น ยันตอนนี้เราขึ้่นปีหนึ่งแล้ว)

กลับบ้านก็เหนื่อย แล้วเช้ามาก็มานั่งลอกการบ้านเพื่อน
พอถึงเวลาจะสอบเท่านั้นแหละค่ะ ถึงจะไม่ได้นอนทั้งคืน คือพยายามจำบทเรียน
วิธีที่เราจำก็คือ พยายามจำสูตรในแบบของตัวเองอ่ะ

ถามว่ามันก็ช่วยได้ไหม ก็ช่วยให้สอบผ่านไปได้ แต่หลังจากนั้น ก็ลืมสนิทเลยค่ะ
ที่รอดผ่าน ม.6 มาได้จนทุกวันนี้ คือการเสียสละเวลานอนมาอ่านเองทั้งนั้น
อาจารย์ก็สอนแบบไม่ได้เน้นให้เด็กเข้าใจเลย เหมือนสอนตามหนังสือ สอนตามหลักการ เหมือนอ่านแค่นิยามสูตรให้ฟังอ่ะ #ถ้าวิชาอื่นๆก็ไม่ต่างกันหรอก อ่านสูตรให้ฟังแค่นั้นแหละ เพื่อนๆเราก็ใช้วิธีไปเรียนเสริมเอาข้างนอก

บอกตรงๆนะ ไปโรงเรียนเหมือนไปเอาการบ้าน ไปสอบเอาเกรด ถ้าอยากจะเรียนจริงๆสมัยนี้ความรู้อยู่ที่โรงเรียนสอนพิเศษหมดแล้วค่ะ
เราเองไม่ได้มีโอกาสไปเรียนพิเศษข้างนอกเหมือนคนอื่น เกรดเราก็ตกลงทุกวันๆ เราก็รู้ตัวดี เลยจะพยายามทำคะแนนเก็บให้มันดีๆ เพราะรู้ว่าเวลาสอบตัวเองต้องทำได้อย่างมากก็แค่ 3/4 ของคะแนนแน่ๆ แต่หลังๆมา คะแนนเก็บทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นสอบย่อย มีคะแนนงานแค่ 20 คะแนน เรานี่แทบจะร้องไห้ แต่ก็ดิ้นรนผ่านมาได้ล่ะนะ

โชคดีที่ ม.5-ม.6 ได้อาจารย์ดี ไม่เข้าใจแกก็อธิบายให้ ไม่งั้นก็คิดว่าคงไม่รอดเหมือนกัน
พยายามต่อไปค่ะสู้ๆ

ไอพี: ไม่แสดง

#8 | {BK_AN}$. | 11 พ.ค. 56 19:48 น.

เราว่าบางทีมันก็เริ่มตั้งแต่วัฒนธรรมแล้ว
ทำให้มันแตกต่าง
 

ไอพี: ไม่แสดง

#9 | \m/.E.T.\m/ | 14 พ.ค. 56 22:24 น.

ไม่รู้มาตอบทันไหมนะ
ผมคนนึงที่ตอนจบ ม.ปลาย ด้วยเกรดเฉลี่ย 1.03
สอบตรงเข้าราชภัฎเอกดนตรีที่เค้ารับเหมือนกวาดใบไม้ด้วยสนองนโยบายเอดมิดชั่นรุ่นแรกว่า "ไม่ต้องใช้คะแนนเอดมิดชั่น" เพราะรุ่นผมที่สอบครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย คงรู้กันนะว่าเลื่อนประกาศผลคะแนนเป็นเดือน... (ผมไม่หวังหรอก ที่ไปสอบเพราะถูกบังคับ)

จริงๆ ผมอยากเรียนคหกรรม เพราะชอบทำอาหาร
ตอนหลังชอบฟังเพลง เล่นดนตรีได้ พัฒนาจนมีฝีมือ เลยไปเรียนเอกดนตรี
พออยู่ปี3 เพิ่งรู้ว่าผมชอบประวัติศาสตร์
แต่ท้ายสุด เป็นครูดีที่สุด....

มันไม่เกี่ยวไรหรอก ไว้ค่อยเขียนไรให้อ่านกันอีก

ไอพี: ไม่แสดง

#10 | `.(vixen,tw') | 23 พ.ค. 56 19:58 น.


เด็กที่ไม่ค่อยเรียนในห้อง ,อย่าไปว่าเขา เขาอาจจะไม่ได้** แค่อาจจะจบหลักสูตรเรียบร้อย
เพราะไม่รู้ว่าใครผิดใครถูกกันแน่
เพราะเด็กบางคนน่ะเรียนพิเศษจากนอกห้องเรียนมาแล้ว ..
ครูก็เลยคิดว่า เฮ้ยสอนไปทำไม ในเมื่อพวกแกเรียนกันไปหมดแล้ว ,และก็ไม่ค่อยคิดจะทบทวนด้วย ,,
เราอยู่วิทย์คณิต ,เพื่อนทุกคนเรียนพิเศษ - - แถมหัวก็ดีฉลาดสุดๆ แบบหัวกะทิอ่ะ
เรียนกันเก่งมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ..ครูเลยมองว่ามันเก่งกันอยู่แล้ว ไม่ต้องสอนไรเพิ่มหรอก เพราะส่วนใหญ่รู้มาจากนอกห้องเรียนหมดแล้ว - -

คือบางทีกลายเป็นนักเรียนรวมกันสอนครู - -
กูล่ะงง

โอ่ยยยยยยยยย ..เจริญญญญญญญญญ



อีกอันขอระบายถึงลักษณะนิสัย+ค่านิยมในการแต่งตัวไปเรียนของนักเรียน

ต้องตั้งกฎยุแม่มมมมมมม
วัยรุ่นชอบทำอะไรที่ขัดกับคำสั่ง คือทำตามเทรนด์ที่ผู้ใหญ่ไม่ชอบ
ทีหลังเราก็ให้ครู/ ผปค. ยุให้เต็มที่

แบบ .. ออกกฎให้ซอยผม ,ออกกฎให้กระโปรงสั้นก็ว่ากันไป 555
(คือให้มองว่าวัยรุ่นต้องสั้นนะต้องซอยผมนะ)
เรื่องคำหยาบการพูดจา ,คือคำพูดสุภาพคือครับ กับ ค่ะ.. เราก็บอกว่าครับกับค่ะน่ะไม่สุภาพ ใช้**เห้ **ฟัคอะไรก็ว่ากันไปถึงจะสุภาพ ..
คือมันเป็นค่านิยมน่ะนะ 55555
แรกๆ อาจจะทนรับไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ .. แต่สุดท้ายเด็กจะหันมาทำตรงข้ามกับกฎที่บัญญัติไว้เอง 555


/มีใครเข้าใจป้ะ ? ไม่มีเดินออกจากทู้แบบเงียบเงียบ
ปล. รู้นะว่าไม่เกี่ยว ,แต่มันอัดอั้นอ่ะ

แก้ไขล่าสุด 23 พ.ค. 56 20:09 | ไอพี: ไม่แสดง

#11 | อู๋ไม่ใส'มิ้งเฟร่อ | 16 ก.พ. 57 13:18 น.

ผ่านไปเกือบปีแล้วสิกับกระทู้นี้ จำได้ว่าอยู่เบ็ดเตล็ด ทำไมหาไม่เจอ
เลยลองจิ้มมาดู จขกท.ย้ายจริงๆด้วย
555555555

จะมาบอกว่าจะทำโปรเจคสอบ วิชาการคิดเพื่อการพัฒนา
เรานึกเรื่องนี้ได้เลยอยากจะทำ 'การศึกษา กับ ค่านิยม ของคนไทย'
จกขท. มีอะไรดีๆแนะำนำ ขอด้วยน้าาา

dream.fact@hotmail.com
line : dream_n

ป.ล. ไล่อ่านข่าวและวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เริ่มสรุปประเด็นยากละ มันกว้างสุดๆไปเลย

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google