ก้าวใหม่ของการศึกษาไทย ๒ (หนึ่งในซีรี่ ผมจะทำวิจัย)

14 พ.ค. 56 23:12 น. / ดู 576 ครั้ง / 5 ความเห็น / 12 ชอบจัง / แชร์
ตอนนี้เหมือนคล้ายๆ ว่าอันนี้จะเป็นบทความเรื่องใหม่ของผมละ ^^
นโยบายลือลั่น ณ ตอนนี้อีกอันหนึ่งคงหนีไม่พ้นการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยโรงเรียนใดมีนักเรียนต่ำกว่า ๖๐ คน มีอันเป็นไปทั้งสิ้น

แน่นอนอย่างหนึ่งว่าเด็กน้อยขนาดนั้นจะตั้งโรงเรียนไปทำไม?

แต่ก็มีคำถามอีกอย่างว่า ในรัศมี ๑ กิโลเมตร มีเด็กแค่ ๖๐ คนหรือ?

ถ้าหนักเข้าไปอีก ผมเคยได้ยินว่าบางโรงเรียนมีเด็กเพียงแค่ ๑๐ เลยตั้งคำถามได้อีกว่า รัศมี ๑ กิโลเมตรรอบๆ มีเด็กเพียง ๑๐ คนงั้นหรือ?


ผมเลยนั่งคิดคำตอบให้คำถามตัวเองได้ข้อสรุปง่ายๆ จากการดูข่าว และคำบอกเล่าจากเพื่อนครูทั้งรุ่นน้องและรุ่นพี่

๑. ค่านิยมที่ชอบให้ลูกหลานตัวเองได้เข้าเรียนโรงเรียนใหญ่ๆ ด้วยค่านิยมที่อยากมีหน้ามีตาในสังคม “ลูกผมเรียนโรงเรียนนี้นะ” มันคุยได้นะ โดยมีข้ออ้างกลบเกลื่อนว่า “โรงเรียนใหญ่ๆ มีคุณภาพ... สอนดี... ลูกจะได้ฉลาด” ถ้ามันสอนดีจริง ทำไมลูกคุณต้องไปเรียนพิเศษด้วยละ...

ถ้าเรียนโรงเรียนเล็กๆ ที่ผมเรียกว่า “โรงเรียนวัด...” หรือ “โรงเรียนบ้าน...” มันคุยเชิดหน้าไม่ได้นะ

ผมคนนึงละที่เรียนจบมัธยมต้นจากโรงเรียนบ้านๆ พอหน้าฝน ฝนตกหนักๆ แต่ละทีแทบเรียนกันไม่ได้ (ผมนั่งติดหน้าต่างด้วย)  หรือไม่ก็ถ้าฝนตกไม่ขาดช่วงก็มักจะเป็นพวกสัตว์เลื้อยคลายกันให้วุ่นทั้งโรงเรียน ไม่ว่าจะงู, ตะกวด, แลน (ยังดีไม่มีตะเข้)  เรียนๆ บางวันหมาเดินเข้ามานอนในห้องบ้าง, นกบินเข้ามาขี้ทิ้งไว้บนโต๊ะบ้าง... แต่ยังโชคดีว่าผมเคยเรียนอาคารที่สร้างจากไม้ทั้งหลัง (แต่ตอนไปฝึกสอนยังได้สอนบนอาคารไม้เลย) ผมก็จบมาเป็นครูได้ ไม่มีปัญหา (ผมไม่เคยเรียนพิเศษนะ เพราะแม่ผมไม่มีตังส่ง)

เพื่อนผมเสียอีก จบโรงเรียนประจำจังหวัด ตอนนี้ยังหางานทำไม่ได้ (ไม่มีโอกาสได้ทำงานนอกคุกนะ เพราะมันขายยา)

ผมเลยคิดได้ว่า “โรงเรียนใหญ่ๆ ก็ใช่ว่าจะมีปัญญาสร้างคน”

๒. ผมนึกได้แค่เหตุผลข้างต้นข้อเดียว...

ภาครัฐก็แสดงข้ออ้างว่า “งบประมาณไม่พอจะจุนเจือโรงเรียนทุกแห่ง” เลยมีการโอนโรงเรียนบางแห่งไปให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น... ผลคือปัญหาไม่ได้คลายปมไปสักเท่าไหร่...

การจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษามักจะจัดให้ลดหลั่นตามขนาดของโรงเรียน ยิ่งใหญ่ยิ่งได้มาก...  แต่โรงเรียนใหญ่ๆ เหล่านั้นก็อ้างว่าใช้ไม่พอ ต้องมีเงินเป๊ะเจี๊ยเพิ่มเติม  แน่ละที่มันไม่พอ เพราะเอาแต่สร้างอาคารเรียน, ห้องนู่นนี่อีกสารพัด, อุปกรณ์การศึกษาที่เลิศหรูอลังการ ฯลฯ

นอกจากนั้นยังมีการเก็บเงินเด็กเพิ่มอีก ไม่ว่าจะตำราเรียนนอก, ค่ากิจกรรม, ค่านู่นนี่ ที่ต่างผุดมาเพื่อ ปล้น ผู้ปกครอง...

ปล้นโดยอ้างว่าเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็ก...


แล้วโรงเรียนเล็กๆ ละ ลำพังเงินจัดสรรคงเพียงพอแค่จ้างภารโรงเท่านั้นเอง แม้แต่จะเปลี่ยนบานประตูยังไม่มีปัญญาเลย ดังนั้นไม่ต้องห่วงเลยว่าโรงเรียนเหล่านี้จะมีปัญญาไปปล้นผู้ปกครอง...

การยุบโรงเรียนจะมีปัญหาอะไรบ้างไหม?
๑. คุณภาพเด็กจบการศึกษาลดลง เพราะแน่นอนว่าจำนวนห้องที่มากขึ้น จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีจำนวนเด็กต่อห้องเพิ่มขึ้น ลำพังครูเพียงคนเดียวต่อห้องคงสอนไม่ไหว... ถ้ามีเหตุผลว่าจะมีการจ้างงานมากขึ้น ก็คงจะมีครูจบใหม่ที่ผมเรียกว่า “ครูกระเดะ” เดินกันแทบชนกันตาย แต่ผมคิดว่าคงไม่มีการรับครูเพิ่มเพราะงบประมาณไม่พอ
ถ้างบประมาณไม่พอทำไงดี? ปล้นผู้ปกครองคือคำตอบ

๒. ผู้ปกครองถูกปล้นมากขึ้น เด็กที่ได้เรียนลดลง เพราะผู้ปกครองไม่มีเลือดเนื้อพอที่จะเถือให้กับการศึกษาหน้าเลือด
คนที่มีรายได้น้อยต้องส่งลูกหลานไปเรียนไกลขึ้น เสียเวลาและค่าใช่จ่ายมากขึ้น ทำให้ค่าครองชีพต่อหัวเพิ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

๓. โรงเรียนอยู่ไกลขึ้น ทำให้เสียเวลาเดินทางมากขึ้น จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดปัญหาจากความแออัด ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพจากความแออัดของคน, เศรษฐกิจจากระยะทาง, อาชญากรรมจากความแออัดของคน ฯลฯ

๔. สุขภาวะของเด็กลดลง เพราะเมื่อเข้าไปอยู่ในโรงเรียนที่ใหญ่, ไกล และแออัด ย่อมมีการแข่งขัน, การแบ่งพรรค์พวก, ฯลฯ ทำให้ความสุขในการเรียนของเด็กลดลง  ทั้งนี้รวมถึงแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่างๆ ของเด็กย่อมเพิ่มขึ้นตามความแออัดด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้

๕. ปัญหาครอบครัวที่จะเกิดขึ้น เด็กไม่มีความสุขในโรงเรียน อาจส่งผลให้มีอคติด้านลบต่อบุพการี ทำให้เกิดการต่อต้านลึกๆ เกิดสภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะถลำตัวเข้าสู่ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเรื่องชู้สาว, ยาเสพติด, อันธพาล ฯลฯ

นี่เพียงแค่ยุบรวมโรงเรียนนะ...


.... กระทู้นี้ย้ายมาจากห้องเบ็ดเตล็ด ...
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#2 | `(โมเอะชิคชิค); | 15 พ.ค. 56 01:24 น.

มันก็มีทั้งข้อดีและไม่ดีนะ เรื่องอนาคตของเด็กเราว่ามันอยู่ที่พ่อแม่ด้วย
ว่าใส่ใจและปลูกฝังลูกยังไง เห็นด้วยกับข้อที่ว่าเด็กจะมีความสุขน้อยลง
แต่ในอนาคตเขาต้องเจอโลกกว้างที่โหดร้ายกว่านี้ ..

ไอพี: ไม่แสดง

#3 | สตาร์บัคส์ | 15 พ.ค. 56 03:48 น.

เราไม่เห็นด้วยกับการยุบรร.อย่างแรงเลย แค่รร.เยอะยังมีปัญหามากขนาดนี้ คนในห้งอก็50-60คน อาจารย์คนเดียวต่อวิชา มันจะไปไหวอะไร

อันนี้ยกตัวอย่างรร.ที่อเมริกานะ นักเรียน1ห้องไม่เคยเกิน30 อาจารย์คนเดียวจะสอนแบบ individualคือ แบบแต่ละบุคคล ซึ่งนักเรียนจะได้รับความสนใจทุกคน เวลาตามงายก็ตามง่าย อาจารย์รู้จักสนิทกับทุกคนในห้อง มีปัญหายกมือถามเข้าใจกัน

ลองนึกสภาพ ถ้าหาก รร.ไทยยุบรวมกัน ปัญหาคือ อาจารย์สอนไม่ทั่วถึง เพราะเด็กไม่ได้ฉลาดเท่ากันหมด ถ้าทั้งห้องมี60คน 15%ไม่เข้าใจ อีก85%เข้าใจ อาจารย์ที่ไหนจะมาสนคนไม่เข้าใจจริงไหม เราว่ามันไร้สาระมากอ่ะ ยุบรร. แล้วอีกอย่างตามทีบทความของคุณบอก เราเห็นด้วยมากกับเรื่องสถาบัน เราไม่ชอบเลย เรื่องสถาบันนี้เก่งกว่า สถบันนี้ สถาบันนี้เข้ามหาลัยได้เยอะกว่าสถาบันนี้ เราอยากให้ รร.ทุกโรงในประเทศไทยมีความเท่าเทียมกัน คือ มาตราฐานการศึกษาเท่าเทียมกัน ลดปัญหาดูถูกกัน ถ้าทำได้เราคิดว่า คือ1ในความก้าวหน้าของการศึกษา

อยากให้ลองมองดูประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว ภาษีที่ได้จากประชาชนอันดับแรกเขาบวมุนให้กับการศึกษาเลย อย่างสหรัฐอเมริกา เรียนรร.รัฐฟรี ไม่ต้องเสียค่าเทอม เหมือนกันทุกที่ทั้งประเทศ

เสริมอีกนิด ที่ประเทศฟินแลนด์เราดูสารคดีมา รร.เขาจะสอนวิชาที่นร.จำเป็นเท่านั้น มีอาจารย์3คน ต่อ1ห้อง นักเรียนไม่เกิน20คน เท่าที่เราเห็น วิชาภาษาอังกฤษเขาจะบอกเด็กว่า ให้ใช้ภาษาอังกฤษในให้นานที่สึดเท่าที่จะทำได้ ฟินแลนด์มีภาษาท้องถิ่นของตัวเอง แต่อ.สอนภาษาอังกฤษที่ประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาจากฟินแลนด์ ซึ่งเราคิดว่าบางทีฟินแลนด์อาจจะภาษาเป๊ะกว่าเจ้าของภาษาก็เป็นได้


(เราอยู่ม.5 แต่มาเรียนที่อเมริกา)

ไอพี: ไม่แสดง

#4 | เริ่ดส์ส์ส์ส์ | 15 พ.ค. 56 22:01 น.

ไม่รู้สึกดี

ไอพี: ไม่แสดง

#5 | `.(vixen,tw') | 19 พ.ค. 56 18:46 น.


การศึกษาที่ฟินแลนด์ดีที่สุดในโลก...เราเคยได้ยินมาจากไหนไม่รู้นะแบบนี้

แต่เราเห็นด้วยกับคห.๓ นะ ,ไม่เข้าใจว่าเหตุผลของการยุบรวมนี่คืออะไรกันแน่,แต่คงมีหลายสาเหตุปัจจัยแหละ
แล้วที่คุณสรยุทธ์เชิญใครมาออกรายการตอนเย็นอ่ะ ,ที่เขาพูดว่าา "ไม่ได้จะยุบหมด แต่โรงเรียนเล็กแห่งไหนที่สอนดีมีประสิทธิภาพก็จะไม่ยุบ" ..
เวลาจะยุบอาจจะดูที่ผลการเรียนของนักเรียนเป็นหลักป้ะ
แต่มีเหตุผลนึงที่เราคิดว่างงๆ ไปหน่อย, เราอาจจะตีความผิดคนเดียว
ประมาณว่ายุบไปเพื่อลดงบป้ะ??
การจับจ่ายให้งบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนและสถานศึกษาของประเทศไทยให้ประมาณ 17 เปอร์เซนต์ป้ะ ??
ของอินโดฯ 20 เปอร์เซนต์มั้ง(ถ้าจำไม่ผิดนะ)
** แปลว่าเราไม่สนใจเรื่องการศึกษาเท่าที่ควรใช่ไหม - - **

มีคนเยอะก็ไม่ทั่วถึง ห้องก็แคบ แออัดอึดอัด ร้อนก็ร้อนนะ เรียนแอร์**ก็ทำให้โลกร้อน ครูสอนไม่ทั่วถึง คือถ้าเป็นห้องคิงหรือห้องเก่งอ่ะถึงครูสอนไม่ค่อยได้ยินแต่พวกนี้ก็ยังตั้งใจเรียนตั้งใจฟัง ...
แต่ถ้าเป็นห้องที่กลางๆ หรือท้ายๆหน่อยอ่ะ ?
คือไม่ได้ว่าครูฝ่ายเดียว แต่การควบคุมจิตใจของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน หรือกล่าวในอีกกรณีคือเด็กบางคนควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ บางคนนั่งหลังตั้งใจเรียน บางคนนั่งหน้ายังไม่ตั้งใจ

ไม่รู้ดิ.. เดี๋ยวนี้อะไรๆ มันก็เริ่มมึนมึนเนอะ

/เอ๊ะหรือเรามึน ? ออกนอกทู้ช้าช้า

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google