หัวใจของการศึกษา (หนึ่งในซีรี่การศึกษา ผมจะทำวิจัย)

12 ก.ย. 56 20:51 น. / ดู 242 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
จากบทความเรื่อง ‘ติวเตอร์’ มีน้องคนหนึ่งเสนอแนวคิดอย่างนึงที่ทำให้ผมคิดไรออก
‘ครูแต่ละคนก็คิดว่าวิชาของตัวเองนั้นสำคัญที่สุด’ ผมเองก็เคยเป็นแบบนั้น จนกระทั้งได้เข้าใจถึง
หัวใจของการศึกษา

หัวใจคือสิ่งสำคัญที่สุด คือจุดมุ่งหมาย... ในวิชาครูส่วนของวิชาเอก นักศึกษาจะถูกสอนด้วยสาระวิชาที่แทบจะนำไปสอนไม่ได้ เพราะเป็นวิชาที่ล้วงลึกมากๆ ทำให้เกิดความคิดในจิตว่า ‘วิชาเรานั้นสำคัญ เพราะความลึกล้ำในศาสตร์’    นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ครูมีความคิดว่าวิชาของตัวเองนั้นสำคัญ...

ผมไม่เถียงหรอกนะ ขึ้นชื่อว่า ‘วิชา’ ย่อมมีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นวิชาเล็กๆ น้อยๆ อย่างเย็บปักถักร้อย... ไปจนถึงวิชาใหญ่โตมหาอย่างวิทยาศาสตร์ การคำนวณ ฯลฯ  และบางวิชาก็ยังมีความเชื่อมโยงกับอีกวิชา เช่น วิชาภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ ซึ่งเกี่ยวพันกับวิชาต่างๆ ทุกวิชาเลย (ถ้าคุณไม่เรียนอ่านเขียน คุณจะอ่าน เขียน อย่างไรกัน... จริงไหม?)

เอาละ ผมจะพูดถึง เจตนารมณ์ขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ท่านกล่าวไว้สรุปได้ว่า “การศึกษาที่เข้าถึงประชาชน ให้สามารถอ่านออกเขียนได้” รวมถึง “การศึกษาสำหรับประชาชนในรายวิชาที่สามารถนำไปใช้ทำมาหากินได้” สังเกตได้จากวิชาที่เปิดสอนในขณะนั้น ถ้าผมจำไม่ผิดนะ มี ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, วิชาชีพท้องถิ่น (เกษตร, ประมง, เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ)  ล้วนแต่เป็นวิชาที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันทั้งสิ้น

ผมจึงนำ ๒ สิ่งนี้ มาเป็นหัวใจหลังของแนวคิดดังกล่าว
เพราะหัวใจของการศึกษา คือ การสอนในสิ่งที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ทำมาหากินได้...

ครูทุกท่านจึงถูกปลูกฝังว่า ‘วิชาของตนนั้นสำคัญ’ ด้วยวิชาเหล่านั้นสามารถนำไปประกอบอาชีพได้นั้นเอง  แต่ครูเหล่านั้นหลงลืมอะไรไปสิ่งหนึ่ง... ความชอบของนักเรียนนั้นแตกต่างกัน... นับเป็นความท้าทางของการศึกษา

เนื่องจากความชอบของนักเรียนนั้นแตกต่างกัน... หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงได้เกิดขึ้น... แต่จากที่ผมประสบมานั้น หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลับกลายเป็นหลักสูตรเน้นครูเป็นสำคัญ... มันยิ่งตอกย้ำ หัวใจการศึกษาให้บอบช้ำยิ่งขึ้น....

หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น คือการสอนในเนื้อหาลึกล้ำที่นักเรียนสามารถเข้าใจได้ ด้วยเทคนิคการสอนต่างๆ ที่ครูผู้สอนจะมีปัญญาคิดกันนั่นเอง.... แต่ท้ายสุดกลายเป็นว่า พยายามให้นักเรียนมองว่า ‘วิชาดังกล่าวนั้นสำคัญ’

ทั้งๆ ที่ประเด็ดสำคัญนั้นง่ายนิดเดียว... ด้วยคำถามว่า “ทำไมเราต้องเรียนวิชาอื่นๆ ซึ่งไม่น่าสนใจสำหรับเราเลย” ........ คำตอบนั้นง่ายนิดเดียว

“เพื่อให้ตัวนักเรียนได้ทราบถึงความชอบส่วนตัวที่แท้จริง และสามารถกำหนดเส้นทางเดินชีวิตได้ตั้งแต่เนิ่นๆ”

ซึ่งการจะทำให้นักเรียนได้ทราบถึงเส้นทางดังกล่าว หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือกุญแจสำคัญ... เพราะนั่นทำให้นักเรียนทราบความชอบ และไม่ชอบได้รวดเร็วมากขึ้น...

เอาละ แล้วอะไรที่ทำให้เส้นทางนั้นเป็นเพียงความฝัน... คำตอบก็แสนจะง่ายดาย เกรด ไงละครับ  เรามองคนเก่งด้วยเกรดรายวิชาที่ผมพูดประชดว่า “วิชาสำคัญ” ได้แก่ คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, เคมีฯ, ชีวะ) แค่นี้...  ในขณะที่วิชาที่ผมพูดประชดว่า “วิชากาฝาก” ที่อาจเป็นสิ่งที่เด็กถนัดมากๆ กลับถูกมองว่า “เป็นตัวการทำให้ อ้ายวิชาสำคัญ เกรดตก”  ทั้งๆ ที่วิชากาฝากเหล่านั้นก็สามารถต่อยอดไปประกอบอาชีพได้...

เอาละ วิชากาฝาก ที่ผมประชด อาทิ ดนตรี, เกษตร, ศิลปะ, นาฏศิลป์, พละ, สังคม (๒ วิชาหลังอาจเป็นกรณียกเว้น)
ถ้ามันไม่สำคัญจริง ทำไมประเทศไทยถึงมี กระทรวงเกษตรฯ, กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฯลฯ

ขอบอกว่า กระทรวงนะครับ ไม่ใช่แค่สมาคม...


ก็สรุปง่ายๆ นะครับ
การศึกษาแต่ละวิชา ครูต้องหาวิธีทำให้นักเรียนชอบสิ่งนั้นๆ แต่ประเด็นคือ ทำให้เด็กรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบให้ชัดเจน โดยไม่ให้ความสำคัญกับจำนวนคน

เช่น ผมสอนวิชาดนตรี ผมต้องทำให้เด็กชอบฟังเพลงให้ได้... แน่นอนว่ายาก แต่สิ่งที่ผมทำคือ พยายามทำให้เด็กเข้าใจความเป็นดนตรีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าใจว่าดนตรีคืองานศิลปะ... เข้าใจว่าดนตรีคือสิ่งที่มีผลต่อจิตใจ... ให้ความสำคัญกับดนตรีในแง่ของการเป็นนักฟังที่ดี... เรื่องทฤษฎีดนตรี, การเขียนโน้ต, ประเภทเครื่องดนตรี, ประวัติดนตรี ผมแค่สอนให้ผ่านๆ ไป... ข้อสอบผมก็ออกง่ายๆ ให้เด็กทำได้ทุกคน... เพราะผมรู้ว่านั่นเนื้อหาหนักๆ จะให้เด็กอคติต่อดนตรี สิ่งสำคัญคือ ให้เด็กไม่มีอคติต่อดนตรี, ยินดีที่จะรับฟังงานดนตรีในแบบที่ตัวเองคุ้นเคย, และพร้อมที่จะฟังงานดนตรีที่ตัวเองไม่คุ้นเคย โดยมองในแง่ของประสบการณ์ทางดนตรี แค่นั้นเอง...

วิชาอื่นก็เช่นกัน ควรจะสอนให้เด็กเข้าใจว่า “วิชาต่างๆ ล้วนมีความสำคัญ จงอย่าอคติต่อวิชาต่างๆ”


ไว้คราวหน้าผมจะพูดถึง อุปสรรคที่ทำให้หัวใจของการศึกษาล้มเหลว ก็แล้วกันนะครับ ขอเวลาให้ผมคิดก่อนละกัน
แก้ไขล่าสุด 12 ก.ย. 56 21:00 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | phollawat | 13 ก.ย. 56 09:53 น.

thank krub

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google