กระทู้การบ้าน

14 ม.ค. 58 16:55 น. / ดู 428 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ผู้แต่ง อภิรดี เรื่องครูภาษไทยสไตล์ซิ่งๆ ปีที่35 ฉบับบที่860 ศ.1 ส.ค.57
  จากนักเรียนที่เคยเกลียดครูมากๆมาเป็นครูภาษาไทยที่ไม่เหมือนใคร ผมแค่อยากสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน เพราะสมัยผมเรียนผมไม่เคยเจอครูแบบนี้ วันนี้มีโอกาสทำหน้าที่ครูผมก็ขอทำเต็มที่ เจ้าของประโยคดังกล่าวคือ คุณภทรพล ขาวสอาด อาจารย์สอนพิเศษ และวิทยากรพิเศษแนะแนวการศึกษา เจ้าของเทคนิคการสอนภาษาไทยและไลฟ์สไตล์ซื่งๆที่ได้รับความเชื่อถือและคณะครูมากมาย 
ครูแบบครูบิ๊กเป็นอย่างไร?
  ผมเป็นครูที่ต้องให้เด็กเป็น child center สร้างกระบวนการเรียนรู้และให้เด็กเข้าใจถึงโครงสร้างเอง ผมจะไม่บอกว่าเริ่มต้นแล้วเรียงไปแบบ 1 2 3 4 5 แต่จะให้เด็กทำเองมั่วเองก่อน ทำไม่ได้ค่อยมาช่วยกันคิดว่าทำอย่างไร และในช่วงวัยเรียนของผมในวิชาภาษาไทย ผมตั้งใจเรียนแต่ด้วยความที่ผมเป็นเด็กซนเด็กทะลึ่ง เวลาแต่งกลอนก็ใส่คำที่มันไม่ค่อยน่ารัก ถามว่าถูกฉันทลักษณ์มั้ยถูกหมดเลย เพียงแต่คำมันไม่สมวัย ครูแก้ปัญหาโดยเรียกผู้ปกครองบ้างเรียกไปตีบ้าง โดยไม่อธิบายให้ฟังว่าไมมันถึงไม่ถูกต้อง เรายิ่งไม่เข้าใจ ทำไมเวลามีปัญหาถึงต้องจบด้วยคำว่า ฉันเป็นครูนะหรือตกลงใครเป็นครูกันแน่ ผมจึงฝังใจว่า ทำไมแค่เป็นครูก็ชนะได้แล้ว พอเรียนมหาวิทยาลัยเลือกเรียนครุศาสตร์ทั้งที่คิดว่าไม่ใช่ตัวเอง พอเรียนจบก็ไปสมัครเป็นครู ผมไปสมัครเป็นครูเอกชน เขาบอกผมว่า รูปร่างหน้าตาแบบนี้เป็นครูภาษาไทยไม่ได้ ลุคมันไม่ให้ ที่นี้มีครูคนหนึ่งมาถามผมว่าสอนอะไรได้บ้าง? ผมก็ตอบว่าสอนภาษาไทย สอนให้ดูหน่อย? ผมก็สอนให้ดู เขาถามว่า สอนเด็กม.ปลายได้ไหม? ผมตอบว่าสอนได้หมดครับ เขาก็โอเค พอสอนเด็กๆก็เริ่มพูดต่อๆกันไปบอกแม่และเพื่อนๆว่า พี่คนนี้สอนกวนดี พี่คนนี้สอนเก่งดี มีโรงเรียนต่างจังหวัดเชิญเราไปเป็นวิทยากรบ้าง เพราะเด็กไปบอกฝ่ายวิชาการของโรงเรียนให้เชิญเราไปสอน เทคนิคที่ผมเอาไปสอนกับบางโรงเรียนมันแปลกและขัดแย้งกับที่เขาเคยสอนๆกันมา ฉะนั้นในความเปลก ความแตกต่างที่เราใช้ เราต้องมีเหตุผลให้เขา ถ้าจำนนกันด้วยเหตุผลก็จบ ซึ่งเหตุผลก็คือความเข้าใจของเด็ก






ชื่อผู้แต่ง  อันดา ชื่อเรื่อง ความหวังครั้งใหม่! นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบการรักษาตาบอดสีด้วย “ยีน”    แหล่งที่มา : http://www.vcharkarn.com/

  การทดลองรักษาด้วย “ยีนบำบัด” ในลิงกระรอก
มีแนวโน้มที่การใช้ ยีนบำบัด สำหรับการรักษาตาบอดสี แดง-เขียว ว่าจะสามารถทำได้ในมนุษย์ แม้ผู้ป่วยจะเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า วิธีการรักษาแบบยีนบำบัดนี้ ได้ประสบความสำเร็จในการรักษาตาบอดสีแดง-เขียว ในลิงกระรอกโตเต็มวัย
  ซึ่งจากการศึกษาในลิงกระรอกเบื้องต้นพบว่า มีความเป็นไปได้ที่เราจะใช้ยีนในการรักษาโดยกำหนดเป้าหมายไปที่รงควัตุรูปกรวย (cone photopigment: ที่มีหน้าที่ในการแยกแยะสีสัน ซึ่งมีสามแบบและรับความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน เป็นสีน้ำเงิน เขียวและแดง) เพียงการเติมรงควัตถุ (photopigment) ที่ขาดหายไปโดยใช้ไวรัสผลิตให้ ลงไปในจอประสาทตา (retina) จากนั้นรงควัตถุบางจุดที่เคยรับสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นรงควัตุที่รับสีแดง เมื่อรงควัตถุรูปกรวยรับความยาวคลื่นแสงสีต่างๆ แล้ว จะไปจับกับวิตามินเอในจอประสาทตา ผ่านใยประสาทไปยังสมองแล้วสามารถทำให้เราเห็นแสงสีต่างๆ ได้
จากการวิจัยพบว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยและประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง โดยผลงานนี้เป็นของ นายแพทย์ ดร.เจย์ เนทซ์ (Dr.Jay Neitz) และนักพันธุศาสตร์ ดร.มอรีน เนทซ์ (Dr.Maureen Neitz) ซึ่งทั้งสองได้ทำการรักษาอาการ “ตาบอดสีแต่กำเนิด” ของลิงกระรอกเหล่านี้มาแล้วถึง 9 ตัว





ชื่อผู้เขียนศาสตราจารย์ ดร. สุพจน์ หารหนองบัว  ชื่อเรื่องการศึกษาของประเทศ: วิกฤติที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน  แหล่งที่มา:http://www.vcharkarn.com

  ประเด็นที่เป็นวิกฤติของการศึกษาของประเทศในวันนี้คือ เราสร้างเยาวชนให้เป็นนกแก้วนกขุนทอง ใครท่องเก่ง ใครจำได้มาก ใครหาคำตอบได้เร็ว ก็จะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนเก่ง คนเหล่านี้ก็สอบเข้าศึกษาต่อและเลือกอาชีพได้ ผู้ปกครองก็ยินดี ครูก็ภาคภูมิใจ และสถานศึกษาก็ได้รับชื่อเสียง ในขณะที่ระบบการศึกษาของประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มุ่งสร้างเยาวชนหรือคนรุ่นใหม่ให้เป็นนักคิด นักประดิษฐ์ ซึ่งคำที่ใช้เป็นเป้าหมายของการศึกษาในอนาคตที่ได้ยินติดหูคือ คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรม
  ดังนั้น หัวใจของการรื้อระบบการศึกษาคือ การปรับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักคิด นักประดิษฐ์ ไม่ใช่เป็นนักจำ ในอนาคตอันใกล้นี้มือถือเครื่องเดียวก็จะสามารถจำอะไรได้มากกว่าสมองมนุษย์ เราไม่ต้องท่องต้องจำอีกแล้ว แต่ต้องรู้ว่า ถ้าจำอะไรไม่ได้ หรือถ้าอยากรู้เรื่องอะไร จะไปหาจากแหล่งไหน และจะกรองหรือแยกแยะให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องได้อย่างไร
      หากถามว่าการสร้างนักคิดจะทำอย่างไร คำตอบหาได้ไม่ยากเลย มีทั้งตัวอย่างในประเทศและต่างประเทศ เพียงแต่นำมาปรับให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นไทย ตัวอย่างในประเทศที่ควรนำมาวิเคราะห์และนำมาปรับใช้คือ ประเทศไทยส่งนักเรียนไปแข่งขันวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โอลิมปิก มานานกว่า 10 ปี ซึ่งในแต่ละปีมีประเทศที่ส่งเยาวชนเข้าร่วมมากกว่า 100 ประเทศ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏคือ ถ้าวัดด้วยจำนวนเหรียญรางวัลที่ได้จากการแข่งขัน ระดับความรู้ของเยาวชนไทยจัดอยู่ในระดับ 10 ประเทศแรกของโลก ในขณะที่ข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่จัดให้มีการวัดและเปรียบเทียบระดับการศึกษาของประเทศกลับชี้ออกมาว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 8 ในกลุ่มประเทศอาเซียน

     

ชื่อผู้เขียน มาโนช พุฒตาล ชื่อเรื่องจีนเจ้าโลกรถไฟความเร็วสูง
ปีที่35 ฉบับที่854 ศ.20 มิ.ย.57
        อย่างน้อยวันนี้จีนก็เป็นเจ้าของสถิติเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ยาวที่สุดในโลกไปแล้ว ปักกิ่งถึงกวางโจว จีนมีโครงการผลักดันเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านลาว เขมร ไทย ไปยังมาเลยันสิงคโปร์และมีโครงการทะลุรัสเซียยันอะแลสกา ผ่านเข้าแคนนาดากะเจาะไข่แดงอเมริกา  "อเมริกาเป็นประเทศเจริญและเคยรวยประเทศเดียวที่ไม่มีรถไฟความเร็วสูงใช้ " ผมเปรยให้เพื่อนนักเดินทางฟัง อเมริกามันนั่งเครื่องบินกันอย่างกับใช้บริการ บขส. เพื่อนผมให้ข้อสังเกตุ มันเลยไม่สนรถไฟที่ใช้ความเร็วสูง
แก้ไขล่าสุด 14 ม.ค. 58 17:17 | เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google