5 เคล็ดลับเรียนชีวะให้เก่ง

31 ม.ค. 58 21:52 น. / ดู 525 ครั้ง / 1 ความเห็น / 4 ชอบจัง / แชร์
ชีววิทยา เป็นวิชาที่นักเรียนหลายๆคนไม่ค่อยชอบ เพราะเป็นวิชาที่ถูกตีตราว่า "จำเยอะ" แม้ว่าจะลงทุนไปเรียนพิเศษตามสถาบันชื่อดังก็แล้ว เรียนพิเศษตัวต่อตัว ถึงบ้านเลยก็แล้ว ก็ยังไม่ช่วยให้ชอบหรือทำคะแนนวิชานี้ได้ดีเลย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในบรรดาเนื้อหาวิทยาศาสตร์นั้น ชีววิทยาเป็นแขนงที่มีเนื้อหาที่ค่อนข้างเยอะมาก ศัพท์ชีวะ แปลกๆก็เยอะ แต่อย่างไรก็ตาม การมีเนื้อหาเยอะไม่ได้หมายความว่ามันจะจำได้ยากนี่ครับ วันนี้ Top-A tutor มีเคล็ดลับในการเรียนชีววิทยาให้เก่งมาฝาก
1. ฝึกวิเคราะห์รากศัพท์

        "ชีวะ" เป็นวิชาที่จะได้พบกับ ศัพท์ชีววิทยา ที่เป็นศัพท์เฉพาะจำนวนมากในเนื้อหาทุกๆเรื่อง ซึ่งหลายๆคนบอกว่าแค่จำ ศัพท์ชีวะ ให้ได้หมดทุกคำก็ยากแล้ว ใช่ครับ!! ถ้าตั้งใจจะจำศัพท์ให้หมดทุกคำอย่างไม่มีหลักการและไม่เป็นระบบก็ต้องยากแน่นอนครับ ดังนั้นการเรียนชีวะให้ได้ดีนั้น น้องๆจะต้องรู้จักรากศัพท์ และจำความหมายของรากศัพท์ให้ได้ เพราะนั่นจะช่วยลดจำนวนศัพท์ที่ต้องจำไปได้มาก และยังทำให้การจำของน้องๆมีระบบมากขึ้นอีกด้วย เช่น คำว่า Hypo ที่แปลว่าใต้ หรือต่ำกว่า ดังนั้นเมื่อเจอคำว่า Hypo-osmolarity ก็ต้องแปลว่า มี osmolarity ที่ต่ำ หรือ Hypodermis ที่แปลว่า ชั้นที่อยู่ใต้ dermis(ชั้นหนังแท้) เป็นต้น ถ้าน้องๆทำอย่างนี้ได้การจำ ศัพท์ชีวะ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปใช่ไหมละครับ

2. Mind map ช่วยได้

        ภายในเนื้อหาปริมาณมหาศาลนั้น ถ้าหากว่าอ่านดีๆจะพบความเชื่อมโยงของเนื้อหาอยู่เป็นอย่างมากในหลายๆเรื่อง ซึ่งการที่จะทำให้สมองมองเนื้อหาให้เป็นภาพรวมได้นั้นวิธีการง่ายๆคือการทำ Mind map เชื่อมโยงเนื้อหาในบทเรียนไว้ แนะนำให้ทำ Mind map สรุปเนื้อหาเมื่อเรียนผ่านแต่ละบท เพื่อที่จะได้นำมาอ่านในช่วงใกล้สอบ

3. จับ concept ก่อนเติม content

        หากได้ลองอ่านหนังสือวิชาชีวะนั้นจะพบว่ารายละเอียดจะค่อนข้างเยอะมากในแต่ละบท เช่น เนื้อเยื่อพืชแบ่งได้เป็น 1.เนื้อเยื่อเจริญ ซึ่งก็คือ..... เนื้อเยื่อเจริญแบ่งได้...ประเภท ได้แก่..... 2. เนื้อเยื่อถาวร คือ...... แบ่งได้เป็น.... เป็นต้น จะเห็นได้ว่าถ้าหากน้องๆอ่านไปเรื่อยๆก็จะพบรายละเอียดเพิ่มขึ้น และก็ขยายความรายละเอียดต่อไปเรื่อยๆ แล้วเมื่อเรียนบทนั้นๆจบอาจจะยังตอบไม่ได้ด้วยซ้ำว่า "เนื้อเยื่อพืชแบ่งเป็นกี่ประเภท" เพราะมัวแต่สนใจรายละเอียดของเนื้อหามากเกินไป ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำความเข้าใจ concept หรือภาพรวมของเนื้อหาเสียก่อน แล้วจึงค่อยๆอ่าน content เพื่อเติมเข้าไปในหัวข้อใหญ่ๆแต่ละหัวข้อต่อไป ลำดับการจำเนื้อหาน้องๆจะได้เป็นระบบระเบียบ ช่วยให้จำได้ง่ายและจำได้นานขึ้นนะครับ

        ปัญหาการอ่าน content ไปเรื่อยๆโดยไม่มี concept เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยอย่างมากในนักเรียนไทย แม้ว่าจะไปเรียนพิเศษตามสถาบันหรือ เรียนพิเศษตัวต่อตัว เพิ่มแล้วก็ยังมีปัญหานี้เพราะบางครั้งติวเตอร์ไม่ได้คำนึงถึงปัญหานี้ครับ

4. ดูภาพเยอะๆ

        การเรียนชีวะนั้นในหลายๆบทน้องจะต้องอ่านเนื้อหาที่บรรยายถึงโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เช่นเรื่องระบบขับถ่ายของเสียของคนก็จะมีการบรรยาเกี่ยวกับโครงสร้างของไตว่า renal pelvis คือบริเวณที่.... renal cortex คือ..... Major calyx เป็นส่วนที่อยู่..... ซึ่งเมื่ออ่านไปเรื่อยๆก็ไม่ได้ช่วยให้น้องจินตนาการภาพออกเลยว่าแต่ละส่วนประกอบของไตที่ว่านั้นเรียงตัวอยู่บริเวณใด ดังนั้นครับ พี่จึงแนะนำให้น้องๆ ดูรูปภาพประกอบที่มีลูกศรชี้ตำแหน่งแสดงชื่อเรียกต่างๆ แล้วอ่านหนังสือที่บรรยายเนื้อหาไปด้วยจะช่วยให้จำได้มากเลยทีเดียว

5. อย่ามีอคติ

        สุดท้ายคือ อย่ามีอคติ ครับไม่ว่าน้องจะเป็นคนไม่ชอบชีวะหรือไม่เก่งชีวะมาก่อนด้วยสาเหตุอะไร ขอให้ลองเปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนวิธีการเรียนชีวะดูครับ เริ่มจากอย่ามีอคติกับวิชานี้ คิดเสมอว่าเราจะต้องเข้าใจวิชานี้ให้ได้ แล้วก็ทำตามเคล็ดลับข้างต้น พี่เชื่อว่าชีวะจะกลายเป็นวิชาที่เรียนไปได้สบายมากสำหรับน้องๆครับ

        เป็นอย่างไรบ้างสำหรับเคล็ดลับง่ายๆในการเรียนชีววิทยา ยังไงก็ลองนำไปปฏิบัติตามดูก่อนที่ตัดสินใจจึงพึงการ ติวชีวะ ตามที่เรียนพิเศษอย่างเดียว หวังว่าจะทำให้น้องๆชอบวิชานี้กันมากขึ้นนะครับ "เพราะการเรียนรู้ชีววิทยาคือการเรียนรู้ความสวยงามของธรรมชาติ"

ที่มา : www.Top-Atutor.com
เลขไอพี : ไม่แสดง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | `Justbook | 24 ก.พ. 58 13:52 น.

ขอบคุณน้า

ไอพี: ไม่แสดง

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google