อย่าทำร้ายตาอีกเลย

9 ก.ย. 58 13:12 น. / ดู 1,086 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
หมั่นตรวจสุขภาพตาปีละครั้ง หากมีกรรมพันธุ์หรือโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน ความดัน ควรตรวจปีละ 2 ครั้ง ตรวจเพื่อให้รู้ถึงภาวะเสี่ยง โรคตาบางชนิดไม่แสดงอาการเจ็บปวด หรือสัญญาณเตือนใดๆ อาจสูญเสียการมองเห็นได้อย่างเฉียบพลัน

1.การสูบบุหรี่ จากผลการวิจัยมากมายที่พูดถึงอันตรายของบุหรี่ รวมถึงการสูบบุหรี่ยังเป็นภัยคุกคามต่อดวงตาเช่นกัน เช่น โรคต้อกระจก ,โรคจอประสาทตาเสื่อม,โรคม่านตาอักเสบ(uveitis), โรคเบาหวานขึ้นตา หรือแม้แต่โรคตาแห้งก็ตาม
2.การรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ การรับประทานอาหาร Fast food จนเป็นปกติส่งผลให้ร่างกายได้รับวิตามินจากผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ดวงตาต้องการวิตามินในการซ่อมแซม และช่วยในการปกป้องดูแล

3.ไม่สวมแว่นกันแดด การออกแดด พบเจอแสง UV โดยตรง โดยไม่ได้รับการป้องกัน เป็นการทำร้ายดวงตา ทำให้เกิดได้ทั้งต้อลม ต้อเนื้อ

4.การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการหลับ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเร่งให้เกิดให้เกิดริ้วรอยรอบดวงตา ทำให้เกิดการหมองคล้ำใต้ตา ตาแห้ง และมองเห็นไม่ชัด

5.การดื่มน้ำน้อยไป   การดื่มน้ำอย่างน้อยวันละแปดแก้วน้ำ ดีต่อสุขภาพอย่างที่รู้กันอยู่ แต่ในทางกลับกันเมื่อการดื่มน้ำน้อยไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายส่งผลโดยตรงต่อการผลิตน้ำตาที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา  ทำให้เกิดอาการตาแห้ง  ตาแดงและเปลือกตา บวมช้ำ

6.การขยี้ตา  การขยี้ตาเป็นการทำลายเส้นเลือดเล็กๆภายใต้ผิวหนังบริเวณรอบดวงตา ทำให้เกิดการหมองคล้ำ ตีนกา และถุงใต้ตาก่อนวัยอันควร

7.ไม่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพตา   การตรวจสุขภาพตาเพื่อให้รู้ก่อนถึงปัญหา ภาวะเสี่ยง โรคตาบางชนิดไม่แสดงอาการเจ็บปวด หรือสัญญาณเตือนใดๆ เช่นโรคต้อหินเฉียบพลัน
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย WinXP

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | ืneverland | 6 ก.ค. 59 13:30 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 8.1

#2 | ctoon | 27 ก.พ. 62 16:32 น.

ขออนุญาติแชร์ข้อมูลดีๆจากที่ได้ไปอ่านมาในบทความนึง เกี่ยวกับเรื่องของปัญหาสุขภาพตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานค่ะ

สุขภาพตา ผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีปัญหาได้ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น อย่างเช่น การมองไม่ชัด จอตาเสื่อม ต้อกระจก และต้อหิน ผู้ที่เป็นเบาหวานควรจะวางแผนพบหมอเป็นประจำ

ตามัว
อาการตามัว เป็นปัญหาตาที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เลนส์ตาอาจมีการบวม ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป เพื่อแก้ไขอาการนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับระดับน้ำตาลในเลือด ให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจจะใช้เวลา 3 เดือน เพื่อให้การมองกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ต้อหิน
40% ของผู้ป่วยเบาหวาน มีความเป็นไปได้สูง ที่จะเกิดอาการต้อหิน มากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ความเสี่ยงของโรคนั้น จะเพิ่มขึ้นตามอายุด้วย

ต้อหิน เกิดขึ้นเมื่อความดันในตาเพิ่มสูงขึ้น และไม่สามารถขับของเหลวในตาออกไปได้เท่าที่ควร สิ่งนี้จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือด เส้นประสาทตา และอาจถึงขั้นตาบอด

ในช่วงแรก ผู้ป่วยต้อหินหลายคนอาจจะไม่มีอาการใดๆ จนกระทั่งต้อหินสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง ด้านการมองเห็น เช่น ปวดหัว ปวดตา ตามัว เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ น้ำตาไหล

รูปแบบต้อหินที่พบได้บ่อยคือ ต้อหินมุมเปิด การใช้ยาสามารถรักษาต้อหินประเภทนี้ได้ โดยช่วยลดความดันในดวงตา และเพิ่มความเร็วในการขับของเหลวในดวงตา

ต้อกระจก
เลนส์ตาช่วยให้เรามองเห็น และโฟกัสไปยังสิ่งที่เรามอง ต้อกระจก โดยปกติจะทำให้เลนส์ตาเราใสและทำให้ภาพที่เรามอง จะเห็นได้ไม่ชัด ทุกๆคนสามารถเป็นต้อกระจกได้ แต่ 60 % ของผู้ที่เป็นเบาหวาน มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเจอปัญหาตาลักษณะนี้ และอาการอาจทรุดลงได้อีก

อาการต้อกระจกระดับอ่อนๆ คุณสามารถใส่แว่นตา คอนแทคเลนส์ หรืออุปกรณ์เพื่อช่วยการมองเห็นอื่นๆ หากต้อกระจกกลายเป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน และการใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ ไม่ได้ช่วยให้การมองเห็นของคุณดีขึ้น การผ่าตัดจึงเป็นการรักษาเดียวที่ได้ผลสำหรับต้อกระจก หมอจะทำการผ่าตัดเลนส์ตาออก และใส่เลนส์ตาเทียมเข้าไปแทน

เบาหวานขึ้นจอตา
ระดับน้ำตาลในเลือดสูง สามารถสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดฝอยในม่านตาของคุณ และก่อให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา ยิ่งผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมานานเท่าไหร่ ยิ่งมีความเป็นไปได้ที่จะประสบอาการนี้ ผู้ที่มีโรคเบาหวานมีโอกาสที่จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ หากพวกเขารักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ

ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ไม่ค่อยจะแสดงอาการแรกเริ่ม ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งในผู้ใหญ่ ผู้ป่วยน้อยคนที่จะมีอาการนี้ เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง มาอย่างน้อยห้าปี

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google