โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพ GMO

14 ก.ย. 58 02:10 น. / ดู 4,558 ครั้ง / 4 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์


เทคโนโลยีชีวภาพ คือ
”การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆมาใช้กับ ระบบทางชีวภาพ หรือ สิ่งมีชีวิต(ที่มีชีวิตอยู่) หรือ สิ่งที่ได้จากระบบทางชีวภาพและสิ่งมีชีวิต เพื่อที่ทำการสร้างหรือปรับปรุงแก้ไข ผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการ เพื่อนำมาใช้


การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีชีวภาพ มีหลายด้านเช่น
1. เพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า
2. เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ
3. เพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปทำปุ๋ยหรือการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเสีย
4. ด้าน เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโรคทางพันธุกรรมต่างๆ การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต




- นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต
    ทำจากนมชนิดต่างๆ เช่น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการหมักนมร่วมกับแบคทีเรียพวก แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส แบคทีเรียช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนมให้กลายเป็นกรดแลคติค ทำให้เกิดภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว จะทำได้ 2 แบบ คือ นมเปรี้ยว ที่มีลักษณะเป็นน้ำคล้ายเครื่องดื่ม อีกชนิดหนึ่ง คือ โยเกิร์ต ที่มีลักษณะเป็นของเหลวข้น

- ขนมปัง
    เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือ ผงฟู และอาจใช้ส่วนผสมอื่นๆเพื่อใช้ในการแต่งสี รสชาติและกลิ่น ให้แตกต่างกันไป รวมให้เข้ากันและนำไปอบ

- ไวน์(Wine) หรือ เหล้าองุ่น
    เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำจากน้ำองุ่นที่นํามาหมักด้วยยีสต์จะทำให้เปลี่ยนน้ําตาลในองุ่นให้กลายไปเป็นแอลกอฮอล์แต่ไวน์สามารถทําได้จากการหมักน้ําผลไม้เกือบทุกชนิดกับยีสต์แต่จะให้กลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันไป ถึงอย่างนั้นก็ยังเรียกไวน์เช่นเดียวกันโดยจะเรียกชื่อผลไม้ชนิดนั้นๆตามไปด้วย เช่น ไวน์สับปะรด

- เต้าเจี้ยว
    เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการปรุงรสอาหาร ทำจากการหมักถั่วเหลืองด้วยเกลือร่วมกับเชื้อรา (Mold)
- เต้าหู้ยี้
    เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นอาหาร ได้จากการนำก้อนเต้าหู้มาหมักด้วยเชื้อราแล้วหมักดองในน้ำปรุงรส ที่ทำจากส่วนประกอบต่างๆ เช่น น้ำตาล เกลือ ผงพะโล้ ไวน์ อาจมีพริกแดง ข้าวแดง ขิง อยู่ด้วย หรือนำก้อนเต้าหู้มาหมักดองในเต้าเจี้ยว
สีแดงในเต้าหู้ยี้ ได้จากการหมัก ข้าว ด้วยเชื้อรา Monascus purpureusใช้เป็นสารให้สี

- แหนม
    เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นอาหารทำจากเนื้อหมูส่วนสะโพกที่แยกไขมันและเอ็นออกแล้ว ผสมกับหนังหมู อาจผสมหูหมูหรือจมูกหมูที่ต้มสุกและหั่นเป็นเส้น เติมเกลือ ข้าวสุก กระเทียมบด น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน อาจเติมพริกสดด้วยก็ได้ ห่อเป็นมัดด้วยพลาสติก หรือห่อด้วยใบตองสด หรือบรรจุในภาชนะบรรจุลักษณะอื่นๆ มัดให้แน่นด้วยยาง เชือก หรือตอก เพื่อจะไล่อากาศภายในออกมา จะได้เกิดสภาวะไม่มีอากาศ ซึ่งเป็นสภาวะที่ lactic acid bacteria (เช่น Pediococcus cerevisiae, Lactobacillus plantarum และLactobacillus brevis)เจริญได้ดี และสร้างกรดหมักจนมีรสเปรี้ยว







- ด้านยารักษาโรค เช่น การนำความรู้มาประยุกต์กันระหว่างทาง
เทคโนโลยีชีวภาพกับสมุนไพรหรือสมุนไพรไทย จนสามารถทำยารักษาโรคตัวใหม่ได้
- ด้านการป้องกันโรค เช่น การตรวจดีเอ็นเอ(DNA) เพื่อวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมของพ่อแม่เพื่อดูว่าบุตรที่เกิดมาจะมีโอกาสเกิดโรคทางพันธุกรรมใดๆหรือไม่ หรือ การทำวัคซีนเพื่อป้องกันโรค

- ด้านการวินิจฉัยหาสาเหตุโรค เช่น การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ หรือ การตรวจดีเอ็นเอ(DNA) เพื่อวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรม
- ด้านการรักษาโรค เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพกับการรักษาโรคเบาหวาน
    รวมถึงการประยุกต์รวมความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพกับทางด้านการแพทย์ มาใช้ในงานทางด้านกฏหมายอย่างงานทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หลักฐาน พิสูจน์หลักฐาน หรือ ในการสืบสวนคดี รวมถึงการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล การพิสูจน์เครือญาติด้วย ดีเอ็นเอ(DNA)




เด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization, IVF) คือ เทคโนโลยีที่ช่วยในการปฎิสนธิระหว่างไข่และสเปิร์มที่ภายนอกร่างกาย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาภาวะการมีบุตรยาก ด้วยการนำไข่ออกมาจากร่างกายของฝ่ายผู้หญิงและนำเอาสเปิร์มของฝ่ายผู้ชาย มาทำการปฏิสนธิกันภายในภาชนะบรรจุของเหลว เสร็จแล้วจึงนำไข่ที่มีการปฏิสนธิแล้ว หรือ ตัวอ่อนเอ็มบริโอ(Embryo) ใส่เข้าไปยังมดลูกของฝ่ายผู้หญิง เพื่อทำให้การตั้งครรภ์นั้นสมบูรณ์
คำว่า “เด็กหลอดแก้ว” มาจากการที่ขั้นตอนในการทำให้เกิดเด็กมีการปฎิสนธิแบบ “In Vitro” ที่เป็นภาษาละติน แปลว่า “ภายนอกสิ่งมีชีวิต” ซึ่งIn Vitro โดยทั่วไปมักจะทำกันในหลอดทดลองและหลอดทดลองจะทำมาจากแก้ว จึงได้เรียกหลอดทดลองว่า หลอดแก้ว และเป็นเหตุให้เรียกเด็กที่เกิดจากขั้นตอนเหล่านี้ว่า “เด็กหลอดแก้ว”




เนื่องด้วยการเป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถผลิตอินซูลิน(Insulin)ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะผิดปกติ ดังนั้นจึงต้องมีการฉีดอินซูลิน(Insulin)เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อมาทดแทน
ระยะแรกในผลิตอินซูลิน(Insulin)จะผลิตจากตับอ่อนของหมูหรือวัว เนื่องจากว่าอินซูลิน(Insulin)จากตับอ่อนของหมูมีกรดอะมิโนเพียงหน่วยเดียวที่แตกต่างจากอินซูลิน(Insulin)ของคน และอินซูลิน(Insulin)จากตับอ่อนของวัวมีกรดอะมิโนแค่ 3 หน่วยที่แตกต่างจากของคน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังพบว่าผู้ที่รับอินซูลิน(Insulin)จากตับอ่อนของหมูหรือวัวเกิดอาการแพ้เกิดขึ้น เช่น มีอาการหายใจติดขัด มีผื่นเกิดขึ้นทั่วร่างกาย มีความดันโลหิตลดลงกว่าปกติ ชีพจรเต็นเร็วกว่าปกติ เป็นต้น

    ดังนั้นในปัจจุบันจึงใช้เทคโนโลยีชีวภาพเรื่องพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)มาช่วยในการผลิตอินซูลิน(Insulin) โดยการตัดต่อยีน(Gene)ที่สร้างอินซูลิน(Insulin)ของคนใส่ลงไปในดีเอ็นเอ(DNA)ของแบคทีเรีย อี โคไล (E.coli)ให้แบคทีเรียผลิตให้ เพราะแบคทีเรียสามารถเพิ่มจำนวนได้ง่ายทำให้สามารถผลิตอินซูลิน(Insulin)ได้จำนวนมาก ด้วยวิธีการนี้ทำให้มีผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อินซูลิน(Insulin)ที่ฉีดเข้ามีน้อยลงไปมาก
แก้ไขล่าสุด 14 ก.ย. 58 03:05 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Maple | 14 ก.ย. 58 03:08 น.




สมุนไพร คือ ผลผลิตที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหรือบำรุงร่างกาย เช่น ใช้กิน ใช้ทา ใช้รม เป็นต้น ซึ่งอาจจะใช้ทั้งหมด เช่น ใช้ทั้งต้น หรือแค่เฉพาะบางส่วนของผลผลิตนั้นๆเพื่อปรุงเป็นยารักษาโรค เช่น เฉพาะส่วนราก โดยอาจจะต้องผ่านกระบวนการบางอย่างก่อนนำมาใช้ เช่น บด ต้ม คั้น ตากแห้ง เป็นต้น
หรืออาจจะใช้เป็นยาพิษก็ได้โดยจะเรียกว่า สมุนไพรที่มีพิษ
    สมุนไพรไทย คือ สมุนไพรที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศไทยหรือสามารถหาพบได้ในประเทศไทย




สรรพคุณของว่านหางจระเข้ในการใช้ภายนอก
    - ใช้รักษาแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก ใช้วุ้นสดจากว่านหางจระเข้ที่ปอกจากใบไปล้างยางออกให้สะอาด แล้วใช้ประคบแผลในช่วง2 วันแรก จะช่วยให้ลดอาการปวดแผลและช่วยสมานแผลให้เร็วขึ้น และไม่เป็นแผลเป็นอีกด้วย
    - ใช้ช่วยรักษาแผลจากของมีคมและแผลถลอก ให้ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ยังมีเมือกอยู่ แปะลงไปบนแผล จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- ช่วยลดอาการปวดฟัน ปอกวุ้นจากว่านหางจระเข้เป็นแท่งเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วนำไปเหน็บไว้ตามซอกฟันที่มีอาการปวดหรือประคบเอาไว้ประมาณ 30 นาที อาการปวดฟันจะค่อย ๆ ลดลง

    - ช่วยในการรักษาตาปลา นำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาดแล้ว แปะลงไปที่ตรงที่เกิดโรค แล้วควรทำการเปลี่ยนวุ้นบ่อย ๆ ถ้าส่วนที่แห้งลงเกิดรูบุ๋มขึ้น ให้ใช้เนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้มาประคบต่อไปจนกว่ารอยบุ๋มจะดีขึ้นและจางลง
    - ช่วยในการรักษาฮ่องกงฟุต นำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาดแล้ว แปะลงไปที่ตรงที่เกิดโรค แล้วควรทำการเปลี่ยนวุ้นบ่อยจนกว่าแผลที่มีจะแห้งลงและดีขึ้น

    - ช่วยในการรักษาฝี ให้ทำความสะอาดบริเวณที่เกิดฝีให้แห้งแล้ว นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ไปแปะลงบนฝี ทำไปจนกว่าอาการจะดีขึ้น
    - ช่วยในการรักษาริดสีดวงทวาร ให้ปอกวุ้นจากว่านหางจระเข้ทำให้เป็นแท่งแล้วล้างให้สะอาด จากนั้นจึงเอาไปแช่แข็งจนแข็ง แล้วสอดเหน็บในช่องทวารหนักวันละ 1-2 ครั้ง แล้วอาการริดสีดวงจะดีขึ้น
    - ช่วยลดรอยไหม้จากการเข้าฉายรังสีของผู้ป่วย โดยใช้วิธีวิธีเดียวกับแผลไฟไหม้ จะช่วยลดอาการปวดของแผล และจะทำให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น


สรรพคุณของว่านหางจระเข้ในการใช้ภายใน
    - ใช้ช่วยป้องกันการเมารถหรือเมาเรือ ให้นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาด(หรือปั่นเป็นน้ำว่านหางจระเข้)มากินก่อนออกเดินทางจะช่วยลดการเมารถหรือเมาเรือได้
    - ใช้ป้องกันโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะแรกให้นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาดแล้ว ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร มากินทุกวันจะช่วยให้อาการดีขึ้น สำหรับคนที่กินเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน สามารถกินในปริมาณที่น้อยลงกว่านี้ได้

    - ใช้ช่วยลดอาการปวดข้อ นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาดแล้ว(หรืออาจเอาไปปั่น)ไปแช่ตู้เย็น ใช้กินเพื่อลดอาการปวดข้อ
    - ใช้ช่วยรักษาการอักเสบของกระเพาะและลำไส้ นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาดแล้ว(หรืออาจเอาไปปั่น) มากินครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง จะช่วยลดการอักเสบของระบบทางเดินอาหารได้


สรรพคุณของว่านหางจระเข้ในด้านความสวยความงาม
    -ใช้ในการรักษาสิวและรอยด่างดำ ให้นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาด(หรือปั่นเป็นน้ำว่านหางจระเข้)ทาบริเวณใบหน้าวันละ 2 ครั้ง ใช้เวลาสัก 1-2 เดือน จะเริ่มเห็นผลว่ารอยต่าง ๆ ดูจางลงเนื่องจากว่า ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการติดเชื้อ และมีกรดอ่อน ๆ ช่วยลดความมันบนใบหน้าได้
    - ใช้ช่วยในการบำรุงผิว นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นๆนำวุ้นไปแช่ไว้ในน้ำที่จะใช้อาบ แล้วใช้เนื้อวุ่นถูกที่ต่างๆตามร่างกาย โดยเน้นที่ข้อศอก หัวเข่า ส้นเท้า จะช่วยให้ผิวเต่งตึงและนุ่มขึ้น

    - ใช้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้าและผิวกาย สำหรับผิวหน้า ให้นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาด แล้วฝานบาง ๆ มาโปะให้ทั่วหน้า หลับตาลงรอ 15 นาที แล้วจึงล้างหน้าให้สะอาดแล้วผิวจะเต่งตึงและชุ่มชื้นขึ้น สำหรับกรณีผิวกายให้ลองนำเนื้อวุ้นจากว่านหางจระเข้ไปปั่นหยาบ ๆ แล้วนำมาทาและพอกตามตัว รอสัก 30 นาทีจึงล้างออกแล้วผิวจะเต่งตึงและชุ่มชื้นขึ้น
    -ใช้ช่วยในการกำจัดรังแคและบำรุงเส้นผมให้เงางาม นำวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ล้างทำความสะอาด(หรือปั่นเป็นน้ำว่านหางจระเข้) จากนั้นนำมาชโลมผมให้ทั่วเพื่อให้ผมดูเงางาม แล้วนวดบริเวณรากผม จะช่วยบำรุงและรักษาแผลบนหนังศีรษะ และช่วยกำจัดรังแคได้





เทคโนโลยีชีวภาพ ที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็คือ เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology) โดยเทคโนโลยีชีวภาพเมื่อก่อนมักนำไปใช้กับทางด้านอาหารและด้านการเกษตร
การค้นพบ โครงสร้างของสารพันธุกรรมหรือ DNA โดยเจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก ในปี พ.ศ. 2496 ต่อมามีการค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะในแบคทีเรีย โดยเวอร์เนอร์ อาร์เบอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2500-2510 ในปี พ.ศ. 2516เอนไซม์ตัดจำเพาะนี้ถูกนำไปทดลองใช้ในการทดลองตัดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่ง แล้วนำไปใส่ให้แบคทีเรียอีกเซลล์หนึ่งเป็นผลสำเร็จ โดยแสตนลีย์ โคเฮน และเฮอร์เบิร์ด โบเยอร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 มีการนำยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น (ที่ไม่ใช่ของแบคทีเรีย) ไปใส่ในแบคทีเรียเป็นผลสำเร็จ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าด้านนี้อย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญมีการตัดต่อยีนของมนุษย์ที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนใส่ลงในเซลล์ แบคทีเรียที่ชื่อ E. coli ซึ่งทำให้แบคทีเรียสร้างฮอร์โมนของมนุษย์ออกมาได้เป็นผลสำเร็จ
    จากสิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ทำให้เกิด เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ คือ เทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant Technology) หรือ พันธุวิศวกรรม ( Genetic engineering )




เทคโนโลยีชีวภาพไม่มีจำนวนประเภทหรือไม่มีจำนวนชนิดที่แน่นอน และที่สำคัญคือ ไม่ควรจะระบุจำนวนประเภทหรือจำนวนชนิดที่แน่นอนลงไป เพราะมันจะเป็นการขัดขวางหรือเป็นการจำกัดการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในสาขาต่างๆหรือด้านต่างๆ เนื่องจากเมื่อระบุจำนวนประเภทหรือจำนวนชนิดที่ชัดเจนลงไปจะเป็นการตีกรอบขอบเขตของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพอยู่แค่ในจำนวนประเภทหรือจำนวนชนิดที่ได้ระบุหรือนิยามไว้ ทำให้จำกัดการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพลงไปด้วย
4 ประเภท คือ
1.GMOs
2.การโคลนนิ่ง
3.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
4.ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ


    ซึ่งประเภทเหล่านี้เป็นการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต ถ้าเทคโนโลยีชีวภาพถูกจำกัดด้วยประเภทเหล่านี้ การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาประยุกต์ใช้กับบางเทคโนโลยีที่นอกเหนือจากนี้อาจไม่เกิดขึ้นได้
เช่น
- DNA Computing เป็นการประยุกต์ความรู้มาใช้ระหว่างเทคโนโลยีชีวภาพ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อนำดีเอ็นเอ (DNA) มาใช้ในการคำนวณประมวลผลคล้ายกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
- Bionics เป็นการประยุกต์ความรู้มาใช้ระหว่างเทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างสิ่งที่เลียนแบบธรรมชาติขึ้นมาใช้ในการแก้ปัญหา
    ดังนั้น ประเภทหรือชนิดของเทคโนโลยีชีวภาพควรปล่อยให้มีความหลากหลายคล้ายกับความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติมากกว่า






แฟนตาสติค โฟร์(Fantastic 4, มนุษย์กายสิทธิ์ทั้งสี่ )
    นักวิทยาศาสตร์ ดร.รี้ด ริชาร์ดส นำทีมเดินทางสู่อวกาศ ในการเดินทางในอวกาศ เขาและทีมต้องเผชิญกับพายุรังสีคอสมิคที่รุนแรง จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมต่อลูกเรือทั้งหมด หรือ เกิดการกลายพันธุ์ เพราะ ดีเอ็นเอ(DNA)เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่แทนที่เขาและทีมจะกลายเป็นโรคมะเร็ง(Cancer) กลับกลายพันธุ์เป็นยอดมนุษย์พิทักษ์โลกไปทั้ง 4 คน



ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน (The Amazing Spider Man)
    พระเอก ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ถูกแมงมุมที่ผ่านการพันธุวิศวกรรม(Genetic Engineering)มาหรือ แมงมุมGMO กัดเอา ทำให้พระเอกได้พลังพิเศษของแมงมุมมาเพราะว่าพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไป [สงสัยตอนกัดแมงมุมGMOมีความสามารถพิเศษคือสามารถปล่อยดีเอ็นเอ(DNA)ตัวมันเองแทรกเข้าไปในดีเอ็นเอ(DNA)ของพระเอก ทำให้ยีน(Gene)ต่างๆของแมงมุมรวมถึงยีน(Gene)ที่ใช้ในการสร้างเส้นใยแมงมุมสามารถแสดงออก(Gene Expression)ในตัวพระเอกได้ หรือ กล่าวอีกอย่างคือ ตัวพระเอกเป็นมนุษย์ดัดแปลงพันธุกรรมหรือ มนุษย์ GMO ที่ผ่านการพันธุวิศวกรรม(Genetic Engineering) ในแบบที่คาดไม่ถึง คือการถูกกัดด้วยแมงมุม GMOนั่นเอง]และสุดท้ายพระเอกก็ใช้พลังพิเศษช่วยเหลือคน จนตัวเองกลายฮีโร่นั่นเอง

แก้ไขล่าสุด 14 ก.ย. 58 03:11 | ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

#2 | Maple | 14 ก.ย. 58 03:12 น.



กระบวนการที่ได้นำความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุล หรือ อณูชีววิทยา (molecular biology) นำมาประยุกต์ใช้ใน การปรับเปลี่ยน, ดัดแปลง, เคลื่อนย้าย, ตรวจสอบ สารพันธุกรรม[ดีเอ็นเอ (DNA)], ยีน(gene) และผลิตภัณฑ์ของสารพันธุกรรมอย่างพวกอาร์เอ็นเอ(RNA)และโปรตีนของสิ่งมีชีวิต เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
โดยปกติแล้ว พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) จะเป็นการตัดต่อยีน(gene)หรือเป็นการเคลื่อนย้ายยีน(transgenesis)จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งใส่เข้าไปกับยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง นั่นคือทำให้เกิดการถ่ายทอดของยีน(gene)และลักษณะที่ยีน(gene)นั้นได้ทำการควบคุมอยู่ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีน(gene)ใส่เข้าไป มียีน(gene)ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยอาจทำการเพิ่มปริมาณยีน(gene)ขึ้นอีกเพื่อให้มีปริมาณที่มากเพียงพอที่จะนำไปทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีขึ้น และทำให้ได้ปริมาณของผลผลิตที่สูงขึ้นอีกด้วย โดยที่พันธุวิศวกรรม (genetic engineering)อาจจะทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่(novel)ที่อาจไม่เคยปรากฏในธรรมชาติมาก่อน

    ตัวอย่างที่ทำพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เช่น การใส่ยีน(gene)ที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin)เข้าไปในแบคทีเรียหรือยีสต์ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin)ได้ แล้วทำการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ให้ได้ในปริมาณที่มากเพื่อจะได้ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin)ได้มากตาม โดยสามารถนำมาทำการสกัดให้บริสุทธิ์เพื่อใช้ทำการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ เป็นต้น
    สิ่งมีชีวิตที่ได้จากพันธุวิศวกรรม (genetic engineering)ที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายยีนเรียกว่า สิ่งมีชีวิตเคลื่อนย้ายยีน (transgenic organisms) อย่างในกรณีของพืชก็จะถูกเรียกว่า transgenic plants (พืชเคลื่อนย้ายยีน หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม) แต่มักจะเรียกสิ่งมีชีวิตที่ได้จากพันธุวิศวกรรม (genetic engineering)รวมๆโดยทั่วๆไปว่าเป็น สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organisms, GMOs)
    โดยที่มีการกล่าวกันว่าการเกิดพันธุวิศวกรรม(genetic engineering)คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตร และการแพทย์ ที่เรียกว่า Genomic revolution




ทางด้านการเกษตรและอาหาร เช่น
    การปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานโรคหรือแมลง การปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิมนั้น ซึ่งยังคงทำกันอยู่ โดยใช้วิธีหาพันธุ์ต้านทานซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ป่าและมีลักษณะไม่ดีอยู่มาก จากนั้นเอาพันธุ์ต้านทานผสมพันธุ์พ่อแม่ เข้าด้วยกันรวมทั้งลักษณะต้านทานด้วยเหตุนี้ จึงต้องเสียเวลาคัดเลือก และพัฒนาพันธุ์ต่ออีกอย่างน้อย 8-10 ปี กว่าจะได้พันธุ์ต้านทานและมีลักษณะอื่น ๆ ดีด้วย เพราะไม่สามารถเลือกยีน(gene)ที่สามารถต้านทานใส่ไปได้โดยตรง ดังนั้นวิธีการปรับปรุงพันธุ์โดยการถ่ายฝากยีน(gene)ที่ได้รับจากชนิดพันธุ์อื่น จึงสามารถลดระยะเวลาการพัฒนาพันธุ์ได้มาก
    พันธุ์พืชต้านทานแมลง มีสารสกัดชีวภาพจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis หรือ บีที ที่ใช้กำจัดแมลงกลุ่มหนึ่งอย่างได้ผลโดยการฉีดพ่นคล้ายสารเคมีอื่น ๆ เพื่อลดการใช้สารเคมีด้วยความก้าวหน้าทางวิชาการทำให้สามารถแยกยีนบีที จากจุลินทรีย์นี้และถ่ายฝากให้พืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ฝ้าย ข้าวโพด และมันฝรั่ง เป็นต้น ให้ต้านทานแมลงกลุ่มนั้น และใช้อย่างได้ผลเป็นการค้าแล้วในบางประเทศ

    พันธุ์พืชต้านทานโรคไวรัส โรคไวรัสของพืชหลายชนิด เช่น โรคจุดวงแหวนในมะละกอ (papaya ring-spot virus) สามารถป้องกันกำจัดได้โดยวิธีนำยีน(gene)เปลือกโปรตีน (coat protein) ของไวรัสนั้นถ่ายฝากไปในพืช เหมือนเป็นการปลูกวัคซีนให้พืชนั่นเอง กระบวนการดังกล่าวได้ถูกนำใช้กันอย่างแพร่หลายในพืชชนิดต่างๆแล้ว เป็นต้น



ทางการพัฒนาพันธุ์สิ่งมีชีวิตให้มีคุณภาพผลผลิตดี ตัวอย่างเช่น
    - การถ่ายฝากยีน(gene)สุกงอมช้า (delayed ripening gene) ในมะเขือเทศ การสุกในผลไม้เกิดจากการผลิตสาร ethylene เพิ่มมากในระยะสุกแก่ นักวิชาการสามารถวิเคราะห์โครงสร้างยีน(gene)นี้ และมีวิธีการควบคุมการแสดงออกโดยวิธีการถ่ายฝากยีน(gene)ได้ ทำให้ผลไม้สุกงอมช้า สามารถเก็บไว้ได้นาน ส่งไปจำหน่ายไกล ๆ ได้ สหรัฐเป็นประเทศแรกที่ผลิตมะเขือเทศสุกงอมช้าได้เป็นการค้า และวางตลาดให้ประชาชนรับประทานแล้ว
    - การพัฒนาพันธุ์พืชให้ผลิตสารพิเศษ เช่น สารที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อาจเป็นแหล่งผลิตวิตามิน ผลิตวัคซีน และผลิตสารที่นำไปสู่การผลิตทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น พลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายและโพลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

    - การพัฒนาพันธุ์สัตว์ มีการพัฒนาพันธุ์โดยการถ่ายฝากยีน(gene)ทั้งในปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ รวมทั้งน้ำปลา ได้มีตัวอย่างหลายรายการ เช่น การถ่ายฝากยีน(gene)เร่งการเจริญเติบโต และยีน(gene)ต้านทานโรคต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามประโยชน์ของพันธุวิศวกรรม(genetic engineering)ในเรื่องการผลิตสัตว์นั้นเป็นเรื่องของการพัฒนาชุดตรวจระวังโรคเป็นส่วนใหญ่
    - การพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ ให้มีคุณลักษณะพิเศษบางอย่าง เช่น ให้สามารถกำจัดคราบน้ำมันได้ดี เป็นต้น




    ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
    เทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ความรู้จากการวิจัยจีโนม(Genome) ทำให้นักวิจัยรู้สึกถึงระดับยีน(gene)สิ่งมีชีวิต รู้ว่ายีน(gene)ใดอยู่ที่ไหนบนโครโมโซม(chromosome) หรือนอกโครโมโซม(chromosome) สามารถสังเคราะห์ชิ้นส่วนนั้นได้ หรือตัดออกมาได้ แล้วนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆ ตัวอย่างเช่น
    - การตรวจโรค เมื่อสามารถสังเคราะห์ชิ้นส่วนของดีเอ็นเอ(DNA) หรือยีน(gene)ได้แล้ว ก็สามารถพัฒนาเป็น molecular probes สำหรับใช้ในการตรวจโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    - การพัฒนายารักษาโรคและวัคซีน ยารักษาโรค และวัคซีน ใหม่ๆ ผลิตโดยวิธีพันธุวิศวกรรม(genetic engineering)ในจุลินทรีย์ หรือ recombinant DNA ทั้งสิ้น
    - การสับเปลี่ยนยีนด้อยด้วยยีนดี (gene therapy) ในอนาคต เมื่องานวิจัยจีโนมมนุษย์สำเร็จ ความหวังของคนที่ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม อาจมีหนทางรักษาโดยวิธีปรับเปลี่ยนยีน(gene)ได้

    ทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พืชที่ได้รับการถ่ายฝากยีน(gene)ต้านทานโรคและแมลง ทำให้ไม่ต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือใช้ในปริมาณที่ลดลงมาก พันธุวิศวกรรม(genetic engineering)อาจนำไปสู่การผลิตพืชที่ใช้ปุ๋ยน้อย และ น้ำน้อย ทำให้เป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การสร้างสมดุลทรัพยากรชีวภาพได้



ทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
    เมื่อวัตถุดิบได้รับการปรับเปลี่ยนคุณภาพให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยใช้พันธุวิศวกรรม(genetic engineering)แล้ว อุตสาหกรรมใหม่ๆจะเกิดตามมากมาย เช่น การเปลี่ยนโครงสร้างแป้ง น้ำมัน และโปรตีน ในพืช หรือการลดปริมาณเซลลูโลสในไม้ เป็นต้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคต จะเป็นการปฏิรูปแบบอุตสาหกรรมใหม่ โดยเน้นการใช้วัตถุดิบจากสิ่งมีชีวิตมากขึ้น รถยนต์ทั้งคัน อาจทำจากแป้งข้าวโพด สารเคมีทั้งหมดอาจพัฒนาจากแป้ง เชื้อเพลิงอาจพัฒนาจากวัตถุดิบพืช เป็นต้น





    พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เป็นส่วนหนึ่งของ เทคโนโลยีชีวภาพ ที่นำความรู้ทางชีววิทยามาใช้ประโยชน์กับสิ่งมีชีวิต
    การที่ พันธุวิศวกรรม พัฒนาไปในหลายๆด้านนั้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อพันธุกรรมพืช หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับดีเอ็นเอ(DNA)หรือทางด้านอื่นๆ เป็นผลทำให้การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนาตามไปด้วย เพราะเนื่องด้วย พันธุวิศกรรม นั้นเป็นส่วนหนึ่งเทคโนโลยีชีวภาพนั่นเอง




จีเอ็มโอ ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Genetically Modified Organisms (GMOs) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ หรือแบคทีเรีย หรือ จุลินทรีย์ ที่ถูกดัดแปลง พันธุกรรมจากกระบวนการทาง พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)
โดยจากการตัดเอายีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มาใส่เข้าไปในยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยตามปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรรมชาติ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีน(gene)มาใส่เข้าไปแล้วก็คือจีเอ็มโอ(GMOs) ตัวอย่างเช่น นำยีน(gene)ทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาผสมกับมะเขือเทศเพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้ นำยีน(gene)จากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีน(gene)ของถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช นำยีน(gene)จากไวรัสมาใส่ในมะละกอเพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้ เป็นต้น

    โดยพืชที่ได้รับการตัดต่อยีน(gene)จากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) อาจเรียกแบบเฉพาะได้ว่า Transgenic Plant ส่วนคำว่า จีเอ็มโอ(GMOs)เป็นคำที่เรียกสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ได้รับการตัดต่อยีน(gene)
    พืชจีเอ็มโอ (GMOs)ที่มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, มะละกอ, ฝ้าย, คาโนลา (Canola) (พืชให้น้ำมัน) และ สควอช (Squash)




พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือ พืชที่ได้รับการคัดเลือกให้มาผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม(Genetic Engineering) เพื่อที่จะให้พืชชนิดนั้นมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่จำเพาะเจาะจงตรงตามความต้องการ
เช่น พืชที่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโต, พืชที่มีความสามารถต้านทานแมลงศัตรูพืชได้, พืชที่มีสารอาหารทางโภชนาการหรือสารชีวโมเลกุลบางชนิดที่เพิ่มขึ้น เช่น มี โปรตีน หรือ วิตามิน หรือ ไขมัน ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

    พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือว่าเป็น จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) หรือ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ประเภทหนึ่ง ซึ่งพืชที่ผ่านการตัดต่อยีน(Gene)แล้วจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) มีอีกชื่อเรียกหนึ่งที่มักเรียกกัน นั่นคือ “Transgenic Plant”
    พืชจีเอ็มโอ (พืช GMOs) ที่ได้มีการวางจำหน่ายแล้วตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าวโพด, มะเขือเทศ, ถั่วเหลือง, ฝ้าย, มันฝรั่ง, มะละกอ, สควอช (Squash) และ คาโนลา (Canola) (พืชที่ให้น้ำมัน)

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

#3 | Maple | 14 ก.ย. 58 03:23 น.



มะเขือเทศ GMOs
    ทำให้ได้มะเขือเทศมีลักษณะที่ดีขึ้น มีความทนทานต่อโรคมากขึ้น จากการที่ใส่ antisense gene ของยีน(gene)ที่ผลิตเอนไซม์ polygalacturonase (PG) ทำให้เอนไซม์ polygalacturonase ถูกรบกวนการแสดงออก มีผลทำให้เนื้อของมะเขือเทศมีความแข็งมากขึ้นทำให้ลดความเสียหายหรือการบอบช้ำขณะทำการขนส่งลง ทำให้มะเขือเทศเน่าช้าลงหลังจากที่เก็บเกี่ยวแล้ว




    มะละกอ GMOs
    ทำให้ได้มะละกอที่ต้านทานโรคห่าได้ หรือต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้ และทำให้ได้มะละกอมีจำนวนเมล็ดที่น้อยลง




    มันฝรั่ง GMOs
    ทำให้ได้มันฝรั่ง (Potato)ที่มีลักษณะที่ดีขึ้น มีคุณค่าทางสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้นโดยได้ใส่ยีน(gene)ของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis แทรกเข้าไปในยีน(gene)ของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่ง GMOs มีคุณค่าทางสารอาหาร(เพิ่มปริมาณโปรตีน)ที่เพิ่มมากขึ้น และในบางชนิดอาจมีประโยชน์ในทางการแพทย์ที่สามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ได้อีกด้วย




    ข้าว GMOs
    ทำให้ได้ข้าวที่มีลักษณะที่ดีขึ้น สามารถทนแล้ง ทนเค็มได้ หรือ มีสารอาหารอย่างบีต้าแคโรทีน(beta-carotene) ที่เป็นสารเริ่มต้น (precursor)ของวิตามิน A ได้











ในการทำพืช GMOs ต้องใช้เทคนิคในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช เพื่อให้พืชนั้นสามารถแสดงออกในลักษณะตามที่ต้องการได้ โดยเทคนิคเหล่านี้จะทำการส่งถ่ายสารพันธุกรรมจากภายนอก[ซึ่งอาจมาจากแหล่งอื่น เช่น ยีน(Gene)จากแบคทีเรีย]เข้าสู่ภายในเซลล์ของพืช ทำให้สารพันธุกรรมจากภายนอกสามารถแทรกตัวเข้าสู่จีโนม(Genome)หรือดีเอ็นเอ(DNA)ของพืชชนิดที่ต้องการได้ แล้วทำให้เกิดการแสดงออกในลักษณะที่ยีน(Gene)(ที่แทรกตัวเข้าไป)นั้นควบคุมอยู่ได้ รวมทั้งยังสามารถที่จะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้นต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้อีกด้วย พืช GMOs ซึ่งถูกโอนถ่ายยีนเข้าไปนี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Transgenic Plants
ในปัจจุบันการถ่ายฝากยีนจากภายนอกเข้าสู่พืช สามารถที่จะทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์หรือกลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อของพืชเป้าหมายที่นำมาถ่ายฝากยีน

    วิธีการในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีการหลักๆ คือ
- การถ่ายฝากยีนโดยตรง (Direct Gene Transfer) เช่น การถ่ายฝากยีนโดยใช้เครื่องยิงอนุภาค (Biolistic Technique), การถ่ายฝากยีนโดยใช้เข็มฉีด (Microinjection), การถ่ายฝากยีนโดยใช้กระแสไฟฟ้า (Eletroporation) เป็นต้น
- การถ่ายฝากยีนโดยใช้พาหะ (Vector-Mediated Gene Transfer) เช่น การถ่ายฝากยีนโดยใช้แบคทีเรีย Agrobacterium (Agrobacterium-Mediated Gene Transfer) เป็นต้น
    ในปัจจุบัน วิธีการที่นิยมและประสบความสำเร็จในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืชได้หลายชนิด ได้แก่
- การถ่ายฝากยีนโดยใช้แบคทีเรีย Agrobacterium
- การถ่ายฝากยีนโดยใช้เครื่องยิงอนุภาค (Biolistic Technique)




    การที่จะถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืช ให้เป็น พืช GMOs ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จะมักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
- การเลือกใช้เทคนิคในการถ่ายฝากยีนเข้าสู่พืชให้เหมาะสมกับประเภทหรือชนิดของพืชนั้นๆ หรือ เหมาะกับเซลล์หรือกลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อของพืชที่ถูกคัดเลือกมาใช้
- การคัดเลือกเซลล์หรือกลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อของพืช ที่มีความสามารถในการพัฒนาเป็นต้นได้ในอัตราส่วนที่สูง เพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการถ่ายฝากยีนเข้าไป เช่น เอ็มบริโอ (Embryo), แคลลัส (Callus) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์พื้นฐานที่สามารถที่จะชักนำการเจริญเติบโตได้หลายทาง โดยขี้นอยู่กับสารที่ใช้ในการควบคุมการเจริญเติบโตหรือสารเคมีอื่นๆที่ใช้เติมเข้าไปในอาหารเพาะเลี้ยง, เซลล์แขวนลอย (Suspension Cells) ซึ่งเป็นเซลล์เดี่ยวๆ (Single Cell)หรือกลุ่มของเซลล์ที่มีขนาดเล็ก (Aggregate Cells) ที่ถูกเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวบนเครื่องหมุนเหวี่ยงอาหาร ทำให้เซลล์เหล่านั้นเกิดการแขวนลอยตัวในอาหาร, เซลล์โปรโตพลาสต์ หรือ โพรโทพลาสต์ (Protoplast) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ไม่มีผนังเซลล์ (Cell Wall) โดยจะใช้เอนไซม์ในการย่อยผนังเซลล์ออกไปหรือใช้วิธีกลในการแยกเอาผนังเซลล์ออกมา เป็นต้น

- การใช้ระดับของปัจจัยต่างๆหรือเงื่อนไขต่างๆที่ส่งผลต่อวิธีการถ่ายฝากยีน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการถ่ายฝากยีน
- การเลือกใช้ ส่วนที่ควบคุมการแสดงออกของยีน (Promoter), ยีนเครื่องหมายที่ใช้ในการคัดเลือกเซลล์หรือกลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ของพืชที่มีการแทรกยีน(Gene)เข้าในจีโนม(Genome)หรือดีเอ็นเอ(DNA)แล้ว (Selectable Marker Gene) หรือ ยีนรายงานผลของการถ่ายฝากยีน (Reporter Gene) ที่มีประสิทธิภาพสูง และโดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของเซลล์หรือกลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ของพืชที่นำมาทำการถ่ายฝากยีน
– การจัดการระบบให้ใช้ระยะเวลาที่สั้นที่สุดของเซลล์หรือกลุ่มเซลล์หรือเนื้อเยื่อของพืชเป้าหมายที่นำมาถ่ายฝากยีน ในการเพาะเลี้ยง การคัดเลือก และการพัฒนาเป็นต้น เพื่อให้ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่ต้องการซึ่งเกิดจากขั้นตอนการเพาะเลี้ยง(Somaclonal Variation) ลดลง

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

#4 | Maple | 14 ก.ย. 58 03:33 น.



ประโยชน์ทางด้านการเกษตร
- ทำให้เกิดพืชที่ให้ผลผลิตมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น (เช่น มะเขือเทศมีผลขนาดใหญ่ขึ้น), ผลมีปริมาณมากขึ้น (เช่น ปริมาณเมล็ดข้าวต่อต้นมากขึ้น), ผลมีน้ำหนักมากขึ้น (เช่น มะละกอที่มีน้ำหนักมากกว่ามะละกอปกติทั่วไป)

- ทำให้เกิดพืชที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม โดย ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกหรือเจริญเติบโตของพืช ตัวอย่างเช่น พืชที่ทนแล้ง (เช่น ข้าวทนแล้ง), พืชที่ทนต่อดินเค็ม (เช่น ข้าวทนดินเค็ม), พืชที่ทนต่อดินเปรี้ยว เป็นต้น

- ทำให้เกิดพืชที่ทนต่อศัตรูพืช เช่น พืชที่ทนต่อเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคพืช พืชที่ทนต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืช พืชที่ทนต่อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคพืช ทนต่อแมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ทนต่อยาฆ่าแมลง และทนต่อยาปราบวัชพืช

- เมื่อทำให้พืชลดการใช้สารเคมี พิษจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเกษตรกรก็ลดลง

- ทำให้เกิดพืชที่มีผลผลิตที่สามารถเก็บรักษาเป็นเวลานาน และอยู่ได้นาน ทำให้ขั้นตอนในการขนส่งสามารถขนส่งในระยะไกลโดยไม่เน่าหรือเสีย เช่น มะเขือเทศที่ถูกทำให้สุกช้า หรือถึงแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็งและกรอบ ไม่เละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค

- ทำให้เกิด พืช ผัก ผลไม้ มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น เช่น ทำให้มะเขือเทศมีวิตามินอีมากขึ้น ทำให้ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น ทำให้กล้วยมีวิตามินเอเพิ่มขึ้น เป็นต้น

- ทำให้ลดการขาดแคลนอาหารได้ เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์ให้มีผลผลิตและความต้านทานต่างๆมากขึ้น ทำให้มีผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ตอบสนองต่อความต้องอาหารที่เพิ่มมากขึ้น


ประโยชน์ด้านการพาณิชย์
- ลดขั้นตอนและระยะเวลาของการผสมพันธุ์พืช ซึ่งหากช่วงชีวิตของพืชที่ต้องการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีเดิมยาวนานกว่าจะได้ผล และต้องทำการคัดเลือกพันธุ์อยู่หลายครั้ง การทำ GMOsทำให้ขั้นตอนนี้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้นกว่าเดิมมาก

- ทำให้เกิดพืชพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ในการพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพวกไม้ประดับที่มีรูปร่างแปลกกว่าเดิม มีขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม (เช่น กุหลาบสีน้ำเงิน) หรือมีความคงทนกว่าเดิม
ประโยชน์ต่อด้านการอุตสาหกรรม

- หากทำพืช GMOs ให้สามารถลดการใช้สารเคมี และช่วยให้มีผลผลิตมากขึ้นกว่าเดิม  ทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลงและเวลาที่ใช้ก็ลดลงด้วย วัตถุดิบที่ได้มาจากภาคการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์ จึงมีราคาถูกลง

- มี GMOs หลายชนิดที่ไม่ใช่พืช ที่ใช้กันอยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตน้ำผักผลไม้ หรือ เอนไซม์ ไคโมซิน (Chymosin) ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก GMOs และทำมาเป็นเวลานานแล้ว ทำให้ลดทั้งต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลง


ประโยชน์ต่อด้านการแพทย์
- การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดต่างๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs ช่วยแทบทั้งสิ้น อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ำนมวัวที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนหรือตัวยาที่จำเป็นต่อมนุษย์

- ช่วยลดการขาดแคลนยาหรือวัคซีนได้มากขึ้น เพราะ GMOs สามารถช่วยเพิ่มการผลิตสิ่งเหล่านี้ให้เพิ่มขึ้นได้
ประโยชน์ต่อด้านสิ่งแวดล้อม
- หากทำพืช GMOs ให้สามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง จำนวนการใช้สารเคมีชนิดต่างๆเพื่อการปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อยลงจนอาจถึงไม่ต้องใช้เลยก็ได้ ทำให้มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสารเคมีลดลง
- ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น เนื่องจากยีนที่มีการแสดงออกที่มีประโยชน์ถูกเลือกให้รับโอกาสในการแสดงออกในสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมากขึ้น




ปัญหาด้านของความเสี่ยงต่อผู้บริโภค
- ปัญหาเรื่อง อาจมีสิ่งอื่นเจือปนที่ทำให้เกิดอันตรายจากสารอาหารที่ได้จากจีเอ็มโอ(GMOs) ได้ เช่น เคยมีข่าวว่า คนในสหรัฐอเมริกาเกิดการล้มป่วยและเสียชีวิตเกิดขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภค กรดอะมิโน L-Tryptophan ซึ่งเป็นสารอาหารที่ได้จากจีเอ็มโอ(GMOs)โดยเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Showa Denko แต่ความจริงแล้วจีเอ็มโอ(GMOs) ไม่ได้เป็นสาเหตุของอันตราย แต่เกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการหลังการทำให้บริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ โดยในขั้นของการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) มีความบกพร่องจนมีสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการเหลืออยู่

- ปัญหาเรื่อง จีเอ็มโอ(GMOs)อาจเป็นพาหะของสารที่เป็นอันตรายได้ อย่างในการทดลองของ Dr.Pusztai ได้ทำการทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มีสารเลคติน(lectin)เจือปนอยู่ แล้วผลออกมาว่าหนูมีภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงลำไส้ของหนูมีลักษณะบวมอย่างผิดปกติ นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากวิจารณ์การทดลองนี้ว่า มีความบกพร่องในการออกแบบการทดลองรวมถึงในวิธีการทดลอง ซึ่งเชื่อว่าต่อไปจะมีการทดลองที่รัดกุมมากขึ้น และมีคนกังวลว่าดีเอ็นเอ (DNA) จากไวรัสที่ใช้ในการทำจีเอ็มโอ(GMOs) อาจเป็นอันตรายได้

- ปัญหาเรื่อง อาจมีสารบางอย่างจากจีเอ็มโอ(GMOs) มีไม่เท่ากับปริมาณสารปกติในธรรมชาติ (สารที่ไม่ได้เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมแล้วใส่ยีน(gene)ที่จะผลิตสารนั้นโดยตรงลงไป) อย่างมีรายงานว่าถั่วเหลืองที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมมีสาร isoflavone {เป็นสารจำพวก phytoestrogen [ซึ่งคล้ายสารจำพวกฮอร์โมนเอสโตรเจน(estrogen)ในคน]} มากกว่าถั่วเหลืองในธรรมชาติเล็กน้อย ซึ่งยังไม่แน่ใจว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จีเอ็มโอ(GMOs) หรือเปล่า โดยเฉพาะในเด็กทารก

- ปัญหาเรื่อง อาจการเกิดสารภูมิแพ้(allergen)ซึ่งอาจได้มาจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นแหล่งเดิมของยีน(gene)ที่นำมาใช้ทำจีเอ็มโอ(GMOs)นั้น อย่างการใช้ยีน(gene)จากถั่ว Brazil nut มาทำจีเอ็มโอ(GMOs)เพื่อเพิ่มคุณค่าของโปรตีนในถั่วเหลืองให้มากขึ้นสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ก่อนที่จะออกจำหน่ายพบว่าจีเอ็มโอ(GMOs)ที่เป็นถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ได้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut ทางบริษัทจึงได้ระงับการพัฒนาและการจำหน่ายจีเอ็มโอ(GMOs)ชนิดนี้ แต่ถึงอย่างนั้นพืชจีเอ็มโอ(GMOs)ชนิดอื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ อย่างพวก ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้มีการประเมินแล้วว่า มีอัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ

- ปัญหาเรื่อง ความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ อย่างใน วัว หมู ไก่ รวมถึงสัตว์ชนิดอื่นที่จะได้รับ recombinant growth hormone ทำให้อาจมีคุณภาพที่ไม่เหมือนจากในธรรมชาติ และอาจมีสารตกค้าง โดยไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งในระบบสรีระวิทยาของสัตว์นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าทั้งของในพืชและจุลินทรีย์ อาจมีผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้จากการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ ซึ่งอาจมีสารพิษอื่นๆที่ไม่ต้องการตกค้างได้ ทำให้ในการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง ต้องมีการพิจารณาของขั้นตอนในการประเมินในด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่าการตัดต่อพันธุกรรมในจุลินทรีย์และพืช

- ปัญหาเรื่อง การดื้อยาในการทำจีเอ็มโอ(GMOs)จะใช้ selectable marker ที่มักเป็นยีน(gene)ที่สร้างสารต้านยาปฏิชีวนะ (antibiotic resistance) ในจีเอ็มโอ(GMOs)อาจมีสารต้านยาปฏิชีวนะอยู่ ซึ่งถ้าผู้บริโภคจีเอ็มโอ(GMOs)กำลังอยู่ระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล โดยเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์บอกว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีน้อยและสามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ และถ้าหากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีตามปกติในร่างกายเกิดได้รับ marker gene เข้าไปในส่วนดีเอ็นเอ(DNA)ของมัน อาจทำให้เกิดจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ที่อาจดื้อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บอกว่ามีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ได้คิดหาวิธีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ selectable marker ที่เป็นสารต้านยาปฏิชีวนะ หรือนำยีน(gene)ในส่วนที่สร้างสารต้านปฏิชีวนะออกไปก่อนเป็นจีเอ็มโอ(GMOs)เป็นผลิตภัณฑ์เต็มตัว

- ปัญหาเรื่อง อาจมีส่วนของยีน(gene)จำพวก 35S promoter และ NOS terminator ที่อาจมีอยู่ในเซลล์ของจีเอ็มโอ(GMOs)ซึ่งอาจจะไม่ถูกย่อยในส่วนของกระเพาะอาหารและส่วนของลำไส้ แล้วเข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานจีเอ็มโอ(GMOs)เข้าไป แล้วอาจทำให้มีการ active ของสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น มีผลอาจทำให้ยีน(gene)ของคนที่รับประทานเข้าไปเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่จากผลการทดลองที่ผ่านๆมาได้มีการยืนยันว่า มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก

- ปัญหาเรื่อง บางสิ่งเล็กน้อยที่ต้องระวัง เช่น เด็กทารกซึ่งอาจย่อยดีเอ็นเอ(DNA)ในอาหารได้ไม่สมบูรณ์หากเทียบกับผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กทารกมีระบบทางเดินอาหารที่สั้นกว่าของผู้ใหญ่ แต่อาจทำให้เกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป
ปัญหาด้านของความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม


- ปัญหาเรื่อง สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช อาจกระทบถึงแมลงและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น Bt toxin ที่มักใส่ในจีเอ็มโอ(GMOs) อย่างผลการทดลองของ Losey มหาวิทยาลัย Cornell ได้ศึกษาผลกระทบของสารฆ่าแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis (บีที) ในข้าวโพดตัดต่อพันธุกรรมที่มีต่อผีเสื้อ Monarch ในการทดลองนี้ทำในสถานที่ทดลองภายใต้สภาวะเงื่อนไขที่ Stress โดยให้ผลเพียงในขั้นต้นเท่านั้น ซึ่งต้องมีการทดลองในภาคสนามอีกเพื่อให้ได้ผลที่มีนัยสำคัญ ก่อนที่จะมีการสรุปผลและมีการนำไปขยายความต่อไป

- ปัญหาในเรื่อง การนำจีเอ็มโอ(GMOs)ออกสู่สิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยอาจมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งอาจทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นเหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติมากจนกลืนสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติให้หายไปหรือสูญพันธุ์ไป หรืออาจเกิดลักษณะเด่นอะไรบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ที่ไม่ต้องการ หรืออาจทำให้ศัตรูพืชดื้อต่อสารเคมีปราบศัตรูพืช อาจทำให้เกิด “สุดยอดแมลง(super bug)” หรือ “สุดยอดวัชพืช(super weed)”ได้
ปัญหาด้านของเศรษฐกิจและสังคม


- ปัญหาในเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องวิทยาศาสตร์ เช่น การผูกขาดทางสินค้าจีเอ็มโอ(GMOs)ของบริษัทเอกชนที่จดสิทธิบัตรเกี่ยวกับจีเอ็มโอ(GMOs)นั้น ทำให้ในอนาคตอาจเกิดความไม่มั่นคงทางด้านอาหารได้และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป รวมถึง ปัญหาในเวทีการค้าระหว่างประเทศที่กีดกันสินค้าจีเอ็มโอ(GMOs)




แก้ไขล่าสุด 14 ก.ย. 58 03:54 | ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google