เหตุใดมาตรฐานของ ทอท.จึงไม่เหมือนกัน ?

17 ก.พ. 59 11:42 น. / ดู 273 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
เหตุใดมาตรฐานของ ทอท.จึงไม่เหมือนกัน ?

เหลือบไปเห็นบทความ “สุวรรณภูมิของใครกันแน่?” โดย “เปลว สีเงิน” คอลัมนิสต์ ชั้นครูของวงการสื่อที่ออกมาสัพยอกคน ทอท.แล้วก็ให้ “สะดุ้ง”...พี่แกตั้งคำถามถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลว่า ตกลงแล้วสนามบินสุวรรณภูมิเป็นของใครกันแน่? ยังคงเป็นของรัฐ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทอท.หรือว่าเป็นของ "คิง เพาเวอร์"...!! ใครอยากย้อนกลับไปตามเรื่องนี้ลองหาอ่านดูครับ...
มาว่ากันเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่ตอนนี้ดีกว่า...ช่วงสองสามอาทิตย์มานี้ก็เล่นส่งครามกันบนสื่อแล้วแต่ใครมีกำลังมากกว่ากัน...เชื่อว่าผู้อ่านหลายคนที่ตามเรื่องนี้คงเห็นกันอยู่...สื่อไหน...เขียนกันยังไง...ตรองดูกันคงอ่านเกมส์ไม่ยาก...

เรื่องของเรื่องรัฐบาลไทยชักชวนให้เอกชนไทยและต่างชาติช่วยกันลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกลุ่มค้าปลีกไทยและต่างชาติก็เลยอยากทำร้านค้าปลอดอากรในเมือง (ดาวน์ทาว ดิวตี้ฟรี)...เพราะเห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี...ปี 2559 การท่องเที่ยวก็หวังจะมีถึง 30 ล้านคน...แต่มันทำไม่ได้เพราะจุดตายของธุรกิจนี้คือ “จุดส่งมอบสินค้าปลอดอากร” หรือ ... Pick up Counter….

ที่เป็นประเด็นอยู่ตอนนี้ก็น่าจะที่สนามบินสุวรรณภูมิ...ซึ่งตกอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทาน ระหว่าง ทอท.กับ "คิง เพาเวอร์"…

โดยปกติวิสัยของสนามบินนานาชาติในประเทศอื่นๆ...เขาแยกพื้นที่แบบนนี้คือ...ร้านค้าปลอดอากร (เปิดประมูล)...พื้นที่เชิงพาณิชย์ (เปิดประมูล)...และจุดส่งมอบสินค้าหรือ Pick up Counter ซึงจะบริหารงานโดย กรมศุลกากร หรือ เปิดประมูลให้คนอื่นมาบริหารก็ได้...

ทีนี้มาดูสนามบินนานาของไทย อยู่ภายใต้การบริหารของ บ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.)...เอาที่สนามบินสุวรรณภูมิ...ในส่วนของร้านค้าปลอดอากร...ไม่มีการประมูล...บอร์ด ทอท. เมื่อปี 2547 อนุมัติให้ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดำเนินการเพียงรายเดียว (ด้วยข้ออ้างหรือเหตุผลอะไรคงต้องตามไปถามบอร์ด ทอท.ยุคนั้น)...ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์ มีการเปิดประมูล และ คิง เพาเวอร์ เป็นผู้ชนะการประมูล...ส่วนจุดส่งมอบสินค้า...นั้นไม่ได้มีการแยกออกมาจากพื้นที่ 2 ส่วนนั้น...จึงไม่ได้มีการเปิดประมูล...แต่ ทอท.ก็ตีความว่าเป็นกิจการอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบินและร้านค้าปลอดอากร...ดังนั้น Pick up Counter ที่สนามบินสุวรรณภูมิก็เลยตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่...บริษัท คิง เพาเวอร์...เป็นผู้ชนะประมูล...ดังนั้น มองตรงนี้คงไม่ผิดถ้าจะบอกว่า.... Pick up Counter…อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทาน...

แต่สิ่งที่ต้องตั้งคำถามกับ..ทอท.คือทำไมมาตรฐานการดำเนินการเรื่อง Pick up Counter….และการจัดการพื้นที่ของแต่ละสนามบินนานาชาติภายใต้การกำกับของ ทอท.จึงแตกต่างกัน...เช่น กรณีของสนามบินดอนเมือง...หลังจากที่กลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง...ร้านค้าปลอดอากร...มีการเปิดประมูล (คิง เพาเวอร์ชนะประมูล)...พื้นที่เชิงพาณิชย์...มีการเปิดประมูล (เดอะมอลล์ชนะประมูล)...ส่วน Pick up Counter ทอท.นำไปแนบกับการการประมูลร้านค้าปลอดอากร คือใครชนะประมูลร้านค้าปลอดอากร ก็ได้ Pick up Counter ไปด้วย...และ ทอท.ก็กำหนดในสัญญาว่าห้ามผู้ที่ได้พื้นที่เชิงพาณิชย์ นำพื้นที่ไปทำ... Pick up Counter ...!! อ้าว...ทำไมไม่ตีความว่าเป็นกิจการอื่นๆ เหมือนที่สนามบินสุวรรณภูมิ...????

ที่นี้มาดูที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต...ทอท.จัดการพื้นที่แบบนี้...คือ ร้านค้าปลอดอากร ทอท. อนุญาตให้ คิง เพาเวอร์ ดำเนินการเพียงรายเดียว...พื้นที่เชิงพาณิชย์...มีการเปิดประมูล แต่ตอนนี้ยังไม่มีการประกาศผล... Pick up Counter…มีการเปิดประมูล..และ คิง เพาเวอร์...เป็นผู้ชนะประมูล..และ ทอท..ก็ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าผู้ชนะประมูล Pick up Counter จะต้องให้บริการกับร้านค้าปลอดอากรในเมืองทุกแห่งใน จ.ภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง....!!อันนี้ยิ่งแตกต่างไปจาก 2 แห่งแรกอีก...ทำไมสัญญานี้ดูเหมือนว่า Pick up Counter มีความสำคัญมาก...ทำไม ทอท.จึงได้เพิ่งคิดได้ว่า..... Pick up Counter…นั้นมีความสำคัญ..??

ผู้อ่านแปลกใจไหมครับ...ทำไมมาตรฐานของ ทอท.ถึงไม่เหมือนกัน...คราวหน้าผมจะลองถามผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญมาอธิบายตรรกของ “ทอท.” ดูว่าเหตุใดจึงออกมาแบบนี้...

โดย..อนันตเดช พงษ์พันธุ์ บรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจ แนวหน้า
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8.1

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google