ซื้อทรัพย์ NPA ของธนาคาร

30 มี.ค. 59 13:32 น. / ดู 248 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ทรัพย์ NPA คืออะไร ?

ทรัพย์ NPA คือทรัพย์ที่ธนาคารซื้อมาจากการขายทอดตลาดทรัพย์ เป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาเป็นหลักประกันการกู้เงินและหลุดจำนอง หรือทรัพย์ที่ธนาคารได้มาจากการตีโอนชำระหนี้ โดยทรัพย์นั้นธนาคารหรือสถาบันการเงินไม่สามารถได้รับประโยชน์ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเรียกว่าเป็นทรัพย์ NPA (Non Performing Asset)
ซึ่งในแง่กฏหมาย ธนาคารต้องขายทรัพย์ดังกล่าวภายในกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่ได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์นั้นๆ 
ข้อดีของทรัพย์ NPA

1.    ทรัพย์มีเอกสิทธิที่ถูกต้อง
โดยทั่วไปทรัพย์หรือบ้านที่ผู้กู้นำมาเป็นหลักประกันการกู้เงินต้องผ่านกระบวนการประเมินราคาหลักประกันมาแล้ว

2.    ทรัพย์ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีในระดับหนึ่ง
เพราะผ่านการเลือกซื้อจากเจ้าของทรัพย์เดิมมาแล้ว ยิ่งหากเป็นทรัพย์ประเภทอาคารพาณิชย์ยิ่งอยู่ในทำเลดี เพราะมิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำมาเป็นหลักประกันการกู้เพื่อทำธุรกิจได้

3.    ราคาถูกกว่าราคาตลาด
สาเหตุที่ราคาถูกกว่าเป็นเพราะธนาคารมีความจำเป็นต้องขายทรัพย์ในกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงทำให้การบอกขายอยู่ในระดับที่ถูกกว่าราคาตลาดโดยทั่วไปอยู่บ้าง

ต้องการทรัพย์ NPA ต้องทำอย่างไร ?

ผู้ที่ต้องการทรัพย์ประเภทนี้นั้น ก่อนอื่นควรพิจารณาความต้องการของตนเองเสียก่อน ว่าต้องการซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้เพื่อเก็งกำไร หรือซื้อเพื่อนำไปพัฒนาทรัพย์เพื่อการธุรกิจ
ต่อมาที่ควรคำนึงถึงคือ ต้องการทรัพย์ประเภทใด บ้าน ทาวเฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม หรือที่ดินว่างเปล่า
ถัดมาคือ ต้องการทรัพย์ราคาเท่าไหร่ และสุดท้ายตั้งอยู่ทำเลใด

เมื่อทราบความต้องการดีแล้ว ให้ติดต่อไปยังผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเหล่านี้

1.    ติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่ธนาคารที่ดูแลและทำหน้าที่การขายทรัพย์โดยตรง

2.    ติดต่อผ่านเว็บไซต์ของธนาคารเพื่อการขายทรัพย์ NPA   

3.    ติดต่อผ่านงานนิทรรศการขายทรัพย์ NPA

การซื้อทรัพย์ NPA นอกจากจะดูให้ตรงตามความต้องการ เงื่อนไขพิเศษต่างๆแล้ว จะเป็นต้องดูสภาพของทรัพย์ด้วยว่าต้องนำไปพัฒนาต่ออย่างไร นอกจากความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์แล้ว ควรจะต้องต่อรองราคาให้เหมาะสมกับสภาพของสินทรัพย์ด้วย

ที่มา : www.home.co.th
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google