เอามาฝากคนทำอุตสาหกรรม-วิศวะ กับวิธีติดตั้ง 'เครื่องควบคุมอุณหภูมิ' ให้ใช้ดีใช้ทน

11 เม.ย. 59 15:58 น. / ดู 825 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
เครื่องคุมอุณหภูมิ Temperature Controller ก็คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิแบบอัตโนมัติ เราจึงไม่ต้องมีคนคอยเฝ้าดูอุณหภูมิ ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น การควบคุมอุณหภูมิของกาต้มน้ำไฟฟ้า ซึ่งจะทำความร้อนให้ถึง 100⁰C ให้เองโดยอัตโนมัติ
เครื่องนี้ก็มีตั้งแต่ราคาหลักพันต้นๆ จนสูงถึงหลักหมื่นเลยแน่ะ ใครที่มีความจำเป็นต้องเฉียดใกล้ก็ควรต้องรู้เรื่องรายละเอียดตั้งแต่วิธีการติดตั้ง ทั้งเพื่อความเที่ยงตรงของอุณหภูมิในงาน และเพื่อให้เครื่องมีอายุใช้งานยาวนานด้วย



ตัวอย่างเครื่อง Temperature Controller รุ่นต่างๆ
ขอบคุณภาพจาก https://www.factomart.com/th/level-.........controller.html


โดยปัจจัยหลักๆ ที่ควรเช็คเมื่อติดตั้งก็มีดังนี้


การเจาะรูยึดตัวควบคุมอุณหภูมิ Panel Cut Out
ตรงนี้สำคัญมาก เนื่องจากจะทำให้โครงสร้างของ Temperature Controller ไม่บิดเบี้ยว ทนต่อแรงสั่นสะเทือน และสามารถระบายความร้อนภายในตัวได้ดี ทั้งยังสะดวกต่อการเดินสายไฟและซ่อมบำรุง ซึ่งโดยปกติแล้ว Panel Cut Out นั้นจะถูกระบุไว้ที่คู่มือของตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่แล้ว


ตัวอย่าง ขนาดของ panel cut out และการเว้นระยะห่างจากตัวควบคุมอุณหภูมิของ Autonics TK Series


สัญลักษณ์บนตัวควบคุมอุณหภูมิ Symbol
ส่วนนี้จะช่วยให้ Temperature Controller ทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดการผิดพลาดขณะทำงาน หรืออ่านค่าผิด และยังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับคอนโทรลเลอร์ เช่น การลัดวงจร หรือภาครับอินพุตเสียหาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำ โดยดูตามรูปด้านล่าง สามารถอธิบายถึงสัญลักษณ์ต่างๆ เป็น 10 ส่วนดังนี้


สัญลักษณ์บนตัวควบคุมอุณหภูมิของ Autonics TK Series

1. Source
เป็นขาที่ใช้สำหรับต่อไฟเลี้ยงให้กับตัวควบคุมอุณหภูมิ โดยตามรูปจะใช้ไฟ AC 100~240VAC สำหรับบางรุ่นอาจจะใช้ไฟเลี้ยงแบบ DC ดังนั้นต้องสังเกตตรงส่วนนี้ให้ดี

2. Input Signal
เป็นขาที่ใช้ในการรับสัญญาณตัวเซ็นเซอร์ หรือสัญญาณอนาล็อกต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่ 4 แบบ คือ Thermocouple, RTDs, Voltage และ Current ตรงจุดนี้จะเน้นเรื่องของขั้วในการต่อให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้อ่านค่าผิดพลาด

3. Out 1
เป็นขาสัญญาณเอาท์พุตหลักที่ใช้การควบคุมโหลด ไม่ว่าจะตั้งค่า Control Action เป็นแบบ Heat Control หรือ Cool Control โดยสัญญาณเอาท์พุตที่ขานี้จะมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการ Control เช่น PID, P, On-Off Control ซึ่งบางครั้งหลายๆ คนเข้าใจผิดเรื่องลักษณะของสัญญาณที่ควรจะต้องออกมาเป็นเชิงเส้น ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ แต่ขึ้นอยู่กับผลการคำนวณมากกว่า โดยประเภทของสัญญาณเอาท์พุตสามารถเลือกได้หลายประเภท ตามรูปจะมีสัญญาณที่เป็น Relay, SSR, Current

4. Out 2
เป็นขาสัญญาณเอาท์พุตที่ใช้การควบคุมโหลดเหมือนกับ Out 1 แต่จะมีให้หรือทำงานก็ต่อเมื่อเราเลือกการควบคุมเป็นแบบ Heat/Cool Control ตัวขานี้จะทำหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้ทำความเย็น เช่น พัดลม วาล์วน้ำเย็น

5. AL1 Out  หรือ Alarm/Event
สำหรับตัวควบคุมอุณหภูมินั้น จะทำงานตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนด เช่น ตั้งค่าเป็น Alarm High 50⁰C เมืออุณหภูมิ PV มีค่าเกิน 50⁰C ก็จะทำให้หน้าคอนแท็กของเอาท์พุทนี้ทำงาน

6. AL2 Out  หรือ Alarm/Event
เป็น Alarm Output อีกตัวที่ทำงานเหมือน AL1 ซึ่งสำหรับตัวควบคุมอุณหภูมินั้น จะทำงานตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนด เช่น ตั้งค่าเป็น Alarm Low 100⁰C เมืออุณหภูมิ PV มีค่าต่ำกว่า 100⁰C ก็จะทำให้หน้าคอนแท็กของเอาท์พุทนี้ทำงาน

7. Current Transformer
เป็นขารับสัญญาณอินพุตจากตัวหม้อแปลงชนิดพิเศษที่ต่ออยู่กับ Heater เพื่อคอยวัดกระแสที่ขดลวดความร้อน เพื่อตรวจสอบว่า Heater ขาดหรือไม่ โดยอินพุตชนิดนี้จะถูกใช้เป็น Alarm Function สำหรับควบคุมอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพสูง

8. Transmission Output 4~20mA
เป็นขาสัญญาณเอาท์พุต ที่ใช้ในการส่งสัญญาณอนาล็อกที่เป็นกระแส 4~20mA ไปยังตัวคอนโทรเลอร์อื่นๆ หรือตัวบันทึกข้อมูล เช่น  Recorder โดยค่าที่ส่งออกมาจะมีความสัมพันธ์กับค่าของ PV

9. Communication Output RS-485
เป็นขาที่ใช้ในการสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น PLC, HMI ซึ่งจะใช้สำหรับส่งข้อมูลระหว่างกัน โดยบางแบรนด์ เช่น Autonics, Enda จะมีตัวโปรแกรมสำหรับติดตั้งบน PC เพื่อดึงข้อมูลจากตัว Temperature Controller มาเก็บหรือวิเคราะห์

10. Digital Input
เป็นขาอินพุตที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมตัวควบคุมอุณหภูมิ เช่น เมื่อเราต่อ Switch ที่ขานี้แล้วตั้งค่าให้เป็น คำสั่งเริ่มทำงาน หรือหยุดทำงาน หรือตั้งค่าให้เป็นการเปลี่ยนค่า SV ก็ได้


การต่อวงจรของตัวควบคุมอุณหภูมิ
ในการเชื่อมต่อวงจรของตัวควบคุมอุณหภูมิกับอุปกรณ์ภายนอกนั้นมีอยู่ไม่กี่รูปแบบ เช่น การต่อกับ Magnetics Contactor (MC) เพื่อควบคุมขดลวดความร้อน ควรจะต่อตัวเก็บประจุแบบไมล่าขนาด 0.1uF 630V เพื่อลดความรุนแรงในกรณีเกิดการลัดวงจรที่สายไฟ A ซึ่งจะเกิด EMF นอกจากนี้กรณีที่ภาคเอาท์พุตต่อกับ SCR, SSR ในส่วนที่เป็นโหลดนั้นควรต่อฟิวส์เพื่อป้องกันการลัดวงจรไว้ด้วย


การต่อวงจรของตัวควบคุมอุณหภูมิกับ Magnetics Contactor


การต่อวงจรของตัวควบคุมอุณหภูมิกับ SSR, SCR

เหล่านี้เป็นคำแนะนำการติดตั้ง Temperature Controller จาก https://www.factomart.com/ แต่อย่างไรก็ตาม มันยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆอีก เพราะการใช้งานเครื่องนี้ก็มีหลายประเภทงานต่างกันไป ก็ต้องอาศัยประสบการณ์ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญควบคู่ไปด้วยจ้า
แก้ไขล่าสุด 11 เม.ย. 59 16:00 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google