อธิบายขยายความเรื่องของน้ำมันถ้าจะมันหยด

27 เม.ย. 59 17:30 น. / ดู 535 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ตามที่ รองศาสตราจารย์ทวี ผลสมภพ ได้นำเสนอบทความผ่านคอลัมน์ ]น้ำมันถ้าจะมันหยด! [อ่านได้ตามลิ้งค์
http://www.matichon.co.th/news/113707]  เผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 21 เมษายน 2559 นั้น ปตท.ขอขอบคุณสำหรับข้อสังเกตในประเด็นต่างๆ และพร้อมรับฟังเพื่อชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องของรักษาการประธานผู้ตรวจการแผ่นดินนั้น ปตท.ได้เผยแพร่การชี้แจงผ่านทาง www.pttplc.com และ facebook : pttnews ดังนั้น จึงขอชี้แจงในส่วนที่เกี่ยวกับราคาน้ำมัน ดังนี้
“ประเทศไทยมีปริมาณน้ำมันดิบน้อยมากในอันดับที่ 48 เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในโลก แต่เรากลับใช้น้ำมันในปริมาณมากเป็นอันดับที่ 18 มากกว่าที่ผลิตได้


ดังนั้น จึงต้องนำเข้าเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ เป็นปริมาณถึง 85% ของปริมาณการใช้ทั้งหมด เป็นมูลค่าเก้าแสนกว่าล้านบาทต่อปี ประเทศไทยจึงเป็นนับเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน (net importer)

http://www.matichon.co.th/wp-conten.........68x576.jpg[/img

“น้ำมันถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) ที่มีการซื้อขายกันทั่วโลก ถึงแม้ไทยจะมีโรงกลั่นในประเทศ แต่ก็ไม่สามารถตั้งราคาน้ำมันสำเร็จรูปเองได้ เพราะน้ำมันดิบที่ใช้ในการกลั่น มาจากการนำเข้าเป็นหลักด้วยราคาตลาด เมื่อกลั่นได้น้ำมันสำเร็จรูป จึงต้องตั้งราคาขายที่อ้างอิงจากราคาตลาด และตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียก็คือตลาดสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้ค้าน้ำมันมากกว่า 325 บริษัท ทำการซื้อขายกัน ราคาตลาดสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาที่กำหนดขึ้นโดยประเทศสิงคโปร์ หรือราคาขายที่สถานีบริการในสิงคโปร์ แต่เป็นราคากลางที่ถูกกำหนดโดยกลไกตลาดที่ผู้ค้าน้ำมันตกลงซื้อขายกัน

“ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ

1.เนื้อน้ำมันที่มาจากโรงกลั่น ซึ่งมีอัตราส่วนมากที่สุดประมาณ 60%

2.ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในอัตราส่วน 35%

3.ค่าการตลาด ในอัตราส่วน 5% ซึ่งยังไม่ใช่กำไร เพราะยังต้องหักค่าบริหารจัดการของสถานีบริการ

ดังนั้น ราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปของประเทศไทยจึงไม่สามารถเปรียบเทียบกับมาเลเซียได้ เพราะโครงสร้างราคาแตกต่างกัน เพราะประเทศมาเลเซียเป็นประเทศส่งออกน้ำมันเป็นหลัก รัฐบาลจึงมีรายได้สามารถอุดหนุนราคาโดยไม่ต้องเรียกเก็บภาษีหรือกองทุนฯ ซึ่งปัจจุบันมาเลเซียกำลังพิจารณายกเลิกเพื่อลดภาระการเงินของประเทศ



“ปตท.ในฐานะบริษัทพลังงานของไทย กำหนดราคาอย่างสมดุลระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบสถานีโดยมีค่าการตลาดเฉลี่ยเพียง 1.50 บาทต่อลิตร ซึ่งเมื่อเทียบกับผู้ค้ารายอื่น ปตท.ปรับขึ้นช้ากว่าผู้ค้ารายอื่น 15 ครั้ง ครั้งละ 1-10 วัน รวมทั้งหมด 33 วัน (ปี 2558)
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google