ไขปัญหา`อาหารหมดอายุ` กินได้หรือไม่

13 มิ.ย. 59 19:33 น. / ดู 471 ครั้ง / 1 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
สวัสดีครับทุกคนวันนี้เว็บ16Laoอาสานำข้อมูลที่ใครๆหลายคนยังสังสัยกันอยู่มาฝากกันเกี่ยวกับ อาหารหมดอายุกินได้หรือไม่ ซึ่งสังคมปัจจุบันผู้คนเร่งรีบ แข่งขัน จึงทำงานกันอย่างขะมักเขม้นชนิดที่ไม่ลืมหูลืมตา จนบางครั้งอาจหลงหยิบอาหารเข้าปากแบบไม่ทัน “อ่านฉลาก” วันดีคืนดีจึงพบว่า “หมดอายุ” ไปแล้ว หรือบางคนกินเพราะเห็นว่าหน้าตาอาหารยังดูดี ไม่มีทีท่าว่าจะ “บูดเสีย”แต่ใครจะรู้บ้างว่า “อาหารหมดอายุ” จริงๆ แล้ว “กินต่อได้ไหม...หรือทิ้งไปดีกว่า”
          ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำจำกัดความของ “อาหารหมดอายุ” กันก่อนเลยครับผม โดย ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า ตามประกาศฉบับที่ 367การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ “หมดอายุ” หมายถึง วันที่ซึ่งแสดงการสิ้นสุดของคุณภาพของอาหารภายใต้เงื่อนไขการเก็บรักษาที่ระบุไว้ และหลังจากวันที่ระบุไว้ อาหารนั้นวางจําหน่ายไม่ได้ และ “ควรบริโภคก่อน” หมายถึงวันที่ซึ่งแสดงการสิ้นสุดของช่วงเวลาที่อาหารนั้นยังคงคุณภาพดี ภายใต้เงื่อนไขการเก็บรักษาที่ระบุไว้ และหลังจากวันที่ระบุไว้ อาหารนั้นวางจําหน่ายไม่ได้ สำหรับอาหารที่บังคับใช้คำว่า “ควรบริโภคก่อน” โดยทั่วไปตามประกาศเป็นอาหารพร้อมบริโภค เช่น ขนม เครื่องดื่ม ซึ่งคำนิยาม คืออาหารที่สามารถทานต่อได้ในระยะหนึ่งหลังจากถึงวันที่ระบุแล้ว ไม่เป็นอันตราย แต่มีรสชาติที่ผิดเพี้ยนไป รวมทั้งคุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง ดังนั้นขึ้นอยู่กับผู้บริโภคที่ต้องพิจารณาด้วยตัวเองว่าควรจะเก็บไว้อีกนานเท่าใด ส่วนคำว่า “หมดอายุ” เป็นประกาศเฉพาะอาหารที่บังคับใช้ ได้แก่ อาหารประเภทนมดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งคำนิยาม คือหลังจากวันที่ระบุแล้วห้ามรับประทาน เพราะอาจเป็นอันตราย
อย่างไรก็ตามหากพบอาหารทั้ง 2 กลุ่มนี้วางขายอยู่บนชั้นวางทั้งๆ ที่เลยวันที่ระบุบนฉลากมาแล้วถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้จากกระแสที่ว่า “อาหารหมดอายุแล้วยังกินต่อได้” เป็นคำพูดสั้นๆ ที่เผยแพร่ทั้งทางสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ หรือกระแสข่าวต่างประเทศเปิดร้านขายอาหารหมดอายุเพื่อลดปริมาณอาหารขยะนั้น บางครั้งอาจส่งผลให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดคิดว่าการรับประทานอาหารหมดอายุไม่เป็นอันตราย ดังนั้นอย่าเพิ่งปักใจเชื่อ ควรศึกษาหรืออ่านคำขยายความให้จบเสียก่อน โดย อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษาสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ไขปัญหา “อาหารหมดอายุ” ว่าอาหารที่ถูกเก็บอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นสูญญากาศ เช่น นม และอาหารกระป๋องต่างๆ การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นตัวการทำให้อาหารบูดเน่าไม่ค่อยเกิด เราจึงเห็นว่าหารประเภทนี้มีวันหมดอายุที่ยาวนาน1-2 ปี แต่ถ้าหมดอายุแล้วมักมีคำถามตามว่า “สามารถกินต่อได้หรือไม่” ซึ่งจุดสำคัญ คือเราไม่รับประกันว่ากล่องนม หรือกระป๋องที่เก็บไว้นานๆ นั้นจะโดนแสงแดด ความร้อน หรือถูกกระแทกจนแตกหรือไม่ เพราะหากมีรอยแตกจะทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของรสชาติ กลิ่นของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงคุณค่าทางโภชนาการที่ลดน้อยลง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องมีการกำหนดวันที่ “ควรบริโภคก่อน”

          ส่วนอาหารประเภท “ขนมปัง” เป็นอีกกลุ่มที่ผู้บริโภคสงสัยกันมากว่า “หากหมดอายุแล้วสามารถรับประทานต่อได้หรือไม่” ตรงนี้ต้องดูว่าการเก็บรักษาดีหรือไม่ หากเก็บในอุณภูมิห้องอยู่ได้นาน 2-5 วัน และเก็บในตู้เย็นจะอยู่ได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณการใส่สารกันบูดของขนมปังชนิดนั้นด้วย บางคนคิดว่าถึงแม้จะหมดอายุไปแล้ว 1-2 วัน แต่สภาพยังดูดีอยู่ เพราะ “เชื้อราเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น” จึงหยวนๆ รับประทานไป ซึ่งเราอาจไม่เป็นอะไรเลย แต่ถ้าปฏิบัติแบบนี้บ่อยๆ พวก “เชื้อรา” ทั้งหลายที่มันเข้าไปสะสมในร่างกาย อาจจะเกิดผลในระยะยาวได้ จึงไม่ควรเสี่ยงกินและตัดใจทิ้งไปเสียดีกว่า

          ต่อมา “ไข่ไก่” ถ้าซื้อมาแล้วสามารถเก็บได้ 2 ที่ คืออุณหภูมิห้องเก็บได้นาน 1-2 สัปดาห์ และในตู้เย็นเก็บได้นาน 3-5 สัปดาห์ หากเกินจากนี้ไข่ไก่จะไม่บูดเหมือนอาหารกระป๋อง และสามารถนำมาปรุงอาหารรับประทานได้ แต่จะไม่สดไม่หอม ไม่อร่อย และคุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง ดังนั้นไม่ควรซื้อมาตุนไว้เยอะๆ และกลุ่มสุดท้าย “ซีเรียล” เป็นธัญพืช มีคาร์โบไฮเดรตคล้ายกลุ่มขนมปัง เวลาเปิดกล่องรับประทานแล้วต้องมั่นใจว่าสามารถทานหมดภายใน 1-2 สัปดาห์ เพราะเมื่อเปิดกล่องแล้วเชื้อจุลินทรีย์จะเข้าไปทำให้เกิดเชื้อรา และมีรสชาติเปลี่ยน รวมทั้งมีกลิ่นหืน

          ดังนั้นในมุมมองของนักโภชนาการไม่แนะนำให้รับประทาน “อาหารที่หมดอายุ” แล้ว แต่จะแนะนำให้แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย 3 วิธีคือ 1.ก่อนซื้ออาหารทุกครั้งต้องอ่านฉลาก “วันหมดอายุ” หรือฉลาก “ควรบริโภคก่อน” 2.วางแผนการซื้ออาหารในปริมาณที่เราสามารถบริโภคหมดก่อนวันที่ฉลากกำหนด เช่น ซื้อตุนไว้แค่ 1-2 สัปดาห์ และ 3.พยายามนำอาหารที่ซื้อเก็บไว้มาตรวจเช็คฉลากว่าใกล้หมดอายุหรือยัง หากใกล้หมดแล้วควรรีบนำมาปรุงรับประทานก่อนที่จะหมดอายุ ถ้าเราปฏิบัติได้ตามนี้จะเป็นการ “ไม่เพิ่มขยะอาหาร” และ “ปลอดภัยต่อสุขภาพ” นั่นเองครับผม เป็นไงบ้างครับกับข้อมูลที่ทางเว็บ16Lao http://co.th.16lao.com/ นำมาฝากในวันนี้ หวังว่าจะช่วยให้หลายๆคนคลายความสงสัยกันได้บ้างนะครับ
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8.1

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | CMCPro | 15 มิ.ย. 59 13:04 น.

ขอบคุณค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google