ประวัติศาสตร์ไม่เคยตาย!!? Agora ภาพยนตร์ตีแผ่เรื่องจริง วัฒนธรรมกดหัวผู้หญิง !!?

1 ธ.ค. 59 12:28 น. / ดู 2,038 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์


ไฮปาเธีย แห่งอเล็กซานเดรีย ถูกเล่าขานว่า เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ว่า มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาวงการคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และปรัชญา ...
"ไฮพาเทีย...หญิงผู้นำพาแสงสว่างแห่ง "ความจริง" มาสู่จิตใจของผู้คน แต่ชีวิตของเธอกลับสิ้นสุดลงอย่างมืดมิดด้วยการถูกสังหารโหด!!! จาก "ความเชื่อ" ที่แตกต่าง...? ไฮพาเทียแห่งอเล็กซานเดรีย"





ภาพจาก ภาพยนตร์เรื่อง Agora



ไฮพาเทีย เกิดเมื่อ ค.ศ.370 ในเมืองที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดของอียิปต์ยุคนั้น เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ว่า มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาวงการคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และปรัชญา  ซึ่งเป็นเรื่องแปลกในสมัยก่อน ที่ผู้หญิงจะลุกขึ้นมาเป็นผู้มีความสามารถล้นเหลือ แต่ไม่ใช่สำหรับไฮพาเทีย






"นอกจากปัญญาอันหลักแหลม และสมองอันปราดเปรื่องของเธอแล้ว ปัญญาที่ฉลาดหลักแหลมแล้ว เธอยังมีบุคลิกหน้าตาที่สะสวยเป็นที่เลื่องลือไปทั่วอะเล็กซานเดรีย"







ต่อมาเธอได้เป็นครูที่โรงเรียนสอนคตินิยมแบบเพลโตในอเล็กซานเดรีย ที่นี้เธอได้สอนความรู้ของเพลโต และอาลิสโตเติล ให้กับนักเรียนของเธอรวมทั้งเพเกิน, คริสตชน และชาวต่างชาติ นอกจากนี้เธอยังเป็นบรรณารักษ์ของหอสมุดอะเล็กซานเดรียอีกด้วย





ภาพจาก ภาพยนตร์เรื่อง Agora


ทำให้เธอถูกส่งเสริมการเรียนรู้มาตั้งแต่เยาว์วัย เนื่องจากเธอเป็นธิดาของธีออน หัวหน้าผู้ดูแลห้องสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย สถานที่สะสมความรู้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในความรุ่งโรจน์ของอียิปต์






ภาพจาก ภาพยนตร์เรื่อง Agora


นอกจากงานสอนแล้ว ไฮพาเทียยังเป็นนักประดิษฐ์ตัวยง แม้ในภายหลังเอกสารและอุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ของเธอจะสูญหายไป แต่ก็พอจะมีเค้าเรื่องที่เล่าต่อกันมาว่า

ไฮพาเทียเป็นผู้คิดประดิษฐ์ เครื่องกลั่นน้ำ เครื่องวัดระดับน้ำ และที่สำคัญคือ เครื่องวัดตำแหน่งดวงดาว อันมีความสัมพันธ์กับโลก  ดวงอาทิตย์  ซึ่งนี่เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์

แต่ความรู้และคำสอนเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของคริสต์ศาสนา ซึ่งในอดีตยังไม่ค่อยเปิดรับวิทยาศาสตร์ ไฮพาเทียจึงเป็นเหมือนผู้ที่ยืนท้าทายคริสตจักร

แม่ครูสาวถูกมองว่า เป็นพวกนอกรีต โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วง ค.ศ.412 หลังจากที่ไซริลพระผู้ใหญ่ที่มีอิทธิพลสูงผู้หนึ่งได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจทาง ศาสนจักร


สิ่งที่ไซริลกระทำอย่างแข็งขัน นอกจากการเผยแผ่ศาสนาแล้ว คือการต่อสู้ทางความคิดจนเกิดการจับกุมนักปราชญ์หลายคนที่ขัดแย้งกับ ศาสนจักร ในขณะที่ไฮพาเทียตกเป็นเป้าที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ!!









และดูเหมือนว่า ความขัดแย้งจะคุกรุ่นหนักขึ้น อันเนื่องมาจากลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของเธอ คือ โอเรสเทส นักปกครองผู้มีอิทธิพลไม่แพ้หลวงพ่อไซริล

"โอเรสเทสนั้น แสดงตนเป็นผู้หนึ่งที่ขัดแย้งกับศาสนจักรอย่างรุนแรง เพราะเขาเชื่อในวิทยาศาสตร์ ตามที่ไฮพาเทียพร่ำสอน ทำให้ไซริลมองว่า ไฮพาเทีย เป็นอุปสรรค และเป็นตัวปัญหาที่ทำให้อำนาจของศาสนจักรเสื่อมถอยในเมืองอเล็กซานเดรีย"






หลัง จากความขัดแย้งลุกลามมากขึ้น ในที่สุด การงัดข้อระหว่างศาสนจักรกับฝ่ายปกครองก็ถึงจุดเดือด และผู้ที่ต้องถูกสังเวยแก่ความแตกแยกนี้คือผู้หญิงตัวเล็กๆแต่มีความคิดอัน ยิ่งใหญ่ ไฮพาเทีย ถูกพวกคลั่งศาสนาจับตัวไป เธอถูกเปลื้องผ้า ก่อนจะโดนลากประจานไปตามท้องถนนจนถึงโบสถ์แห่งหนึ่ง สถานที่ซึ่งเป็นลานกว้างที่เรียกว่า อโกร่า"Agora" ที่เปรียบเสมือนจัตุรัสกลางเมือง โดยกลุ่มชาวคริสต์หัวรุนแรง





"เธอถูกใช้แผ่นกระเบื้องเฉือนเนื้อออกทีละชิ้น...ทีละชิ้น
แล้วจากนั้น กลุ่มชาวคริสต์หัวรุนแรงจึงนำเปลือกหอยที่คมกริบกรีดลงไปบนเนื้อกายของเธอจนเธอสิ้นใจตาย
และจบลงด้วยการเผา ซึ่งไม่แน่ชัดว่า เป็นการเผาหลังจากเธอสิ้นลมไปแล้ว หรือเป็นการเผาทั้งเป็น!!!? "



แต่ที่แน่ๆไฮพาเทียก็จากโลกนี้ไปในวัยไม่ถึง 50 ปี..






"หลังจากนั้นกลุ่มชาวคริสต์หัวรุนแรงได้เผาทำลายตำราที่เธอเขียนขึ้น ไม่เหลือแม้กระทั่งภาพเขียนของเธอแม้แต่ภาพเดียว"


ถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 1,500 ปีแล้ว ที่ไฮพาเทีย จากไป แต่ความคิดของเธอยังทันสมัยเสมอ และไม่เคยมีวันไหนที่จะมีคนลืมเลือนเธอไป และการระลึกถึงไฮพาเทียที่ถือว่าเป็นกรณีที่โด่งดังมากที่สุดคราวหนึ่ง คือการ "แอบ" ใส่ความระลึกถึงเธอเข้าไปในภาพเขียนของศิลปินเลื่องชื่อ ซึ่งปัจจุบันนี้ ภาพที่ว่านี้ถูกประดับไว้อย่างสมเกียรติ ณ ใจกลางของศาสนจักร คือสถิตอยู่ในกรุงวาติกัน






เป็นที่น่าสังเกตว่า หนึ่งในภาพวาดของไฮพาเทีย ตามคำบอกเล่า ดูแล้วมีบุคลิกลักษณะคล้ายกับนาง ออง ซาน ซูจี หญิงเหล็กของชาวเมียนมาร์ ซึ่งเป็นตัวแทนเสรีภาพทางความคิดเหมือนกัน ศึกษาด้านปรัชญาเหมือนกัน และมีชะตาชีวิตคล้ายๆกันด้วย ?





นางออง ซาน ซูจี นักปรัชญาหญิงเหล็กแห่งยุค เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และเคยได้รับรางวัลซาฮารอฟสำหรับเสรีภาพทางความคิด (Sakharov Prize for Freedom of Thought) ในปี 2533










ทางด้าน วิทยาศาสตร์ ไฮพาเทียได้รับเกียรติให้นำชื่อของเธอไปตั้งเป็นชื่อดาวเคราะห์น้อยที่ถูก ค้นพบในปี ค.ศ.1884 รวมถึงทุกครั้งที่เราแหงนหน้ามองดวงจันทร์ เราก็ยังอาจจะเห็นเงาของเธออยู่บนนั้น เนื่องจากมีการตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตหลุมหนึ่งบนดวงจันทร์ว่า ไฮพาเทีย เราจึงไม่อาจจะลืมเธอได้ตลอดกาล...





จุดเริ่มต้นของ hypatia
https://m.youtube.com/watch?v=uOXKF1mb9Hc




ฉากสุดท้ายของชีวิต hypatia
https://m.youtube.com/watch?v=vyhL8FmNZHI







"เราควรได้รับการสงวนสิทธิ์ที่จะคิด แม้ว่า การคิดผิด ก็ยังดีกว่าการไม่คิดเอาเสียเลย"

                                แด่...อนุชนรุ่นหลัง  Hypatia of Alexandria










เนื้อหาจาก wikipedia, thairath, หนังสือต่วยตูน, และ PHILOSOPHER
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Android

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | lady_punk | 1 ธ.ค. 59 13:17 น.

Let the spirit of hypatia Go to Heaven forever...

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Android

#2 | haute_e | 1 ธ.ค. 59 17:13 น.

ดูเรื่องนี้หลายรอบมาก ชอบมากๆ หนังโปรดในดวงใจ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย WinXP

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google