สมาคมค้าปลีกไทย ยื่น 2 ข้อ เสนอรัฐบาลให้จัดระเบียบค้าขายออนไลน์

10 มี.ค. 60 11:04 น. / ดู 1,302 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์



หลังจากธุรกิจค้าขายออนไลน์ และอินเตอร์เน็ตเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีการแข่งขันกันสูงขึ้น และเกิดปัญหาตามมามากมายหลายเรื่ิอง
ล่าสุดมีข่าวว่า นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และทางสมาคม จึงมีข้อเสนอต่อประเด็นการค้าออนไลน์ให้ภาครัฐได้รับไว้พิจารณาด้วยกัน 2 ข้อ ได้แก่

- ประเด็นภาษี/การจดทะเบียน
- ตรวจสอบพฤติกรรมผู้ค้าออนไลน์


ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยคือ






ประเด็นภาษี/การจดทะเบียน

- มีการเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม (เช่นเดียวกับผู้ขายห้างร้าน ที่มีการเสียภาษีรายปี และออกใบกำกับภาษี / บิล )


- การจดทะเบียน ซึ่งมี 3 หลักเกณฑ์ คือ

1.จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไรก็ตาม ที่กรมสรรพากร
2.จดทะเบียนกับทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ.
3.จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์






ตรวจสอบพฤติกรรมผู้ค้าออนไลน์

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยอยากจะเรียกร้อง คือ อยากให้สำนักงานส่งเสริมแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ติดตามพฤติกรรมการค้าออนไลน์ที่สร้างความไม่เป็นธรรมอย่างใกล้ชิด และหามาตรการระงับพฤติกรรมดังกล่าวตามกลไกที่ระบุใน พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542






ขณะที่มีข้อมูลของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ขายออนไลน์ = 1,000,000  ราย
                                  และเพิ่มขึ้นมาอีก = 5,000 ราย

ขณะที่ตัวเลขการเข้าจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ = 13,000  รายเท่านั้น

คิดเป็น = 2%  (ของจำนวนผู้ขายออนไลน์ทั้งหมด)







ซึ่งข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า


ปี 2559 ตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทยมีมูลค่า = 140,000 ล้านบาท

เติบโตขึ้น = 20%

เพราะปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น นิยมการสั่งซื้อสินค้าบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างมาก














Thailand Insider News
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Android

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google