SACICT เชิญร่วมสืบสานงานหัตถกรรมไทย ไม่ให้เลือนหาย พร้อมสัมผัสผลงานหัตถศิลป์ล้ำค่า ในงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม” ครั้งที่ 8

20 เม.ย. 60 11:44 น. / ดู 650 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

        ชูแนวคิด “เล่าขานตำนานหัตถศิลป์ สู่วิถีชีวิตปัจจุบัน” ร่วมสืบสานงานหัตถรรมไทยอันทรงคุณค่า โดยเหล่าครูช่างชั้นสูงของไทย พลาดไม่ได้กับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผลงานศิลปาชีพที่คัดสรรจาก ทั่วประเทศ    พร้อมการแสดงและกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย 27 - 30 เมษายน ศกนี้ ณ แฟชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 และ ไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
        SACICT หรือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) แถลงข่าวการจัดงาน  “อัตลักษณ์แห่งสยาม” ครั้งที่ 8 ที่จัดขึ้นเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงงานเพื่อสร้างอาชีพให้แก่พสกนิกรชาวไทย พร้อมเชิดชูงานหัตถกรรมไทยที่กำลังจะสูญหาย พร้อมร่วมกันอนุรักษ์ และประยุกต์สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ไทยอันเป็นมรดกของชาติให้เข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน เพื่อให้คงอยู่คู่คนไทยรวมถึงเพื่อให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากล


        ทั้งนี้ ในการแถลงข่าว ได้รับเกียรติจาก นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เป็นประธานในการแถลงข่าว และให้ข้อมูลการจัดงาน พร้อมทั้งเรียกน้ำย่อยกิจกรรมไฮไลท์สำคัญของการจัดงานฯ ได้แก่นิทรรศการ “หัตถกรรมที่กำลังจะสูญหาย” กับการพูดคุยและชมการสาธิตงานศิลปหัตถกรรมจากครูช่างศิลป์ไทย ได้แก่ ครูเสน่ห์ แจ่มจิรารักษ์ ชาวจังหวัดนนทบุรี ครูผู้มีทักษะฝีมือในงานตะลุ่ม เตียบ พานแว่นฟ้า ซึ่งยึดแบบฉบับช่างชั้นสูง สืบทอดจากบรรพบุรุษในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงรูปลักษณ์ กรรมวิธี และภูมิปัญญาดั้งเดิม พร้อมพัฒนารูปทรงให้เหมาะกับยุคสมัย ครูวิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ ชาวจังหวัดสมุทรสงคราม ครูผู้มีทักษะฝีมือในงานเบญจรงค์ ที่มีเทคนิคการลงสีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยทักษะฝีมือที่มีความประณีต ละเอียด สวยงาม จึงทำให้แต่ละผลงานเบญจรงค์แต่ละชิ้นงานเป็นงานหัตถศิลป์ที่มีคุณค่ายิ่ง ครูดิเรก สร้อยสีดา ครูผู้มีทักษะฝีมือในงานสลักดุน  ที่มีลักษณะเด่นของการดุนโลหะแบบล้านนาเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทำเครื่องเงินและจิตกรรมฝาผนังด้านการต้องลายด้วยแผ่นอลูมิเนียม เงิน และทองแดง  พร้อมด้วยตัวแทนครูช่างศิลป์ จากกิจกรรมเวิร์คช็อป ครูวาที ทรัพย์สิน ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมที่มีความรักความภาคภูมิใจในอาชีพนายหนังและช่างแกะหนังตะลุง ซึ่งได้รับการหล่อหลอมจากคุณพ่อ พร้อมสืบทอดความรู้ศิลปะการเชิด การพากย์ การทำตัวหนัง และร่วมกันอนุรักษ์หนังตะลุงด้วยการเปิดพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังตะลุง และครูภรฎา ศรีอ่อนหล้า จากงานหนังนิ่ม ตอกลาย ตอกหมุด เจ้าของแบรนด์ Pharata  ปิดท้ายด้วยการรับชมไฮไลท์ในงานแถลงข่าวกับการแสดงชุด “หุ่นเล่าขานตำนานหัตถศิลป์ สู่วิถีชีวิตปัจจุบัน” ร่วมแสดงโดยดาราสาว มะนาว - ศรศิลป์ มณีวรรณ์ ซึ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนที่เข้าร่วมงานแถลงข่าวเป็นอย่างมาก

        นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เผยว่า        งานอัตลักษณ์แห่งสยาม จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 8 โดยเป็นที่น่ายินดีที่การจัดงานที่ผ่านมามีจำนวนผู้เข้าชมงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ นอกจากนี้ผลตอบรับในการสนับสนุนซื้อผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ที่นำมาจัดจำหน่ายภายในงาน ได้รับการตอบรับที่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน ที่ต้องการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากล

        “สำหรับการจัดงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 8 นี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เล่าขานตำนานหัตถศิลป์ สู่วิถีชีวิตปัจจุบัน”  ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมีความสอดคล้องกับพันธกิจสำคัญของ SACICT ในการสร้างคุณค่า และความงดงามของหัตถศิลป์ไทยให้สามารถดำรงอยู่ และมีการพัฒนาสอดคล้องกับวิถีชีวิตได้เสมอ หรือ Today Life's Crafts โดยมีไฮไลท์สำคัญที่สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว    ไม่ว่าจะเป็นการจัดแสดงผลงานของครูช่างศิลป์ที่กำลังจะสูญหายไป จำนวน 3 ท่าน ซึ่งถือเป็นการรวมสุดยอดผลงานหัตถศิลป์ที่หาดูได้ยากจากฝีมือของเหล่าครูช่างศิลป์ของแผ่นดิน และครูช่างศิลปหัตถกรรม เพื่อให้คนรุ่นเราทุกคนได้ร่วมภาคภูมิใจกับผลงานหัตถศิลป์ชั้นครูที่เปรียบเสมือนมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และร่วมกันรักษาความภาคภูมิใจดังกล่าวให้สืบทอด และส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป พร้อมกันนั้น ผลงาน หรือสินค้าศิลปหัตถกรรมที่จะจัดแสดงและจำหน่ายในงานครั้งนี้ ยังเลือกสรรผลงาน ที่มีความร่วมสมัย และที่สำคัญคือเหมาะสม สามารถประยุกต์เข้ากับการใช้งานในปัจจุบัน และในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว”

        “ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างชาติ มาร่วมงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม” ครั้งที่ 8 ในระหว่างวันที่ 27 - 30 เมษายน ศกนี้ ท่านจะได้ชื่นชมความอลังการของผลงานหัตถศิลป์ที่นำมาจัดแสดงอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับครูช่างศิลป์และช่างศิลป์ไทย ให้มีแรงใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่ประณีตและทรงคุณค่าของแผ่นดินไทยต่อไป” นางอัมพวัน กล่าวในตอนท้าย

        งาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม” ครั้งที่ 8 กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 27 - 30 เมษายน 2560  ณ แฟชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 และไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในเวลา 10.00 – 22.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายงานการตลาด ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)  โทร. 035 367 054 – 6 ต่อ 1376 หรือสายด่วน 1289 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.sacict.or.th หรือเฟสบุ๊คแฟนเพจ “อัตลักษณ์แห่งสยาม” และ อินสตาแกรม SIAMIDENTITY_EVENT
แก้ไขล่าสุด 20 เม.ย. 60 11:44 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google