10 ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมสำหรับการซื้อบ้านและคอนโด

20 มิ.ย. 60 12:06 น. / ดู 899 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
10 ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมสำหรับการซื้อบ้านและคอนโด


      เมื่อจะซื้อบ้านหรือ คอนโด  นอจากราคาของบ้านหรือ คอนโด แล้ว สำรองเงินไว้ส่วหนึ่งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนับตั้งแต่ทำสัญญาจนถึงการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีดังนี้
      1. เงินจอง จ่ายเพื่อยืนยันว่าจะซื้อแน่ๆ มูลค่าการจองขึ้นอยู่กับราคาของบ้านหรือคอนโด และมักเริ่มที่หลักหมื่นเป็นต้นไป

      2. เงินทำสัญญา จ่ายภายใน 7 -14 วันหลังวางเงินจอง มักเริ่มต้นที่หลักหมืนหรือหลักแสน ขึ้นอยู่กับราคาของที่อยู่อาศัยที่ตกลงซื้อ

      3. เงินดาวน์ ผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ หลังทำสัญญาแล้ว มูลค่าในแต่ละงวดเป็นไปตามที่โครงการกำหนด สำหรับคอนโดจะเริ่มดาวน์ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 10 % ของราคาจริง ส่วนบ้านจะเริ่มต้นที่ 5 % ของราคาจริง

      4. ค่าประเมินราคา จ่ายเมื่อทำเรื่องยื่นกู้ เฉลี่ยประมาณ 2,000 - 3,000 บาทต่อการประเมินแต่ละครั้ง ถ้ายื่นกู้หลายธนาคารก็ต้องจ่ายหลายรอบ และถึงกู้ไม่ผ่านก็จะไม่ได้รับเงินคืน

      5. ค่าจดจำนอง จ่ายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ อัตราปกติคือ 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง

      6. ค่าธรรมเนียมการโอน จ่ายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ อัตราปกติคือ 2% ของราคาประเมินกรมที่ดิน

      7. เงินกองทุนส่วนกลาง จ่ายเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ คิดตามขนาดพื้นที่บ้านหรือห้องชุด ทางโครงการจะนำเงินไปฝากธนาคารและนำมาใช้จ่ายเมื่อต้องบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์ส่วนกลาง

      8. ค่าประกันอัคคีภัย ถ้าซื้อโดยการกู้ยืม จะต้องทำประกันอัคคีภัยด้วยเสมอ มักเริ่มจ่ายเบี้ยประกันพร้อมเงินผ่อนชำระงวดแรก และเก็บทุกๆ 3 ปี อัตราเบี้ยประกันมาตรฐานกำหนดไว้โดยกรมการประกันภัย แต่อาจได้รับส่วนลดจากธนาคารที่ขอกู้ยืม

      9. ค่าประกันมิเตอร์ ปกติแล้วทางโครงการจะจ่ายค่าติดตั้งมิเตอร์น้ำ - ไฟให้ และเรียกเก็บภายหลังตามอัตราที่ทางราชการกำหนด

    10. ค่าประกันภัยอาคาร ในกรณีคอนโด นิติบุคคลมักทำประกันภัยอาคารไว้ ผู้ซื้อจึงต้องร่วมจ่ายค่าประกันโดยคำนวณตามสัดส่วนพื้นที่ห้องด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.cmc.co.th/CMC2017/news.php?id=729
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8.1

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google