อายุ 40 ขึ้นไป เสี่ยง“ข้อเข่าเสื่อม”

5 ส.ค. 60 07:01 น. / ดู 741 ครั้ง / 4 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากความผิดปกติของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อเข่าทั้งรูปร่าง โครงสร้าง คุณสมบัติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกบริเวณใกล้ข้อ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นทำให้ผิวข้อเสียหายไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้และอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมมีความสัมพันธ์กับอายุ โดยทั่วไปมักพบในผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี และพบว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าร้อยละ 50 อย่างไรก็ตามการเกิดข้อเข่าเสื่อมไม่ได้เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น  การเสื่อมสภาพตามวัย หรือการใช้งานข้ออย่างหนักเสมอไป อาจเป็นผลมาจากโรคหรือภาวะต่างๆ ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อมหลังจากการบาดเจ็บรุนแรง  กระดูกแตกหักถึงผิวข้อ การติดเชื้อโรคข้อทางเมตาบอลิค
    ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยง นอกจากอายุและการใช้งานข้อเข่าอย่างหนักแล้ว ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากทำให้ผิวกระดูกอ่อนต้องรับแรงกระทำที่มากตามไปด้วย ส่งผลให้กระดูกผิวข้อเสื่อมสภาพได้มากขึ้น ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกและข้อเข่ามาก่อน  ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบและรูมาติซึ่ม เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าต์ การอักเสบของข้อบ่อยๆ รวมทั้งพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า
    สำหรับอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณข้อเข่า ลุกขึ้นจากท่านั่งลำบาก ข้อขัด ฝืด ตึง มีเสียงดังกรอบแกรบเวลาขยับเข่า งอเข่าได้น้อยลง หรือเหยียดข้อเข่าได้ไม่สุด ในระยะแรกการปวดเข่ามักสัมพันธ์กับการลงน้ำหนัก การเดิน การขยับ ยกเว้นข้อเข่าเสื่อมจากโรคข้ออักเสบอาจมีอาการปวด บวม ร้อน ตลอดเวลาที่มีการอักเสบ ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมอย่างรุนแรงในระยะท้าย อาการปวดเข่าอาจเกิดได้ตลอดเวลาหรือปวดตอนกลางคืนแม้ไม่ได้มีการใช้งาน ข้อเข่าจะมีการผิดรูปเกิดอาการขาโก่งหรือขาฉิ่งได้
โรคข้อเสื่อมสามารถป้องกันหรือชะลอการเสื่อมได้โดย 1.ควบคุมน้ำหนักและลดน้ำหนัก สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่า และลดอาการปวดหัวเข่า การลดน้ำหนักต้องอาศัยการควบคุมอาหาร โดยรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย 2. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ พฤติกรรม และสภาพแวดล้อม เช่น ควรเลือกนั่งบนเก้าอี้ที่มีความสูงพอเหมาะและมีที่รองแขนเพื่อใช้พยุงตัวเวลาลุกขึ้นยืน หลีกเลี่ยงการคุกเข่า นั่งยอง นั่งกับพื้น หรือนั่งพับเพียบขัดสมาธิ การงอเข่ามากๆ ส่งผลให้มีการเสียดสีกันของข้อเข่ามากขึ้นและทำให้ข้อเสื่อมได้เร็วขึ้น การใช้ห้องน้ำควรเป็นชักโครกแบบนั่ง หลีกเลี่ยงการใช้ส้วมซึมแบบนั่งยองๆ
นอกจากนี้การรับประทานคอลลาเจนเสริมเข้าไป ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่าได้ เนื่องจากในข้อเข่าของคนเรามีปริมาณคอลลาเจนอยู่มาก เมื่อคอลลาเจนของร่างกายเสื่อมลง ข้อเข่าที่ต้องการรับน้ำหนักของร่างกายก็ทำงานหนักมาก ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมลง และบางลงเรื่อยๆ ทำให้เส้นประสาทบริเวณนั้นถูกกดทับจึงเกิดการเจ็บเมื่อได้รับคอลลาเจนเข้าไปเสริม ข้อเข่าก็จะเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กลับมามีความแข็งแรง ฟูขึ้นและยืดหยุ่นมากขึ้น เส้นประสาทจึงถูกกดทับน้อยลง จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บเข่าได้ (โดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวดและไม่มีผลข้างเคียง)
    คอลลเฮลล์คอลลาเจน CollaHealth Collagen เป็นคอลลาเจนจากปลาสกัด 100 % ซึ่งจะได้โปรตีนที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนกว่า 18 ชนิด เหมาะสำหรับวัยผู้ใหญ่ วัยรุ่นและวัยทำงานที่รักสุขภาพ บรรจุในกระป๋อง สะอาด ปลอดภัย ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนบริเวณ เอ็น ข้อต่อ หลอดเลือด ช่วยลดอาการปวดบริเวณข้อต่อ และช่วยบำรุงผิวพรรณ ให้ผิวเต่งตึงกระชับ แลดูอ่อนกว่าวัยสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก
แหล่งอ้างอิง ; http://oknation.nationtv.tv/blog/Double-Demand/2017/07/16/entry-1
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

มุมสมาชิก กระทู้ล่าสุดโดย Double_Demand

แสดงกระทู้ล่าสุดโดยเปิด มุมสมาชิก และเลือกแสดงกระทู้ที่ตั้ง

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | แนน | 7 ส.ค. 60 15:22 น.

ตาเราก็ข้อเข่าเสื่อม เลยหาอาหารเสริมให้แกกิน อย่าง แบลคมอร์สกลูโคซามีน ช่วยบำรุงส่วนของข้อกระดูก ไม่ว่าจะเป็นข้อแขน ข้อเข่า หรือ ข้อเท้า หรือผู้ที่มีปัญหาด้านข้อเสื่อม

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

#2 | clexathe100 | 9 ส.ค. 60 16:00 น.

กินคอลลาเจนก็ช่วนได้ใช่ไม๊คะ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | sz386257 | 21 ส.ค. 61 19:43 น.

คอลลาเจนไทพ์ทู ช่วยได้ค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#4 | ctoon | 21 มี.ค. 62 15:58 น.

https://hellokhunmor.com/สุขภาพชีวิตที่ดี/โภชนาการ/อาหารสำหรับโรคข้ออักเสบ/

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบค่ะ ลองอ่านกันดูนะคะ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยได้ค่ะ ยังไงก็ลองอ่านกันดูค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google