เคล็ดลับ คู่มือตรวจรับโอนบ้านฉบับเข้าใจง่าย

11 ส.ค. 60 10:45 น. / ดู 839 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
เคล็ดลับ คู่มือตรวจรับโอนบ้านฉบับเข้าใจง่าย


      สำหรับการตรวจรับมอบบ้าน ไม่ว่าจะซื้อบ้านในโครงการจัดสรรหรือจ้างบริษัทปลูกสร้างบ้านให้บนที่ดินของตัวเอง มาดูเทคนิคการตรวจรับที่เป็นข้อมูลของ 3 สมาคมอสังหาฯที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ก่อนโอนกันก่อน
      ช่วงนี้รัฐบาลใจดี ออกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ยกเว้นค่าโอนและจดจำนอง จากล้านละ 3 หมื่น เหลือล้านละ 300 บาท ทราบมาว่าโอนคึกคักกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้น มีเวลาไม่มากนัก เพราะมาตรการจะหมดอายุภายใน 30 เมษายน 2559

      สำหรับการตรวจรับมอบบ้าน ไม่ว่าจะซื้อบ้านในโครงการจัดสรรหรือจ้างบริษัทปลูกสร้างบ้านให้บนที่ดินของตัวเอง วันนี้จะเทคนิคการตรวจรับที่เป็นข้อมูลของ 3 สมาคมอสังหาฯ (สมาคมคอนโดฯ สมาคมบ้านจัดสรร และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย) ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง

สรุปสาระสำคัญ เคล็ดลับมีเพียงตรวจภายใน-ตรวจภายนอก

เริ่มจาก "ตรวจสอบภายในอาคาร" มี 9 จุด ดังนี้

      1. "ประตู-หน้าต่าง" ตรวจดูบานพับ-กลอน-มือจับ-ลูกบิด ทำงานได้ดีหรือไม่ สะอาดหรือเปล่า

      2. "งานพื้นผิวชั้นล่าง" (กรณีบ้าน 2 ชั้น) พื้นห้องน้ำมีความลาดชันไหม เวลาอาบน้ำจะได้ไม่ท่วมเอ่อ แต่ควรจะไหลลงรังผึ้งหรือท่อระบายน้ำ ตรวจความเรียบร้อยการปูกระเบื้อง เซรามิก หรือหินอ่อน

      3. "งานพื้นผิวชั้นบน" ตรวจเช่นเดียวกับชั้นล่าง กรณีขอเปลี่ยนสเปกวัสดุมาตรฐานก็ให้ตรวจดูความเรียบร้อยของงาน มีเศษปูนติดค้างหรือไม่ อย่าลืมดูเป็นพิเศษถ้าเป็นพื้นปาร์เกต์ เพราะฝีมือติดตั้งเป็นเรื่องสำคัญ มีการขัดแว็กลงเงาก่อนส่งมอบด้วยล่ะ

      4."ประปา-ท่อระบายน้ำ" ตรวจไม่ให้รูระบายน้ำอุดตัน ก๊อกน้ำใช้งานได้ราบรื่น น้ำไหลอ่อนหรือแรง

      5. "สุขภัณฑ์" สิ่งที่ต้องดูเป็นหลักคือเรื่องการติดตั้ง อาทิ ระบบชักโครกทำงานสมบูรณ์หรือเปล่า ฝาชักโครกมั่นคงแข็งแรง ที่สำคัญ เรื่องกลิ่นตุ ตุ อย่าให้มีเชียว

      6. "ไฟฟ้า" นอกจากดูความสะอาดเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมเน้นความเรียบร้อยของตู้ควบคุมแผงไฟ กำชับให้เขียนกำกับว่าปลั๊กไหนส่งไฟอุปกรณ์อะไร ตู้เย็น แอร์ ฯลฯ สำคัญสุดอีกเรื่องคือสายดินใช้งานได้หรือไม่

      7. "ฝ้าเพดาน" ตรวจดูถ้ามีรอยเปื้อน หรือเป็นคลื่นตามรอยต่อ ติดตั้งไม่เรียบร้อย อย่ามองข้ามและให้แก้ไขก่อนรับโอน

      8. "งานทาสีผนัง-ผนัง" แน่นอนว่าต้องตรวจดูผนังบัวมีการคดงอหรือไม่ ทาสีเรียบร้อยหรือเปล่า ผนังปูนฉาบเรียบ, เป็นคลื่น หรือมีรอยแตกร้าว

      9. "วอลเปเปอร์-มุ้งลวด-บันได" ดูให้งานเรียบร้อย แข็งแรง กรณีบันไดไม้เพิ่มความใส่ใจดูว่ามีเสี้ยนหรือเปล่า จะได้ไม่บาดเจ็บภายหลัง

จากนั้นมา "ตรวจรับมอบภายนอกอาคาร" มีอีก 6 จุดหลัก เริ่มจาก

      1. "รั้ว-ประตูรั้ว-ป้ายบ้านเลขที่" กรณีเป็นบ้านเดี่ยวไซซ์กลางถึงใหญ่จะมีถังขยะติดรั้วบ้านมาให้ด้วย ดูการใช้งานได้สะดวกก็โอเคแล้ว

      2. "ทางเท้าหน้าบ้าน-สวนในบ้าน" ตรวจสนามมีการปรับพื้นเรียบหรือไม่เรียบ ดูให้แน่ใจว่าพื้นหน้าบ้านต้องสูงกว่าถนนหน้าบ้าน เวลาฝนตกหรือรดน้ำจะได้ไม่ท่วมขังในบ้าน

      3. "โรงจอดรถ" ตรวจสอบว่ามีเศษปูนติดผิวคอนกรีตไหม พื้นทำเป็นลาดชัน (สโลป) หรือเปล่า

      4. "บ่อพัก-ท่อระบายน้ำ-บ่อดักไขมัน-ถังไบโอโทล" อย่าให้มีเศษขยะ เศษวัสดุในไซต์ก่อสร้างหลงเหลือ ตรวจลึกไปถึงก้นบ่อ-ปากท่อ-ปากบ่อ เก็บงานปูนให้เรียบร้อย จุดสำคัญคือขอบบ่อได้ระดับและมีฝาปิดมิดชิด

      5. "กระเบื้องหลังคา" ดูว่าแตกบิ่นหรือไม่ ครอบข้างปูชนผนังหรือเปล่า บริเวณปีก คสล. คลุมกระเบื้องไม่ถึงปลายต้องแก้ไขทันที เพราะอยู่อาศัยไปแล้วซ่อมหลังคาเป็นเรื่องใหญ่มาก

      6. "ผนังภายนอกอาคาร" คุณภาพงานที่ดีตรวจดูผนังได้ฉาก ไม่มีรอยร้าวลึกของผนัง ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นเรื่องบัวปูนติดตั้งไม่ได้สโลป ก่อนจะจบการตรวจเรื่องสีทาผนังทำได้เนี้ยบตรงใจไหม

      ทั้งนี้ทั้งนั้น คู่มือการตรวจของ 3 สมาคมอสังหาฯ ถือเป็นเพียงแนวทาง เพราะจุดสำคัญอยู่ที่ "โครงสร้างหลัก" อย่างเสา คาน ผนังต่างหากที่ต้องคำนึงมากที่สุด ที่เหลือถือว่าเป็นส่วนประกอบที่ไม่มีผลเรื่องความปลอดภัยของโครงสร้าง แต่เป็นความสวยงามน่าอยู่ของบ้านแสนรักซะมากกว่า

      ก่อนจบกระซิบอีกเรื่องว่า ยุคปัจจุบันนี้มีอาชีพใหม่ที่งอกขึ้นมาคือรับตรวจมอบบ้านก่อนโอนโดยบริษัทวิศวกร อยากรู้มีเจ้าไหนบ้างหาได้ง่ายบนออนไลน์ ทำทั้งแบบมือสมัครเล่นและมืออาชีพเป็นเรื่องเป็นราว สนนราคาค่าบริการ 3,000-5,000 บาท บวกลบ

      สำหรับคำแนะนำขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ อยากเสียตังค์-ไม่เสียตังค์ เลือกแบบที่ทำแล้วสบายใจ ดีที่ซู้ดเลยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.thaihomeonline.com/article/guide/12200/
แก้ไขล่าสุด 11 ส.ค. 60 10:49 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8.1

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google