การเรียนรู้กฏจราจร

22 ก.พ. 61 20:40 น. / ดู 1,283 ครั้ง / 2 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องกฎจราจรกัน ก่อนจะเข้าเรื่องไปดูกันดีกว่าว่ากฎจราจรคืออะไร ?
ความหมายกฎจราจร 
      กฎจราจร คือ ส่วนหนึ่งของกฎหมายจราจร ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในการบังคับควบคุมการจราจรให้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความ เป็นระเบียบกฎหมายจราจรที่ใช้เป็นหลักในประเทศ ก็ คือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535 องค์ประกอบของกฎหมายจราจร มี 6 อย่างดังนี้
      1. ตัวบทกฎหมาย ซึ่งจะกำหนด สิทธิ และ หน้าที่ของผู้ใช้รถและใช้ถนนผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
      2. ผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย ได้แก่ คนขับรถทุกชนิด(รวมถึงคนนั่งหรือซ้อนรถด้วย) คนที่ต้องใช้ถนน (เดินเท้าข้ามถนน จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์)
      3. ผู้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ได้แก่ เจ้าพนักงานจราจร พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานสอบสวน ฯลฯ
      4. เครื่องมือในการใช้บังคับ ได้แก่ เครื่องหมายจราจร และสัญญาณจราจร ฯลฯ
      5. เครื่องมือในการจับกุม ได้แก่ เครื่องจับความเร็ว เครื่องตรวจแอลกอฮอล์เครื่องตรวจวัดควัน เครื่องตรวจวัดเสียง
          เครื่องตรวจวัดฟิล์มกรองแสง ฯลฯ
      6. วิธีการบังคับหรือการลงโทษ ได้แก่ การว่ากล่าวตักเตือน การเปรียบเทียบปรับ การลงโทษจำคุก การพัก
          ใช้ใบอนุญาตขับรถ การเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ


กฎหมายจราจร ข้อควรรู้ที่ผู้ใช้รถต้องอ่าน

      เรื่องราวรอบตัวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้นจำเป็นที่จะต้องมีกฏหมายบังคับเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีระเบียบวินัย ซึ่งหากไม่มีกฎหมายมากำหนดการดำเนินชีวิตเหล่านั้น แน่นอนว่าสังคมใดสังคมหนึ่งนั้นจะต้องเกิดความสับสน อลม่านและความวุ่นวายอย่างแน่นอน ซึ่งนั้นก็เป็น ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เราต้องศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการใช้รถบนท้องถนน เพื่อผู้อ่านสามารถจะได้รู้และนำไปปฎิบัติได้ โดยทีไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับตำรวจจราจรว่าจะมาตรวจจับแล้วมาเสียค่าธรรมเนียมโดยเสียเปล่าประโยชน์
      จะสังเกตเห็นว่าบนท้องถนนในสังคมเราทุกวันนี้จะมีรถมากมายที่แล่นโดยสารไปมา โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ หนาแน่นด้วยรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ถ้าคนที่อยู่ในแถบเมืองนี้แล้วจะต้องรู้สึกอึดอัดเวลาเดินทางไปไหนมาไหน โดยเฉพาะ ช่วงเย็นนั้น รถจะติดมากๆ แต่อย่างไรก็ตามแม้ในเมืองกรุงเทพรถจะติด แต่ผู้คนที่อาศัยมีระเบียบวินัยในการขับรถและเรียนรู้กฎหมายจราจรได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องรู้เพื่อมาใช้ในชีวิตประจำวัน
      บทความนี้จะขอหยิบยกประเด็นของ กฎหมายจราจรมาให้ผู้อ่านได้เรียนรู้เล็กๆน้อยๆ เพราะส่วนมากนั้นคนเราในปัจจุบันนี้ล้วนมีรถยนต์กัน ไม่ว่าจะเป็นรถที่เช่ามาหรือมีรถส่วนตัวมาใช้ แต่การเช่ารถมาใช้นั้นจะต้องเรียนรู้กฎหมายเกี่ยวกับการเช่ารถมาเป็นแนวทางในการเช่ารถบ้างจะเป็นการดีที่สุด
กฎหมายจราจร ถือเป็นกฎหมายใกล้ตัวที่เราต้องศึกษา เพราะมันได้ถูกกำหนดเพื่อเป็นแนวทางในการขับขี่ และเป็นมาตรฐานเดียวกันในการขับขี่บนท้องถนน ตัวอย่างง่ายๆ เช่นในกรณีการแซงรถที่อยู่ข้างหน้าหรือในกรณีใดๆก็ตาม ง่ายๆนั้นหากผู้ขับขี่ต้องการแซงรถที่อยู่ข้างหน้านั้นจะต้องแซงรถที่อยู่ด้านขวารถเรา อีกทั้งไม่ควรแซงรถคนอื่นแล้วล้ำเข้าไปในช่องรถโดยสารประจำทาง
      แม้กระทั่งสัญญานไฟต่างๆที่เราเห็นตามท้องถนนนั้น ไฟสีเขียว ไฟสีเหลืองและสีแดง ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่ให้เราต้องรู้และเป็นข้อจดจำในการใช้รถบนท้องถนน อาทิเช่นไฟสีแดง ที่อยู่ตามแยกต่างๆ เป็นการให้เราหยุดรถทันที เมื่อเห็นไฟสีแดง ส่วนไฟสีเขียวสามารถที่จะขับรถผ่านตลอด ส่วนไฟกระพริบ เป็นการระมัดระวังรถคันอื่นในยามที่เราขับขี่
      อย่างไรก็ตามกฎหมายว่าด้วยกฎจราจรนั้น ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เราสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ในที่ต่างๆ อาทิเช่น ที่ขับคัน เขตปลอดภัย และเครื่องหมายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ”หยุด” เส้นสีแถบ ดำขาว ที่ให้เราสามารถจอดรถในที่ที่มีสัญลักษณ์อย่างนั้นได้ และดำแดง ที่ไม่ให้สามารถจอดรถได้
      อีกทั้งกฎหมายยังบังคับรถที่จะสามารถนำมาใช้บนท้องถนน อีกด้วย ซึ่งรถที่จะนำมาใช้นั้นจะต้องมีลักษณะที่แข่งแกร่ง มั่งคง ไม่มีลักษณะตัวรถที่ผุกร่อน และสภาพรถนั้นต้องมีไฟต่างๆทั้งไฟเลี้ยวและไฟอื่นที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เท่านี้เราก็สามารถที่จะใช้รถบนท้องถนนได้อย่างสบายใจแล้ว และขับขี่อย่างปลอดภัย
      อย่าลืมหากเราต้องการที่จะใช้รถมาสักคันจำเป็นที่เราจะต้องเรียนรู้กฎหมายเหล่านี้ให้ทราบอย่างถ่องแท้เพราะนั้นถือเป็น เกร็ดความรู้กฎหมายใกล้ตัว ที่เราต้องใช้อยู่เป็นประจำ

กฎจราจรที่ควรรู้

      1.) เขตปลอดภัย หมายความว่า พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลา สำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอ หรือให้คนที่ขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป เช่น บริเวณที่ทาสีขาวกลางถนน หรือที่เรียกว่าเกาะสมมุติ เป็นต้น
      2.) ที่คับขัน หมายความว่า ทางที่มีการจราจรพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวางหรือในที่ซึ่งมองเห็นหรือทราบได้ล่วงหน้า ว่าอาจเกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่รถหรือคนได้ง่าย
      3.) เมื่อผู้ขบขี่พบสัญญาณไฟกระพริบสีแดง จะต้องปฏิบัติอย่างไร ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด (เส้นที่ขีดขวางถนน) เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจร แล้วให้ขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
      4.) เมื่อผู้ขบขี่พบสัญญาณไฟกระพริบสีเหลือง จะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและขับผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
      5.) สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องทางเดินรถ หมายถึง ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในช่องทางเดินรถนั้นได้
      6.) สัญญาณจราจรไฟสีเขียวที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องทางเดินรถ หมายถึง ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในช่องทางเดินรถนั้นได้
      7.) เครื่องหมาย "หยุด" หมายความว่า รถทุกชนิดต้องหยุดให้รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้วเคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
      8.) เครื่องหมาย "ให้ทาง" หมายความว่า รถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวาข้างหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว จึงให้เคลื่อนรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
      9.) เครื่องหมาย "ให้ชิดซ้าย" หมายความว่า ให้ขับรถไปทางด้านซ้ายของเครื่องหมาย
      10.) เครื่องหมาย "วงเวียน" หมายความว่า ให้รถทุกชนิดเดินวนทางซ้ายของวงเวียน และรถที่เริ่มจะเข้าสู่ทางร่วมบริเวณ วงเวียนต้องหยุดให้สิทธิแก่รถที่แล่นอยู่ในรอบวงเวียนผ่านไปก่อน ห้ามขับรถหรือตัดหน้ารถที่อยู่ในเขตทางรอบบริเวณวงเวียน
      11.) เครื่องหมาย "ห้ามกลับรถ" หมายความว่า ห้ามมิให้กลับรถไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ในเขตทางที่ติดตั้งเครื่องหมาย
      12.) เครื่องหมาย "ห้ามเลี้ยวซ้าย" หมายความว่า ห้ามมิให้เลี้ยวรถไปทางซ้าย
      13.) เครื่องหมาย "ห้ามจอดรถ" หมายความว่า ห้ามจอดรถทุกชนิดในเขตทางที่ติดตั้งเครื่องหมาย
      14.) เครื่องหมาย "ทางลื่น" หมายความว่า ทางข้างหน้าลื่นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และระมัดระวังการลื่นไถล อย่าใช้ห้ามล้อโดยแรงและทันที การหยุดรถ การเบารถ หรือเลี้ยวรถ ในทางลื่นต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
      15.) เครื่องหมาย "สัญญาณไฟจราจร" หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจรติดตั้งอยู่ ให้ผู้ขับขี่รถเตรียมพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันที
      16.) เครื่องหมาย "ทางโค้งซ้าย" หมายความว่า ทางข้างหน้าโค้งไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควร และเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง
      17.) เครื่องหมาย "ทางรถไฟตัดผ่านและไม่มีเครื่องกั้นทาง" หมายความว่า ให้ขับรถให้ช้าลงให้มากและสังเกตดูรถไฟทั้งขวาและทางซ้าย ถ้ามีรถไฟกำลังจะผ่านมาให้หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย 5 เมตร แล้วรอคอยจนกว่ารถไฟนั้นผ่านพ้นไป และปลอดภัยแล้วจึงเคลื่อนรถต่อไปได้ ห้ามมิให้ขับรถตัดหน้ารถไฟในระยะที่อาจจะเกิดอันตรายได้เป็นอันขาด
      18.) รถลักษณะใดที่ห้ามนำมาใช้ในทาง
              1. รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หรืออาจเกิดอันตราย หรือเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถ คนโดยสารหรือประชาชน เช่น รถที่มีโคมไฟหน้าหรือโคมท้ายชำรุด รถที่มีเครื่องห้ามล้อชำรุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล เอ รถที่มีควันดำเกินเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น
              2. รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี หรือเครื่องหมายอื่น ๆ ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถกำหนด
              3. รถที่มีเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
              4. รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้น รถที่ใช้ในราชการสงคราม หรือรถที่ใช้ในราชการตำรวจ
              5. รถที่มีเสียงแตรได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร
              6. รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า 2 คน (แถวด้านหน้า ห้ามนั่งเกินกว่า 2 คน โดยรวมคนขับด้วย)
              7. รถที่ไม่ได้เสียภาษีประจำปี
              8. รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทำขึ้นเอง
      19.) ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด
              - ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย
      20.) ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด
              1. ใบอนุญาตขับรถ
              2. สำเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ
      21.) ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
            1. ให้ผู้ขับขี่รถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถ หรือเส้นหรือแนวที่แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก
            2. ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายลดความเร็วของรถลง เพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย
            3. ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน
            4. กรณีที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่สวนทางขับผ่านมาก่อน
      22.) การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
            - ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้ และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนทางมา หากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสวนทางรถขับผ่านมาก่อน

ความรู้เกี่ยวกับรถที่นำมาใช้


            1. ห้ามนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงมาใช้ในทางเดินรถ เพราะอาจเกิดอันตรายหรืออาจทำให้ผู้ใช้และคนรอบข้างเสียสุขภาพ เช่น รถตัวถังผุ ยางล้อรถไม่มีดอกยาง มีควันดำ ฯลฯ

            2. รถที่นำมาใช้ต้องมี โคมไฟหน้า-หลัง-ไฟเลี้ยว-ไฟจอด-ไฟเบรก-ไฟฉุกเฉิน-แตร-เบรกมือที่ใช้การได้-ที่ปัดน้ำฝน ครบถูกต้องตามกฎหมาย และต้องติดแผ่นป้ายทะเบียนหน้า-หลัง และติดป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีด้วย

ความรู้ในเรื่องอุบัติเหตุจราจรและการป้องกัน


อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราป้องกันได้ โดยการแก้ไขจากสาเหตุที่ทำให้เกิดนั้นสำหรับการใช้รถใช้ถนนแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะตลอดจนสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม ได้แก่

        1. ผู้ขับขี่ขาดความรอบรู้ในการใช้รถใช้ถนน

        2. ประชาชนผู้เดินถนนขาดความรู้เกี่ยวกับการเดินถนน ตลอดจนการโดยสามารถที่ปลอดภัย

        3. ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และขับรถอยู่บนความประมาทขาดความระมัดระวัง หรือขับรถในขณะมึนเมา ซึ่งอุบัติเหตุบนท้องถนนในปัจจุบันที่กำลังเพิ่มปริมาณขึ้นเกิดจากสาเหตุนี้โดยหลักใหญ่ ดังจะเห็นได้ว่ามีโครงการรณรงค์ไม่ให้ผู้ขับรถดื่มสุราหรือของมึนเมาขณะขับรถ

เป็นยังไงกันบ้างคะ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่า ? ดิฉันและคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากระทู้นี้จะเป็นความรู้ให้กับผู้ที่ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎจราจรได้ไม่มาก็น้อยและขอบคุณสำหรับที่มาของเรานะคะ
ที่มา : 1.) ที่มาแรกของเรา
          2.) ที่มาที่สองของเรา



---------
คณะผู้จัดทำ
นางสาวศศิธร กิติราช เลขที่ 6
นางสาวชลลดา บุญสวน เลขที่ 11
นางสาววันวิสาข์ วอหล้า เลขที่ 12
นางสาวชื่นกมล เสนสอน เลขที่ 28
นางสาวพิมพ์ลภัส ศรีวิโรจน์ เลขที่ 35
นางสาวหฤทัย คงอุ่น เลขที่ 39
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/14
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
ปีการศึกษา 2560
แก้ไขล่าสุด 22 ก.พ. 61 21:08 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz411182 | 14 มี.ค. 61 00:57 น.

       

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google