รู้ว่าเสี่ยง…แต่อยากลอง เปิดผลสำรวจ เด็กไทยกับภัยออนไลน์

23 ก.พ. 61 23:59 น. / ดู 766 ครั้ง / 5 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ศูนย์ข้อมูลนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาจากการพนัน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน เปิดเวทีเสวนา “เด็กและเยาวชน รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” พร้อมเปิดผลสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์
รู้ว่าอันตราย แต่เชื่อว่าเอาอยู่

“ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช” กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และอนุกรรมการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ เปิดเผยผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 9-18 ปีทั่วประเทศ 10,846 คน พบว่า 95.32% ตระหนักว่าอินเทอร์เน็ตมีภัยอันตรายหลายรูปแบบ เช่น การถูกล่อลวงล่วงละเมิดทางเพศ ถูกหลอกในการซื้อสินค้า เอาข้อมูลส่วนตัว
ไปใช้ในทางมิชอบ ติดเกมออนไลน์

55% เชื่อว่าการหาเพื่อนออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ และกว่า 70% รู้ว่าเพื่อนออนไลน์ไม่พูดความจริง นอกจากนี้ 61.39% คิดว่าการกลั่นแกล้งหรือละเมิดทางเพศจะไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง และ 74.91% เชื่อว่าจัดการปัญหาได้เองเมื่อเผชิญปัญหา 77.90% เชื่อว่าสามารถช่วยเพื่อนที่มีปัญหาภัยออนไลน์ได้

“เด็กรู้เรื่องว่ามีภัย แต่เด็กประมาทและคิดว่าสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่ควรทบทวนว่ามีเครื่องมือในการให้ความรู้กับเด็กเพียงพอหรือไม่”

46% ถูกแกล้งผ่านโซเชียล

นอกจากนี้ยังพบว่า 80.48% เคยเล่นเกมออนไลน์ โดย 50.73% ของเด็กผู้ชายจะเล่นเกมทุกวันหรือเกือบทุกวัน ทำให้เด็กผู้ชายจะเสี่ยงติดเกมมากกว่าเด็กผู้หญิงที่มีแค่ 32.34% จะเล่นเกมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

ขณะที่การถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์พบว่า 46.11% เคยถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ โดย 59.44% เพศทางเลือกถูกกลั่นแกล้งมากที่สุด และ 33.44% ยอมรับว่าเคยกลั่นแกล้งคนอื่น โดย 52% จะบอกเพื่อนเมื่อถูกกลั่นแกล้ง 36% จะบอกพ่อแม่ 36%

สำหรับการรับมือกับการโดนแกล้ง 34% จะลบข้อความหรือภาพ 3.4% จะบล็อกเพื่อน แต่ 21% ไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้แกล้ง โดยช่องทางที่ถูกกลั่นแกล้งมากที่สุดคือ โซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์

15% เคยนัดเจอเพื่อนออนไลน์

ขณะที่การพบสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวกับเพศ 68.07% เคยเห็น 21.33% เคยเห็นสื่อลามกอนาจารเด็ก แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ สัดส่วนการพบเห็นของเด็กประถมไม่ต่างจากเด็กมัธยม โดยช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กพบมากที่สุด

นอกจากนี้ยังพบว่า 15.97% เคยนัดพบกับเพื่อนออนไลน์ โดยเป็นเด็กผู้ชาย 19.34% เด็กผู้หญิง 12.43% และมี 6.60% เคยนัดพบมากกว่า 10 ครั้ง ในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา เด็กอายุ 15-18 ปี เป็นกลุ่มที่มีการนัดเจอเพื่อนออนไลน์มากที่สุด 77.36% ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียและบริการรับส่งข้อความอย่าง Facebook หรือ Line

“ปีที่ผ่านมามีเด็กติดเกมเข้ามารับการรักษามากขึ้น 6.12 เท่า เคยเจออายุน้อยสุดเพียง 5 ขวบ เด็กบางคนต้องรักษาถึง 2 ปี และมีแค่ 30% ที่รักษาหาย จึงควรป้องกันก่อนสายเกินไป”

5 ขวบใช้โซเชียลแล้ว

“ธาม เชื้อสถาปนศิริ” นักวิชาการอิสระและอนุกรรมการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ กล่าวถึง 10 สถานการณ์วิกฤตภัยออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน ได้แก่ 1.ปัญหาการเล่นเกม เด็กติดเกม และอีสปอร์ต ซึ่งเกมเป็นทั้งโอกาสและปัญหาการสร้างความคาดหวัง พ่อแม่จึงควรใส่ใจดูแล 2.ปัญหาการครอบครองสื่อโดยที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ เนื่องจากในไทยไม่มีเกณฑ์กำกับ ขณะที่สหรัฐอเมริกามีกฎว่า อายุไม่ถึง 13 ปี ห้ามเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียใด ๆ แต่ในประเทศไทยอายุ 5 ขวบมีแอ็กเคานต์โซเชียลแล้ว

3.การพนันออนไลน์กลายเป็นช่องทางที่เข้าถึงง่ายสำหรับเยาวชนที่อยากรวยเร็ว 4.การกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ และการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศออนไลน์ 5.การถูกล่อลวงและล่อออกไปพบคนแปลกหน้าจากสื่อสังคมออนไลน์ โดยไม่รู้ว่าอันตราย

6.การใช้สื่อเพื่อสร้างอัตลักษณ์ พฤติกรรมและค่านิยมที่ผิด ในอเมริกาเคยมีการศึกษาพบว่า มีเด็กบางคนถ้าโพสต์ข้อความแล้วมียอดไลก์ไม่ถึง 20 คน จะลบโพสต์ทิ้งเพราะอาย 7.การหลงผิดเปิดเผยข้อมูลและความเป็นส่วนตัวบนสื่อออนไลน์ 8.การขาดการส่งเสริม สร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ต่อตัวเด็กและเยาวชนและครอบครัว 9.การขาดกฎหมายคุ้มครองเด็กจากสื่อออนไลน์ และที่สำคัญ คือ 10.การขาดหน่วยงานกำกับดูแล ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่บูรณาการและเท่าทันสถานการณ์โดยเฉพาะ

“เด็กต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรจะเข้าถึงทุกหน้าจอ หรืออุปกรณ์ไอทีทุกชนิด เพราะยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการแยกแยะ สิ่งสำคัญคือการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันสื่อในตัวเด็กและพ่อแม่ เพราะสถานการณ์เด็กกับเทคโนโลยีมีความใกล้ชิดกันมากจนเกินกว่าจะแยกกันออก”

“ชาญไชย วิกรวงษ์วนิช” รองประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เสนอว่า ควรมีมาตรการให้เด็กเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และผลักดันให้การรู้เท่าทันสื่อออนไลน์บูรณาการไปกับหลักสูตรการศึกษาด้วย

“ทุกวันนี้เด็กด่าทอ ใช้คำหยาบคาย หรือพูดเกี่ยวกับเรื่องเพศจนเป็นเรื่องปกติ จนกลายเป็นค่านิยมผิด ๆ ดังนั้นนอกจากมาตรการป้องกัน ควรจะต้องสร้างความตระหนักด้วยว่าสิ่งที่ทำ มันไม่ดี”

เครดิต : ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-108602


.... กระทู้นี้ย้ายมาจากห้องข่าวประชาสัมพันธ์ ...
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 8.1

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz410828 | 24 ก.พ. 61 13:52 น.

ในโลกออนไลน์ ก็มีสิ่งดีดีอยู่มากมาย ความรู้เพื่อน เกมส์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น
https://www.youtube.com/watch?v=Sjm6Uh7yU0s
https://www.youtube.com/watch?v=Sjm6Uh7yU0s

มีหลายๆอย่างมากมายที่แฝงอยู่ในคลิป ไม่ใช่แค่เกมส์ มีทั้งไอเดีย ความสนุกและหลายๆมากมาย เพราะทุกอย่างล้วนมีสองด้านเสมอ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz410907 | 27 ก.พ. 61 22:40 น.

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | deems | 25 มี.ค. 61 00:56 น.

     

 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 8.1

#4 | sz406751 | 16 ก.ค. 61 17:01 น.

ebbqwbq

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 7

#5 | sz416135 | 3 ก.ย. 61 11:20 น.

เห็นด้วยกันเม้นท์ 1 ครับ สุดท้ายมันก็ตกมอยุที่เรื่องของมุมมอง ถามว่าข้อมูลผิดมั้ยผมคิดว่ามันก็ไม่ เพราะมันเป็นช้อมูลจากการสำรวจ แต่ถ้าถามคนที่ใช้ชีวิตทั่วไปเขาอาจจะจะมองเห็นแง่ีของมันมากกว่าก็ได้

https://youtu.be/Sjm6Uh7yU0s

https://www.th.playblackdesert.com/News/Notice/Detail?boardNo=1271&boardType=3

แก้ไขล่าสุด 3 ก.ย. 61 11:23 | ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google