รู้เท่าทันอาการปวดกล้ามเนื้อ สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันได้ง่ายๆ

24 เม.ย. 61 16:11 น. / ดู 497 ครั้ง / 5 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

              ไม่ว่าคนที่ทำงาน นักกีฬา หรือคนทั่วที่ออกกำลัง เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อย่างแน่นอน ซึ่งบางนั้นอาจจะเป็นบ่อยเลยก็ได้ ซึ่งการปวดกล้ามเนื้อนั้นเกิดได้หลายสาเหตุมากมาย และวิธีการบรรเทาอาการนั้นก็ไม่ได้ยากเรามีวิธีการช่วยให้กล้ามเนื้อได้พัก การปวดเมื่อยแสดงว่ามีปัญหาเรื่องการไม่ได้พัก นอนพัก อย่าออกกำลังกายหนัก อาจรับประทานยากลุ่มต้านอักเสบ เช่น บรูเฟน หรือโวตาเรน ยาคลายกล้ามเนื้อ พารา ถ้ามีตำแหน่งที่ปวดชัดเจน ในสองวันแรก การประคบด้วยความเย็นจะช่วยได้มากทีเดียว หลังจากสองวัน ใช้การประคบร้อน หรือนอนในอ่างน้ำร้อน เริ่มต้นการออกกำลังเล็กน้อยเมื่อประมาณ วันที่ 4-5 หรือเริ่มหาย stretching การออกกำลังแบบยืดตัว โยคะ ช่วยได้มากทีเดียว รวมถึงการนอนให้พอ ไม่เครียด

และเรายังอีกหนึ่งวิธีที่จะบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อมาให้คุณได้ลองอีกด้วย
1.ในช่วงสองวันแรก ควรพักจากการออกกำลังกายทุกชนิด
2.ประคบด้วยน้ำเย็นตรงบริเวณที่ปวดและพันกล้ามเนื้อส่วนที่บาดเจ็บด้วยผ้ายืด อย่าพันแน่นจนเกินไป
3. เมื่ออาการปวดทุเลาลง จึงเริ่มออกกำลังเบาๆ ได้
4. ค่อยๆ ยืดและเหยียดกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดทีละน้อย
5. การนวดต้องระมัดระวังไม่ควรนวดแรงจนเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดมากขึ้นได้

นอกจากเราจะได้เรียนรู้การบรรเทาอาการปวดแล้วเราควรมารู้วิธีการป้องการปวดกล้ามเนื้อกันด้วย
วิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงอาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดจากความเครียดหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เริ่มได้จากตนเอง ดังนี้
• ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน รวมทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย
• ยืดกล้ามเนื้อก่อนทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้แรง รวมทั้งหลังออกกำลังกาย
• อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย  (Warm Up) และหลังออกกำลังกาย  (Cool Down)
• พนักงานออฟฟิสหรือผู้ที่นั่งทำงานประจำที่โต๊ะ หมั่นลุกขึ้นยืน หรือเดินยืดเส้นยืดสายอย่างน้อยทุก ๆ หนึ่งชั่วโมง
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz412195 | 24 เม.ย. 61 22:57 น.

ขอบคุณครับ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz412422 | 8 พ.ค. 61 01:31 น.

รู้ทัน “ โรคปวดกล้ามเนื้อ ” อาการปวดที่มองข้ามไม่ได้

                การที่คุณรู้สึกเจ็บปวดทั่วร่างกายนั้นอาจไม่ได้เกิดจากความเหนื่อยล้าธรรมดาๆ ค่ะ เพราะมันอาจเป็นไปได้ว่า คุณกำลังป่วยเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อ (Fibromyalgia) นั่นเอง สำหรับใครที่สงสัยว่าตัวเองกำลังเข้าข่ายเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่ เราลองมาเช็คอาการของโรคปวดกล้ามเนื้อไปพร้อมกันเลยค่ะ

โรคปวดกล้ามเนื่อ

อาการ

รู้สึกปวดตามร่างกายต่อเนื่องมานานกว่า 3 เดือน
รู้สึกเมื่อยล้าอย่างมากในตอนเช้า
มีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติ
ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในบางจุดของร่างกายมีความรุนแรงมากกว่าบริเวณอื่นๆ
ปวดศีรษะ
ทรมานกับช่วงมีประจำเดือน
รู้สึกไม่สบายตัวในระหว่างขับถ่าย หรือปัสสาวะ
มีความไวต่ออากาศ และมีปฏิกิริยาต่อความหนาวเย็น และความร้อน กลิ่นฉุน หรือเสียงรบกวน
อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้นโดยไม่มีเหตุผล
เกิดความรู้สึกที่ไม่สามารถอธิบายได้โดยเฉพาะบริเวณแขนทั้งสองข้าง เช่น รู้สึกชา แสบร้อน บวม ฯลฯ
พบว่าเป็นเรื่องยากที่จะจดจ่อ หรือจดจำสิ่งต่างๆ
รู้สึกหงุดหงิด และซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง
ความเชื่อผิดๆ ที่เชื่อกันมาตลอด

ปวดเนื้อปวดตัว

มันไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงแค่ความรู้สึกส่วนตัว
                Fibromyalgia เป็นหนึ่งในความผิดปกติที่พบได้ในระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคดังกล่าวค่ะ

มันเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงสูงอายุเท่านั้น
                ความเชื่อนี้ถือเป็นเรื่องที่ไม่จริงค่ะ เพราะโรคปวดกล้ามเนื้อสามารถเกิดขึ้นได้แม้กระทั่งกับเด็ก แต่โดยมากแล้วมักพบได้ในคนที่มีอายุอยู่ในช่วง 20-50 ปี และตามสถิติแล้ว โรคปวดกล้ามเนื้อมักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายค่ะ

ความเจ็บปวดอยู่ในระดับที่ทนได้
                ในบางครั้ง ความเจ็บปวดสามารถนำไปสู่ความพิการได้ค่ะ ยิ่งไปกว่านั้น มันก็มีโอกาสที่โรคปวดกล้ามเนื้อจะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะในคนวัยหนุ่มสาว
รู้ทัน “ โรคปวดกล้ามเนื้อ ” อาการปวดที่มองข้ามไม่ได้

                การที่คุณรู้สึกเจ็บปวดทั่วร่างกายนั้นอาจไม่ได้เกิดจากความเหนื่อยล้าธรรมดาๆ ค่ะ เพราะมันอาจเป็นไปได้ว่า คุณกำลังป่วยเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อ (Fibromyalgia) นั่นเอง สำหรับใครที่สงสัยว่าตัวเองกำลังเข้าข่ายเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่ เราลองมาเช็คอาการของโรคปวดกล้ามเนื้อไปพร้อมกันเลยค่ะ

โรคปวดกล้ามเนื่อ

อาการ

รู้สึกปวดตามร่างกายต่อเนื่องมานานกว่า 3 เดือน
รู้สึกเมื่อยล้าอย่างมากในตอนเช้า
มีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติ
ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในบางจุดของร่างกายมีความรุนแรงมากกว่าบริเวณอื่นๆ
ปวดศีรษะ
ทรมานกับช่วงมีประจำเดือน
รู้สึกไม่สบายตัวในระหว่างขับถ่าย หรือปัสสาวะ
มีความไวต่ออากาศ และมีปฏิกิริยาต่อความหนาวเย็น และความร้อน กลิ่นฉุน หรือเสียงรบกวน
อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้นโดยไม่มีเหตุผล
เกิดความรู้สึกที่ไม่สามารถอธิบายได้โดยเฉพาะบริเวณแขนทั้งสองข้าง เช่น รู้สึกชา แสบร้อน บวม ฯลฯ
พบว่าเป็นเรื่องยากที่จะจดจ่อ หรือจดจำสิ่งต่างๆ
รู้สึกหงุดหงิด และซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง
ความเชื่อผิดๆ ที่เชื่อกันมาตลอด

ปวดเนื้อปวดตัว

มันไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงแค่ความรู้สึกส่วนตัว
                Fibromyalgia เป็นหนึ่งในความผิดปกติที่พบได้ในระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคดังกล่าวค่ะ

มันเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงสูงอายุเท่านั้น
                ความเชื่อนี้ถือเป็นเรื่องที่ไม่จริงค่ะ เพราะโรคปวดกล้ามเนื้อสามารถเกิดขึ้นได้แม้กระทั่งกับเด็ก แต่โดยมากแล้วมักพบได้ในคนที่มีอายุอยู่ในช่วง 20-50 ปี และตามสถิติแล้ว โรคปวดกล้ามเนื้อมักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายค่ะ

ความเจ็บปวดอยู่ในระดับที่ทนได้
                ในบางครั้ง ความเจ็บปวดสามารถนำไปสู่ความพิการได้ค่ะ ยิ่งไปกว่านั้น มันก็มีโอกาสที่โรคปวดกล้ามเนื้อจะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะในคนวัยหนุ่มสาว

วิธีการรักษา

ปรึกษาแพทย์

ปรึกษาแพทย์
                มีเพียงแพทย์เท่านั้นที่สามารถฟันธงได้ว่าคุณเป็นโรคปวดกล้ามเนื้อหรือไม่ และเป็นผู้ที่เลือกการรักษาที่เหมาะสมให้แก่คุณ

รักษาโดยใช้ยา
                โดยปกติแล้ว ยาแก้ปวด และยาต่อต้านการอักเสบมักจะนำมาใช้ในการรักษาโรคปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้อาจมียาต้านอาการซึมเศร้าร่วมด้วยเช่นกัน

กิจกรรมทางกายภาพ การนวด หรือวิธีอื่นๆ
                การทำกิจกรรมทางกายภาพต่างๆ เช่น การเล่นกีฬาให้อยู่ในระดับปานกลาง การว่ายน้ำ หรือการเล่นโยคะนั้นสามารถช่วยฟื้นฟูความสามารถในการเคลื่อนไหวได้

การฟื้นฟูความสมดุลทางอารมณ์
                การทำสิ่งใดก็ตามที่ช่วยให้ทัศนคติในแง่ลบ หรืออาการซึมเศร้าหายไปนั้นจะส่งผลดีต่ออาการทั้งทางตรง และทางอ้อม ทั้งนี้แพทย์พบว่า การใช้สัตว์มาช่วยบำบัด หรือที่เรียกว่า Pet Therapy นั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ค่ะ

                หากช่วงนี้คุณรู้สึกว่ามีอาการเข้าข่ายตามที่เรากล่าวไปข้างต้นล่ะก็ คุณก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ และรีบไปพบแพทย์ค่ะ เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่ทำอะไร มันก็อาจทำให้อาการแย่ลง และเกิดเป็นโรคเรื้อรังได้ค่ะ

ดูบอลสด ดูบอลออนไลน์

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#5 | ctoon | 30 พ.ค. 62 15:54 น.

https://hellokhunmor.com/สุขภาพ-ก-ฮ/ศูนย์สุขภาพ/ยาชนิดไหนบ้างที่ช่วยอาการปวดกล้ามเนื้อ/

ขออนุญาติมาแชร์บทความดีดีเพิ่มเติมในเรื่องของ ยาชนิดไหนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้ค่ะ คลิกอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้นะคะ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google