สตง. เปิดรายงานการรับรองรายงานบัญชีประจำปีของ ปตท.

20 ส.ค. 61 10:51 น. / ดู 299 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
หากท่านผู้อ่านได้เคยอ่านรายงานประจำปี ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ อย่างหนึ่งที่ต้องมีคือ การตรวจสอบเอกสาร รับรองทรัพย์สินและค่าใช้จ่ายต่างๆ และในกรณีของบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจด้วยแล้ว รายงานประจำปี ย่อมมีความเข้มงวดในการตรวจสอบจาก หน่วยงานต่างๆ

          กลับมาที่เรื่อง การคืนท่อส่งก๊าซ ที่เป็นคดีกันอยู่ขณะนี้ระหว่าง ปตท. กับ คตง. ที่ได้มีการออกสื่อไปต่างๆ ซึ่งขัดกับการระบุลงไปในรายงานประจำปี ของ ปตท. โดยสิ้นเชิง ดังนั้นน่าจะต้องกลับมาตั้งข้อสังเกตุที่เป็นหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบบัญชีว่า มีจุดประสงค์ใดกันแน่

1.    สตง. ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากที่ให้ความเห็นเรื่องท่อในทะเลถือเป็นสาธารณะสมบัติ เป็นการตีความโดยไม่เป็นไปตามคำสั่งศาลและการพิจารณาของ ครม. หรือไม่?

2.    สตง. บกพร่องในหน้าที่ เนื่องจากได้รับข้อมูลแบ่งแยกทรัพย์สินจาก ปตท. ตั้งแต่เดือนม.ค. 2551 แต่ดำเนินการล่าช้า โดยให้ความเห็นไม่ทันกำหนดเวลาที่ต้องรายงานศาลในเดือน ธ.ค. 51 หรือไม่?

3.    สตง. ปกปิดความบกพร่องของตนเอง กล่าวร้ายผู้อื่น ขาดจริยธรรมและจรรยาบรรณของการปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานตรวจสอบของรัฐ โดยกล่าวหา ปตท. ว่าให้ข้อมูลไม่ครบต่อศาล ทั้งที่เป็นผู้ให้ข้อมูลล่าช้าเอง และยังปกปิดข้อเท็จจริงที่ศาลมีความเห็นยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรกลับไปที่ผู้ว่า สตง. หรือไม่?

4.    สตง. ไม่รักษาจุดยืน ขาดดุลยพินิจในความเหมาะสมของการปฏิบัติหน้าที่ โดยเคยมีหนังสือยอมรับคำตัดสินศาลเป็นที่สิ้นสุด แต่ยังมีความเห็นขัดแย้งตลอดมา สร้างปัญหาให้กับข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชน ในการปฏิบัติราชการ และสร้างความสับสนให้กับสังคม และความเสียหายกับเศรษฐกิจ หรือไม่?

5.    สตง. กระทำความผิดร้ายแรง ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ผู้รับสอบบัญชี ไม่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ผู้รับสอบบัญชีให้บริษัทมหาชนต่อไป เพราะในฐานะผู้รับสอบบัญชีของ ปตท. ที่ได้รับแต่งตั้งโดยผู้ถือหุ้น เมื่อมีความเห็นว่าท่อในทะเลเป็นทรัพย์สินที่จะต้องคืนให้รัฐ แต่กลับรับรองงบดุลต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 โดยไม่บันทึกความเห็นใดๆ ประกอบงบ กระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนไทยและต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ สร้างความสับสนและเสียหายต่อผู้ถือหุ้นและบริษัทจดทะเบียน หรือไม่?

6.    สตง. ขาดสำนึกในเรื่องการดำเนินการโดยมีผลประโยชน์ทับซ้อน ในกรณีการตรวจสอบทรัพย์สินของ บมจ.ปตท. จากการแปลงสภาพการปิโตรเลียมฯ เนื่องจากบทบาทผู้ตรวจสอบที่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐ และผู้รับสอบบัญชีที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น มีประโยชน์ขัดแย้งกัน ควรที่จะต้องประกาศต่อผู้ถือหุ้น และไม่รับเป็นผู้รับสอบบัญชีให้ ปตท. ตั้งแต่ปี 2552 หรือไม่?

7.    สตง. ใช้อำนาจโดยมิชอบ สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ โดยกล่าวหาว่าละเลย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งที่ครม.มีมติมอบหมายการปฏิบัติตามคำสั่งศาลอย่างเป็นทางการ และผู้รับมอบหมายได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน หรือไม่?

8.    ผู้ว่า สตง. กระทำการเกินอำนาจหน้าที่ ผิดมารยาทและจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบ โดยให้สัมภาษณ์สื่อสาธารณะและให้ข้อมูลบุคคลภายนอกเกี่ยวกับผลการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่ คตง.จะเห็นชอบอย่างเป็นทางการ หรือไม่?

และหากเป็นเช่นนี้ การที่ให้ข้อมูลเรื่องการพิจารณานำคืนท่อก๊าซในส่วนเส้นที่ไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิคืนนั้น อาจจะยังส่งผลให้ต้องตีความเรื่องอื่นๆ ของ สตง. เกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นสาธารณะสมบัติซึ่งต้องคืนให้รัฐ จะมีผลลูกโซ่ถึงรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพเป็น บมจ. อื่นๆ ตามมาอีกหรือไม่?



    หมายเหตุ เอกสารรายงานผู้สอบบัญชีโดย สตง. ในรายงานประจำปีของ ปตท. ตั้งแต่ปี 2550 – 2558 จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2550 – 2551 มีการระบุเรื่องการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีปรากฏรายละเอียดเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด



ที่มาจาก http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ข้อสงสัย-สตง-รายงาน-ปตท/
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google