อยากหาตัวช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV เลือกครีมกันแดดยังไงดี

15 พ.ย. 61 15:44 น. / ดู 250 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ก่อนเราจะหาว่าเราจะเลือก ครีมกันแดด ยี่ห้อไหนดี เราควรรู้ว่า UV ประกอบด้วยคลื่นพลังงานแม่เหล็กหลากหลายความยาวคลื่นด้วยกัน โดยรังสีที่ผ่านลงมาสู่พื้นผิวโลก ประกอบด้วย รังสีอัลตราไวโอเลด แบ่งเป็น UVA, UVB และ UVC สาวๆอย่างเราเวลาเดินลงไปกินข้าวกลางวัน ต้องเจอกับแดดแรงๆ แบบนี้ ผิวคงหมองคล้ำ บางคนต้องอยู่กลางแดดจ้าเป็นเวลานาน อาจจะกลายเป็นกระ ฝ้า อย่ารอให้สายเกินแก้ ต้องรีบหาตัวช่วยสุดยอดอย่างครีมกันแดดมาปกป้องผิวของเราจากรังสียูวีกันค่ะ

        ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB
ครีมกันแดดส่วนใหญ่จะมีแต่ค่า SPF ที่สามารถปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะดูแลผิวให้พ้นจากการถูกทำร้ายจากแสงแดดได้ ดังนั้นการเลือกครีมกันแดด จึงควรเลือกที่สามารถปกป้องผิวได้ทั้ง UVA และ UVB ซึ่งก็คือต้องมีทั้งค่า SPF และค่า PA นั่นเอง

ระวังเรื่องค่า SPF
ความจริงแล้ว ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ก็ไม่ได้ดีเสมอไป เพราะอาจทำให้ผิวเกิดการแพ้และระคายเคืองได้ง่าย แถมยังทำให้ผิวได้รับสารเคมีมากเกินจนอาจส่งผลเสียในอนาคตได้อีกด้วย

เลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับผิว
การเลือกครีมกันแดดจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพผิวด้วย เพราะผิวของคนเรามีความแข็งแรง บอบบางไม่เหมือนกัน เช่น ผิวที่มีความบอบบางมาก ทำให้เกิดปฏิกิริยากับแสงแดดได้อย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสผิวเสียง่ายกว่าสภาพผิวแบบอื่นๆ ครีมกันแดดที่เหมาะ จึงควรเป็นครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ตั้งแต่ SPF 30-45

วิธีทาครีมกันแดดที่ถูกต้อง
1. ควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้ครีมซึมสู่ชั้นผิว และปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทาซ้ำทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ถ้าหากต้องออกแดดเป็นเวลานาน
2. การทาครีมกันแดดแต่ละครั้งควรบีบออกมาให้เพียงพอ เพื่อให้ได้รับการปกป้องเท่ากับจำนวน SPF ที่ระบุเอาไว้ที่ครีมกันแดด อย่างเช่น สำหรับบริเวณผิวหน้าควรบีบออกมาให้เนื้อครีมมีปริมาณประมาณ 1 เหรียญสิบ หรือ 2 ข้อนิ้วชี้

แค่นี้ก็สามารถเลือกครีมกันแดดได้อย่างคุ้มค่า และช่วยปกป้องผิวจากการถูกทำร้ายจากแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดแล้วนะคะ
แก้ไขล่าสุด 15 พ.ย. 61 15:45 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google