[SCIENCE] ฟอร์มาลิน ชื่อทางเคมี ฟอร์มาลดีไฮด์ สูตรเคมี CH2O ส่วนประกอบ

17 พ.ค. 62 07:32 น. / ดู 2,212 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ฟอร์มาลิน
ชื่อทางเคมี  ฟอร์มาลดีไฮด์
สูตรเคมี CH2O
ส่วนประกอบ
ฟอร์มาลินหรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์หมายถึงสารละลายที่ประกอบด้วยแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์ประมาณร้อยละ 37-40  มีเมทานอลปนอยู่ประมาณร้อยละ 10-15 เพื่อป้องกันไม่ให้ฟอร์มาลินเปลี่ยนรูปไปเป็นโพลิเมอร์พาราฟอร์มาดีไฮด์ซึ่งเป็นพิษมากกว่าฟอร์มาลิน
ลักษณะทั่วไป
ฟอร์มาลินเป็นสารละลายใส  ไม่มีสี  มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว  เป็นสารรีดิวซ์รุนแรงมีค่า pH ประมาณ 2.8-4.0 สามารถรวมตัวได้กับน้ำ
ประโยชน์
ฟอร์มาลินเป็นสารที่ใช้สำหรับดองศพเพื่อไม่ให้ศพเน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องคนป่วย   
โทษ
ในกรณีที่เราได้รับในปริมาณต่ำร่างกายสามารถกำจัดได้ถ้าถูกตาจะระคายเคืองตามาก ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้หลอดลมบวม ทำให้แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด ทำให้เป็นแผลหรือถึงขั้นตาบอด ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้น้ำท่วมปอด จนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และตายในที่สุด
สารเคมีไล่แมลง
สูตรโมเลกุลC12H17NO มวลโมเลกุล 191.26
คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
เป็นของเหลว ไม่มีสี จุดเดือด 288-292 oC ความถ่วงจำเพาะ 0.997 – 1.000 กรัม/มิลลิลิตร
ประโยชน์
ใช้เป็นสารเคมีไล่แมลงโดยเฉพาะยุง ชนิดทาหรือพ่น สำหรับผู้ใหญ่ และเด็กที่มีอายุ    มากกว่า 6 เดือน
โทษ
หากได้รับในปริมาณมากโดยการกินเข้าไป อาจทำให้เกิดการกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการความดันโลหิตต่ำ และชักได้



ฟอร์มาลิน : สารปนเปื้อนในอาหาร
ฟอร์มาลินหรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์หมายถึงสารละลายที่ประกอบด้วยแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์ประมาณร้อยละ 37-40  มีเมทานอลปนอยู่ประมาณร้อยละ 10-15 เพื่อป้องกันไม่ให้ฟอร์มาลินเปลี่ยนรูปไปเป็นโพลิเมอร์พาราฟอร์มาดีไฮด์ซึ่งเป็นพิษมากกว่าฟอร์มาลินมาก ฟอร์มาลินเป็นสารที่ใช้สำหรับดองศพเพื่อไม่ให้ศพเน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องคนป่วย   
  ลักษณะทั่วไป
ฟอร์มาลินเป็นสารละลายใส  ไม่มีสี  มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว  เป็นสารรีดิวซ์รุนแรง เมื่อสัมผัสกับอากาศจะถูกออกซิไดส์ช้า ๆ ไปเป็นกรดฟอร์มิกซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน มีค่า pH ประมาณ 2.8-4.0 สามารถรวมตัวได้กับน้ำ แอลกอฮอล์ แต่ฟอร์มาลินไม่สามารถใช้ร่วมกับสารดังต่อไปนี้ คือ ด่างทับทิม ไอโอดีน และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ชื่อทางเคมี (Chemical Name):  ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)

น้ำหนักโมเลกุล (molecular formula): 30.03

สูตรเคมี (Chemical Formula): CH2O

โครงสร้างทางเคมี


           
 
การใช้ประโยชน์
  1. ด้านการแพทย์
    - ใช้ในการเก็บรักษา anatomical specimens เพื่อคงสภาพของเนื้อเยื่อไม่ให้เน่าเสีย
      - ใช้สารละลายฟอร์มาลินสำหรับฆ่าเชื้อโรคในเครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องฟอกเลือด (เครื่องล้างไต) เครื่องมือเครื่องใช้ในการเตรียมและสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน
      - นอกจากนี้ ไอระเหยของฟอร์มาดีไฮด์สามารถนำมาอบห้องฆ่าเชื้อโรคตามโรงพยาบาลได้ด้วย
      - สารละลายฟอร์มาลินมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา

      2. เครื่องสำอาง

      - ใช้ในยาสีฟัน ยาบ้วนปาก สบู่ ครีมโกนหนวด เพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยใช้เป็นส่วนประกอบในความเข้มข้นที่ต่ำมาก
      - ใช้ในเครื่องสำอางเพื่อไม่ให้เหงื่อออกมาก
      - ใช้ในน้ำยาดับกลิ่นตัว และอื่นๆ
      - ใช้เป็นส่วนประกอบของแชมพูที่ใช้สำหรับสัตว์เลี้ยง

      3. ด้านอุตสาหกรรม
- สารประกอบเชิงซ้อนของฟอร์มาลินมีคุณสมบัติทำให้ผ้า และกระดาษแข็งเกาะกัน จึงนำมาใช้ในการทำบอร์ด หรือไม้อัด ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อผลิตผงที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงลักษณะน้ำหนักและความแข็งแรงของไหมสังเคราะห์ ใช้ในการรักษาผ้า ไม่ให้ยับ หรือย่น ในอุตสาหกรรมกระดาษ เพื่อให้กระดาษลื่นและกันน้ำได้
      - ฟอร์มาลินมีประโยชน์ใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมาย ที่ใช้มากคือนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ (urea – formaldehyde) หรือ ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์ (phenol – formaldehyde) ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ใช้ทำโฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น และใช้ในการผลิตเรซิน (melamine – formaldehyde)
      - ใช้ในการสังเคราะห์สีต่างๆ เช่น สีคราม สีแดง สีอะครีลิก
      - ใช้ในการย้อมเพื่อปรับปรุงให้สีและสีย้อมติดแน่นขึ้น
      - ใช้ในการฟอกสีและการพิมพ์ และฟอกหนัง เป็นต้น
      - ใช้ในการผสมโลหะ เพื่อระงับการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน
      - ใช้สำหรับถ่ายภาพ ทำให้เก็บรักษาได้นาน

      4. ด้านการเกษตร

      - ใช้สำหรับการทำลายและป้องกันจุลินทรีย์และต้นไม้ที่เป็นโรค
      - ใช้ป้องกันผลิตผลเกษตรจากการเสียหายระหว่างการขนส่ง และการเก็บรักษา
      - ใช้ฆ่าเชื้อ ฆ่าเชื้อราในดิน
      - ใช้ทำความสะอาดสถานที่เก็บอุปกรณ์ เช่น ลังไม้
      - ใช้เป็นส่วนผสมของสารละลายที่ใช้เคลือบผัก ผลไม้จำพวกส้มระหว่างการเก็บเกี่ยวเพื่อชะลอการเน่าเสีย
      - ใช้เป็นปุ๋ย
      - ใช้ในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อป้องกันการเกิดโรคในปลา


อันตรายจากฟอร์มาลิน 
           
      ในกรณีที่เราได้รับในปริมาณต่ำร่างกายสามารถกำจัดได้ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงขึ้น หรือมีความเข้มข้นมากขึ้น ฟอร์มาลินจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดฟอร์มิค (Formic acid) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ทำให้เซลล์ตายได้ ฟอร์มาลินนั้นมีพิษต่อระบบต่างๆ เกือบทั่วทั้งร่างกาย  ดังนี้   
      ฟอร์มาลินจะมีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ หากได้รับในรูปของไอระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์ แม้จะปริมาณต่ำ ๆ ถ้าถูกตาจะระคายเคืองตามาก ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้หลอดลมบวม ทำให้แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด ทำให้เป็นแผลหรือถึงขั้นตาบอด ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้น้ำท่วมปอด จนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และตายในที่สุด อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลายชั่วโมงหลังจากได้รับสารโดยไม่มีอาการเจ็บปวดเลยก็ได้ หากได้รับปริมาณน้อยเป็นเวลานาน จะมีอาการไอและหายใจติดขัดเพราะหลอดลมอักเสบ เป็นต้น
ฟอร์มาลินจะมีพิษร้ายแรงต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินในปริมาณมาก จะทำให้ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก ปากและคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องอย่างรุนแรง กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หากได้รับสารนี้โดยการบริโภค  จะเกิดอาการพิษโดยเฉียบพลัน  ซึ่งอาการมีตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง  อาเจียน  อุจจาระร่วง  ปัสสาวะไม่ออก หมดสติ  ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเสียชีวิตเพราะระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว  ถ้าหากได้รับในปริมาณ 60-90 ซีซี  จะทำให้การทำงานของตับ  ไต  หัวใจ  และสมองเสื่อมลง  และก่อให้เกิดการปวดแสบปวดร้อนที่คอและปาก  เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง หมดสติได้ นอกจากนี้ยังพบว่าฟอร์มาลินเป็นสารก่อมะเร็งด้วย
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google