[SCIENCE] ส่วนประกอบที่สำคัญ น้ำยาลบคำผิด

17 พ.ค. 62 07:36 น. / ดู 1,879 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
กว่าจะมาเป็น "น้ำยาลบคำผิด"  เมื่อต้องประสบกับปัญหานี้อยู่บ่อยครั้งเธอจึงหาทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการประดิษฐ์น้ำยาลบคำผิดขึ้นมา ในปี ค.ศ.1950 เธอก็ค้นพบวิธีทำน้ำยาลบหมึกแบบง่าย เพียงใช้สีน้ำสีขาวบรรจุลงในขวดน้ำยาทาเล็บ ใช้พู่กันป้ายสีน้ำสีขาวลงบนกระดาษ แค่ก็สามารถลบคำผิดได้และพิมพ์ซ้ำทับได้แนบเนียน ใช้ง่าย รวดเร็ว และแก้ไขปัญหาได้อย่ามีประสิทธิภาพ
    ความนิยมเริ่มเกิดขึ้นเมื่อบรรดาเพื่อนร่วมงานของเธอเห็นเช่นนั้น ก็ขอน้ำยาลบหมึกของเธอมาใช้กันบ้าง และนี้ก็คือจุดกำเนิดน้ำยาป้ายคำผิด correcting fluidต่อมาเมื่อมีความต้องการน้ำยาป้ายคำผิดมากๆ นางเกรแฮมจึงพัฒนาสีน้ำสีขาวและทำการผลิตที่บ้านออกจำหน่าย ด้วยการผสมสีขาวลงในเครื่องปั่น กรอกใส่ขวดยาทาเล็บ เป็นอุสาหกรรมครอบครัวยาวนานถึง 17 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1979 เธอได้ขายกิจการให้บริษัทยิลเล็ต (Gillette) ในราคาที่สูงถึง 47.5 ล้านดอลลาร์ โดยสามารถผลิตน้ำยาลบคำผิดได้ถึง 25 ล้านขวด ออกจำหน่ายไปทั่วโลก
    จากปัญหาเล็กๆ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์มาจนถึงทุกวันนี้ ช่างเป็นไอเดียที่น่าชื่นชมจริงเนื่องจากน้ำยาลบคำผิดประกอบด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ (สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย) น้ำยาที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานานจะข้นมากขึ้นตามเวลาเพราะตัวทำละลายจะระเหยไปในอากาศ ซึ่งอาจทำให้น้ำยาข้นเกินไปที่จะใช้ หรือบางทีก็แห้งกรังไปเลย ดังนั้นผู้ผลิตน้ำยาลบคำผิดบางรายจึงขายตัวทำละลายเป็นอีกขวดแยกต่างหากโดยเรียกว่า ทินเนอร์ การใส่ทินเนอร์เพียงไม่กี่หยดลงในขวดก็ทำให้น้ำยากลับมาเป็นสภาพปกติทินเนอร์ที่ว่านี้เดิมประกอบด้วยโทลูอีน ซึ่งถูกห้ามใช้เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็ง ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนไปใช้ 1,1,1-ไตรคลอโรอีเทน แต่ก็ถูกห้ามใช้อีกโดยพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) เนื่องจากเป็นสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ จึงเปลี่ยนไปใช้ไตรคลอโรเอทิลีนซึ่งก็ไม่ได้ปลอดภัยจากเดิมมากนัก ปัจจุบันนี้ทินเนอร์ที่ใช้ในน้ำยาลบคำผิดมีส่วนประกอบของโบรโมโพรเพนเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกที่จะใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ ด้วยเหตุผลของความปลอดภัยและการสรรหา น้ำยาลบคำผิดบางยี่ห้อสามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลายได้ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลาแห้งนานกว่า และไม่สามารถใช้ได้กับหมึกบางประเภท ซึ่งจะทำให้สีหมึกปนกับน้ำยา
การใช้ในทางที่ผิดตัวทำละลายอินทรีย์เป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเมื่อสูดดมเข้าไปอย่างตั้งใจ ตัวทำละลายเช่นนี้เป็นสารสูดดมที่มีราคาถูกกว่าสารเสพติดเพื่อความผ่อนคลายชนิดอื่น การใช้น้ำยาลบคำผิดเป็นสารสูดดมสามารถทำให้หัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิต [1] ดังนั้นผู้ผลิตบางรายจึงใส่กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ลงไปในน้ำยาเพื่อป้องกันการใช้ในทางที่ผิดนี้
ปากกาลบคำผิด
ปากกาลบคำผิดเมื่อไม่นานมานี้ น้ำยาลบคำผิดได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้คล้ายกับปากกา ปากกานี้จะมีสปริงอยู่ที่ปลาย ซึ่งเมื่อถูกกดลงบนกระดาษ น้ำยาจะไหลออกมาในปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับแบบขวดแล้ว ปากกาลบคำผิดสามารถใช้กับเส้นเล็ก ๆ หรือพื้นที่แคบได้ แต่ไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะใช้เวลาแห้งน้อยกว่าเดิม เพราะว่าพื้นที่ผิวหน้าในการระเหยนั้นมีขนาดเล็กกว่า
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google