Stroke | โรคเส้นเลือดในสมองตีบ และ เส้นเสื้อในสมองแตก ต่างกันยังไงนะ?

20 มิ.ย. 62 15:21 น. / ดู 606 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
“โรคหลอดเลือดสมอง” (Stroke) เกิดขึ้นเมื่อสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบหรือเส้นเลือดสมองแตก เป็นเหตุให้เนื้อเยื่อในสมองนั้นถูกทำลายลง ส่งผลให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก ส่งผลให้เซลล์สมองถูกทำลายเสียหาย หากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีชีวิตอยู่ก็มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ได้แก่ อัมพฤกษ์ อัมพาต นั่นเอง

แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

• โรคหลอดเลือดสมองตีบ(Ischemic Stroke) พบได้ประมาณ 70–85% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด
• โรคหลอดเลือดสมองแตก(Hemorrhagic Stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง หรือเยื่อหุ้มสมอง พบได้ประมาณ 15–30% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด

โรคหลอดเลือดสมองตีบ
ทำให้เซลล์สมองและเซลล์เนื้อเยื่ออื่นๆ ขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือด เช่น ไขมันและเกล็ดเลือด มาเกาะที่ผนังหลอดเลือดหรือมีการสร้างชั้นของผนังเซลล์หลอดเลือดที่ผิดปกติ ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและเสียความยืดหยุ่น ทำให้มีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดได้

โรคหลอดเลือดสมองแตก
พบน้อยกว่าโรคหลอดเลือดสมองตีบ แต่มีความรุนแรงมากกว่า สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตก อาจเกิดจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองโป่งพอง เป็นต้น มักมีอาการปวดศีรษะทันที อาเจียน แขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว ชัก หรือหมดสติได้ ถือเป็นระยะอันตราย เนื่องจากเป็นภาวะที่มีเลือดออกในสมอง ซึ่งนอกจากจะต้องนำผู้ป่วยไปถึงมือหมอโดยเร็วที่สุดแล้ว ยังจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

ดังนั้น การระมัดระวังตนเองและป้องกันมิให้เกิดโรคจึงน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ด้วยการดูแลสุขภาพของตนตั้งแต่อายุยังน้อย หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคอยตรวจสอบตนเองอยู่เสมอด้วยนะคะ

ที่มา healthandtrend.com
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz423213 | 11 ก.ค. 62 14:31 น.

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz423321 | 13 ก.ค. 62 21:58 น.

8o     

ไอพี: ไม่แสดง | โดย MacOS

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google