ผลิตภัณฑ์นมมีกระบวนการทำยังไงบ้างถึงผลิตออกมาได้แตกต่างกัน

20 ส.ค. 62 17:05 น. / ดู 500 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

                    ทุกคนจะรู้กันดีว่าในน้ำนมนั้นมีสารอาหารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้อาหารที่ผลิตมาจากนมล้วนมีประโยชน์และเป็นที่ต้องการของทุกเพศทุกวัย เพราะเหตุนี้จึงทำให้มีผลิตภัณฑ์นมออกมาหลากหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น นมพร้อมดื่ม , ครีม , เนยสด , นมหมักเชื้อจุลินทรีย์ , ไอศกรีม , นมข้น นมข้นหวาน และนมผง และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่รู้หรือไม่ค่ะว่า ผลิตภัณฑ์นมเหล่านี้ใช้กระบวนการทำยังไงบ้าง ? ถึงได้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาต่างกัน ถ้าอยากรู้คำตอบ ตามเรามาทางนี้เลยค่ะ เพราะเราจะมาบอกถึงกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ให้กระจ่างเอง
          ผลิตภัณฑ์นมมีกระบวนการทำยังไงบ้างถึงผลิตออกมาได้แตกต่างกัน

1. นมพร้อมดื่ม
ได้แก่ น้ำนมสด น้ำนมปรุงแต่ง น้ำนมคืนรูป และน้ำนมผสมคืนรูป น้ำนมสดคือ นมที่รีดมาจากแม่โคโดยมิได้แยก หรือเติมวัตถุอื่นใด และผ่านการฆ่าเชื้อแบบปาสเตอร์ การทำไร้เชื้อ (สเตอริไลซ์) หรือการทำไร้เชื้อแบบยูเอชที (สเตอริไลซ์ยูเอชที) อย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำนมปรุงแต่ง ได้แก่ น้ำนมที่แต่งด้วย สี กลิ่น และรสต่าง ๆ

2. ครีม
คือ ส่วนที่เป็นไขมัน ซึ่งแยกมาจากน้ำนม ใช้สำหรับการบริโภคโดยตรง หรือนำไปทำขนมมอบต่าง ๆ เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ ฯลฯ หรือทำน้ำสลัด ในประเทศไทยมีการผลิตครีม สำหรับตีปั่น หรือวิปปิงครีม ซึ่งสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานประมาณ 7 วัน
กระบวนการผลิตครีมนั้น ใช้วิธีปั่น แยกครีมออกมาในอุณหภูมิที่เหมาะสมในระดับ 35 องศาเซลเซียส บางครั้งอาจต้องผ่านกระบวนการลดอนุภาคของไขมัน จากนั้นนำมาบ่มที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า เป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วบรรจุลงในภาชนะแก้ว พลาสติก หรือกล่องกระดาษ เป็นต้น

3.  เนยสด
เป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้จาก ส่วนที่เป็นไขมัน ซึ่งต้องมีความเข้มไม่ต่ำกว่า 80% มีกระบวนการผลิตคล้ายคลึงกับการทำครีม กล่าวคือ มีการปั่นแยกไขมัน การฆ่าเชื้อ แบบปาสเตอร์ แต่เติมเชื้อจุลินทรีย์ลงไป เพื่อทำให้ครีมเปรี้ยว หรืออาจเติมเกลือ แล้วนำไปบ่มหรือไม่บ่มก็ได้ ตามแต่ชนิดของเนยสด

4.นมหมักเชื้อจุลินทรีย์
มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากคือ โยเกิร์ต ซึ่งในยุโรป มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เชื้อจุลินทรีย์ที่เติมลงไปเป็นตัวตั้งต้น (starter) ต้องมีการเตรียมเป็นอย่างดี เชื้อจุลินทรีย์นี้เป็นบัคเตรี ชื่อ สเตร็พโทค็อกคัส เทอร์มอฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และแล็กโทบะซิลลัส บุลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus) กระบวนการนี้ใช้การควบคุมอุณหภูมิ ที่จุลินทรีย์ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุด นมหมักเชื้อจุลินทรีย์ที่ขายในท้องตลาด มีทั้งชนิดดื่ม และชนิดตักรับประทาน นอกจากนี้ ยังมีชนิดที่เพิ่มกลิ่น หรือรสต่าง ๆ อีกด้วย
นมหมักเชื้อจุลินทรีย์ เรียกกันทั่วไป ว่า นมเปรี้ยว มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก มีความเชื่อมั่นกันว่าการที่จุลินทรีย์ดังกล่าวเปลี่ยน น้ำตาลแล็กโทสในนมเป็นกรดแล็กติกนั้น ทำให้ ระบบย่อยอาหารของผู้บริโภคดีขึ้น ทำให้อายุยืน และมีพลานามัยที่สมบูรณ์

5.ไอศกรีม
เป็นผลิตภัณฑ์นมแช่แข็ง ซึ่งนำส่วนผสมที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว ไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อให้อากาศเข้าไป ทำให้เกิดรูปร่างข้นหนืดอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสภาพดังกล่าวไว้ โดยการแช่แข็ง ส่วนผสมของไอศกรีมแตกต่างกันไป ตามชนิดของไอศกรีมท้องถิ่น และวัตถุดิบที่หาได้ ไอศกรีมนอกจากมีรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีคุณค่าทางโภชนาการด้วย

6. นมข้น นมข้นหวาน และหางนมข้นหวาน
กระบวนการผลิตนมข้นและนมข้นหวานเป็นการเก็บรักษาน้ำนมให้มีคุณภาพดีและ อยู่ได้นาน โดยการทำให้เข้มข้น ด้วยการระเหย เอาน้ำบางส่วนออก แล้วนำไปผ่านการทำไร้เชื้อ ในภาชนะที่ปิดสนิท สำหรับผลิตภัณฑ์นมข้นหวาน นั้น จะเติมน้ำตาลลงไปประมาณ 40-45 % ของน้ำหนักทั้งหมด

7. นมผง และหางนมผง
เป็นผลิตภัณฑ์นม ที่ได้จากกระบวนการถนอมอาหาร โดยทำให้แห้ง เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ การทำให้แห้งมีหลายวิธี เช่น การใช้หัวอัดกำลังสูง การใช้ลูกกลิ้ง หรือการใช้จานหมุนมีหัวฉีด ต่อจากนั้นนำมาผ่านกรรมวิธี ที่ทำให้นมผงละลายน้ำได้ดี แล้วนำบรรจุในถุงหรือกระป๋อง

          เป็นยังไงกันบ้างค่ะ กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์นมมาแต่ละอย่างต้องใช้เทคนิคหลากหลายวิธีมาก ๆ เพื่อแปรรูปน้ำนมให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  เพื่อให้เราได้รับประทานได้หลายหลายแหละถึงแม้ว่าน้ำนมจะมีประโยชน์เยอะแต่เวลาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีการใส่น้ำตาลหรือสารต่าง ๆ ที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเยอะก็ควรเลือกที่จะต้องรับประทานไม่ควรทานมากเกินไป อย่างเช่น นมข้นหวานหรือไอศครีม เป็นต้น เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้ค่ะ

#ผลิตภัณฑ์นม
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google