จาก CSR สู่ CSV มุ่งคืนกำไรสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ

27 ต.ค. 62 19:58 น. / ดู 497 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ใกล้สิ้นปีแล้ว ภาคธุรกิจน้อยใหญ่คงกำลังเร่งทำ CSR (Corporate Social Responsibility) กัน เพื่อให้ทันไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ บางคนอาจจะมองว่า CSR เป็นการทำบุญ หรือเพื่อตอบแทนสังคมที่สนับสนุนธุรกิจ และบางคนอาจจะมองว่าเป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อโปรโมทธุรกิจ ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นที่เรียกว่า CSV หรือ Creating Shared Value ซึ่งเป็นแนวความคิดของ Michael E. Porter ผู้ซึ่งเป็นกูรูด้านกลยุทธ์การข่งขัน ที่มีแนวคิดปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steak Holder) ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า Supplier รวมไปถึงแม้กระทั่งชุมชนที่บริษัทตั้งอยู่ เป็นการสร้างคุณค่าร่วมกันแทนที่จะมุ่งช่วยเหลือสังคมอย่างเดียวแบบ CSR เป็นการหาพื้นที่ตรงกลางระหว่างธุรกิจกับสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการปรับเข้าสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนด้วยการลดการใช้ทรัพยากร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


ความแตกต่างระหว่าง CSR และ CSV คืออะไร

CSR คือ ความรับผิดชอบของบริษัทต่อสังคมโดยมากจะเป็นการช่วยเหลือสังคมด้วยกิจกรรมในรูปแบบต่างๆซึ่งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ทำให้หลายๆ บริษัท ที่ทำกิจกรรม CSR ถูกมองว่าทำไปเพียงเพราะต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้บริษัทไม่ได้ตั้งใจทำเพื่อสังคม ในขณะที่ CSV นั้น คือการสร้างคุณค่าร่วมกัน เพื่อหาตรงกลางที่จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกๆ ฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยที่บริษัทไม่ต้องจัดกิจกรรม หรือสนับสนุนใดๆ ทำให้เกิดการบูรณาการที่ยั่งยืนกว่าการทำ CSR ที่ทำจบโครงการแล้วก็จบไป



“แนวคิด CSV จะก้าวข้ามไปอีกขั้น หากองค์กรธุรกิจมุ่งมั่นดำเนินงานที่ก่อประโยชน์แก่สังคม ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกันได้”
วิธีการสร้างคุณค่าร่วมแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1). ระดับของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ที่เป็นความต้องการของสังคม “Product” โดยเฉพาะกับตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง เป็นการส่งมอบคุณค่าให้สังคมโดยตรงผ่านตัวสินค้าและบริการ ขณะที่ธุรกิจได้รับคุณค่าในรูปของส่วนแบ่งการตลาด, การเติบโต

    ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจการเงิน มีการออกแบบสินเชื่อหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการสังคม หรือโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ มีการพัฒนารูปแบบของแหล่งพลังงานทดแทน พลังงานสะอาด ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม มีการใช้สารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในการประกอบหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ลดการใช้สารเคมีหรือสารปรุงแต่งอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในธุรกิจบริการสุขภาพ มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับคนชั้นฐานราก ด้วยคุณภาพในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม ในธุรกิจบริการโทรคมนาคม มีการขยายบริการเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ชนบทห่างไกลและขาดแคลนบริการ เป็นต้น


2). ระดับของการกำหนดบรรทัดฐานใหม่ในเรื่องผลิตภาพ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นทางสังคมตลอดห่วงโซ่คุณค่า เป็นแนวปฏิบัติในการสร้างคุณค่าร่วมโดยมุ่งเน้นที่การยกระดับ ‘Value Chain’ เป็นโจทย์ในการพัฒนาผลิตภาพร่วมกับคู่ค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งเป็นการส่งมอบคุณค่าให้แก่สังคมจากการจัดการทรัพยากร วัตถุดิบ แรงงาน ค่าตอบแทน ในขณะที่ธุรกิจจะได้รับคุณค่าในรูปของประสิทธิภาพ การบริหารต้นทุน ความมั่นคงทางวัตถุดิบ คุณภาพ และความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น

    ตัวอย่างของการสร้างคุณค่าร่วมในระดับผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ผ้าครามมัดย้อมจากสกลนครและผ้าทอตีนจกย้อมสีธรรมชาติจากภาคเหนือ ซึ่งเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ที่เป็นคู่คิดและคู่ค้ากับชุมชนต่างๆ เพื่อชูจุดแข็งและภูมิปัญญาของคนไทยและผสมผสานกับเทคนิคการออกแบบที่ทันสมัย สามารถใส่ได้จริงในชีวิตประจำวันได้จริง อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะใช้สีจากธรรมชาติทั้งหมดมาในทุกขั้นตอนการผลิต ซึ่งตรงกับ CSV ทุกประการ เพราะสร้างความพึงพอใจในทุกฝ่าย สร้างรายได้ให้ชุมชน ธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม





3). ระดับของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นที่เอื้อต่อธุรกิจ เป็นแนวปฏิบัติในการสร้างคุณค่าร่วมโดยมุ่งเน้นที่ ‘Local Community’ โดยเพิ่มบทบาทในการร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในแง่มุมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นการส่งมอบคุณค่าให้แก่สังคมด้วยการสร้างงาน การสาธารณสุข การศึกษา เศรษฐกิจชุมชน สวัสดิการสังคม ในขณะที่ธุรกิจจะได้รับคุณค่าทั้งในแง่ของรายได้และการบริหารต้นทุน การเข้าถึงปัจจัยการผลิต การกระจายตัวสินค้า รวมถึงความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น

    ตัวอย่างของการสร้างคุณค่าร่วมในระดับชุมชนท้องถิ่น อาทิ ให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยในระดับฐานราก (Microfinance) ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ หรือมีการร่วมพัฒนาชุมชนเพื่อเสริมสร้างบริบทการแข่งขันในตลาดเกิดใหม่ ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เช่นการเพิ่มมูลค่าสินค้าในชุมชนให้กลายเป็นสินค้าที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนและยังเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์อีกด้วย
ทั้งนี้ การสร้างคุณค่าร่วมของทุกระดับ ย่อมก่อให้ธุรกิจรับคุณค่าด้านรายได้ และมีความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น นี่เป็นแค่แนวทางหนึ่งที่จะสร้าง

CSV อย่างมีคุณภาพ หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการคิดและดำเนินสร้าง CSV ให้สอดคล้องกับชุมชนและวางแผนการดำเนินเพื่อให้โครงการนั้นยั่งยืน เชื่อว่าชุมชนต่างๆ ในประเทศของเรา จะช่วยเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมต่างประเทศอย่างแน่นอน
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google