สัมปทานดิวตี้ฟรี ผูกขาดคิงเพาเวอร์จริงๆ หรือเป็นเพียงแค่วาทะกรรมกันแน่

1 ธ.ค. 62 23:14 น. / ดู 447 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
และแล้ว สุดท้ายการประมูล  ดิวตี้ฟรี สนามบินดอนเมือง ก็มีแค่ 2 รายที่เข้าซื้อซองประมูลคือ เดอะมอลล์ กับ คิงเพาเวอร์ ที่ก่อนหน้านี้ ต่างมองว่าจะมีการเข้าแย่งประมูลกันอย่างคึกคักแบบดิวตี้ฟรี สุวรรณภูมิ แต่สุดท้ายแท้จริงแล้วก็มีมาซื้อซองประมูลแค่ 2 ราย
        ถ้าใครตามข่าวเรื่องประมูล  ดิวตี้ฟรี  ก็จะเห็นข่าวดราม่าออกมาเรื่อย ๆ รวมกระทั่งข่าวที่ทาง ทอท. คิดไว้ว่าจะมัดรวมสัญญาประมูลดิวตี้ฟรีต่างจังหวัดอย่าง สนามบินภูเก็ตและหาดใหญ่ ไปกับสัญญา สัญญาสนามบินสุวรรณภูมิ ถูกมองเป็นเรื่องผูกขาดให้รายเดียว ทั้งที่จริงแล้วทาง ทอท. เองก็ได้คิดมาอย่างรอบคอบแล้ว เพราะอย่างล่าสุด เปิดให้ซื้อซองประมูลดิวตี้ฟรี สนามบินดอนเมือง มีแค่ 2 รายที่ซื้อซองประมูลไปอย่างเงียบเหงา

      คำว่าผูกขาดมักมากับธุรกิจที่มีการประมูล  เป็นเรื่องแปลกมั้ยที่การประมูลมันก็คือการป้องกันการผูกขาด แต่ไหงเป็นว่า ที่ไหนมีการประมูลที่นั่นมักโดนหาว่าผูกขาด อย่างการประมูลสัปทานปิโตรเลียมบ้านเราก็เช่นเดียวกัน มีรายที่ชนะประมูลครั้งนี้ไป ซึ่งก็เป็นเอกชนที่มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นด้วยซ้ำ แต่การชนะครั้งนี้กลับมองว่าเป็นการผูกขาดปิโตรเลียมเช่นกัน ก็อีกนั่นแหละ ใครเสียผลประโยชน์ ก็หาว่าโดนผูกขาดทั้งที่ตัวบริษัทเองก็มีผู้ถือหุ้นเป็นกระทรวงการคลังด้วยซ้ำ ประโยชน์ก็เข้าประเทศเห็นๆ


พูดถึงเรื่องข่าวการประมูลดิวตี้ฟรี ถ้าดูที่ผ่านมา สื่อมักจะให้ความสนใจที่เรื่องเกี่ยวกับการผูกขาดการประมูล ซึ่งสื่อเองก็มักเป็นตัวตั้งตัวตีประโคมข่าว ยัดข้อหาผูกขาด ทั้งที่จริงแล้วการประมูลที่ผ่านมา คิงเพาเวอร์เองก็เรียกว่าจ่ายหนัก ชนะประมูลที่ให้ผลประโยชน์กับ AOT สูงลิ่ว เกินกว่ารายอื่นเป็นเท่าตัว ลบข้อครหาที่ถูกกล่าวหาว่าผูกขาดอย่างเรียกได้ว่า ใสกว่านี้ก็น้ำกลั่นแล้ว

อ้างอิง https://workpointnews.com/2019/06/19/kingpower-dutyfree/

ในเมื่อมีการเปิดประมูลแข่งขันกันแบบนี้แล้ว ยังมีดราม่าดิสเครดิตกันมากมาย หรือเอ๊ะ!! คิดให้ลึก.....มันคือธุรกิจการทำข่าวกันไปแล้ว เพราะสื่อสมัยนี้เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่นสื่อที่เป็นพวกในเครือต่างๆ แตกแขนง สร้างมาเพื่อเป็นเหมือนมือปีนรับโจมตี กระจายข่าวขายข่าว ยิ่งนักธุรกิจและนักการเมืองที่มีสื่ออยู่ในมือแล้ว ยิ่งง่ายต่อการเล่นแง่โจมตี

          ดราม่าเองก็ไม่ได้จบแค่นั้น คำว่าผูกขาดยังหากินได้อีก อย่างการประมูลดอนเมืองล่าสุดหากตัว คิงเพาเวอร์เอง เป็นรายเดียวที่ซื้อซองประมูล คำว่าผูกขาดก็อาจจะโดนหยิบมาเล่นกันอีกรอบ

การประมูลดิวตี้ฟรีดอนเมืองที่ตอนแรกมีการคาดหวังไว้ว่ามีหลายรายเข้าร่วมประมูล แบบสนามบินสุวรรณภูมิแต่กลับกัน รอบนี้ก็เงียบเหงาเกินคาดมาก อาจจะเพราะมองว่าการเข้าแข่งขัน สู้ประมูลเป็นเรื่องที่ยาก และตอนนี้มีการเปิดเสรี ปิคอัพเคาท์เตอร์ ซึ่งเป็นโอกาสให้สามารถขายสินค้าปลอดอากร และมารับสินค้าได้ที่สนามบินโดยที่ไม่ต้องเป็นเจ้าของสิทธิประกอบกิจการดิวตี้ฟรี

          “ผูกขาด” คำนี้ทั้งที่เป็นคำไว้สำหรับหมายถึงการทำธุรกิจเพียงผู้เดียวไม่มีการแข่งขัน ไม่มีการประมูล ซึ่งตลาดบ้านเรามันมีความเป็นเสรีเปิดให้แข่งขันจะเห็นได้ว่าตลาดบ้านเรามีธุรกิจอะไรเกิดขึ้นมาก็มักมีคู่แข่ง มีการประมูล ผู้ชนะประมูลก็ย่อมมากับการลงทุนที่สูง ทั้งที่ไม่ทราบผลตอบแทนที่แน่นอนด้วยซ้ำ

หลายๆครั้งการหยิบคำว่าผูกขาดมาเล่น มันทำให้ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปเพราะมันทำให้คนทั่วไปมีความรู้สึกถูกเอาเปรียบไม่ทางใดก็ทางนึง และก็เป็นเหมือนอาวุธทางอักษรที่ใครมีช่องทางเปิดเผยให้คนทั่วไปเห็นก็สามารถเอาคำนี้มาเปิดรับบริการให้สังหารเป้าหมายได้ ทำให้คนอ่านเองต้องแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่เป็นเครื่องมือของนักธุรกิจหรือนักการเมืองที่ชอบเล่นแง่ต่อคู่แข่ง

เครดิต: http://www.prachatalk.com/webboard/.........ันแน่
แก้ไขล่าสุด 1 ธ.ค. 62 23:15 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google