การดูแลผู้ป่วยไขข้ออักเสบเบื้องต้น

23 เม.ย. 63 16:25 น. / ดู 699 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

      ในปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายกันมากขึ้น และเมื่อออกกำลังกายบ่อย ๆ หลายคนคงมีอาการปวดตามข้อเวลาออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาประเภทที่ต้องกระโดด หรือวิ่งมาก ๆ เป็นเวลานาน และอาจรู้สึกปวดตามข้อ หรือในเวลาที่อากาศเย็นขึ้น บุคคลประเภทนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ
      และโรคไขข้ออักเสบหรือข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นโรคไขข้อ บางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น สำหรับบ้านไหนที่มีผู้ป่วยเป็นโรคไขข้ออักเสบวันนี้เรามีวิธีดูแลเบื้องต้นมาฝากกันครับ

การดูแลผู้ป่วยไขข้ออักเสบเบื้องต้น
      1. ลดอาการปวดและเกร็งของกล้ามเนื้อรอบเข่า โดยใช้ความร้อนประคบ
      2.  บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่า
      3.  ใช้สนับเข่าในรายที่เข่าเสียความมั่นคง สนับเข่าจะช่วยให้ข้อเข่ากระชับ ลดอาการปวด แต่ถ้าใช้เป็นเวลานานจะพบว่ากล้ามเนื้อรอบเข่าลีบจากการไม่ได้ใช้งาน จึงควรมีการบริหารข้อเข่าร่วมด้วยเสมอ
      4.  อิริยาบถต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม จะเป็นตัวเร่งส่งเสริมให้เกิดความเสื่อมในข้อเข่าเร็วขึ้น ได้แก่ การนั่ง พับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ ควรหลีกเลี่ยงหรือปรับให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้นั้น
      5.  ไม้เท้าจะช่วยแบ่งเบาแรงที่กระทำต่อข้อเข่าได้บ้าง และช่วยเพิ่มความมั่นคงในการยืนเดิน บางรายอาจใช้ร่มแทน ให้ใช้จุกยางอุดปลายร่มเพื่อกันลื่น
      6.  ลดน้ำหนัก เนื่องจากเวลายืนเดิน เข่าต้องรับน้ำหนัก 3-4 เท่าของน้ำหนักตัว ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก เข่าจะยิ่งต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ดังนั้นการลดน้ำหนักจะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่าได้มาก

      และนี่ก็คือขั้นตอนการดูแลเบื้องต้นสำหรับบ้านไหนที่มีผู้ป่วยเป็นไขข้ออักเสบ ถ้าปฏิบัติได้ตามนี้ก็อาจจะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ยิ่งบ้านไหนที่มีผู้สูงอายุเป็นโรคนี้ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษนะครับ
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | PRO_D | 24 เม.ย. 63 10:39 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz415684 | 3 พ.ค. 63 18:40 น.

กลูโคซามีนก็โอเคนะคะ ทานประจำ กระดูกไม่ดังก๊อกแก๊กๆๆเวลาเดินขึ้นบันได เราทานของแบลคมอร์

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | Pichai | 14 พ.ค. 63 16:41 น.

 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google