วิธีการต่อภาษีรถออนไลน์ ง่ายๆ อัพเดทล่าสุด 2563

23 เม.ย. 63 16:44 น. / ดู 474 ครั้ง / 0 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์




หลังจากเราต่อพ.ร.บ.รถเสร็จแล้ว ควนจะต่อภาษีรถยนต์ตามด้วยเลย หากเราขาดการต่อทะเบียนรถจากกรมขนส่งทางบก ก็จะทำให้ทะเบียนรถคันดังกล่าวถูกระงับพร้อมกับเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนสะสมไปเรื่อยๆ จนถึงวันชำระจริง นั่นก็หมายความว่าหากเราต่อพรบ.รถยนต์เรียบร้อยแล้ว ก็คสรรีบไปจัดการต่อภาษีออนไลน์กับกรมขนส่งทางบกทันทีก่อนจะหมดอายุ
แต่ทั้งนี้รถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุเกิน 5 ปี จะต้องดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาเท่านั้น (ไม่สามารถยื่นต่อทางออนไลน์ได้นะจ๊ะ)


มาดูขั้นตอนการต่อภาษีรถออนไลน์กันเลย

[list]
[*]ให้คลิกเข้าไปยังเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
[*]สำหรับสมาชิกใหม่ให้ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (กรณีเคยลงทะเบียนแล้วก็ Log-in เข้าสู่ระบบ)
[/list]



[list]
[*]ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ที่เมนู "ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี"
[*]กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถแล้วยื่นชำระภาษี
[*]กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตามพ.ร.บ. (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) สามารถซื้อพ.ร.บ. ได้จากระบบ
[*]เลือกช่องทางการชำระเงินตามที่ต้องการ ได้แก่ ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก, ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต, ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระ ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application ของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ
[*]ตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลข กรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู "ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน"
[*]หลังจากนั้นกรมขนส่งทางบกจะจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี หรือกรมธรรม์พ.ร.บ.ที่ซื้อภายในระบบ เป็นระยะเวลาประมาณ 7-15 วันทำการ หากท่านติดขัดเรื่องเอกสาร หรือเอกสารจัดส่งล่าช้า ก็สามารถติดตามเรื่องได้ที่ โทร. 1584
[/list]


ค่าใช้จ่ายที่ในการต่อภาษีรถออนไลน์

[list]
[*]สำหรับค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์ โดยจะพิจารณาการจัดเก็บภาษีรถตามความจุรถ (หน่วย: ซีซี) เป็นหลัก เช่น 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท, 601 – 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท หรือเกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท
[*]ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท
[*]ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก) รายการละ 20 บาท
[*]ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และ VAT 7% ของผลรวมยอดเงินทั้งหมด
[/list]





เงื่อนไขการยื่นชำระภาษีรถออนไลน์ มีดังนี้
[list]
[*]สำหรับประเภทรถ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12)
[*]สำหรับประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 อายุรถไม่เกิน 7 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
[*]รถจักรยานยนต์ อายุรถไม่เกิน 5 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
[*]รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี (รถค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
[*]ชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน
[*]ประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 น้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม (ถ้าน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถและยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
[*]รถที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด (รถติดตั้งแก๊สให้ดำเนินการตรวจสภาพถังแก๊สตามประกาศกรมฯ และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
[*]รถทุกจังหวัดทะเบียน
[*]สถานะรถ "ปกติ" เท่านั้น
[*]รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี/ ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ
[*]รถที่ไม่ถูกอายัด (อายัดโดยระบบงานของกรมการขนส่งทางบก)
[/list]
อ่านเพิ่มเติม >>> ป้ายทะเบียนแต่ละสี มีความหมายอย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม >>> ป้ายทะเบียนสีซีดจาง เสียงถูกปรับ เปลี่ยนได้ แค่หลักร้อยบาท

อ่านเพิ่มเติม >>> จองเลขทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ 2563 ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

แต่ถ้าหากท่านใดมีแพลนจะออกรถแล้วต้องการประหยัดงบ ด้วยการซื้อรถมือสอง แล้วละก็แต่ยังไม่มีรถที่ถูกใจ เราขอแนะนำ Apple luxury car (โชว์รูมรถหรูมือสอง) ที่รวม "รถหรูมือสอง" ไว้มากที่สุด คุณภาพดี ราคามิตรภาพ พร้อมโปรโมชั่น และบริการหลังการขายอีกต่างๆมากมาย หรือว่าจะเป็น "รถบ้านมือสอง" ทั่วไปเราก็มีรับรอง รถยนต์มือสอง คุ้มค่ากว่าที่คิดอย่างแน่นอน
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google