การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการตรวจอุจจาระและตรวจด้วยภาพมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

9 ก.ย. 63 16:43 น. / ดู 1,595 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

                      โรคมะเร็งจัดว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่มีคนเป็นเยอะลำดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งระยะที่เป็นก็รุกรานไปเรียบร้อยแล้ว สาเหตุที่เป็นแบบนี้เพราะว่ามะเร็งในระยะแรก ๆ มันมักจะไม่มีอาการอะไรแสดงออกมาทำให้ผู้ป่วยหลาย ๆ คนไม่รู้ตัว ซึ่งการเป็นมะเร็งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั้นมันจะมีอาการที่แสดงออกมาแตกต่างกันออกไป อย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็จะมีอาการ อย่างเช่น ขับถ่ายผิดปกติ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ถ่ายมีมูกเลือด ท้องผูก ปวดเบ่งถ่ายตลอดเวลา อุจจาระลำเล็กลง โดยส่วนใหญ่จะพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้มีโอกาสการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการไปตรวจสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองโรคต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ถ้ารู้เร็ว รักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น ซึ่งการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สามารถตรวจได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้
                การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่จากการตรวจอุจจาระและการตรวจด้วยภาพ
1.การตรวจอุจจาระ (Stool-based Test) สามารถตรวจได้ 2 วิธี ได้แก่
• การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Fecal Occult Blood Test: FOBT)
การตรวจอุจจาระเพื่อหาเม็ดเลือดแดงที่อาจมีแอบซ่อนอยู่ หรือเป็นการตรวจหาเลือด ปริมาณน้อย ๆ ที่ปนอยู่ในอุจจาระ (Occult Blood) ซึ่งมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า
• การตรวจหาดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็งหรือติ่งเนื้อ (Fecal DNA Testing)
เนื้องอกลำไส้ใหญ่จะมีการหลุดลอก ทำให้สามารถตรวจพบดีเอ็นเอที่ผิดปกติในอุจจาระได้

2. การตรวจด้วยภาพ
• การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยภาพเสมือนจริง (Computed tomographic (CT) Colonography)
เป็นเทคนิคการตรวจที่ทันสมัย ทำได้โดยการใส่ลมเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ขยายเห็นรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่ทำได้ แล้วเอกซเรย์ภาพในลักษณะภาพตัดขวาง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างภาพสามมิติให้เป็นภาพเสมือนจริงของลักษณะภายในลำไส้ใหญ่เพื่อใช้ดูความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ (Polyp) รอยโรคอื่น ๆ ที่ปรากฎในลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
• การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Flexible Sigmoidoscopy)
การใส่กล้องเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจความผิดปกติของลำไส้ตรง (Rectum) และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Flexible Colon) ถ้าเห็นรอยโรค วิธีการนี้สามารถตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจสอบต่อได้
• การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
เป็นการส่องกล้องเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อให้เห็นภาพภายในลำไส้ตรงและลำไส้ใหญ่ทั้งหมดวิธีนี้สามารถตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ เป็นวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำมากที่สุด

                ส่วนแนวทางในการรักษานั้นปัจจุบันมีการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนมะเร็งออกจากร่างกายหรือจะเป็น การรักษาด้วยการฉายแสงเป็นการใช้รังสีพลังงานสูงในการกำจัดเซลล์มะเร็ง และการใช้ยาเคมีบำบัด ซึ่งในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักนั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง ระยะของโรค รวมถึงสภาพร่างกายและความพร้อมของผู้ป่วยขณะนั้นว่าเหมาะสมกับวิธีใดมากที่สุด โดยทั่วไปการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่วิธีที่ดีที่สุด ได้แก่การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ส่วนที่มีเนื้อร้ายออก สำหรับการให้ยาไปทำลายเซลล์มะเร็ง (เคมีบำบัด) หรือ การฉายรังสีรักษา เป็นการรักษาเพิ่มเติมในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้โดยการฉายแสงร่วมกับเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อหยุดการกระจายตัวของมะเร็งไม่ให้ลุกลามต่อ รวมทั้ง บรรเทาอาการหรือความทรมานจากมะเร็งได้ค่ะ

#มะเร็งลำไส้
แก้ไขล่าสุด 9 ก.ย. 63 16:43 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 9 ก.ย. 63 17:33 น.

เป็นความรู้มากๆๆ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google