#รังแค ที่น่าลำคาน

13 พ.ย. 63 14:59 น. / ดู 6,218 ครั้ง / 1 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์
สาวๆหลายคนอาจเคยประสบปัญหา #รังแคบุก มันสร้างความเสียหายทางใจและร่างกายอย่างมาก ยื่งเวลาที่#รังแค โจมตีนะ แม่คุณเอ่ยยยยยย ....... เสียบุคลิกสุดๆไปเลย
    ......... แต่ว่ามันก้ไม่ได้เลวร้ายขนาดที่ว่ารักษาไม่ได้นะคะ วันนี้ M มีข้อมูลดีๆมาเป็นความรู้ให้กันคะเพื่อเป็นแนวความรู้สำหรับคนที่ไม่ทราบ และคนที่ทราบแล้วแต่ต้องการข้อมูลเพิ่ม
#รังแค คือ ขุยหรือสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ พบบริเวณโคนผม เส้นผม หรืออาจร่วงลงมาเกาะบนปกเสื้อ บริเวณบ่าและไหล่ #รังแคนี้เป็นปัญหาที่พบบ่อย และมีผลต่อบุคลิกภาพทำให้คนจำนวนมากขาดความมั่นใจ
#รังแคเกิดจากการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดของหนังศีรษะ  โดยปกติแล้ววงจรชีวิตของเซลล์ผิวหนังจะมีการแบ่งตัวจากเซลล์ผิวหนังชั้นล่าง และค่อย ๆ เคลื่อนไปยังชั้นบนจนถึงชั้นบนสุดแล้วค่อย ๆ ผลัดหลุดไป ในคนปกติใช้เวลาประมาณ 28 วัน แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหารังแคนั้นวงจรนี้จะเกิดเร็วขึ้นกว่าปกติ ทำให้มีการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังปริมาณมากจนมองเห็นเป็นแผ่นสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ

            #รังแคอาจจะมีหรือไม่มี#อาการคันหนังศีรษะร่วมด้วยก็ได้ ยิ่งเกาก็จะยิ่งทำให้สะเก็ดหลุดลอกมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นรังแคหนังศีรษะจะดูปกติ แต่หากพบรังแคร่วมกับมีการอักเสบของหนังศีรษะอาจเป็นอาการแสดงของโรคผิวหนังบางโรค ได้แก่ #โรคผิวหนังอักเสบ Seborrheic Dermatitis ซึ่งนอกจากพบมีผื่นแดง และมีสะเก็ดลอกบริเวณหนังศีรษะแล้ว ยังสามารถพบผื่นบริเวณข้างจมูก คิ้ว หลังหูได้อีกด้วย หรือ การแพ้สารเคมีที่สัมผัสหนังศีรษะ เช่น แพ้น้ำยาย้อมผมก็สามารถทำให้เกิดอักเสบของหนังศีรษะได้ โรคผิวหนังอีกโรค ที่มีสะเก็ดหลุดลอกบริเวณหนังศีรษะ คือ โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) โดยอาจพบรอยโรคบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว แขนขา ข้อศอก หัวเข่า ร่วมกับมีความผิดปกติของเล็บมือเล็บเท้า และอาจมีข้ออักเสบร่วมด้วย

สาเหตุของ#รังแค เกิดจากหลายปัจจัย จากการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มจำนวนของเชื้อรา Malassezia บนหนังศีรษะ ซึ่งจะกระตุ้นให้หนังศีรษะเกิดการอักเสบ ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราชนิดนี้ไม่ค่อยชัดเจนนัก แต่เชื่อว่าน่าจะมาจากความเครียด อดนอน พักผ่อนน้อย ปกติแล้วในคนทั่วไป ก็มีเชื้อราตัวนี้อยู่ แต่ปริมาณจะไม่มากเท่ากับคนไข้ซึ่งมีปัญหาเรื่องหนังศีรษะอักเสบ ซึ่งปริมาณของเชื้อราจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อีกปัจจัยคือ ในผู้ที่มีภาวะผิวแห้ง หนังศีรษะก็จะแห้งกว่าคนผิวปกติ และอาจจะมีปัจจัยกระตุ้นที่มาเสริมให้แห้งขึ้น เช่น มีการใช้แชมพูที่ผิดประเภท การโดนสารเคมีจากการดัดผม ย้อมผม ยืดผมบ่อย ๆ

            วิธีการรักษา และป้องกัน
1. เลี่ยงการสระผมด้วยน้ำอุ่น เนื่องจากน้ำอุ่นจะทำให้หนังศีรษะแห้ง และลอกเป็นขุยได้
2. เลี่ยงการเกาแรง ๆ หรือใช้หวีซี่คมหวีบริเวณหนังศีรษะ
3. ควรเลือกใช้แชมพูให้ถูกประเภทกับหนังศีรษะ เช่น ถ้าเราเป็นคนที่มีหนังศีรษะแห้ง เราควรเลือกแชมพูสำหรับหนังศีรษะแห้ง เพราะแชมพูสำหรับหนังศีรษะมันอาจจะเอาไขมันธรรมชาติของเราออกไปมากเกินไป แต่ถ้าเราเป็นคนที่มีหนังศีรษะมัน แต่ใช้แชมพูสำหรับหนังศีรษะแห้ง ไขมันที่สะสมอยู่ก็จะเป็นอาหารของเชื้อรา
4. ลดการใช้สารเคมีต่าง ๆ ที่ทำกับเส้นผม
5. ควรสระผมให้สัมพันธ์กับลักษณะกิจกรรมที่ทำด้วย เช่น คนที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง มีการออกกำลังกาย เล่นกีฬามาก หนังศีรษะมัน อาจจะต้องสระผมถี่บ่อยกว่าคนที่ไม่ค่อยได้ออกไปไหน เช่น อาจต้องสระทุกวัน ส่วนคนที่อยู่แต่ในห้องแอร์ หรือมีหนังศีรษะแห้ง อาจจะสระวันเว้นวันก็ได้ (ในคนที่มีปัญหารังแคในช่วงแรกอาจจะต้องสระผมทุกวัน เพื่อให้ตัวยาเข้าไปออกฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบได้)
6. ใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของตัวยาที่สามารถลดจำนวนเชื้อราบนศีรษะ เช่น 2% Ketoconazole shampoo, Selenium sulfide shampoo, 1% Zinc pyrithione shampoo หากสะเก็ดยังหนา และใช้ยาสระผมข้างต้นยังไม่ทุเลา ให้เปลี่ยนมาใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน จะช่วยลดสะเก็ดได้ดี แต่มีข้อเสียคือ กลิ่นแรง และอาจทำให้ผมแห้ง แข็งกระด้าง ผู้ที่เป็นรังแคควรใช้ยาสระผมเหล่านี้เป็นประจำ โดยช่วงแรกควรสระทุกวัน หลังจากรังแคลดลงแล้วสามารถลดเหลือ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันปริมาณของเชื้อราไม่ให้เป็นมากขึ้น  โดยแต่ละครั้งที่สระผมควรทิ้งเวลาประมาณ 5-10 นาทีก่อนล้างออก
7. หากมีหนังศีรษะอักเสบร่วมด้วย การใช้ยาทากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดน้ำ หรือครีมน้ำนมทาบริเวณหนังศีรษะจะลดอาการแดงอักเสบลงได้ โดยหลังจากสระผมให้ใช้หวีแสกผมออก จากนั้นหยอดยาลงบนบริเวณที่มีการแดงอักเสบของหนังศีรษะ ใช้นิ้วเกลี่ยและคลึงเบา ๆ  โดยทายาวันละ 1-2 ครั้ง การอักเสบของหนังศีรษะจะลดลง
เคล็ดไม่ลับฉบับปราบ#รังแคสาวๆคนไหนที่ทำสงครามกับเจ้า#รังแคอยู่ ศึกครั้งนี้ชนะแน่นอนจ้าาา
สำหรับกระทู้นี้นี้ M  ตั้งใจหาข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุดมาให้สาวๆกัน อย่าลืมติดตาม M ในกระทู้ถัดๆไปด้วยนะคะ
  ขอบคุณความรู้ดีๆจากแหล่งอ้างอิงของ #sevenplusclin #โรคผิวหนัง #โรคเล็บ# โรคผม
แก้ไขล่าสุด 13 พ.ย. 63 16:52 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 7

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz448629 | 2 ธ.ค. 63 17:36 น.

อ่านแล้วหายคันหัวเลย 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย MacOS

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google