มะเร็งรังไข่ภัยเงียบใกล้ตัวของผู้หญิงแทบจะทุกวัยที่ไม่ควรมองข้าม

19 พ.ย. 63 17:00 น. / ดู 6,735 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

                  มะเร็งรังไข่พบได้ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงหลายช่วงวัยทั้งในวัยเด็กและวัยเจริญพันธุ์ แต่มักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40-60 ปี โรคนี้เกิดจากการที่มีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในรังไข่ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง หากเป็นระยะแรก ๆ หรือระยะเริ่มต้น อาการจะไม่ค่อยแสดงออกมา ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวกว่าจะรู้ตัวและไปพบแพทย์ระยะที่เป็นก็ลุกลามไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าผู้หญิงคนไหนไม่แน่ใจว่าเป็นมะเร็งรังไข่หรือไม่นั้น ก็สามารถไปตรวจหามะเร็งรังไข่ได้ทุกช่วงอายุ หรือถ้าหากมีความผิดปกติของร่างกาย อย่างอาการท้องอืดเป็นประจำ อาหารไม่ย่อย , ปวดท้องเรื้อรัง รับประทานยาลดกรดไม่ดีขึ้น มีอาการท้องโต กว่าปกติ หรือคลำพบก้อน ๆ ในท้องน้อยปวดแน่นท้องมาก ๆ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อหาสาเหตุของอาการและแนวทางในการรักษา โดยแนวทางการรักษามะเร็งรังไข่นั้นจะมีดังนี้
                    แนวทางการรักษาโรคมะเร็งรังไข่

1. การผ่าตัด (Surgery)
การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งรังไข่ ซึ่งสมควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางมะเร็ง นรีเวช จุดมุ่งหมายหลักของการผ่าตัดคือ เอาก้อนมะเร็งออกจากตัวผู้ป่วยให้มากที่สุด ซึ่งลักษณะการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวก้อน ตำแหน่งของตัวก้อนบริเวณเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไป หากแพทย์วินิจฉัยว่าเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตในรังไข่ยังไม่มีการลุกลามมากจนไม่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบ ๆ  ออกโดยส่วนมากผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่มักได้รับการผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะเหล่านี้ออก ได้แก่ รังไข่ทั้งสองข้าง ท่อนำไข่ มดลูก รวมถึงบริเวณปากมดลูกอาจผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองและเยื่อบุช่องท้องออกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

2.การใช้ยาเคมีบำบัด
มะเร็งรังไข่จะตอบสนองได้ดีต่อยาเคมีบำบัดและมักจะใช้วิธีนี้ควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.การให้ยารักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy)
ยาแบบมุ่งเป้าเป็นการรักษาโดยการใช้ยาหรือสารอื่น ๆ ที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งและก่อให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ปัจจุบันยารักษาแบบมุ่งเป้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
• ยากลุ่ม Anti-angiogenesis ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง และลดการสร้างน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของยาฉีด
• ยากลุ่ม PARP inhibitor ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการซ่อมแซมรหัสพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของยารับประทาน

4. การรักษาด้วยฮอร์โมน
การใช้ฮอร์โม หรือสารต้านฮอร์โมน เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งอาจมีผลในการช่วยชะลอหรือยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งรังไข่ได้ อาจใช้ในการรักษาแบบประคับประคอง

                        สุดท้ายนี้อยากจะฝากเตือนผู้หญิงทุก ๆ คน ว่าห้ามละเลยในการดูแลตนเอง โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยใกล้หมดระดูควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำเพื่อตรวจหามะเร็งรังไข่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ยิ่งถ้าเป็นผู้หญิงที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านมควรใส่ใจและต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษ หากรู้สึกว่ามีอาการปวดช่องท้องโดยที่ไม่ทราบสาเหตุควรไปพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาหรือรักษาทันที เพื่อความไม่ประหม่าเพราะถ้าเกิดตรวจเจอได้เร็วตอนที่เริ่มเป็นระยะแรก ๆ ก็มีโอกาสที่จะรักษาให้ขาดได้นั้นเองค่ะ

#มะเร็งรังไข่
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 20 พ.ย. 63 23:24 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | Gift_seen | 22 พ.ย. 63 21:51 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google