เตรียมตัวให้พร้อมก่อนส่องกล้องกระเพาะอาหาร

7 ม.ค. 64 17:14 น. / ดู 1,474 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

            เพราะความผิดปกติเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร กระเพราะอาหารและลำไส้อาจไม่ได้แสดงอาการให้เห็นชัดเจนแต่แรกเริ่ม แถมอาการทั้งหลายยังมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แม้จะเป็นโรคที่ต่างกันและร้ายแรงต่างกัน ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคทางเดินอาหารและลำไส้ด้วยการส่องกล้อง จึงเป็นวิธีบ่งชี้ความผิดปกติที่ดีที่สุด แต่เราก็มักจะกลัวขึ้นมาทันทีเพียงแค่ได้ยินคำว่าตรวจส่องกล้อง งั้นมาทำความเข้าใจและรู้จักการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารกันก่อน แล้วคุณจะรู้ว่า ถ้าเตรียมตัวให้พร้อมก็ไม่มีอะไรยากเลยค่ะ
เข้าใจก่อนว่าการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารหรือทางเดินอาหารมี 2 ชนิด

            1. การส่องกล้องทางเดินอาหาร กระเพราะอาหารส่วนต้น (Upper GI Endoscopy) จะใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่ส่องกล้องหลอดอาหาร ไล่ลงไปส่องกล้องกระเพาะอาหาร ถึงส่องกล้องลำไส้เล็ก การเตรียมตัว ผู้ป่วยจะต้องงดน้ำและอาหารทุกชนิดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนวันก่อนตรวจ เมื่อมาถึงห้องตรวจ แพทย์จะอธิบายข้อบ่งชี้ แผนการตรวจรักษาและภาวะแทรกซ้อน จากนั้นพยาบาลจะพ่นยาชาเข้าไปในบริเวณคอของผู้ป่วย 2-3 ครั้ง ผู้ป่วยจะรู้สึกคอหนาขึ้น หลังจากผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายบนเตียงตรวจ แพทย์จะใส่กล้อง ซึ่งมีลักษณะคล้ายสายยางสีดำขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย เข้าไปในลำคอผ่านไปในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น แพทย์อาจสะกิดชิ้นเนื้อออกมาตรวจหาพยาธิสภาพหรือแบคทีเรีย ซึ่งผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ โดยปกติการตรวจแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ10-15 นาที ขณะทำการตรวจผู้ป่วยควรหายใจลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อลดอาการคลื่นไส้ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้มาก แพทย์อาจฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีอาการสะลึมสะลือได้ชั่วคราว

            2. การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หรือระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง (Colonoscopy) การเตรียมตัว ผู้ป่วยควรกินอาหารที่มีกากน้อยก่อนทำการตรวจ 1 วัน เช่น น้ำซุป โจ๊กเหลว ๆ ในตอนเย็นวันก่อนตรวจแพทย์จะให้ยาระบาย ผู้ป่วยควรกินยาให้หมดหรือจนกว่าจะถ่ายอุจจาระออกมาเป็นน้ำใส ๆ เพื่อไม่ให้มีอุจจาระตกค้างและบังผนังลำไส้ขณะตรวจ บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนขณะที่กินยาระบาย ซึ่งอาจแก้ไขให้ดีขึ้นโดยการผสมน้ำหวานในยาระบายแล้วดื่มช้า ๆ และต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนวันก่อนตรวจ เมื่อมาถึงห้องตรวจแพทย์จะอธิบายข้อบ่งชี้ แผนการตรวจรักษา และภาวะแทรกซ้อน จากนั้นพยาบาลจะให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายบนเตียงตรวจ ผู้ป่วยจะได้รับยาลดอาการวิตกกังวลและ/หรือยาแก้ปวดทางเส้นเลือดดำ ซึ่งจะทำให้มีอาการง่วงนอน หลังจากนั้นแพทย์จะใส่กล้องเข้าทวารหนักและตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด หากพบความผิดปกติแพทย์อาจสะกิดชิ้นเนื้อ จี้ด้วยไฟฟ้า หรือตัดก้อนเนื้อ(polypectomy)ออกมา โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งจะใช้เวลาตรวจประมาณ 20-40 นาที 
   
            การเตรียมตัวข้างต้นนี้ใช้กับผู้ป่วยทั่ว ๆ ไปเท่านั้น หากคุณมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ มีลิ้นหัวใจเทียม มีภาวะเลือดออกผิดปกติ กำลังได้รับยาแอสไพรินหรือยาละลายลิ่มเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนการตรวจ หลังการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยควรนอนพักนิ่งๆ 2 ชั่วโมงก่อนกลับบ้าน เพื่อสังเกตอาการ อาจมีอาการอึดอัดท้อง ท้องอืด เนื่องจากมีลม อาการจะทุเลาลงหลังการตรวจ และไม่ควรขับรถกลับบ้านเอง ควรมีญาติพากลับบ้าน เนื่องจากการได้รับยาระงับความรู้สึก หรือในรายที่ได้รับยานอนหลับ หลังการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร ทางเดินอาหารทั้ง 2 แบบ อาจมีอาการปวดแน่นท้องได้เล็กน้อย แต่หากมีอาการปวดท้องมาก มีไข้ หรือมีเลือดออกทางทวารหนัก ควรรีบติดต่อแพทย์หรือมาตรวจที่โรงพยาบาลทันทีค่ะ
แก้ไขล่าสุด 9 ม.ค. 64 14:12 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 7 ม.ค. 64 23:26 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz421978 | 11 ม.ค. 64 17:15 น.

   

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | sz378581 | 24 ม.ค. 64 22:07 น.

ขอบคุณข้อมูล

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google