8 เคล็ดลับกับการเลือกซื้อมือถือ

10 มี.ค. 64 16:56 น. / ดู 9,972 ครั้ง / 1 ความเห็น / 1 ชอบจัง / แชร์

          ในปัจจุบันนี้ก็มีมือถือสมาร์ทโฟนให้เลือกซื้อมากมายหลายแบรนด์ ซึ่งแต่ละรุ่นก็มีความแตกต่างกันไป ซึ่งเชื่อได้ว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะไม่รู้ว่าควรจะเลือกดูอะไรก่อนดี สำหรับใครที่อยากจะซื้อมือถือซักเครื่อง เราได้รวบรวมแนวทางการเลือกซื้อในยุคนี้มาให้กับทุกท่านแล้ว เชิญอ่านกันทางนี้ได้เลยค่ะ
          1. แบรนด์ เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงมีแบรนด์ที่สนใจแล้ว และควรดูจากแบรนด์ที่เราชอบก่อน แล้วค่อย ๆ ไปดูแบรนด์อื่น ๆ ตามความต้องการของสิ่งอื่น ๆ ที่เราจะบอกในข้อต่อ ๆ ไป และก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ อย่าลืมถามเรื่องบริการหลังการขาย, การรับประกัน, ศูนย์บริการต่าง ๆ ด้วย เพราะมันสำคัญมากหลังจากที่คุณใช้งานไปแล้วเกิดมีปัญหากับตัวเครื่อง จะได้อุ่นใจในเรื่องการเคลมประกันหรือซ่อมนั่นเอง

          2. ระบบปฏิบัติการ สำหรับท่านที่เลือกระบบปฏิบัติการ Android เพราะหากเลือกระบบปฏิบัติการ iOS ก็มีเพียง iPhone เท่านั้น ซึ่งแต่ละระบบปฏิบัติการนั้นแตกต่างกันและมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไปแนะนำให้เลือกระบบปฏิบัติการตามเพื่อน ๆ หรือสังคมที่อยู่รอบกายไปก่อน เพราะหากคุณเริ่มต้นใช้ที่มีระบบปฏิบัติการเหมือนกัน จะทำให้คุณเรียนรู้วิธีการใช้งานได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษา หรือขอแนะนำการใช้งานต่าง ๆ ได้ค่ะ

          3. แบตเตอรี่ ควรเลือกแบตเตอรี่ที่มีความจุ 2,000 mAh เป็นอย่างต่ำ และถ้าให้แนะนำความจุของแบตเตอรี่ที่กำลังดีก็น่าจะอยู่ในช่วง 2,000 – 2,500 mAh หากรุ่นไหนมีฟีเจอร์ชาร์จเร็วเข้ามาด้วย ก็จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นด้วย เพราะจะทำให้คุณชาร์จเต็มเร็วขึ้นกว่าสมาร์ทโฟนรุ่นอื่น ๆ ในความจุเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

          4. ขนาดและความละเอียดหน้าจอ ในส่วนของขนาดหน้าจอนั้นจะขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณ หากชอบหน้าจอใหญ่ เห็นตัวอักษรหรือรูปภาพชัดเจนก็อาจจะต้องเลือกหน้าจอ 5.5 นิ้วขึ้นไป แต่ก็ทำให้ไม่สะดวกในการพกพามากขึ้น แต่ถ้าขนาดหน้าจอเล็กกว่านี้แล้วล่ะก็อาจจะส่งผลให้ต้องเพ่งสายตาในการอ่านก็ค่อนข้างลำบากในการมองเห็นข้อความนะคะ

          5. ชุดประมวลผล ไม่ควรมองข้าม เพราะชุดประมวลผลนี้เกี่ยวข้องกับความลื่นไหลในการใช้งานโดยตรงเพราะหากเป็นชุดประมวลผลใหม่ๆ ที่มี 4 แกนขึ้นไป หรือสถาปัตกรรมแบบ 64 บิท ก็ถือว่าน่าสนใจ ส่วน RAM ในยุคนี้ก็ไม่ควรต่ำกว่า 1 GB แล้ว เพราะถ้าต่ำกว่านี้การใช้งานมือถือของคุณจะต้องทำให้คุณช้าแน่ ๆ รวมถึงการติดตั้งเกมต่างๆ ด้วย หากเป็นชุดประมวลผลของ Intel ก็อาจจะไม่รองรับแค่บางเกม ถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะเลือก RAM ที่เป็น 2 GB ขึ้นไป
         
          6. หน่วยความจำ เป็นหน่วยความจำชั่วคราวของมือถือทำหน้าที่เหมือนเป็นสมุดโน้ตคนกลางคอยรับ-ส่ง และเป็นที่พักข้อมูล ระหว่างการใช้งานของเราและ CPU (หน่วยประมวลผล) ยิ่ง RAM เยอะ ยิ่งทำงานได้เร็วขึ้น วิธีจำคือ "แรมเยอะ ก็ยิ่งดี" 2. GB vs Gb. GB = กิกะไบต์ "B" ตัวใหญ่ คือ หน่วยวัดความจุ ขนาดของแอพพลิเคชั่นควรที่จะเลือกพื้นที่หน่วยความจำภายในให้มากกว่า 16 GB หรือถ้าเป็นไปได้ควรจะมีถึง 32 GB กันไปเลย และถ้ารุ่นไหนรองรับหน่วยความจำภายนอกได้อีกล่ะก็ ถือว่ายอดเยี่ยมไปเลย เพราะคุณสามารถเก็บไฟล์รูปภาพ, เพลง หรือหนังไว้ใน microSD Card ได้ แต่ก็ต้องดูว่าหน่วยความจำภายนอกที่รองรับนี้ รองรับการใช้งานได้สูงสุดกี่ GB ถ้าให้แนะนำก็ไม่ควรต่ำกว่า 32 GB ค่ะ

          7. เรื่องของซิมการ์ด ดูว่าใส่ได้กี่ซิม และดูเรื่องการรองรับเครือข่ายด้วย เพราะส่วนใหญ่แต่ละซิมจะรองรับไม่เท่ากัน เช่น ซิมแรกรองรับ 4G แต่ซิมที่สองรับได้แค่ 2G ไปเลยก็มีค่ะ

          8. กล้อง ดูความละเอียดกล้องหน้า/กล้องหลัง ถ้าให้แนะนำความคมชัดสัก 8 ล้านพิกเซลขึ้นไปกำลังดีค่ะ ส่วนกล้องหน้าก็เริ่มเห็นความละเอียด 5 ล้านพิกเซล มาให้เลือกซื้อกันมากมาย รวมถึงฟีเจอร์เสริมอย่างแฟลชทรูโทน แฟลชกล้องหน้าแต่อย่าลืมว่าเรื่องจำนวนพิกเซลไม่ใช่ทุกอย่าง ให้ทดลองดูตัวอย่างภาพถ่ายจริงด้วย มือถือบางรุ่นถ่ายได้ชัดมาก แต่ไม่สวย เพราะซอฟต์แวร์ประมวลผลไม่ดีก็มีค่ะ

          ผ่านไปทั้ง 8 เคล็ดวิธีที่ให้ไว้เป็นแนวทางในการเลือกซื้อมือถือกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ทุกท่านได้นำไปไว้ประกอบการพิจจารณาเลือกซื้อกันนะคะ และหากมีข้อมูลดี ๆ แบบนี้เราจะนำเสนอทุกท่านให้ทราบอีกในบทความต่อไปค่ะ
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz453482 | 11 ส.ค. 64 20:13 น.

สนุกมากเลยครับเว็บนี้ 

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google