6 คำถามหลัก ๆ ก่อนส่องกล้องกระเพาะอาหาร

11 มี.ค. 64 15:32 น. / ดู 4,883 ครั้ง / 2 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

        การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนบนเป็นวิธีการทางการแพทย์ที่ใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก สอดเข้าไปทางปาก เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดอาหารส่องกล้องกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น การอักเสบเป็นแผล มีเนื้องอก กรดไหลย้อน มีเลือดออกในทางเดินอาหาร เป็นต้น การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติก็ตามคนไข้ที่จะได้รับการตรวจส่องกล้องครั้งแรก ผู้คนมักจะมีความกังวลแตกต่างกันไป ในบทความนี้จะรวบรวมคำถามที่หมอพบได้บ่อยไว้ดังนี้
1. เตรียมตัวยังไง?
        ก่อนเข้ารับการส่องกล้องกระเพาะอาหาร จำเป็นต้องทำความสะอาดลำไส้ใหญ่เพื่อให้แพทย์เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด โดยการถ่ายท้องให้ลำไส้สะอาดหรือบางรายอาจใช้วิธีการสวนล้างลำไส้ กระบวนการนี้จะทำในคืนก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้อง งดกินยาบางประเภทตามที่แพทย์สั่ง ก่อนถึงวันเข้ารับการส่องกล้อง ก่อนวันนัดตรวจ 1 วัน ควรทานแต่อาหารเหลวที่ไม่มีกากใย เช่น ซุป อาหารอ่อน หรือโจ๊ก หรือน้ำผลไม้ชนิดใส

2. การส่องกล้องทำอย่างไร?
        – กล้องตรวจทางเดินอาหารเป็นท่อยางนิ่มขนาดเล็ก และมีช่องข้างในเพื่อส่งอุปกรณ์เข้าไปทำการตรวจและรักษา
        – การส่องกล้องจะเริ่มหลังจากคนไข้หลับแล้ว การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนจะผ่านทางปาก เพื่อเข้าไปดูหลอดอาหารส่องกล้องกระเพาะอาหาร จนถึงส่องกล้องลำไส้เล็กส่วนต้น
        – การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่างจะผ่านทวารหนัก เพื่อเข้าไปดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด จนถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย

3. ขณะรับการตรวจส่องกล้องจะเจ็บหรือไม่?
        มักจะเป็นคำถามแรกที่คนไข้ทุกรายจะถามหมอก่อนเริ่มการตรวจ จะมีการปรับให้ยาระงับความรู้สึกจนคนไข้หลับก่อน ดังนั้นในขณะที่ตรวจคนไข้จะไม่รู้สึกปวดหรือไม่สบายท้องเลย คนไข้มักจะรู้สึกตัวอีกครั้งที่ห้องพักฟื้น ในกรณีที่ตรวจพบเนื้องอก สามารถทำการตัดเนื้องอกออกได้ทันที โดยไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆทั้งสิ้น

4. มีความเสี่ยงหรือไม่?
        การส่องกล้องทางเดินอาหารมีความปลอดภัยสูงมาก คนไข้จะได้รับการประเมินร่างกายและอาการอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดประโยชน์และความปลอดภัยสูงที่สุด หลังการส่องกล้องกระเพาะอาหาร  คนไข้ส่วนมากจะไม่มีอาการปวดและจะจำไม่ได้ว่าส่องกล้องไปแล้ว ส่วนน้อยอาจมีอาการแน่นท้องเล็กน้อย ในกรณีที่ตรวจพบเนื้องอกและได้รับการตัดออก อาจมีความเสี่ยงเลือดออกภายหลังได้บ้าง

5. ต้องนอนโรงพยาบาลหรือไม่?
        คนไข้ที่สูงอายุร่วมกับสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงมักจะแนะนำให้นอนโรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น หลังการตรวจผู้ป่วยควรนอนพักนิ่งๆ 2 ชั่วโมงก่อนกลับบ้านไม่ควรขับรถกลับเอง ในบางกรณี ผู้ได้รับการตรวจได้รับยาคลายกังวล หรือยานอนหลับ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขณะได้รับการตรวจด้วย การตรวจเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที หลังจากนั้น ผู้ได้รับการตรวจจะได้พักผ่อนในห้องพักฟื้น ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และสามารถทราบผลการตรวจได้ในวันเดียวกัน

6. คำถามสุดท้าย ไม่ตรวจได้หรือไม่
        แม้ว่าจะรู้ข้อมูลทั้งหมดแล้วแต่เนื่องจากไม่เคยได้รับการตรวจเช่นนี้มาก่อน การปรึกษาหมอเจ้าของไข้หรือหมอเฉพาะทางระบบทางเดินอาหารจะช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นและคลายความกังวลได้ ทั้งนี้คุณหมอจะเป็นผู้ให้คำแนะนำเพื่อเลือกแนวทางการรักษาร่วมกันให้เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

        ทั้งหมดนั้นคือคำถามหลักๆที่ทางแพทย์พบบ่อยที่สุด รายละเอียดของขั้นตอนการส่องกล้องกระเพาะอาหารการเตรียมตัวและ คำแนะนำหลังการตรวจ รวมถึงภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการส่องกล้อง และอาการผิดปกติที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้มีอาการมีโอกาสเจอมะเร็งน้อย ส่วนมากมักจะพบเนื้องอกที่ยังไม่กลายเป็นมะเร็ง การตรวจหาและทำการตัดเนื้องอกนี้จะเป็นการป้องกันมะเร็งในอนาคตได้ ดีกว่าการหลีกเลี่ยงการส่องกล้องไปเรื่อย ๆ จนมีอาการจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งมักจะทำการรักษาได้ยากค่ะ
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 12 มี.ค. 64 23:57 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | Pichai | 17 มี.ค. 64 16:08 น.

   

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google