ข้อควรรู้ของคนมีบ้าน "ระยะร่น" กฎหมายก่อนก่อสร้าง และดัดแปลงบ้าน

20 พ.ค. 64 13:01 น. / ดู 1,140 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ระยะร่น หรือระยะเว้น กับ กฎหมายควบคุมอาคาร
อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญเป็นลำดับต้น ๆ สำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้าน จำเป็นต้องทราบกฎหมายเหล่านี้ไว้ เพื่อออกแบบบ้านของเราให้ถูกต้องได้สัดส่วนพอดีกับแปลงที่ดิน และเมื่อได้ข้อมูลดังกล่าว เราควรที่จะหาความรู้เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ออกแบบหรือสถาปนิกได้อย่างเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างเหมาะสมกับความต้องการที่ถูกต้อง สิ่งนั้นเรียกว่า '' กฎหมายควบคุมอาคาร '' ทีนี้เราไปดูกันเลย ว่ามีอะไรบ้าง

"กฎหมายควบคุมอาคารมีข้อกำหนดให้อาคารทุกประเภทต้อง "ร่นแนวอาคาร" จากแนวเขตที่ระบุไว้"

ปัจจุบันแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยทั่วไปแล้วจะพิจารณาแนวอาคาร โดยถือเอา แนวผนังอาคาร หรือแนวเสาของอาคารที่อยู่ริมด้านนอกสุด แต่จะไม่รวมถึงกันสาด ชายคา หรือหลังคา
(อ้างอิงจากหนังสือตอบข้อหารือของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ มท.0710/10880 และที่ มท.0710/13604) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ

ระยะร่นอาคารจากแนวเขตที่กฎหมายกำหนดที่สำคัญ คือ ระยะร่นจากถนนสาธารณะ เพราะถนนเป็นที่สาธารณะ ซึ่งอาคารส่วนใหญ่มักจะก่อสร้างใกล้ถนน และต้องก่อสร้างไม่ให้ส่วนใดของอาคารล้ำเข้าไปในที่สาธารณะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีไป



1. ถนนสาธารณะที่มีความกว้างเขตทางน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 เมตร กรณีนี้ไม่ได้ระบุประเภทอาคารจึงบังคับใช้กับทุกอาคาร



2. ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร
ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร

ดูข้อมูลต่อเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป : กฎหมายข้อกำหนดอาคารทุกประเภท

หมายเหตุ : ท่านที่ต้องการอ้างอิงข้อกฎหมายในเรื่องระยะร่นจากถนนสาธารณะ หากเป็นที่ดินในต่างจังหวัดให้ดูกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 41 หากเป็นที่ดินในกรุงเทพฯ ให้ดูข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ข้อ 50

ติดตามข้อมูล บทความ ความรู้ที่เกี่ยวกับบ้านทุกเรื่องได้ที่ : https://baanbaan.co/   
แก้ไขล่าสุด 20 พ.ค. 64 13:02 | เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google