ปวดกระดูกสันหลัง ทำไงดี

26 ก.ค. 64 14:16 น. / ดู 3,138 ครั้ง / 3 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
กระดูกสันหลัง จะมีหมอนรองกระดูก และข้อต่อกระดูกสันหลังคอยเชื่อมต่อกับกระดูกหลายชิ้น โดยที่ตัวกระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องไขสันหลัง ส่วนหมอนรองกระดูกจะทำหน้าที่ให้กระดูกสันหลังยืดหยุ่นและสามารถรับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวจากการเคลื่อนไหวได้ ดังนั้นการใช้งานหนักในชีวิตประจำวัน หรืออายุที่เพิ่มขึ้น ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพได้
หมอนรองกระดูก  ที่พบว่ามีปัญหาบ่อยที่สุดก็คือ หมอนรองกระดูกสันหลังในระดับเอวข้อที่ 4-5 เนื่องจากเป็นข้อต่อระดับที่มีการเคลื่อนไหว และรับน้ำหนักมากในร่างกาย ซึ่งเมื่อหมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อม ความสูงของหมอนรองกระดูกจะมีขนาดลดลง และมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูก ทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดรอดมาภายนอก และกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้

อาการของ โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท
•  ปวดหลัง สะโพกและปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง ซึ่งจะมีอาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม
•  กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้า รวมทั้งปลายนิ้วหัวแม่เท้า
•  ปลายเท้าชา โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้า
•  ระบบขับถ่ายผิดปกติ ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น
    ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระ หรือ  ปัสสาวะได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันระบบขับถ่าย
    ไม่สามารถฟื้นคืนได้ตามปกติ

การรักษา โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท 
1. รักษาโดยการลดน้ำหนัก พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการหนักขึ้น
• การยกของหนัก
• การนั่งรถยนต์เป็นเวลานาน
• หลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหรือเบ่ง ถ่ายอุจจาระแรงเกินไป เป็นต้น เนื่องจากจะทำให้เกิดแรงดัน
  ในหมอนรองกระดูกสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้หมอนรองกระดูกทนแรงดันไม่ได้ ทำให้เกิดการแตกของหมอนรอง
  กระดูกตามมา
2. ยาต้านการอักเสบ NSAIDS และ ยาคลายกล้ามเนื้อ
3. ใช้กายภาพบำบัดและใช้เสื้อพยุงหลัง เพื่อช่วยในการลดอาการปวด และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไป
    ใช้ชีวิตประจำวัน ได้ปกติเร็วขึ้น  และทำให้หน้าท้องกระชับขึ้น เพื่อที่จะจะช่วยลดแรงดันใน
    หมอนรองกระดูกสันหลังได้ นอกจากกนี้ยังต้องลดเคลื่อนไหวของ กระดูกสันหลัง ก็จะทำให้อาการ
    ปวดลดลง เช่นกัน
4. การผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาตามเกณฑ์ดังนี้
• ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ได้ แม้จะรักษาโดยรับประทานยา พักและกายภาพบำบัดเต็มที่แล้วก็ยังไม่เป็นปกติ
• มีอาการชา อ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อขาลีบอย่างเห็นได้ชัด
• มีปัญหาระบบขับถ่ายผิดปกติ ที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | sz455023 | 27 ก.ค. 64 16:13 น.

ปรึกษาแพทย์หรือหาอาหารเสริมมาทานค่ะ

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#2 | sz455066 | 30 ก.ค. 64 11:07 น.

8o             

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

#3 | babala | 3 ส.ค. 64 16:08 น.

   

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google