เทคนิคการรีดผ้าให้เรียบแบบง่าย ๆ รวมถึงการใช้งานเตารีดให้ประหยัดไฟ

23 ส.ค. 64 16:32 น. / ดู 717 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

                  การรีดผ้าเป็นหนึ่งในงานที่ต้องทำเป็นประจำ เพราะในทุก ๆ วันที่จะต้องออกไปทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องพบปะผู้คนเป็นจำนวนมากจำเป็นที่จะต้องสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูดี ไม่มีริ้วรอย และไม่ยับยู่ยี่ เพราะจะได้ช่วยให้ดูมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น แต่เนื่องจากเตารีดเป็นอุปกรณ์ที่สร้างความร้อนขึ้นมาเพื่อช่วยในการรีดผ้าให้เรียบ ทำให้ใช้วัตต์พลังงานจากไฟบ้านค่อนข้างมาก และยิ่งกำลังวัตต์ของเตารีดมากเท่าไหร่ จำนวนของไฟฟ้าที่ใช้ต่อชั่วโมง ก็จะมากขึ้นตามไปด้วยทำให้เปลืองค่าไฟฟ้า ดังนั้นถ้าหากคุณอยากจะประหยัดเงินค่าไฟในการรีดผ้าเราก็มีวิธีในการประหยัดค่าไฟมาแนะนำให้คุณได้ลองเอาไปปรับใช้กันดูด้วยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้
                    การใช้เตารีดผ้าให้กินไฟน้อยที่สุด
1. สะบัดผ้าก่อนตาก จะช่วยให้ผ้าคลายความยับหลังจากที่ซักเสร็จ เมื่อนำไปรีดจะช่วยให้ผ้าเรียบได้ง่ายขึ้น
2. อย่าพรมน้ำบนผ้าจนชุ่มเกินไป หรือรีดในขณะที่ผ้าเปียกชื้น เพราะจะทำให้ใช้เวลาและพลังงานความร้อนในการรีดมากกว่าปกติ
3. เมื่อเริ่มเสียบใช้งานเตารีด ให้เลือกรีดผ้าที่มีความบางก่อน พอความร้อนคงที่จึงค่อยรีดผ้าที่หนาหรือยับมาก ๆ
4. รีดผ้าแต่ละครั้งควรรีดจำนวนมาก ๆ ให้เสร็จในครั้งเดียว ไม่ควรถอดปลั๊กแล้วเสียบ รีดใหม่บ่อย ๆ
5. ก่อนรีดผ้าเสร็จประมาณ 2 - 4 นาที ให้ถอดปลั๊กออก แล้วใช้รีดเสื้อผ้าที่บาง ๆ หรือเสื้อผ้าที่ไม่ค่อยยับ โดยใช้ความร้อนจากเตารีดที่ยังมีอยู่
6.ไม่รีดผ้าในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศไว้ เพราะความร้อนจากเตารีด จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากขึ้น

                    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเป็นการรีดผ้าในครัวเรือนที่มีจำนวนเสื้อผ้าไม่มากนัก การเลือกใช้เตารีดไฟฟ้าที่มีจำนวนวัตต์ไม่เกิน 1,600 วัตต์ ก็ถือว่ามีความเพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากครอบครัวไหนมีเสื้อผ้าเป็นจำนวนมาก เพื่อความรวดเร็วในการรีดผ้า ขอแนะนำว่าให้เลือกใช้เตารีดไฟฟ้าที่มีขนาด 2,000 วัตต์ ขึ้นไป จะช่วยตอบโจทย์การใช้งานได้มากกว่าค่ะ

#เตารีด
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 24 ส.ค. 64 16:21 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google