มาทำความรู้จักกับแม่น้ำมูล แม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

31 ส.ค. 64 15:49 น. / ดู 508 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์
ทำความรู้จักกับแม่น้ำมูล
แม่น้ำมูลเป็นแม่น้ำสายใหญ่และยาวที่สุดของภาคอีสาน มีความยาวประมาณ ๖๔๐ กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบริเวณเขื่อนมูลบน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านหลายอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ก่อนบรรจบแม่น้ำชีที่บ้านขอนไม้ยูง ตำบลห้วยขะยูง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี แล้วไหลผ่านหลายอำเภอของอุบลราชธานีมาลงแม่น้ำโขงที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอโขงเจียม

พื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลมีความกว้างประมาณ ๖๙,๗๐๑ ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๓.๖ ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมดทั้งประเทศ ครอบคลุมอาณาเขต ๑๐ จังหวัดของภาคอีสานตอนล่างหรืออีสานใต้ และภาคอีสานตอนกลาง มีปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงเฉลี่ยประมาณ ๒๖,๖๕๕ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง
เฉลี่ยประมาณ 26,555 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี

พื้นที่ครอบคลุมของลุ่มน้ำมูลในแต่ละเขตจังหวัด
- นครราชสีมา 0.02 ร้อยละพื้นที่ในลุ่มน้ำมูล
- อุบลราชธานี 26.86 ร้อยละพื้นที่ในลุ่มน้ำมูล
- บุรีรัมย์ 14.19 ร้อยละพื้นที่ในลุ่มแม่น้ำมูล

แม่น้ำมูลไหลกั้นผ่าน ระหว่างตัวเมือง และวารินชำราบ ของจังหวัดอุบลราชธานี เชื่อมต่อด้วยสะพานข้าม นั่นก็คือ สะพานเสรีประชาธิปไตย

ข้อแนะนำ : ส่องเมือง อุบลราชธานี เมืองใหญ่แห่งภาคอีสาน ที่น่าจับตามองในทุกๆ ด้าน

เดิมชาวบ้านในท้องถิ่นสะกดชื่อแม่น้ำสายนี้ด้วยอักษร "น" คำว่า "มูน" เป็นภาษาพื้นถิ่นหมายถึง สิ่งมีค่าน่าหวงแหน มรดกของบรรพบุรุษที่สั่งสมเก็บไว้ให้ลูกหลาน แต่ต่อมาทางราชการได้กำหนดให้สะกดชื่อใหม่โดยใช้ตัวอักษร "ล" กลายเป็น "แม่น้ำมูล"

และอีกอย่างชื่อหมู่บ้านแห่งใหม่ที่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูลก่อตั้งขึ้นบริเวณริมสันเขื่อนปากมูล เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐหันมาแก้ปัญหาทั้งเรื่องน้ำท่วมที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน พื้นที่ทางการเกษตร แหล่งหาปลา ชาวบ้านจำนวนมากต้องกลายเป็นผู้อพยพหลังสร้างเขื่อน ยังคงสะกดด้วยอักษร "น" คือหมู่บ้าน "แม่มูนมั่นยืน"

เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนแบบน้ำไหลผ่าน (run-off-river) มีสันเขื่อน ประตูระบายน้ำ และเครื่องจักรสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ห่างจากจุดที่แม่น้ำมูลไหลลงแม่น้ำโขงประมาณ ๕.๕ กิโลเมตร

ความคิดสร้างเขื่อนปากมูลเกิดขึ้นเมื่อช่วงปี ๒๕๐๐ สำนักงานพลังงานแห่งชาติเห็นว่าน้ำจากแม่น้ำมูลไหลลงแม่น้ำโขงปริมาณมากทุกปี จึงคิดพัฒนาแหล่งน้ำโดยการผลิตกระแสไฟฟ้า ครั้งแรกวางแผนสร้างเขื่อนบริเวณแก่งตะนะ ห่างปากแม่น้ำมูลประมาณ ๔ กิโลเมตร แต่หลังจากสำรวจพบว่าจะมีชาวบ้านต้องอพยพออกจากพื้นที่ถูกน้ำท่วมขังจากการสร้างเขื่อนมากถึง ๔,๐๐๐ ครอบครัว ภาครัฐต้องจ่ายเงินค่าชดเชยจำนวนมากไม่คุ้มค่าการลงทุนจึงพับโครงการเก็บไว้นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก สารคดีดอทคอม

ติดตามอัปเดตข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ทุกเรื่องเกี่ยวกับเรื่องบ้าน ได้ที่ : https://baanbaan.co/story/
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | _uwu_ | 31 ส.ค. 64 16:12 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google