สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และวิธีป้องกันตนเองเบื้องต้นให้ปลอดภัยต่อการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

7 ต.ค. 64 15:39 น. / ดู 12,809 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

            โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ หรือการนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน โดยมันจะส่งผลให้ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มีอาการหัวใจเต้นช้าผิดปกติ คือน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที และเร็วกว่าปกติ โดยอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที , หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เช่น เต้น ๆ หยุด ๆ หรือเต้นเร็วสลับเต้นช้า ซึ่งอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลัก ๆ เลยจะมีดังนี้
              สาเหตุหลัก ๆ ของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

1.โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ
2.โรคประจำตัว ได้แก่ ไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง และโรคนอนกรนร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น
3.ยาแก้หวัดบางชนิดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ
4.เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม ได้แก่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และแอลกอฮอล์
5.ยาเสพติดบางชนิดที่มีแอมเฟตามีนผสม
6.ยาลดน้ำหนัก ที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน
7.พันธุกรรม

              ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดที่เราอยากจะแนะนำที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ คือ การดูแลและป้องกันด้วยตนเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ทำร้ายสุขภาพ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ค่ะ

#หัวใจเต้นผิดจังหวะ
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 7 ต.ค. 64 23:24 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google