ข้อสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกซื้อบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดมิเนียม

17 ธ.ค. 64 16:17 น. / ดู 1,850 ครั้ง / 1 ความเห็น / 0 ชอบจัง / แชร์

              ปัจจุบันที่ดินในที่ ๆ เจริญ หรือเป็นเมืองใหญ่ ๆ  มักถูกจับจองและมีสิ่งปลูกสร้างกันแล้วแทบทั้งนั้น ทำให้มีที่ดินสำหรับสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ได้น้อยลงทุกที การที่จะหาซื้อบ้านเดี่ยวในทำเลดีนั้นจึงเป็นเรื่องยาก หากมี ราคาบ้านก็สูงมาก แม้ในทำเลที่มีราคาไม่แพง ราคาบ้านเดี่ยวก็จัดว่าสูงที่สุดในบรรดาประเภทที่อยู่อาศัยอื่น ๆ ดังนั้นจึงทำให้แบบบ้านอื่น ๆ อย่าง บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์  ทาวน์โฮม และคอนโด ได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งการจะเลือกซื้อบ้านนั้นจำเป็นต้องศึกษา และหาข้อมูลของบ้านแบบนั้นให้ดี โดยสิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนเลยคือความชอบ และความต้องการของตนเองว่าชอบบ้านแบบไหน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดมิเนียม เพราะเมื่อเรารู้ถึงความต้องการของตนเองแล้วก็จะช่วยให้เราหาความรู้ หรือหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งนอกจากเรื่องของความชอบแล้วสิ่งที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก็ยังมีอีกหลายอย่างด้วยกันดังนี้
              ข้อมูลและรายละเอียดสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกซื้อบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดมิเนียม ที่จะช่วยให้คุณได้บ้านที่ดี และที่ถูกใจคุณได้มากที่สุด

1.ดูขนาดพื้นที่ใช้สอย
ก่อนจะซื้อบ้านสักหลังเรื่องแรกที่ต้องคำนึงถึงคือขนาดของบ้านที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง คนไทยจะพูดถึงขนาดบ้านโดยเริ่มจากจำนวนห้องนอนก่อนเสมอ ดังนั้นให้คิดว่าต้องการห้องนอนกี่ห้อง ห้องน้ำกี่ห้อง มีห้องน้ำที่เข้าได้จากทุกห้องนอนหรือไม่ ที่จอดรถยนต์จำนวนกี่คัน ต้องการห้องทำงานแยกจากห้องอื่น ๆ หรือไม่ เป็นต้น
จากนั้นพิจารณาห้องส่วนกลาง เช่น ต้องมีห้องนั่งเล่นที่แยกออกจากห้องรับแขกหรือไม่ ต้องมีห้องรับประทานอาหารแยกเป็นสัดส่วนหรือไม่ ควรคิดไกลไปถึงการวางแผนชีวิตในอนาคตด้วยว่า ต้องการพื้นที่สำหรับการขยายครอบครัวหรือไม่ เช่นวางแผนที่จะมีลูกกี่คน

2.ทิศทางการวางตัวบ้าน
การเลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในประเทศไทยจะขึ้นทางทิศตะวันออกและมักอ้อมไปทางทิศใต้ ก่อนไปตกในทิศตะวันตก ฉะนั้นทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นทิศที่จะร้อนมากในเวลากลางวัน ทิศตะวันออกรับแสงแดดช่วงเช้าซึ่งมีความร้อนน้อยกว่าและมีช่วงเวลาสั้นกว่า ส่วนทิศเหนือได้รับแสงแดดน้อยที่สุด การกำหนดตำแหน่งของห้องจึงควรดูทิศทางที่เหมาะสม เช่น ห้องนอนไม่ควรอยู่ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เพราะเป็นห้องที่ใช้งานในช่วงเย็นและกลางคืน เมื่อผนังห้องถูกแสงแดดส่องตั้งแต่บ่ายไปจนถึงเย็น ความร้อนจะยังสะสมอยู่ในห้อง กว่าอากาศในห้องจะเย็นลงต้องใช้เวลานาน ห้องที่น่าจะพอวางไว้ด้านทิศใต้หรือทิศตะวันตกน่าจะเป็น ห้องน้ำ ห้องเก็บของ ห้องครัว หรือที่จอดรถยนต์ เป็นต้น

3.ประหยัดพลังงาน
บ้านที่ดีควรอยู่ได้สบายโดยใช้พลังงานอย่างประหยัด เนื่องจากนับวันราคาพลังงานจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ วิธีการพิจารณาเรื่องการประหยัดพลังงานนั้นเริ่มตั้งแต่ประเภทของหลอดไฟฟ้าที่ใช้ ควรเป็นหลอดประหยัดไฟ เช่น หลอดตะเกียบ ฟลูออเรสเซนต์ ไม่ควรใช้หลอดไส้หรือหลอดแฮโลเจน เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านควรเป็นแบบประหยัดพลังงาน เช่น เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น

4.ดูแลรักษาง่าย
บ้านที่ดีต้องดูแลรักษาง่าย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ไม่มีซอกหรือมีมุมมากเกินไป ไม่มีปัญหาความชื้น ไม่มีรอยรั่วซึมหรือรอยน้ำท่วม และบ้านไม่ควรใหญ่เกินไปจนดูแลไม่ไหวโดยเฉพาะถ้าเป็นครอบครัวขนาดเล็กหากเลือกบ้านที่มีขนาดใหญ่มากจะมีปัญหาเรื่องการดูแลรักษา

5.ระบบรองรับการใช้งาน
เริ่มจากระบบไฟฟ้า แสงสว่างต้องเพียงพอกับการใช้งาน มีปลั๊กไฟฟ้าในจำนวนและจุดที่เหมาะสม ได้เตรียมจุดต่อไฟฟ้าสำหรับการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อนหรือเครื่องปรับอากาศไว้ล่วงหน้าในจำนวนและตำแหน่งที่เหมาะสม กำหนดพื้นที่วางคอนเดนซิ่งหรือที่เรียกกันว่าคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศที่สามารถเข้าถึงเพื่อบำรุงรักษาได้โดยสะดวกแต่ยังคงความสวยงามของบ้านไว้ด้วย

            แหละไม่ว่าคุณจะเลือกซื้อบ้านแบบไหน จะบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดมิเนียม ก็ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบ้านแบบนั้น ๆ ให้ดี และทำความเข้าใจอย่างละเอียดในทุก ๆ ด้าน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นตัวช่วยที่จะทำให้คุณได้รับข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะตัดสินใจซื้อบ้านที่ดีและตรงกับความต้องการของผู้ซื้อได้อย่างที่ดีที่สุดค่ะ

#บ้านแฝด
เลขไอพี : ไม่แสดง | ตั้งกระทู้โดย Windows 10

อ่านต่อ คุณอาจจะสนใจเนื้อหาเหล่านี้ (ความคิดเห็นกระทู้ อยู่ด้านล่าง)

ความคิดเห็น

#1 | Yvonne | 17 ธ.ค. 64 23:32 น.

ไอพี: ไม่แสดง | โดย Windows 10

แสดงความคิดเห็น

จะต้องเป็นสมาชิกจึงจะแสดงความคิดเห็นได้
เป็นสมาชิกอยู่แล้ว ลงชื่อเข้าใช้ระบบ
ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สมัครสมาชิกใหม่
หรือจะลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google หรือ Facebook ก็ได้
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Facebook
ลงชื่อเข้าใช้ระบบด้วย Google